Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เป็นหนี้, เป็น, หนี้ , then ปน, ปนหน, เป็น, เป็นหนี้, หน, หนี้ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เป็นหนี้, 8201 found, display 7101-7150
  1. สัญญาบัตร : น. ใบตั้งยศ บรรดาศักดิ์ หรือสมณศักดิ์ซึ่งพระเจ้าแผ่นดิน ทรงตั้ง เช่น นายทหารสัญญาบัตร พระราชาคณะสัญญาบัตร พระครูสัญญาบัตร, ถ้าเป็นใบที่เจ้ากระทรวงตั้ง เรียกว่า ใบประทวน.
  2. สัญนิยม : [สันยะนิยม] น. การปฏิบัติหรือธรรมเนียมทั่วไปที่ใช้กันอยู่ในกลุ่ม สังคมในขณะนั้น เช่น การไหว้เป็นสัญนิยมอย่างหนึ่งของคนไทย การใช้ตะเกียบคีบอาหารเป็นสัญนิยมในการกินอาหารของคนจีน. (อ. convention).
  3. สัญประกาศ : [สันยะปฺระกาด] น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ใช้ขีดไว้ใต้คํา หรือข้อความที่สําคัญ เพื่อเน้นให้ผู้อ่านสังเกตเป็นพิเศษ, ขีดเส้นใต้ ก็เรียก.
  4. สัญลักษณ์ : [สันยะ] น. สิ่งที่กําหนดนิยมกันขึ้นเพื่อให้ใช้หมายความแทนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น ตัวหนังสือเป็นสัญลักษณ์แทนเสียงพูด H เป็นสัญลักษณ์แทนธาตุ ไฮโดรเจน + - x ? เป็นสัญลักษณ์เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์. (อ. symbol).
  5. สัดส่วน : น. ส่วนผสมของสิ่งต่าง ๆ ตามอัตราที่กําหนด เช่น ในการ ผสมปูนโบกฝาผนังจะใช้ซีเมนต์ ทราย และปูนขาว ตามสัดส่วน ๓ : ๒ : ๑; (คณิต) การเท่ากันของ ๒ อัตราส่วน หมายความว่า อัตราส่วน ของปริมาณที่ ๑ ต่อปริมาณที่ ๒ เท่ากับอัตราส่วนของปริมาณที่ ๓ ต่อ ปริมาณที่ ๔ เช่น ๑ กิโลกรัม, ๒ กิโลกรัม; ๑๐๐ บาท, ๒๐๐ บาท ได้ชื่อว่า เป็นสัดส่วนกันก็เพราะ ๑ กิโลกรัม๒ กิโลกรัม = ๑๒ = ๑๐๐ บาท๒๐๐ บาท = ๑๒ ? ๑ กิโลกรัม : ๒ กิโลกรัม = ๑๐๐ บาท : ๒๐๐ บาท.). (อ. proportion)
  6. สัตตาหกรณียะ : [สัดตาหะกะระนียะ, สัดตาหะกอระนียะ] น. กิจที่ พึงทำเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดไปพักแรมในที่อื่นในระหว่างพรรษา ได้ไม่เกิน ๗ วัน เช่นเพื่อไปพยาบาลภิกษุสามเณรหรือบิดามารดาที่ ป่วยไข้หรือเพื่อบำรุงศรัทธาของทายก.
  7. สัตถุ : น. ครู, ผู้สอน, มักใช้เป็นส่วนหน้าสมาส. (ป.).
  8. สัตบริภัณฑ์, สัตภัณฑ์ ๑ : [สัดตะบอริพัน, สัดตะพัน] น. ภูเขาที่ล้อม เป็นวงกลมรอบเขาพระสุเมรุเป็นชั้น ๆ รวม ๗ ชั้น สูงลดหลั่นกันลงมา ตามลำดับชื่อภูเขาชั้นในที่สุดจากเขาพระสุเมรุออกมา คือ ยุคนธร อิสินธร กรวิก สุทัสนะ เนมินธร วินตกะ อัสกัณ ระหว่างภูเขาแต่ละชั้น มีทะเลสีทันดรคั่น. (ป. สตฺตปริภณฺฑ, สตฺตภณฺฑ).
  9. สัตบุรุษ : [สัดบุหฺรุด] น. คนที่เป็นสัมมาทิฐิ, คนดีน่านับถือ มีคุณธรรม ประพฤติอยู่ในศีลในธรรม. (ส. สตฺปุรุษ; ป. สปฺปุริส).
  10. สัตภัณฑ์ ๒ : [พัน] น. ชื่อเชิงเทียน ทำเป็นแผงรูปสามเหลี่ยมหน้าจั่ว ติดไม้กลึงเป็นเชิงเทียน ๗ เชิง กรอบมักทำเป็นรูปพญานาคเลื้อยลงมา คล้ายกรอบหน้าบัน.
  11. สัตยาเคราะห์ : น. การยึดความจริงเป็นหลักการต่อสู้เพื่อความเป็น ธรรมในสังคม โดยใช้วิธีดื้อแพ่งไม่ปฏิบัติตามกฎหมายหรือคําสั่ง ที่ไม่ยุติธรรม แต่ไม่ใช้วิธีรุนแรง. (ส. สตฺยาคฺรห).
  12. สัตยาธิษฐาน : น. การตั้งความจริงใจเป็นหลักอ้าง เช่น ขอตั้งสัตยาธิษฐาน อ้างอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายในสากลโลก. (ส. สตฺย + อธิษฺ?าน; ป. สจฺจ + อธิฏฺ?าน).
  13. สัตยาบัน : น. (กฎ) การยืนยันรับรองความตกลงระหว่างประเทศที่ได้ กระทําขึ้นไว้; การรับรองนิติกรรมที่เป็นโมฆียะอันเป็นผลให้นิติกรรม นั้นสมบูรณ์มาแต่เริ่มแรก; (กลอน) การอ้างความสัตย์. (ส. สตฺย + อาปนฺน).
  14. สัตโลหะ : [สัดตะ] น. โลหะ ๗ ชนิด คือ เหล็ก ๑ ปรอท ๑ ทองแดง ๑ เงิน ๑ และทองคำ ๑, เพียงนี้เรียกว่า เบญจโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ เจ้า ๑ (เป็นคำตัดมาจาก ''เจ้าน้ำเงิน'' ว่า เป็นแร่ชนิดหนึ่ง สีเขียว เป็นสีน้ำเงิน) และสังกะสี ๑ เรียกว่า สัตโลหะ, ถ้าเติมอีก ๒ ชนิด คือ ชิน ๑ และบริสุทธิ์ ๑ (คือทองแดงบริสุทธิ์) เรียกว่า นวโลหะ. (ตำราสร้างพระพุทธรูป).
  15. สัตว, สัตว์ : [สัดตะวะ, สัด] น. สิ่งมีชีวิตซึ่งแตกต่างไปจากพรรณไม้ ส่วนมาก มีความรู้สึกและเคลื่อนไหวย้ายที่ไปได้เอง, ความหมายที่ใช้กันเป็น สามัญหมายถึง สัตว์ที่ไม่ใช่คน, เดรัจฉาน. (ส. สตฺตฺว; ป. สตฺต).
  16. สัตว์หิมพานต์ : [หิมมะ] น. สัตว์ในวรรณคดีที่เชื่อกันว่าอยู่ในป่า หิมพานต์ เช่น คชสีห์ กินนร นรสิงห์, รูปหุ่นที่ผูกเป็นรูปสัตว์ใน วรรณคดี ใช้บรรทุกผ้าไตรแห่เข้าขบวนพระบรมศพในสมัยโบราณ.
  17. สัตวา : [สัดตะวา] น. ชื่อนกชนิดหนึ่งในจําพวกนกแก้ว ตัวโต สีเขียวเกือบ เป็นสีคราม. (พจน. ๒๔๙๓).
  18. สัทธาจริต : ว. มีความเชื่อเป็นเจ้าเรือน, มีนิสัยเชื่อง่าย, เช่น เขาเป็นคน สัทธาจริตเชื่ออะไรง่าย. (ป.).
  19. สัทธิงวิหาริก, สัทธิวิหาริก : น. คําเรียกผู้ได้รับการอุปสมบทแล้ว, ถ้าอุปสมบทต่อพระอุปัชฌาย์ องค์ใดก็เป็นสัทธิงวิหาริกของพระอุปัชฌาย์องค์นั้น, (ใช้เข้าคู่กับ อุปัชฌาย์). (ป.).
  20. สัน ๑ : น. สิ่งที่มีลักษณะนูนสูงขึ้นเป็นแนวยาว เช่น สันหลังคา สันหน้าแข้ง ดั้งจมูกเป็นสัน; ส่วนหนาของมีดหรือขวานซึ่งอยู่ตรงข้ามกับคม.
  21. สันเขา : น. ส่วนสูงของภูเขาที่ยาวเป็นทิวพืดไป.
  22. สันดอน : น. ดินหรือกรวดทรายเป็นต้นซึ่งนํ้าพัดเอามารวมกัน ปรากฏ นูนยาวอยู่ใต้นํ้า ทําให้สูงเป็นสันขึ้น, หลังเต่า ก็เรียก.
  23. สันดาน ๑ : น. อุปนิสัยที่มีมาแต่กําเนิด เช่น มีสันดานดี มีสันดานเลว, (ปาก) มักใช้ ไปในทางไม่สู้จะดี เช่น สันดานของเขาเป็นเช่นนั้น อย่าไปถือเลย. (ป., ส. สนฺตาน ว่า สืบต่อ).
  24. สันโดษ : [โดด] น. ความยินดีหรือพอใจเท่าที่ตนมีอยู่หรือเป็นอยู่ เช่น เขาถือ
  25. สันโดษ. : (ปาก) ก. มักน้อย เช่น เขาเป็นคนสันโดษ. (ส. สํโตษ; ป. สนฺโตส).
  26. สันตะปาปา : น. ผู้เป็นประมุขคริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก, โป๊ป ก็เรียก.
  27. สันถวไมตรี : น. ความเป็นมิตรสนิทสนมกัน เช่น ต้อนรับด้วย สันถวไมตรี ทูตสันถวไมตรี.
  28. สันทัดกรณี : [สันทัดกะระนี, สันทัดกอระนี] ว. ที่รู้เรื่องนั้น ๆ ดี เช่น เขาเป็นผู้สันทัดกรณีในด้านการต่างประเทศ.
  29. สันทิฐิก : [สันทิดถิกะ] (แบบ) ว. ควรเห็นเอง, เป็นคุณของพระธรรมอย่างหนึ่ง. (ป. สนฺทิฏฺ??ก; ส. สานฺทฺฤษฺฏิก).
  30. สั่นเทา : ก. สั่นรัว ๆ อย่างคนเป็นไข้.
  31. สันธาน : น. การเกี่ยวข้อง, การเป็นเพื่อน; เครื่องพัวพัน; (ไว) คําพวกที่เชื่อม ประโยคให้เกี่ยวเนื่องกัน เช่น เขาชอบสีเหลือง แต่ฉันชอบสีแดง น้ำท่วมเพราะฝนตกหนัก. (ป., ส.).
  32. สันปันน้ำ : น. แนวสันเขาหรือสันเนินซึ่งเป็นแนวเขตแบ่งระหว่างลุ่มน้ำ, สันเขาหรือบริเวณที่สูงซึ่งแบ่งนํ้าให้ไหลไปลงแม่นํ้าลําธารที่อยู่แต่ละ ด้านของสันเขาหรือบริเวณที่สูงนั้น มักปรากฏเป็นแนวตอนบนสุดของ ทิวเขาซึ่งแบ่งเขตระหว่างลุ่มนํ้าที่มีทิศทางการไหลตรงข้ามกัน.
  33. สันหลัง : น. ส่วนของร่างกายด้านหลัง ซึ่งมีกระดูกเป็นแนวนูนลงมา ตลอดหลัง; โดยปริยายหมายความว่า ส่วนที่ตั้งมั่นของสิ่งใด ๆ.
  34. สับ ๑ : ก. เอาของมีคมเช่นมีดหรือขวานฟันลงไปโดยแรงหรือซอยถี่ ๆ เช่น สับกระดูกหมู สับมะละกอ, กิริยาที่เอาสิ่งมีปลายงอนหรือปลายแหลม เจาะลงไป เช่น เอาขอสับช้าง, เอาสิ่งที่เป็นขอเกี่ยวเข้าไว้ เช่น สับขอ หน้าต่าง, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น สับด้วยสันมือ ถูกโขกถูกสับ; ทําเชือกให้เข้าเกลียวตั้งแต่ ๓ เกลียว ขึ้นไปให้เขม็งแน่น เรียกว่า สับเชือก; เปลี่ยนแทนที่กัน เช่น วางของ สับที่ ใส่รองเท้าสับข้าง เต้นรำสับคู่ สับตัวจำเลย.
  35. สับเกลียว, สับเชือก : ก. เอาเชือก ๒ เส้นฟั่นควบเป็นเส้นเดียวกัน แล้ว เอาเชือกเส้นที่ ๓ ซึ่งเขม็งแล้วควบเข้าไประหว่างเชือก ๒ เส้นนั้น โดยคลายเกลียวที่ปลายเชือก ๒ เส้นแรกเล็กน้อย เพื่อให้เชือกเส้น ที่ ๓ สอดควบเข้าด้วยกันได้จนตลอด.
  36. สับปะรด : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Ananas comosus Merr. ในวงศ์ Bromeliaceae ไม่มีลําต้นปรากฏบนพื้นดิน ใบเป็นกาบยาวให้ใยใช้ทําสิ่งทอ ขอบใบ มีหนาม ผลมีตาโดยรอบ กินได้รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ; เรียกใยของ พรรณไม้บางชนิดที่มีลักษณะอย่างใยสับปะรด ใช้ทำหมวกเป็นต้นว่า ไหมสับปะรด.
  37. สับสน : ก. ปะปนกันยุ่งไม่เป็นระเบียบ เช่น ข่าวสับสนทำให้ได้ข้อมูล ไม่ถูกต้อง ผู้คนมากมายเดินไปมาสับสน.
  38. สับหว่าง : ว. เยื้องระหว่างแถว จะเป็น ๒ แถวหรือหลายแถวก็ได้ เช่น นั่งสับหว่าง ยืนสับหว่าง.
  39. สัปทน : [สับปะทน] น. (โบ) ร่มทำด้วยผ้ามีระบายรอบ คันยาว เป็นเครื่อง แสดงยศขุนนางโบราณชั้นสูงกว่าพระยา; ร่มขนาดใหญ่ทำด้วยผ้า หรือแพรสีต่าง ๆ มีระบายรอบ มีด้ามยาว ใช้กั้นนาค ผ้าไตร หรือ พระพุทธรูป เป็นต้น.
  40. สัปปุริส, สัปปุรุษ : [สับปุริสะ, สับปุหฺรุด] น. คนที่เป็นสัมมาทิฐิ, คฤหัสถ์ผู้มีศรัทธา ในพระศาสนา, คนที่มีความเห็นชอบตามทํานองคลองธรรม. (ป. สปฺปุริส; ส. สตฺปุรุษ).
  41. สัพเพเหระ : (ปาก) ว. ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน, ไม่ใช่สิ่งสําคัญ, เช่น ของสัพเพเหระ เรื่องสัพเพเหระไม่มีประโยชน์.
  42. สัพยอก : [สับพะยอก] ก. หยอกเย้า เช่น ผู้ใหญ่สัพยอกเด็กว่าเป็นแม่สายบัวแต่ง ตัวเก้อ. ว. ที่พูดหยอกเย้า เช่น อย่าโกรธเลย เขาพูดจาสัพยอกเท่านั้น, มักใช้เข้าคู่กันเป็น สัพยอกหยอกเย้า เช่น พูดจาสัพยอกหยอกเย้า.
  43. สัมผัสนอก : น. สัมผัสนอกวรรคหรือระหว่างวรรคตามข้อบังคับแห่ง ฉันทลักษณ์ซึ่งเป็นสัมผัสสระและไม่ซ้ำเป็นคำเดียวกัน เช่น (รูปภาพ กลอน) (อภัย), (ตะเลงพ่าย).
  44. สัมพันธมิตร : น. เรียกกลุ่มประเทศอันประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน ที่รวมเป็นแกนร่วมรบกับ กลุ่มประเทศฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ว่า ฝ่ายสัมพันธมิตร.
  45. สัมพันธ, สัมพันธ์, สัมพันธน์ : [สําพันทะ, สําพัน] ก. ผูกพัน, เกี่ยวข้อง, เช่น เขากับฉันสัมพันธ์กัน ฉันญาติ ข้อความข้างหลังไม่สัมพันธ์กับข้อความข้างหน้า. (ไว) น. การแยกความออกเป็นประโยค ๆ หรือส่วนต่าง ๆ ของประโยค แล้ว บอกการเกี่ยวข้องของประโยคและคำต่าง ๆ ในประโยคนั้น ๆ. (ป., ส.).
  46. สัมภาษณ์ : ก. สนทนาหรือสอบถามเพื่อนำเรื่องราวไปเผยแพร่ทางหนังสือพิมพ์หรือ วิทยุกระจายเสียงเป็นต้น เช่น เจ้าหน้าที่กรมประชาสัมพันธ์สัมภาษณ์ นายกราชบัณฑิตยสถานเกี่ยวกับความเป็นมาของราชบัณฑิตยสถาน. น. การพบปะสนทนากันในลักษณะที่ฝ่ายหนึ่งต้องการทราบเรื่องจาก อีกฝ่ายหนึ่งเพื่อนำไปเผยแพร่ เรียกว่า ผู้สัมภาษณ์ และอีกฝ่ายหนึ่งที่ ต้องการจะแถลงข่าวแก่อีกฝ่ายหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้สัมภาษณ์; การสอบ ท่วงทีวาจาและไหวพริบ พิจารณาดูชั้นเชิงและความสามารถของผู้เข้า สอบ ว่าจะเป็นผู้เหมาะสมตามที่ต้องการหรือไม่ เรียกว่า สอบสัมภาษณ์. (ส. สมฺภาษณ ว่า การสนทนากัน, การพูดจาซักถามกัน; คําพูดให้ตรงกัน).
  47. สัมมนา : น. การประชุมแบบหนึ่ง ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้ ความคิดเห็น และหาข้อสรุปหรือข้อเสนอแนะในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ผลสรุปที่ได้ถือว่าเป็นเพียงข้อเสนอแนะ ผู้เกี่ยวข้องจะนําไปปฏิบัติ ตามหรือไม่ก็ได้ เช่น สัมมนาการศึกษาประชาบาล. (อ. seminar).
  48. สัมมา : ว. ชอบ, ดี, (มักใช้เป็นส่วนหน้าของสมาส) เช่น สัมมาทิฐิ สัมมาชีพ. (ป.; ส. สมฺยกฺ).
  49. สัมมาชีพ : น. อาชีพที่สุจริต, อาชีพที่ชอบธรรม, เช่น การทำไร่ทำนา นับว่าเป็นสัมมาชีพอย่างหนึ่ง. (ป. สัมมา + อาชีว).
  50. สัมโมทนียกถา : [สำโมทะนียะกะถา] น. ถ้อยคําที่แสดงความชื่นชมยินดี เป็นที่ชุ่มชื่นใจ แก่ผู้ฟังหรือผู้อ่าน. (ป., ส.).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3650 | 3651-3700 | 3701-3750 | 3751-3800 | 3801-3850 | 3851-3900 | 3901-3950 | 3951-4000 | 4001-4050 | 4051-4100 | 4101-4150 | 4151-4200 | 4201-4250 | 4251-4300 | 4301-4350 | 4351-4400 | 4401-4450 | 4451-4500 | 4501-4550 | 4551-4600 | 4601-4650 | 4651-4700 | 4701-4750 | 4751-4800 | 4801-4850 | 4851-4900 | 4901-4950 | 4951-5000 | 5001-5050 | 5051-5100 | 5101-5150 | 5151-5200 | 5201-5250 | 5251-5300 | 5301-5350 | 5351-5400 | 5401-5450 | 5451-5500 | 5501-5550 | 5551-5600 | 5601-5650 | 5651-5700 | 5701-5750 | 5751-5800 | 5801-5850 | 5851-5900 | 5901-5950 | 5951-6000 | 6001-6050 | 6051-6100 | 6101-6150 | 6151-6200 | 6201-6250 | 6251-6300 | 6301-6350 | 6351-6400 | 6401-6450 | 6451-6500 | 6501-6550 | 6551-6600 | 6601-6650 | 6651-6700 | 6701-6750 | 6751-6800 | 6801-6850 | 6851-6900 | 6901-6950 | 6951-7000 | 7001-7050 | 7051-7100 | [7101-7150] | 7151-7200 | 7201-7250 | 7251-7300 | 7301-7350 | 7351-7400 | 7401-7450 | 7451-7500 | 7501-7550 | 7551-7600 | 7601-7650 | 7651-7700 | 7701-7750 | 7751-7800 | 7801-7850 | 7851-7900 | 7901-7950 | 7951-8000 | 8001-8050 | 8051-8100 | 8101-8150 | 8151-8200

(0.3843 sec)