เหลี่ยม ๑ : [เหฺลี่ยม] น. ด้านที่เป็นสัน; เส้นประกอบมุมของรูปที่มีด้านตั้งแต่ ๓ ด้าน ขึ้นไป; ส่วนสัดของขาที่ใช้ในการรํา, คู่กับ วง คือ ส่วนสัดของมือที่ใช้ ในการรํา. ว. เป็นสัน เช่น บวบเหลี่ยม เหลี่ยมเพชร เหลี่ยมเขา.
เหลี่ยมลูกบาศก์ : (โบ) น. ชื่อมาตราวัดปริมาตร กําหนดเป็นรูปเหลี่ยม ลูกบาศก์ มีด้านสูง กว้าง ยาวเท่ากัน เช่น ๑ เมตรเหลี่ยมลูกบาศก์ คือ มีด้านสูง กว้าง และยาวด้านละ ๑ เมตร.
เหลียวหลัง : น. เรียกสร้อยที่มีลักษณะบิดเป็นเกลียวว่า สร้อยเหลียวหลัง. ก. เหลียวดูด้วยความสนใจหรือด้วยความอาลัยอาวรณ์เป็นต้น.
เหลือง ๕ : [เหฺลือง] น. (๑) ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Caesio วงศ์ Pomadasyidae รูปร่างคล้ายปลากะพง ลําตัว ครีบ และหางสีเหลือง ครีบหางเป็นแฉกลึก มีเกล็ดถึงโคนครีบหลังและหาง เช่น ชนิด C. erythrogaster, C. chrysozonus. (๒) ชื่อปลาทะเลชนิด Halichoeres nigrescens ในวงศ์ Labridae ลําตัว แบนข้างค่อนข้างหนา สีเขียว ไม่มีเกล็ดที่แก้ม มีเส้นสีม่วงระหว่างตา พาดเฉียงจากตาไปที่แก้ม ๒-๓ เส้น ขนาดยาวประมาณ ๑๔ เซนติเมตร, เหลืองหิน ก็เรียก.
เหลือบ ๑ : [เหฺลือบ] น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Tabanidae รูปร่างคล้ายแมลงวัน แต่ตัวโตกว่า มีปีกคู่เดียวซึ่งมักใส แต่บางชนิดเป็นลายสีต่าง ๆ เช่น นํ้าตาล นํ้าเงิน รวมทั้งสีเลื่อมพราย จึงเรียกว่า ตัวเหลือบ หนวดปล้องปลายมี ลักษณะเรียวโค้งงอคล้ายเคียว ตาโต ตัวผู้ตาชิดกัน ตัวเมียตาห่าง ปากมี อวัยวะเป็นแผ่นคมคล้ายใบมีดตัดเนื้อให้ขาด และมีอวัยวะเป็นท่อดูด ของเหลวกินได้ ตัวเมียดูดเลือดมนุษย์และสัตว์ ส่วนใหญ่อยู่ในสกุล Tabanus และ Chrysops. ว. สีเลื่อมพรายเวลากระทบแสงเป็นหลายสี คล้ายสีตัวเหลือบ.
เหลือม : [เหฺลือม] น. ชื่องูขนาดใหญ่ชนิด Python reticulatus ในวงศ์ Pythonidae ตัวโตเรียวยาว ลายสีนํ้าตาลเหลือง ยาวได้ถึง ๙ เมตร ที่กลางหัวมีเส้น สีดําซึ่งมักเรียกว่า ศรดํา ออกหากินในเวลากลางคืน ไม่มีพิษ เป็นงูที่มี ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก.
เห่อ ๑ : ว. เป็นผื่นเป็นเม็ดผุดขึ้นมากเป็นพืดไปตามผิวหนัง เช่น มีผื่นเห่อขึ้นเต็มตัว.
เหอะ ๒ : ว. เปรอะ เช่น ราขึ้นเหอะ; ขรุขระ เช่น หน้าเป็นสิวเหอะ.
เหอะน่า : (ปาก) เถอะน่า, คําประกอบท้ายกริยาแสดงความหมายเป็นเชิง ชักชวนหรือวิงวอนเป็นต้น, เฮอะน่า ก็ว่า.
เหา ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ ส่วนใหญ่ตัวยาวไม่เกิน ๕ มิลลิเมตร ตัวแบน หัวแคบกว่าอกและยื่นไปข้างหน้าเห็นได้ชัด ตาเล็กมาก แต่บางชนิดไม่มีตา อกไม่แยกเป็นปล้องให้เห็นชัด ขามี หนามตรงข้ามกับเล็บช่วยในการยึดขนหรือผม ปากเป็นชนิดดูดกิน อาศัยอยู่ตามบริเวณที่มีขนหรือผม ดูดเลือดคนและสัตว์ ที่อยู่บนศีรษะ ของคนได้แก่ ชนิด Pediculus humanus ในวงศ์ Pediculidae.
เหาจะกินหัว, เหาจะขึ้นหัว : (สำ) ทำตัวอาจเอื้อมหรือเอาอย่างเจ้านายหรือ ผู้สูงศักดิ์ ถือว่าเป็นอัปมงคล เช่น ทำตัวเทียมเจ้าระวังเหาจะขึ้นหัวนะ.
เหาน้ำ : น. ชื่อสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังในอันดับ Isopoda เป็นปรสิต ที่พบในนํ้าจืด เช่น สกุล Alitropus ในวงศ์ Aegidae, ในนํ้าเค็ม เช่น สกุล Livoneca ในวงศ์ Cymothoidae.
เหี้ย : น. ชื่อสัตว์เลื้อยคลานขนาดใหญ่ชนิด Varanus salvator ในวงศ์ Varanidae เป็นสัตว์สกุลเดียวกับตะกวด โตเต็มวัยยาวได้ถึง ๒.๕ เมตร ตัวอ้วนใหญ่ สีดํา มีลายดอกสีเหลืองพาดขวาง หางยาว อาศัยและหากินบริเวณใกล้นํ้า, ภาษาปากว่า ตัวเงินตัวทอง.
แห่ : น. ขบวนที่ไปพร้อมกันด้วยวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่ง อาจมีการ ตกแต่งหรือมีดนตรีประกอบเป็นต้น เช่น แห่นาค แห่ขันหมาก แห่ศพ. ก. ไปกันเป็นพวกเป็นหมู่มาก ๆ.
แห้ : ว. เสียงอย่างเสียงหมาคําราม, เขียนเป็น แฮ่ ก็มี.
แห ๑ : น. ชื่อเครื่องจับปลาชนิดหนึ่ง ถักเป็นตาข่าย ใช้ทอดแผ่ลงในนํ้าแล้วค่อย ๆ ดึงขึ้นมา.
แหนบ : [แหฺนบ] น. เครื่องสําหรับถอนหนวดถอนคิ้วเป็นต้น รูปคล้ายคีมเล็ก ๆ; แผ่นเหล็กขนาดยาวต่าง ๆ กันซ้อนกัน หรือชิ้นเหล็กที่ขดเวียนเป็นวง สําหรับรับความสะเทือนหรือบังคับความเร็วเป็นต้น เช่น แหนบรถยนต์; เครื่องระลึกที่ใช้เสียบปากกระเป๋าบนของเสื้อนอก; ซองบรรจุกระสุนปืน เป็นตับ; ลักษณนามเรียกของบางอย่างเช่นซองธูปหรือใบตองที่พับ เช่น ธูปแหนบหนึ่ง ใบตอง ๒ แหนบ. ก. กิริยาที่เอาของ ๒ สิ่งหนีบอย่าง แหนบ, เอานิ้วมือบีบทํานองหยิกแต่ไม่ใช้เล็บ; กิริยาที่สัตว์บางชนิดกัด ไม่ถนัดหรือกัดหยอก ๆ เช่น หมาแหนบ แมวแหนบ; โดยปริยายหมาย ความว่า เม้มเอาไว้; เหน็บแนม, กระแหนะกระแหน, (ใช้แก่กริยาพูด).
แหบ : ว. ลักษณะของเสียงที่แห้งไม่แจ่มใส, เรียกชื่อของกลุ่มเสียงที่บีบให้สูง เป็นพิเศษของเครื่องดนตรีประเภทเครื่องเป่า โดยเฉพาะปี่ในว่า เสียงแหบ.
แหยม : [แหฺยม] น. ปอยผมที่เอาไว้เป็นกระจุก, ส่วนของจุกที่แยกออกเป็นปอย ๆ ก่อนประกอบพิธีโกนจุก, เรียกหนวดที่เอาไว้แต่ ๒ ข้างริมฝีปากว่า หนวดแหยม.
แหล่ ๒ : [แหฺล่] น. ตอนหนึ่งหรือบทหนึ่งในเทศน์มหาชาติซึ่งลงท้ายด้วยคำว่า แล เช่น นั้นแล นั่นแล. ก. เทศน์มหาชาติเป็นทำนองตามแบบในแต่ละกัณฑ์.
แหลก : [แหฺลก] ว. เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น ข้าวแหลก, ละเอียดเป็นผง เช่น บดยา ให้แหลก, ป่นปี้ เช่น ตีกันแหลก.
แหลกเหลว : ว. ป่นปี้, ไม่มีชิ้นดี, ไม่เป็นชิ้นเป็นอัน.
แหวก : [แหฺวก] ก. แยกให้เป็นช่อง, แยกสิ่งที่ปิดบังหรือกีดขวางให้เป็นช่องทาง เช่น แหวกม่าน แหวกหญ้า แหวกผม; ฝ่าสิ่งที่กีดขวางเข้ามาหรือออกไป เช่น แหวกวงล้อมข้าศึก.
แหวกแนว : ก. ทําไม่ซํ้าแบบใคร เช่น เขาชอบแหวกแนว. ว. ที่ชอบทำใน สิ่งที่ไม่ซ้ำแบบใคร เช่น เขาเป็นคนแหวกแนว.
แหวน : [แหฺวน] น. เครื่องประดับสําหรับสวมนิ้วทําด้วยเงินหรือทองเป็นต้น, เรียก สิ่งอื่นที่มีลักษณะเป็นวงว่า วงแหวน เช่น ถนนวงแหวน พื้นที่วงแหวน.
แหวะ : [แหฺวะ] ก. เอาสิ่งที่มีคมกรีดให้เป็นช่องตามที่ต้องการ เช่น แหวะท้องปลา; อาการที่เด็กเล็ก ๆ สํารอกอาหารหรือยาออกมา. น. อาหารหรือยาที่ล้น กระเพาะเด็กเล็ก ๆ ออกมาทางปาก.
แห่แหน : [-แหนฺ] ก. ห้อมล้อมระวังกันไปเป็นขบวน เช่น ประชาชนแห่แหน พระพุทธสิหิงค์ไปตามถนน; ยกพวกกันมามาก ๆ เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใด อย่างหนึ่ง เช่น เพื่อนฝูงแห่แหนกันมาเต็มบ้าน.
โห่ : อ. เสียงที่เปล่งออกมาดังเช่นนั้น เป็นเสียงนําเพื่อแสดงความพร้อมเพรียง ในการรื่นเริงหรือการมงคลเป็นต้น. ก. ทําเสียงเช่นนั้น; โดยปริยาย หมายความว่า เย้ยให้ โดยทำเสียงเช่นนั้น.
โหมด : [โหฺมด] น. เรียกผ้าชนิดหนึ่งซึ่งเดิมทําด้วยกระดาษทองตัดเป็นเส้นเหมือน เส้นทอง แล้วทอกับไหม ต่อมาใช้กระดาษเงินกระดาษทองพันเส้นไหมทอ กับไหมสี ว่า ผ้าโหมด.
โหมโรง : น. การประโคมดนตรีก่อนมหรสพลงโรง; เพลงเริ่มต้นของการ บรรเลงหรือการแสดง เพื่อบอกให้ทราบว่าพิธีหรืองานนั้นได้เริ่มขึ้นแล้ว แบ่งเป็นหลายชนิดตามลักษณะของงาน มหรสพที่แสดง และการบรรเลง เช่น โหมโรงเย็น โหมโรงเช้า โหมโรงเทศน์.
โหยหา : ก. คร่ำครวญถึงบุคคลผู้เป็นที่รักซึ่งพลัดพรากจากไปเป็นต้น.
โหร : [โหน] น. ผู้พยากรณ์โดยอาศัยการโคจรของดวงดาวเป็นหลัก; ผู้ให้ฤกษ์ และพยากรณ์โชคชะตาราศี. (ส., ป. โหรา).
โหราศาสตร์ : น. วิชาว่าด้วยการพยากรณ์โดยอาศัยการโคจรของดวงดาว เป็นหลัก.
โหลงโจ้ง : [โหฺลง-] (ปาก) ว. ลักษณะที่มีแต่นํ้าเป็นส่วนใหญ่ แทบไม่มีเนื้อเลย เช่น แกงมีแต่นํ้าโหลงโจ้ง.
โหว่ : ว. เป็นช่องกลวงเข้าไป, ทะลุเข้าไป.
โหว้ : ว. โว่, เป็นช่องเป็นรูที่แลเห็นลึกหรือทะลุ.
ให้ : ก. มอบ เช่น ให้ช่อดอกไม้เป็นรางวัล, สละ เช่น ให้ชีวิตเป็นทาน, อนุญาต เช่น ฉันให้เขาไปเที่ยว; เป็นคำช่วยกริยา บอกความบังคับหรืออวยชัยให้พร เป็นต้น เช่น แม่บอกให้ลูกไปนอน ขอให้เจริญรุ่งเรือง ขอให้เดินทางโดย สวัสดิภาพ แต่งตัวให้สวย ๆ นะ. (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้ให้โอนทรัพย์สินของตนให้โดยเสน่หาแก่บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ และผู้รับยอมรับเอาทรัพย์สินนั้น.
ให้การ : (กฎ) ก. ให้ถ้อยคําเกี่ยวกับเรื่องที่เป็นมา เช่น จําเลยให้การต่อศาล.
ไหน ๒, ไหนล่ะ, ไหนว่า, ไหนว่าจะ : ว. เป็นคำถามเชิงตัดพ้อต่อว่า ทวงถาม หรือสงสัย เป็นต้น เช่น ไหน พระผ่านฟ้าสัญญาน้อง จะปกป้องครองความพิสมัย. (อิเหนา), ไหนล่ะ รางวัล ไหนว่าไม่ลืม ไหนว่าจะพาไปเที่ยว.
ไหม ๑ : น. ชื่อผีเสื้อชนิด Bombyx mori ในวงศ์ Bombycidae ตัวอ้วนป้อมมีขนสี ขาวและสีครีมคลุมเต็ม ปีกมีลายเส้นสีนํ้าตาลอ่อนพาดตามขวางหลายเส้น ตัวหนอนสีขาวหรือสีครีม มีรยางค์เล็ก ๆ สั้น ๆ คล้ายเขาที่ปลายหาง กินใบหม่อนได้อย่างเดียว เมื่อโตเต็มที่จะถักใยหุ้มดักแด้ ซึ่งใยนี้สามารถ สาวเป็นเส้นไหมนํามาทอเป็นเสื้อผ้าได้, ใยของสัตว์ชนิดนี้ก็เรียกว่า ไหม; เรียกเครื่องนุ่งห่มที่ทอด้วยไหมว่า ผ้าไหม.
ไหม้ ๑ : ก. ติดเชื้อไฟ, ลุก, เผา, (ใช้แก่ไฟหรือความร้อน). ว. ถูกความร้อนจน เกรียมหรือจนเป็นถ่าน เช่น ข้าวไหม้; เกรียม, ดําคลํ้า, (ใช้แก่ผิว).
ไหม ๒ : ว. เป็นคําถาม มาจาก หรือไม่ เช่น กินไหม.
ไหรณย์ : [-รน] น. เงิน. ว. เป็นทอง, ทําด้วยทอง; เป็นเงิน, ทําด้วยเงิน. (ส. ไหรณฺย).
ไหล ๒ : น. ส่วนของพืชบางชนิดเช่นบอนและบัว ซึ่งเลื้อยชอนไปแตกเป็นหน่อ ขึ้น, หางไหล ก็เรียก.
ไหว้ : ก. ทําความเคารพโดยยกมือขึ้นประนม, ถ้าเป็นผู้น้อยไหว้ผู้ใหญ่หรือ ผู้ทรงศีลต้องก้มศีรษะลงแต่พองาม.
ฬ : พยัญชนะตัวที่ ๔๒ เป็นพวกอักษรตํ่า มักใช้ในคําไทยที่มาจากภาษาบาลี เช่น กีฬา จุฬา นาฬิกา, ตัว ฬ นี้ ในภาษาสันสกฤตไม่มีใช้ ในภาษาบาลีมีใช้ แต่ที่เป็นตัวตามหลัง เช่น จุฬา = มวยผม กีฬา = เล่น เขฬะ = นํ้าลาย, ใน ภาษาไทยแต่เดิมมีที่ใช้บ้าง เช่น ฬา (สัตว์) ฬ่อ (สัตว์) บาฬี บัดนี้ใช้เป็น ลา ล่อ บาลี หมดแล้ว ยังคงอยู่ก็แต่ที่ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน เช่น ทมิฬ ปลาวาฬ.
อ ๑ : พยัญชนะตัวที่ ๔๓ เป็นพวกอักษรกลาง ใช้เป็นพยัญชนะตัวต้น ได้อย่างตัวอื่น ๆ เช่น อา อก องค์, ใช้นําพยัญชนะเดี่ยวได้อย่าง อักษรกลางอื่น ๆ เช่น อนึ่ง องุ่น แอร่ม, ใช้นําตัว ย ให้เป็นเสียง อักษรกลาง แต่นิยมใช้อยู่ ๔ คํา คือ อย่า อยู่ อย่าง อยาก, ใช้เป็น เครื่องหมายรูปสระ ออ เช่น กอ ขอ และ''ประสมกับเครื่องหมาย เป็นสระ เอือ เออ เช่น เถือ เธอ, ใช้เป็นตัวเคียงสระ อือ เช่น คือ มือ.
อ ๒ : [อะ] เป็นอักษรใช้นําหน้าคําที่มาจากภาษาบาลีและสันสกฤต บอกความปฏิเสธหรือตรงกันข้าม แปลว่า ไม่ หรือ ไม่ใช่ เช่น อศุภ (ไม่งาม) อธรรม (ไม่ใช่ธรรม); ใช้เป็น อน เมื่ออยู่หน้าคํา ที่ขึ้นต้นด้วยสระ เช่น อเนก (อน + เอก) อนาจาร (อน + อาจาร). (ป., ส.).
อก ๑ : น. ส่วนของร่างกายด้านหน้าอยู่ระหว่างคอกับท้อง; ใจ เช่น อกกรม อกเขาอกเรา; เรียกไม้ที่เป็นแกนกลางของตัวว่าวว่า อกว่าว; เรียก เลื่อยที่มีไม้ยันกลางว่า เลื่อยอก, เรียกไม้อันกลางที่ยันเลื่อยให้ตึงว่า อกเลื่อย.
อกไก่ ๑ : น. เรียกอกคนที่มีลักษณะนูนยื่นออกมาอย่างอกของไก่; ชื่อลวดบัวแบบหนึ่ง มีลักษณะนูนเป็นสันขึ้นอย่างอกของไก่ เรียกว่า บัวอกไก่.