Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เย้าแหย่, แหย่, เย้า , then ยา, ยาหย, เย้, เย้า, เย้าแหย่, หย, แหย่ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เย้าแหย่, 894 found, display 451-500
  1. นิคาหก, นิคาหก : [หก, หะกะ] ว. ผู้ใช้วาจาหยาบ เช่น ผู้เป็นยาจกทลิทเชษฐชาติเชื้อ นิคาหกพราหมณ์. (ม. ร่ายยาว ชูชก). (ป. นิคฺคาหก ว่า ผู้ข่มขู่).
  2. นิมมานรดี : [นิมมานะระดี, นิมมานอระดี] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๕ แห่งสวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุมหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าวสุนิมมิตเป็นผู้ครอง, ในบทกลอนใช้ว่า นิมมานรดีต ก็มี เช่น ช่อชั้นนิมมานรดีต. (อิเหนา). (ป.; ส. นิรฺมาณ + รติ).
  3. นิยยานิก : [นิยะยานิกะ] (แบบ) ว. ที่นําออกไปจากทุกข์ เช่น นิยยานิกธรรม คือ ธรรมที่นําสัตว์ออกจากทุกข์. (ป., ส. นิรฺยาณิก).
  4. เนระพูสี : น. ชื่อเฟินชนิด Microlepia speluncae (L.) Moore ในวงศ์ Dennstaedtiaceae ต้นเป็นกอใช้ทํายาได้.
  5. เนื้อไม้ : น. ส่วนของต้นไม้ที่อยู่ถัดเปลือกเข้าไป; แก่นไม้หอม โดยมาก ใช้ทําธูป, ชนิดที่ดีมีสีดํา ใช้ทํายาไทย.
  6. แนะนำ : ก. ชี้แจงให้ทําหรือปฏิบัติ เช่น แนะนําให้ทําความดี แนะนํา ในการใช้ยา; บอกให้รู้จักกันตามธรรมเนียม.
  7. บ่ม : ก. ทําให้สุกหรือให้แห้งด้วยความอบอุ่น เช่น บ่มผลไม้ บ่มใบยา; โดยปริยายหมายความว่า สั่งสมอบรมให้สมบูรณ์ ในคำว่า บ่มบารมี บ่มนิสัย.
  8. บรรพชา : [บันพะ-, บับพะ-] น. การบวช เช่น บรรพชาเป็นกิจที่ทําได้ยาก, ถ้า ใช้เข้าคู่กับคํา อุปสมบท บรรพชาหมายความว่า การบวชเป็นสามเณร อุปสมบท หมายความว่า การบวชเป็นภิกษุ. ก. บวช เช่น บรรพชา เป็นสามเณร. (ป. ปพฺพชฺชา; ส. ปฺรวฺรชฺยา).
  9. บ่อน้ำร้อน : น. บ่อที่มีนํ้าผุดขึ้นมาจากใต้ดิน และมีอุณหภูมิสูงกว่า อุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ เกิดจากนํ้าไหลซึมซาบลงไปใต้ดินลึก มาก เมื่อไปกระทบอุณหภูมิสูง ทําให้นํ้าร้อนจัดขึ้น และขยายตัว หรือกลายเป็นไอเกิดแรงดันตัวเองขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหิน และดินขึ้นมาสู่ผิวดิน ทั้งละลายเอาแก๊ส แร่ธาตุ และสารเคมีที่มีอยู่ ตามชั้นดินต่าง ๆ ติดมาด้วย ที่พบเสมอมักจะเป็นธาตุกํามะถันและ แก๊สไข่เน่า นํ้าในบ่อนํ้าร้อนบางแห่งจึงอาจมีสมบัติทางยาได้.
  10. บอระเพ็ด : น. ชื่อไม้เถาชนิด Tinospora crispa (L.) Hook.f. et Thomson ในวงศ์ Menispermaceae เถาเป็นตุ่ม รสขม ใช้ทํายาได้.
  11. บัวตูม : น. ชื่อพืชเบียนชนิด Rafflesia kerrii Meijer ในวงศ์ Rafflesiaceae เกิดตามป่าดิบ เกาะเบียนรากไม้เถา ดอกตูมสีนวล ใช้ทํายาได้ เมื่อบานขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ ๓๐ เซนติเมตร สีนํ้าตาล แดงประเหลือง กลิ่นเหม็น, บัวผุด ก็เรียก.
  12. บัวบก : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Centella asiatica (L.) Urban ในวงศ์ Umbelliferae ขึ้นตามที่ชุ่มชื้น ทอดเลื้อยไปตามพื้นดิน ใบเดี่ยว กลม ขอบใบหยักเล็กน้อย ใบและต้นกินได้และใช้ทํายาได้, พายัพ และอีสานเรียก ผักหนอก, ปักษ์ใต้และตราดเรียก ผักแว่น. (๒) ชื่อ ไม้เถาชนิด Stephania pierrei Diels ในวงศ์ Menispermaceae ขึ้น ในป่าเบญจพรรณ รากพองเป็นหัวกลม ๆ ใบค่อนข้างกลมปลาย แหลม ใช้ทํายาได้.
  13. บากบั่น : ก. พากเพียร, ตั้งหน้าฝ่าความยากลําบาก.
  14. บาตรแก้ว : น. บาตรใหญ่ ๓ ใบ ถักเชือกรอบนอก ในพระราชพิธี กัตติเกยา.
  15. บานเย็น : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Mirabilis jalapa L. ในวงศ์ Nyctaginaceae รากอวบ ใบเดี่ยว โคนดอกเป็นหลอด ปลายบานเป็น ๕ แฉก บานใน เวลาเย็น มีหลายสี เช่น ขาว แดงอมม่วง เหลือง รากใช้ทํายาได้. ว. สีแดงอมม่วง.
  16. บุก ๑ : น. ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Amorphophallus วงศ์ Araceae ในต้นฤดูฝนจะออกดอกก่อน เวลาบานส่งกลิ่นเหม็นมาก เมื่อ ดอกโรยแล้วมีใบงอกออกมาเพียงใบเดียว ก้านดอกและใบกลม ยาว หน้าแล้งต้นตายเหลือหัวอยู่ใต้ดิน เช่น บุกคางคก(A. rex Prain ex Hook.f.) หัวกินได้, บุกรอ (A. saraburiensis Gagnep.) ใช้ทํายาได้.
  17. บุ้งร้วม : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Convolvulus arvensis L. ในวงศ์ Convolvulaceae ทอดเลื้อยตามพื้นดิน ต้นมีขน ดอกเล็ก สีขาว รากใช้ทํายาได้ เรียก ผักบุ้งร้วม. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Enydra fluctuans Lour. ในวงศ์ Compositae ขึ้นในนํ้าและที่ชื้นแฉะ ดอกเล็กสีขาว ๆ ใบมีรสขม ใช้ทํายาได้ เรียก ผักบุ้งร้วม.
  18. บุนนาค : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Mesua ferrea L. ในวงศ์ Guttiferae ใบยาวรี ปลายใบเรียวแหลม ดอกสีขาวคล้ายสารภีแต่ใหญ่กว่า กลิ่นหอม ใช้ทํายาได้ แก่นสีแดงเข้ม ใช้ทําเครื่องเรือน.
  19. บุหรี่ : [บุหฺรี่] น. ยาสูบที่ใช้ใบตองหรือกระดาษเป็นต้นมวนใบยาที่หั่น เป็นฝอย.
  20. เบญกานี ๑ : น. ชื่อเรียกก้อนแข็ง ๆ ที่เกิดตามใบของไม้ก่อชนิด Quercus infectoria Oliv. ในวงศ์ Fagaceae เกิดจากการวางไข่ของแมลง ชนิด Cynips tinctoria ในวงศ์ Cynipidae รสฝาดจัด ใช้ทํายาได้ เรียกว่า ลูกเบญกานี.
  21. เบญจกูล : น. เครื่องยา ๕ อย่าง คือ ขิง ดีปลี ช้าพลู สะค้าน เจตมูล เพลิง. (ส. ปญฺจโกล).
  22. เบี้ยแก้ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยว ๒ ชนิด ในวงศ์ Cypraeidae คือ ชนิด Cypraea mauritiana เปลือกเรียกว่า เบี้ยแก้ใหญ่ หรือ เบี้ยอีแก้ ใช้ขัดผ้าให้เนื้อเรียบเป็นมัน ชนิด C. caputserpentis เปลือกเรียกว่า เบี้ยแก้ ใช้ทํายา.
  23. เบือ ๑ : ว. เกลื่อนกลาด (ใช้แก่กริยาตาย) ในคําว่า ตายเป็นเบือ คือ ตาย เกลื่อน กลาดไปเหมือนถูกยาเบื่อ.
  24. เบื่อ ๑ : ก. วางยาพิษเป็นต้นให้เมาหรือให้ตาย เช่น เบื่อหนู เบื่อปลา. ว. เมา. น. เรียกสารที่ทําให้เมาหรือให้ตายว่า ยาเบื่อ.
  25. แบหลา. : (กลอน) ก. ฆ่าตัวตาย เช่น เห็นเพลิงพลุ่งรุ่งโรจน์โชตนา ก็แบหลาโจนเข้าในอัคคี, ฉวยคว้าได้กริชของพี่ยา จะแบหลาชีวัน ให้บรรลัย, น้องจะแบหลาครานี้ ตายตามพระพี่ที่หายไป. (อิเหนา).
  26. โบรมีน : น. ธาตุลําดับที่ ๓๕ สัญลักษณ์ Br เป็นอโลหะ ลักษณะเป็นของเหลว สีแดงเข้ม ระเหยเป็นไอได้ง่าย มีกลิ่นฉุนจัด เป็นพิษ ระคายเยื่อจมูก เดือดที่ ๕๘.๘ ?ซ. สารประกอบของโบรมีนใช้เป็นยาและใช้ในการ ถ่ายรูป. (อ. bromine).
  27. ใบก้นปิด : น. ชื่อไม้เถาชนิด Stephania japonica (Thunb.) Miers var. discolor (Blume) Forman ในวงศ์ Menispermaceae ก้านใบลํ้าอยู่ใต้โคนใบ ใบใช้ทํายาได้.
  28. ใบสั่ง : น. หนังสือสั่งให้ปฏิบัติตามที่แจ้งไว้ เช่น ใบสั่งยา ใบสั่งจ่าย ใบสั่งให้ไปเสียค่าปรับ.
  29. ปฏิชีวนะ : [-ชีวะนะ] น. เรียกยาประเภทที่มีสารที่สกัดจากผลผลิตของเชื้อ จุลินทรีย์ ใช้ฆ่าหรือยับยั้งการแพร่พันธุ์ของแบคทีเรีย ว่า ยาปฏิชีวนะ. (อ. antibiotics).
  30. ปฏิญญา : [ปะตินยา] น. การให้คํามั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันโดยถือเอา สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง. (ป.). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน น. การให้คํามั่นสัญญาหรือการ แสดงยืนยันถึงสิทธิหรืออํานาจอันชอบธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นที่ยอมรับ กันทั่วไป.
  31. ปฐมพยาบาล : [ปะถมพะยาบาน] น. การปฏิบัติขั้นต้นยามฉุกเฉิน ตามวิธีแพทย์ก่อนลงมือรักษาพยาบาล.
  32. ปรนิมมิตวสวัตดี : [ปะระนิมมิตตะวะสะวัดดี, ปอระ-] น. ชื่อสวรรค์ชั้นที่ ๖ แห่ง สวรรค์ ๖ ชั้น ได้แก่ จาตุมหาราชหรือจาตุมหาราชิกหรือจาตุ มหาราชิกา ดาวดึงส์ ยามา ดุสิต นิมมานรดี และปรนิมมิตวสวัตดี, มีท้าววสวัตดีมารเป็นผู้ครอง.
  33. ปรอท : [ปะหฺรอด] น. ธาตุลําดับที่ ๘๐ สัญลักษณ์ Hg เป็นโลหะ ลักษณะ เป็นของเหลว สีเงิน แข็งตัวที่ -๓๘.๓๖?ซ. เดือดที่ ๓๕๗?ซ. ใช้ ประโยชน์นําไปทําเทอร์โมมิเตอร์ บารอมิเตอร์ โลหะเจือซึ่งเรียกว่า อะมัลกัม (amalgam) ใช้ในงานทันตกรรมและทําเครื่องมือวิทยาศาสตร์ อื่น ๆ สารประกอบของปรอทเป็นพิษ แต่บางอย่างใช้เป็นยาได้. (อ. mercury); (ปาก) เครื่องวัดอุณหภูมิ; โดยปริยายหมายถึงอาการ ที่เป็นไปอย่างรวดเร็วว่องไว เช่น ไวเป็นปรอท. (ป., ส. ปารท).
  34. ประกอบ : ก. เอาชิ้นส่วนต่าง ๆ มารวมหรือคุมกันเข้าเป็นรูปร่างตามที่ต้องการ เช่น ประกอบรถยนต์; ทํา เช่น ประกอบอาชีพ ประกอบธุรกิจ; ประสมหรือปรุงเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประกอบยา; เสริม, เพิ่มเติม, เช่น อธิบายประกอบ.
  35. ประคบ : ว. เรียกผ้าที่ห่อเครื่องยาผูกเป็นลูกกลม ๆ อังไฟแล้วนาบหรือคลึง บริเวณที่ปวดว่า ลูกประคบ. ก. นาบหรือกดคลึงด้วยลูกประคบ.
  36. ประคำไก่ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Drypetes roxburghii Wall. ในวงศ์ Euphorbiaceae ลําต้นและกิ่งก้านสีขาวนวล ใบหนาเป็นมัน ผลกลมรีสีขาวอมเทา ใช้ทํายาได้, มะคําไก่ ก็เรียก.
  37. ประคำดีควาย : น. ชื่อไม้ต้น ๒ ชนิดในสกุล Sapindus วงศ์ Sapindaceae คือ ชนิด S. trifoliatus L. ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๔-๖ ใบ และชนิด S. rarak A. DC. มีใบย่อย ๑๔-๓๐ ใบ ทั้ง ๒ ชนิด ผลกลมขนาดผลพุทรา ใช้ทํายาได้ เมื่อชงกับนํ้าร้อน ใช้ซักผ้าไหม หรือล้างเครื่องเพชรแทนสบู่ได้, มะคําดีควาย หรือ มะซัก ก็เรียก.
  38. ประจุ : ก. บรรจุ, ใส่; ใส่เข้าที่ให้แน่น เช่น ประจุดินปืน; เข้าประจําที่, เข้าประจําตําแหน่ง. น. เรียกยาที่ขับพิษถ่ายพิษว่า ยาประจุ.
  39. ประดิชญา : [ปฺระดิดยา, ปฺระดิดชะยา] (แบบ) น. ปฏิญญา. (ส. ปฺรติชฺ?า).
  40. ประติชญา : [ปฺระติดชะยา] น. ปฏิญญา. (ส. ปฺรติชฺ?า; ป. ปฏิญฺ?า).
  41. ประทัด ๒ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Quassia amara L. ในวงศ์ Simaroubaceae ใบเป็นใบประกอบ ดอกสีแดง กลีบดอกแยกจากกัน เปลือกใช้ ทํายาได้, ประทัดใหญ่ ประทัดจีน หรือ ประทัดทอง ก็เรียก. (๒) ชื่อไม้พุ่มชนิด Russelia equisetiformis Schltr. et Cham. ในวงศ์ Scrophulariaceae ลําต้นเป็นเหลี่ยม แตกกิ่งก้านสาขามาก ใบเป็นฝอย คล้ายใบสน ดอกมีหลายสี กลีบดอกเป็นหลอดแคบ ๆ, ประทัดเล็ก หรือ ประทัดฝรั่ง ก็เรียก.
  42. ประสะ : ก. ฟอกหรือชําระสิ่งต่าง ๆ เช่นเครื่องยาเพื่อให้สะอาดหรือให้รส อ่อนลง; ใช้เรียกยาที่เข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ เช่น ประสะขิง ก็คือเข้าขิงเท่ากับยาอื่นเป็นต้น.
  43. ปรัชญา : [ปฺรัดยา, ปฺรัดชะยา] น. วิชาว่าด้วยหลักแห่งความรู้และความจริง. (ส.).
  44. ปรัสสบท : [ปะรัดสะบด] น. ''บทเพื่อผู้อื่น'', ในตำราไวยากรณ์บาลีและ สันสกฤตใช้เป็นเครื่องหมายให้ทราบว่าเป็นกริยากัตตุวาจก เช่น สูโท โอทนํ ปจติ = พ่อครัวหุงอยู่ซึ่งข้าวสุก ปจติ เป็นกริยาปรัสสบท, ตรงข้ามกับ อัตตโนบท.
  45. ปราชญา : [ปฺราดยา] น. ปัญญา. (ส. ปฺรชฺ?า; ป. ป?ฺ?า).
  46. ปริก ๒ : [ปฺริก] น. ชื่อไม้ล้มลุกมีหัวใต้ดินชนิด Asparagus sprengeri Regel ในวงศ์ Asparagaceae ดอกสีขาว กลิ่นหอม ใช้ทํายาได้.
  47. ปริญญา : [ปะรินยา] น. ความกําหนดรู้, ความหยั่งรู้, ความรู้รอบ; ชั้นความรู้ขั้น มหาวิทยาลัยซึ่งประสาทให้แก่ผู้ที่สอบไล่ได้ตามที่กําหนดไว้, ถ้า ประสาทแก่ผู้ทรงวิทยาคุณหรือผู้มีเกียรติตามที่เห็นสมควร เรียกว่า ปริญญากิตติมศักดิ์. (ป.; ส. ปริชฺ?า).
  48. ปรีชญา : [ปฺรีดยา] (แบบ) น. ปรีชา เช่น อันประกอบด้วยจักษุคือปรีชญา. (นันโท). (ส. ปฺริชฺ?า).
  49. ปรู ๑ : [ปฺรู] น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Alangium salviifolium Wang. ในวงศ์ Alangiaceae ดอกสีขาว ออกเป็นกระจุก ตามง่ามใบ กลิ่นหอม เนื้อไม้สีนํ้าตาลคลํ้า ใช้ทําด้ามปืน พานท้ายปืน เปลือกรากใช้ทํายาได้.
  50. ปล้นสะดม : (โบ) ก. ปล้นโดยใช้วิธีรมยาให้เจ้าของทรัพย์หลับสนิท ไม่รู้สึกตัว.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-894

(0.0816 sec)