Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เย้าแหย่, แหย่, เย้า , then ยา, ยาหย, เย้, เย้า, เย้าแหย่, หย, แหย่ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เย้าแหย่, 894 found, display 701-750
  1. ละหุ่ง : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Ricinus communis L. ในวงศ์ Euphorbiaceae เมล็ดเป็นพิษ นํ้ามันที่ได้จากการหีบโดยไม่ใช้ความร้อนใช้ทํายาได้.
  2. ละเหี่ย : ก. อ่อนใจ, อิดโรย, เช่น กินยาลมแก้ใจละเหี่ย, ละเหี่ยใจ ก็ว่า.
  3. ละเอียด : ว. ไม่หยาบ เช่น บดยาให้ละเอียด ทรายละเอียด, เป็นเส้นเล็ก ๆ เช่น ผมเส้นละเอียด ยาฝอยเส้นละเอียด, เป็นผง, เป็นจุณ, เช่น แป้งผัดหน้า ละเอียด, เป็นชิ้นเล็กชิ้นน้อย เช่น แก้วแตกละเอียด; ที่ต้องชี้แจงหรือ แจกแจงโดยไม่ให้มีอะไรขาดตกบกพร่อง เช่น เรื่องนี้ต้องอธิบายโดย ละเอียด; ถี่ถ้วน, รอบคอบ, เช่น เจ้าหน้าที่การเงินควรเป็นคนละเอียด, ประณีต เช่น ฝีมือสอยผ้าละเอียด ฝีมือถักเสื้อละเอียด.
  4. ลาข้าวพระ : ก. ทําพิธีอย่างหนึ่งเมื่อถอนสํารับพระพุทธ โดยยกมือ ประนมกล่าวคําว่า เสสํ มงฺคลํ ยาจามิ แล้วยกสํารับออกมา.
  5. ลำไย : น. (๑) ชื่อไม้ต้นชนิด Dimocarpus longan Lour. ในวงศ์ Sapindaceae ผลกลม รสหวาน, พันธุ์ที่เป็นไม้เถาเรียก ลําไยเครือ (D. longan Lour. var. obtusus Leenh.). (๒) (ถิ่น–ปักษ์ใต้) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Mangifera caesia Jack ในวงศ์ Anacardiaceae ดอกสีม่วงอ่อน, บินยา หรือ ลํายา ก็เรียก.
  6. ลิ้นจะกวด : น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
  7. ลิ้นทะเล : น. กระดองปลาหมึกชนิดหนึ่ง สําหรับใช้ทํายาและขัดสิ่งของ เป็นต้น. (พจน. ๒๔๙๓).
  8. ลูก : น. ผู้มีกําเนิดจากพ่อแม่ หรือโดยปริยายถือว่ามีฐานะเสมือนลูก, คํา ที่พ่อแม่เรียกลูกของตนโดยตรง หรือเรียกเด็กอื่นหรือผู้เยาว์กว่าผู้พูด หลายปีด้วยความรู้สึกรักและเอ็นดู เช่น ลูกกินยาเสียซิ, คําที่ลูกใช้ แทนชื่อตนเวลาพูดกับพ่อแม่ด้วยความรักและเคารพ เช่น ลูกยังไม่ ง่วงนอน, เรียกสัตว์ที่ยังไม่โต เช่น ลูกแมว ลูกหมา, เรียกสิ่งที่จะสืบ เป็นพันธุ์ไม้มีลักษณะกลม ๆ ว่า ลูกไม้, ผลไม้ ก็เรียก, เมื่อกล่าวถึง ผลไม้ชนิดใดโดยเฉพาะ ซึ่งโดยมากเป็นคําพยางค์เดียวอันอาจทํา ให้เข้าใจผิดเป็นอย่างอื่นได้ ตามปรกติมักมีคํา ลูก ประกอบข้างหน้า เช่น ลูกเกด ลูกชิด, เรียกสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือโดย อนุโลมว่า ลูก เช่น ลูกกุญแจ ลูกเต๋า ลูกหิน, ลักษณนามใช้แก่ลูกไม้ หรือสิ่งที่มีรูปกลม ๆ หรือยาว ๆ หรือคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น มะม่วง๕ลูก ลูกหิน ๒ ลูก ขนมจีบ ๑๐ ลูก มะเขือยาว ๔ ลูก แป้งข้าวหมาก ๓ ลูก. ว. ที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น เคี่ยวกะทิเป็นลูก.
  9. ลูกกลอน : น. เม็ดยาเปียก ๆ ที่ปั้นเป็นก้อนกลมเพื่อกลืนกิน.
  10. ลูกเขยตายแม่ยายทำศพ : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Euphorbia cyathophora Murr. ในวงศ์ Euphorbiaceae ใช้ทํายาได้, ลูกเขยตายแม่ยายชักปรก ก็เรียก.
  11. ลูกเคล้า : น. ชื่อหญ้าชนิดหนึ่งใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
  12. ลูกซัด ๑ : น. เมล็ดของต้นซัด (Trigonella foenum—graecum L.) ใช้ทำยาได้ โบราณนิยมใช้ต้มชุบผ้าให้มีกลิ่นหอม.
  13. ลูกประคบ : น. ผ้าห่อเครื่องยาผูกเป็นลูกกลม ๆ ใช้อังไฟนาบหรือ กดคลึงตามร่างกายตรงบริเวณที่ปวดหรือโนเป็นต้น.
  14. ลูกหินบด : น. หินแท่งกลมยาวสําหรับบดยา, คู่กับ แม่หินบด.
  15. เล็บมือนาง ๒ : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Quisqualis indica L. ในวงศ์ Combretaceae ดอกแรกบานสีขาวแล้วเปลี่ยนเป็นสีชมพูและแดง กลิ่นหอม ออก เป็นช่อ เมล็ดใช้ทํายาได้. (๒) ชื่อกล้วยพันธุ์หนึ่งของชนิด Musa acuminata Colla ผลเล็กอย่างนิ้วมือ.
  16. เละเทะ : ว. ไม่เป็นระเบียบ เช่น หัวหน้าไม่อยู่ งานการเละเทะ; มีความประพฤติเหลวไหลไม่มีความรับผิดชอบ เช่น คนกินเหล้า เมายาเป็นคนเละเทะ เชื่อถือไม่ได้, มีความประพฤติเป็นที่น่ารังเกียจ (มักใช้ในทางชู้สาว) เช่น ผู้หญิงคนนั้นทำตัวเละเทะ.
  17. เลียงผา ๒ : น. ชื่อไม้เถาชนิดหนึ่ง ใบคล้ายใบดีปลี ต้นและใบสีเขียว ใช้ทํายา ได้. (พจน. ๒๔๙๓).
  18. โลดทะนง : น. ชื่อไม้พุ่มขนาดเล็กชนิด Trigonostemon reidioides (Kurz) Craib ในวงศ์ Euphorbiaceae เปลือกหอม ใช้ทํายาได้.
  19. โลท : [โลด] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Symplocos racemosa Roxb. ในวงศ์ Symplocaceae ใช้ทํายาได้. (ป. โลทฺท; ส. โลธฺร).
  20. ไล่ลม : ก. ทำให้ลมหรือแก๊สออกจากร่างกายโดยวิธีใช้ยาหรือนวด เป็นต้น.
  21. วณิชชา : [วะนิดชา] น. การค้าขาย. (ป.; ส. วณิชฺยา).
  22. วณิชย์, วณิชยา : [วะนิด, วะนิดชะยา] น. การค้าขาย. (ส.).
  23. วัชรอาสน์ : น. อาสนะที่พระพุทธเจ้าประทับใต้ต้นพระศรีมหาโพธิ ณ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ในวันตรัสรู้ เรียกว่า พระแท่นวัชรอาสน์, โพธิบัลลังก์ หรือ รัตนบัลลังก์ ก็เรียก. (ส. วชฺราสน).
  24. วางยา : ก. ให้กินยาเพื่อรักษาโรค เช่น หมอวางยาคนไข้ ได้ถูกกับโรค, ลอบเอายาพิษให้กิน เช่น โดนวางยาในอาหาร; โดยปริยายหมายความว่า พูดให้เสียหาย.
  25. ว่างเว้น : ก. งด, เว้น, เช่น ว่างเว้นจากการเสพสุรายาเมา เขาเคยมา เสมอ แต่หมู่นี้ว่างเว้นไป.
  26. ว่าน : น. ชื่อเรียกพืชบางชนิดที่มีหัวบ้าง ไม่มีหัวบ้าง ใช้ทำยาบ้าง หรือ เชื่อกันว่าทำให้อยู่ยงคงกระพันและเป็นสิริมงคล เช่น ว่านนางล้อม ว่านเสน่ห์จันทร์แดง. ว่านกาบหอย
  27. วายามะ : น. ความพยายาม, ความหมั่น, ความบากบั่น. (ป.; ส. วฺยายาม).
  28. วิชชา : [วิด] น. ความรู้แจ้ง เช่น วิชชา ๓ วิชชา ๘ ในพระพุทธศาสนา, วิชชา ๓ คือ ๑. บุพเพนิวาสานุสติญาณ (รู้จักระลึกชาติได้) ๒.จุตูปปาตญาณ(รู้จักกําหนดจุติและเกิด) ๓. อาสวักขยญาณ (รู้จักทํา อาสวะให้สิ้น), ส่วนวิชชา ๘ คือ ๑. วิปัสสนาญาณ (ญาณอันนับเข้า ในวิปัสสนา) ๒. มโนมยิทธิ (ฤทธิ์ทางใจ) ๓. อิทธิวิธิ (แสดงฤทธิ์ได้) ๔. ทิพโสต (หูทิพย์) ๕. เจโตปริยญาณ (รู้จักกําหนดใจผู้อื่น) ๖. บุพเพนิวาสานุสติญาณ ๗. ทิพจักขุ (ตาทิพย์) ๘. อาสวักขยญาณ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
  29. วิชา : น. ความรู้, ความรู้ที่ได้ด้วยการเล่าเรียนหรือฝึกฝน, เช่น วิชาภาษาไทย วิชาช่าง วิชาการฝีมือ. (ป. วิชฺชา; ส. วิทฺยา).
  30. วิญญาณกทรัพย์ : [วินยานะกะซับ, วินยานนะกะซับ] (กฎ; โบ) น. สิ่งที่มีวิญญาณหรือชีวิตซึ่งนับเป็นทรัพย์ เช่น ทาส ช้าง ม้า วัว ควาย, สวิญญาณกทรัพย์ ก็ว่า.
  31. วิสัญญีแพทย์ : น. แพทย์ผู้เชี่ยวชาญการให้ยาชาและยาสลบ.
  32. วิสัญญีวิทยา : น. วิชาที่ว่าด้วยการให้ยาชาและยาสลบ.
  33. เวชศาสตร์ : [เวดชะสาด] น. ชื่อตํารารักษาโรคแผนโบราณ, วิชาว่าด้วยการรักษาโรคโดยการใช้ยา.
  34. เวศยา : [เวดสะหฺยา] น. แพศยา. (ส.).
  35. แว่น ๑ : น. สิ่งที่เป็นแผ่นเป็นวงหรือเป็นดวง เช่น หั่นมะเขือเทศให้เป็นแว่น, ใช้แก่สิ่งซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น อาจจะมีคำอื่นมาขยาย และ เรียกชื่อตามหน้าที่ตามความหมาย หรือตามลักษณะของสิ่งนั้น ๆ เช่น แว่นแคว้น แว่นส่องหน้า; (ถิ่นอีสาน) กระจก; เครื่องโรยขนมจีน เป็นแผ่นกลม ทำด้วยทองเหลืองหรือทองแดงเป็นต้นที่เจาะรูทั่ว แผ่นเย็บติดไว้ตรงกลางผ้าสี่เหลี่ยมซึ่งเจาะรูให้พอเหมาะกับแผ่น ทองเหลืองหรือทองแดงนั้น, หน้าแว่น ก็เรียก; ลักษณนาม เรียกสิ่งกลม ๆที่ตัดออกตามขวางเป็นชิ้นบาง ๆ เช่น บอระเพ็ด ๗ แว่น มันเทศ ๕ แว่น; โดยปริยายหมายถึงหนังสือคู่มือ เช่น แว่นไวยากรณ์ แว่นอังกฤษ.
  36. ไวพจน์ : น. คําที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง, คําพ้องความ ก็ว่า, (ป. เววจน); (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยา ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คําที่ออกเสียง เหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล, ปัจจุบันเรียกว่า คําพ้องเสียง.
  37. ศยามล : [สะหฺยามน] น. สีดํา. ว. ผิวคลํ้า, ดํา. (ส.).
  38. ศัยยา : น. ที่นอน, ฟูก, เบาะ. (ส.; ป. เสยฺยา).
  39. ศัลกี : [สันละกี] น. ชื่อไม้ต้นชนิด BosWellia serrata Roxb. ในวงศ์ Burseraceae ยางมีกลิ่นหอมใช้ทํายาได้. (ส. ศลฺลกี; ป. สลฺลกี).
  40. ศิษยานุศิษย์ : [สิดสะยานุสิด] น. ศิษย์น้อยใหญ่.
  41. สตรีลิงค์, สตรีลึงค์ : (ไว) น. เพศของคําที่เป็นเพศหญิง เช่น ย่า ยาย แม่ นารี, อิตถีลิงค์ ก็ว่า. (ส. สฺตรีลิงฺค; ป. อิตฺถีลิงฺค).
  42. สนแผง, สนหางสิงห์ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Thuja orientalis L. ในวงศ์ Cupressaceae ใบเป็นแผง ใบและเมล็ดใช้ทํายาได้.
  43. สนุ่น ๑ : [สะหฺนุ่น] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Salix tetrasperma Roxb. ในวงศ์ Salicaceae ชอบขึ้นริมนํ้า ใบเรียวเล็ก ท้องใบขาว เปลือก และราก ใช้ทํายา, ตะไคร้บก ก็เรียก.
  44. ส้มกุ้ง ๒ : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Ampelocissus martinii Planch. ในวงศ์ Vitaceae เถาและใบมีขนสีแดง ผลกลมออกเป็นพวงคล้ายองุ่น. (๒) ชื่อไม้เถา ชนิด Embelia ribes Burm.f. ในวงศ์ Myrsinaceae เถาและใบเกลี้ยง ผล กลมออกเป็นช่อ ใช้ทํายาได้. (๓) ชื่อไม้เถาชนิด Rubus moluccanus L. ในวงศ์ Rosaceae เถามีขนและหนาม ผลออกเป็นกระจุก สุกสีแดง กินได้. (๔) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Begonia inflata C.B. Clarke ในวงศ์ Begoniaceae ต้นและใบอวบนํ้า ใบมีรสเปรี้ยว.
  45. สมญา : [สมยา] น. ชื่อที่ตั้งให้ กร่อนมาจากคำว่า สมัญญา. สมญานาม [สมยานาม] น. สมญา.
  46. สมบูรณาญาสิทธิราชย์ : [สมบูระนายาสิดทิราด] น. ระบอบการปกครองซึ่งพระมหากษัตริย์ มีอํานาจสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ. (อ. absolute monarchy).
  47. ส้มป่อย : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Acacia concinna (Willd.) DC. ในวงศ์ Leguminosaeใบเป็นฝอยคล้ายใบชะอมแต่รสเปรี้ยว ใช้ทํายาได้ ฝักใช้สระ หัวต่างสบู่และใช้ทํายาได้.
  48. ส้มมือ : น. ชื่อส้มชนิด Citrus medica L. var. sarcodactylis Swing. ในวงศ์ Rutaceae ส่วนล่างของผลมีลักษณะคล้ายนิ้วมือ ใช้ทํายาดมได้.
  49. ส้มลิ้ม ๒ : น. ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
  50. ส้มสันดาน : น. ชื่อไม้เถาชนิด Cissus hastata Miq. ในวงศ์ Vitaceae ใบมีรสเปรี้ยว ใช้ทํายาได้.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | [701-750] | 751-800 | 801-850 | 851-894

(0.0921 sec)