Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หลายครั้ง, ครั้ง, หลาย , then ครง, ครั้ง, หลาย, หลายครั้ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หลายครั้ง, 999 found, display 651-700
  1. มอด ๑ : น. ชื่อแมลงขนาดเล็กหลายชนิดในหลายวงศ์ที่เจาะกินเข้าไปในวัสดุต่าง ๆ ทําให้เกิดเป็น รูพรุนทั่วไปกับทั้งมีวัสดุผสมมูลขับถ่ายออกมาเป็นขุยเป็นเม็ดเล็ก ๆ เรียก ขี้มอด ส่วนใหญ่เป็น แมลงปีกแข็ง เช่น มอดข้าวสาร (Sitophilus oryzae) ในวงศ์ Curculionidae ทําลายข้าวสาร, มอดไม้ไผ่ (Dinoderus minutus) ในวงศ์ Bostrychidae เจาะไม้ไผ่แห้งเป็นรูเท่ารูเข็มกระจายทั่วไป; เรียกหน้าที่เป็นรอย ๆ อย่างมอดเจาะเช่นหน้าคนที่เป็นฝีดาษว่า หน้ามอด.
  2. มะเขือ : น. ชื่อไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Solanum วงศ์ Solanaceae ที่ผลกินได้คือ ชนิด S. melongena L. ผลกลม ๆ มีหลายพันธุ์ เช่น มะเขือไข่เต่า มะเขือเจ้าพระยา มะเขือละโว้, มะเขือยาว [S. melongena L. var. serpentinum (Desf.) Bailey] ผลยาว มีหลายสี, ชนิดที่ผลกินไม่ได้ คือ มะเขือขื่น (S. aculeatissimum Jacq.) รากใช้ทํายาได้.
  3. มะเดื่อ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Ficus วงศ์ Moraceae เช่น มะเดื่อปล้อง (F. hispida L.) ใบสากคาย, มะเดื่ออุทุมพร หรือ มะเดื่อชุมพร (F. racemosa L.) ใบเกลี้ยง ผลกินได้, มะเดื่อกวาง หรือ ลิ้นกระบือ (F. callosa Willd.) ใบแข็งหนา.
  4. มะม่วง ๑ : น. ชื่อไม้ต้นในสกุล Mangifera วงศ์ Anacardiaceae มีหลายชนิดและหลายพันธุ์ เช่น อกร่อง พิมเสน ซึ่งเป็นชนิด M. indica L., กะล่อน หรือ ขี้ไต้ เป็นชนิด M. caloneura Kurz ใบอ่อนและผลใช้เป็นอาหาร.
  5. มะลิ่ม : น. ชื่อเพลงไทย มีหลายชนิด.
  6. มะแว้ง : น. ชื่อพรรณไม้หลายชนิดในสกุล Solanum วงศ์ Solanaceae ที่เป็นไม้พุ่มเรียก มะแว้งต้น เช่น ชนิด S. sanitwongsei Craib, ที่เป็น เถาเรียก มะแว้งเครือ (S. trilobatum L.), ทั้ง ๒ ชนิดผลเล็กเป็นพวง กินได้ และใช้ทํายาได้, อีสานเรียก หมากแข้ง.
  7. มะหาด : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Artocarpus วงศ์ Moraceae เช่น ชนิด A. lakoocha Roxb. ผลกลม ผิวขรุขระคล้ายขนุน แต่เล็กกว่ามาก รสเปรี้ยว ๆ หวาน ๆ แก่นใช้ทํายาได้.
  8. มังกง : น. ชื่อปลาชนิด Mystus gulio ในวงศ์ Bagridae ไม่มีเกล็ด มีหนวดยาว ๔ คู่ หัวแบนลง ปากอยู่ตํ่าที่ตอนปลายของหัว ครีบหลังตอนที่ ๒ ซึ่งเป็นแผ่นเนื้อมีขนาดเล็ก ลําตัวและ ครีบมีเพียงพื้นสีนํ้าตาลคลํ้าหรือเทาดํามีชุกชุมทั่วไปตามแหล่งนํ้าจืดใกล้ทะเล บางครั้งจับได้ ในนํ้ากร่อยขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, แขยงหนู ก็เรียก.
  9. มัน ๑ : น. ชื่อเรียกไม้เถาหรือไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในหลายวงศ์ที่หัวใช้ เป็นอาหารได้.
  10. มันนก : น. ชื่อมันหลายชนิดในสกุล Dioscorea วงศ์ Dioscoreaceae เช่น ชนิด D. inopinata Prain et Burk. หัวกินได้.
  11. มัสตาร์ด ๑ : น. เครื่องปรุงรสชนิดหนึ่ง ทําจากเมล็ดของพืชล้มลุกหลายชนิดในสกุล Brassica วงศ์ Cruciferae สีเหลือง รสเผ็ด. (อ. mustard).
  12. มัสตาร์ด ๒ : น. สารพิษร้ายแรงชนิดหนึ่ง มีชื่อทางเคมีว่า ไดคลอโรไดเอทิลซัลไฟด์ (dichloro diethylsulphide) มีสูตร (CH2CH2Cl)2 S ลักษณะเป็นของเหลว คล้ายนํ้ามัน เคยใช้ในสงครามโลกครั้งที่ ๑ และเรียกกันว่า แก๊สมัสตาร์ด.
  13. มาก : ว. หลาย, ตรงกันข้ามกับ น้อย, เช่น คนมาก น้ำมาก กินมาก. มากขี้ควายหลายขี้ช้าง (สํา) ว. มากมายเสียเปล่า ใช้ประโยชน์ไม่ได้.
  14. มากมาย, มากมายก่ายกอง : ว. มากเหลือหลาย เช่น มีเงินมากมาย ก่ายกอง, ล้นหลาม เช่น มีคนมาร่วมงานมากมาย.
  15. มากหมอมากความ : (สํา) ว. หลายคนก็มีความเห็นแตกต่างกัน เป็นหลายอย่างจนตกลงกันไม่ได้.
  16. มาน ๑ : น. ชื่อโรคจำพวกหนึ่ง เกิดได้หลายสาเหตุ เช่น มีถุงน้ำเกิดที่เยื่อบุ ช่องท้อง การอุดกั้นหลอดเลือดดำหรือทางเดินของน้ำเหลือง ตับแข็ง ลิ้นหัวใจพิการ ไตอักเสบเรื้อรัง ทำให้มีน้ำสีเหลืองใสอยู่ในช่องท้อง อาจมีเพียงเล็กน้อยหรือมากถึง ๑๕-๒๐ ลิตร เป็นเหตุให้หน้าท้องโป่ง พองจนเห็นได้ชัด น้ำหนักเพิ่ม แน่นท้อง ท้องผูก เบื่ออาหาร หายใจ ลำบาก เท้าบวม เป็นต้น.
  17. มาลัยชำร่วย : น. มาลัยพวงเล็ก ๆ สำหรับให้เป็นของชำร่วย มีหลายแบบ เช่น มาลัยตุ้ม มาลัยตัวด้วง.
  18. ม้าลาย : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในสกุล Equus วงศ์ Equidae รูปร่างเหมือนม้าแต่มีลายสีดําขาวพาดขวางลําตัวตัดกันสะดุดตา เห็นได้ชัดเจน จมูกดํา ขนแผงคอสั้น ใบหูและตาโต กีบเท้ากลมเล็ก ขนหางยาวเป็นพวงเฉพาะตอนครึ่งปลายของหาง ส่วนโคนหาง ไม่มีขนยาว ดูคล้ายครึ่งหางม้าครึ่งหางวัว อาศัยอยู่ตามทุ่งหญ้า ราบโล่ง อยู่รวมกันเป็นฝูง กินหญ้า ถิ่นกําเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกา มีหลายชนิด เช่น ชนิด E. grevyi ซึ่งเป็นพันธุ์ที่มีขนาดใหญ่ ที่สุด ชนิด E. burchelli เป็นชนิดที่นิยมนํามาเลี้ยงตามสวนสัตว์ ทั่ว ๆ ไป.
  19. มาสก : [มา-สก] น. ชื่อมาตราเงินในครั้งโบราณ ๕ มาสก เป็น ๑ บาท. (ป.; ส. มาษก).
  20. มิสซา : น. พิธีกรรมในศาสนาคริสต์ นิกายโรมันคาทอลิก เพื่อระลึกถึง พระเยซูที่ทรงสั่งเสียสาวกขณะที่รับประทานอาหารมื้อสุดท้าย โดยสัญญาว่า เมื่อประกอบพิธีแบ่งขนมปังดังที่พระองค์กระทํา พระองค์จะเสด็จมาประทับร่วมด้วยทุกครั้ง. (ล. missa; อ. mass).
  21. มีดเหน็บ : น. มีดขนาดกลาง ใบมีดรูปร่างปลายแหลม กลางป่อง โคนแคบ สันค่อนข้างหนา ด้ามทำเป็นกั่นสอดติดกับด้ามไม้หรือทำ เป็นบ้องติดอยู่ในตัวก็มี ปรกติสอดใบมีดไว้ในฝักซึ่งทำด้วยไม้หรือ หวายสาน ไว้ขัดเอว ในเวลาออกนอกบ้าน ใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง, มีดอีเหน็บ ก็เรียก.
  22. เมี่ยง ๒ : น. ของกินเล่นที่ใช้ใบไม้บางชนิด เช่น ใบชาหมัก ใบชะพลู ใบทองหลาง ห่อเครื่อง มีถั่วลิสง มะพร้าว กุ้งแห้ง หัวหอม ขิง เป็นต้น มีหลายชนิด เรียกชื่อต่าง ๆ กัน เช่น เมี่ยงคำ เมี่ยงลาว เมี่ยงส้ม.
  23. เมื่อ : น. ครั้ง, คราว, เช่น เรื่องนี้เกิดเมื่อเขาไปต่างจังหวัด, โอกาส เช่น พบได้ทุกเมื่อ, ขณะที่ เช่น เมื่อเขาออกจากบ้าน ฝนก็ตก, คำนำหน้าคำบอกเวลาที่ล่วงไปแล้ว เช่น เมื่อคืนนี้ เมื่อเช้านี้ เมื่อวานซืน. สัน. ในขณะที่ เช่น เขามาเมื่อฉันเห็น.
  24. เมือง : น. แดน เช่น เมืองมนุษย์ เมืองสวรรค์ เมืองบาดาล, ประเทศ เช่น เมืองไทย เมืองจีน เมืองลาว; (โบ) จังหวัด เช่น เมืองเชียงใหม่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองตราด; เขตซึ่งเคยเป็นเมืองสำคัญในระดับจังหวัดต่อมาถูกลดฐานะเป็น อำเภอ เช่น เมืองไชยา เมืองมีนบุรี เมืองขุขัน์; เขตซึ่งเป็นที่ชุมนุมและเป็น ที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ซึ่งในครั้งก่อน ถ้าเป็นเมืองใหญ่ หมายถึงเขตภายใน กําแพงเมือง.
  25. แมงกะพรุน : น. ชื่อสัตว์นํ้าไม่มีกระดูกสันหลัง ใสคล้ายวุ้น ด้านบนเป็นวงโค้งคล้ายร่ม ด้านล่างตอนกลางเป็นอวัยวะทําหน้าที่กินและย่อยอาหาร มีหลายชนิด เช่น แมงกะพรุนจาน หรือ แมงกะพรุนหนัง ซึ่งกินได้ ส่วนแมงกะพรุนถ้วย แมงกะพรุนไฟ และแมงกะพรุนลาย มีพิษ.
  26. แมงมุม : น. ชื่อสัตว์พวกแมง ที่ปากมีเขี้ยวรูปร่างคล้ายปากคีบและมีอวัยวะ รูปทรงคล้ายขายื่นออกมา ๑ คู่ ไม่มีหนวด มีหลายชนิด ทุกชนิดที่ขามีโครงสร้าง พิเศษซึ่งสามารถถักใยที่ออกมาจากรูเปิดตรงส่วนท้องได้ มีทั้งชนิดถักใยดักสัตว์ เช่นแมงมุมขี้เถ้า (Pholcus spp.) ในวงศ์ Pholcidae และชนิดกระโดดจับสัตว์กิน เช่น บึ้ง.
  27. แม่ม่ายลองไน : น. ชื่อจักจั่นขนาดใหญ่ที่มีลําตัวและปีกสีฉูดฉาด เช่น ดํา ขาว เหลือง หรือส้ม สีเหล่านี้เป็นลายหรือเป็นแถบพาดตามหัว ลําตัว หรือปีก มีอวัยวะทําเสียงซึ่ง เสียงจะเป็นเสียงห้าว ก้องกังวานได้ยินไปไกล ๆ มีหลายชนิด ชนิดที่โตที่สุดใน ประเทศไทย คือ ชนิด Tosena melanoptera, ลองไน ก็เรียก.
  28. แม่ยั่วเมือง : (โบ) น. คําเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณ, เขียนว่า แม่หยั่วเมือง หรือ แม่อยั่วเมือง ก็มี.
  29. แมลงช้าง : น. ชื่อตัวอ่อนของแมลงหลายชนิด ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Myrmeleontidae รูปร่างอ้วน ป้อม มีขนเป็นกระจุกตามลําตัว ขากรรไกรหน้ายาวยื่นและโค้งเหมือน งาช้าง ฝังตัวอยู่ในหลุมทรายซึ่งขุดเป็นรูปกรวย เพื่อล่อให้มดหรือสัตว์เล็ก ๆ ตกลง ไปในหลุมแล้วขึ้นไม่ได้ จะได้จับกินเป็นอาหาร, ตุ้ม ตุ๊ดตู่ หรือ แมงช้าง ก็เรียก.
  30. แมลงวัน : น. ชื่อแมลงประเภทหนึ่งซึ่งมีปีก ๑ คู่ ลักษณะบางใสเกิดที่อกปล้องกลาง มีอวัยวะเป็นติ่งยื่นออกมาแทนปีกคู่ที่ ๒ ทําหน้าที่เป็นหางเสือ ปากเป็นชนิดซับดูด หนวดมี ๓ ปล้อง ปล้องปลายใหญ่สุดและมีขน ๑ เส้น มีหลายวงศ์ ที่พบทั่วไป คือ ชนิด Musca domestica ในวงศ์ Muscidae.
  31. แมลงวันทอง : น. ชื่อแมลงหลายชนิดในวงศ์ Trypetidae หรือ Tephritidae รูปร่างคล้ายแมลงวันและมีขนาดลําตัวไล่เลี่ยกัน แต่ที่อกและท้องพื้นสีนํ้าตาลแก่ นั้นมีรอยแต้มสีเหลืองหรือเหลืองปนส้มเป็นดวงหรือเป็นแถบ ทําให้มองดู คล้ายสีทอง ที่มีเป็นสามัญ คือ ชนิด Dacus dorsalis ซึ่งในระยะที่เป็นตัวหนอน จะทําลายผลไม้.
  32. แมลงวันหัวเขียว : น. ชื่อแมลงหลายชนิดที่มีลักษณะทั่วไปเหมือนแมลงวัน แต่ตัวโตกว่า อกและท้องโดยทั่วไปสีเขียว เขียวอมนํ้าเงิน หรือ นํ้าเงินเป็นมันวาว ส่วนใหญ่อยู่ในวงศ์ Calliphoridae ที่พบบ่อยตามบ้านเรือน คือ ชนิด Chrysomyia megacephala.
  33. แมว ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Felis catus ในวงศ์ Felidae ซึ่งเป็นวงศ์ เดียวกับเสือ ขนยาวนุ่ม มีหลายสี เช่น ดํา ขาว นํ้าตาล ส่วนใหญ่เลี้ยงไว้ เพื่อความสวยงามและใช้จับหนู แมววิเชียรมาศ และแมวสีสวาด เป็นแมวไทยที่สวยงามและมีชื่อเสียงมาก; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์มูลา มี ๙ ดวง, ดาวช้างน้อย ดาวมูล หรือ ดาวมูละ ก็เรียก.
  34. แม่หยั่วเมือง : (โบ) น. คําเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณ, เขียนว่า แม่ยั่วเมือง หรือ แม่อยั่วเมือง ก็มี.
  35. แม่อยั่วเมือง : (โบ) น. คำเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณ, เขียนว่า แม่ยั่วเมือง หรือ แม่หยั่วเมือง ก็มี.
  36. ไมกา : น. แร่ประเภทซิลิเกต มีหลายชนิด ชนิดที่สําคัญที่สุด ได้แก่ แร่มัสโคไวต์ มีสูตร KAl3Si3O10(OH)2 และแร่โฟลโกไพต์ มีสูตร KMg3AlSi3O10(OH)2 ลักษณะผิวเป็นมันวาว ลอกออกได้เป็นแผ่นบางโปร่งแสง ทนความร้อนได้ดี ใช้ประโยชน์เป็นฉนวนความร้อนทําอุปกรณ์ไฟฟ้าเป็นต้น, แร่กลีบหิน ก็เรียก. (อ. mica).
  37. ไม้อัด : น. ไม้ที่ทําขึ้นโดยเอาไม้แผ่นบาง ๆ หลายแผ่นมาผนึกเข้าด้วยกัน.
  38. ยชุรเวท : [ยะชุระ] น. ชื่อคัมภีร์ที่ ๒ ของพระเวท กล่าวถึงพิธีบูชาสำคัญหลายพิธี เช่น พิธีราชสูยะ พิธีอัศวเมธ รายละเอียดในการประกอบพิธีและเรื่องเล่า แต่งเป็นร้อยแก้ว ส่วนบทสวดเป็นฉันท์นำมาจากฤคเวท. (ส.). (ดู เวท, เวท ประกอบ).
  39. ยม ๓ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Meliaceae เช่น ยมหิน (Chukrasia tabularis Juss.) ยมหอม (Toona ciliata M. Roem.).
  40. ย่อม ๑ : คําช่วยกริยา แสดงว่าเป็นไปตามปรกติ ตามธรรมดา หรือ เป็นสามัญทั่ว ๆ ไป เช่น สัตว์ทั้งหลายเกิดมาแล้วย่อมตาย.
  41. ยัง : คำช่วยกริยาในประโยคคำถามปฏิเสธหรือประโยคปฏิเสธ โดยละกริยา นั้นไว้ให้เข้าใจเอาเอง เช่น ถามว่า จะไปหรือยัง ตอบว่า ยัง, ถ้าใช้นำหน้า คำกริยาเข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า กริยานั้นกำลังกระทำอยู่ เช่น เขายัง กินอยู่ เขายังนอนอยู่, ถ้าใช้นำหน้าคำวิเศษณ์เข้าคู่กับคำ อยู่ หมายความว่า ยังอยู่ในภาวะนั้น เช่น ยังเด็กอยู่ ยังสาวอยู่ ยังเช้าอยู่, ใช้ประกอบคำกริยา เชิงปฏิเสธที่เริ่มหรือกำหนดไว้แล้ว แต่ยังไม่เสร็จสิ้นลงไป เช่น ป่านนี้ยัง ไม่มา ทั้ง ๆ ที่น่าจะมาแล้ว, ใช้เข้าคู่กับคำอื่นเพื่อเชื่อมประโยคหน้ากับ ประโยคหลังที่มี ข้อความในลักษณะคล้ายคลึงกันให้เนื่องกัน เช่น นอกจาก โง่แล้วยัง หยิ่งอีกด้วย นอกจากสวยแล้วยังรวยอีกด้วย. ก. คงอยู่, มีอยู่, เช่น ถามว่า หมดแล้วหรือ ตอบว่า ยังมีอีก; กระทำให้ เช่น ยังชีวิตให้เป็นไป ยังใจให้ชุ่มชื่น. บ. ถึง เช่น แจ้งความมายังท่านทั้งหลาย, สู่ เช่น ไปยังบ้าน, ตลอด, ตลอดถึง, เช่น วันยังค่ำ คืนยังรุ่ง.
  42. ยาเขียว ๑ : น. ยาแก้ไข้ ทําด้วยใบไม้ล้วน มีหลายชนิด เช่น ยาเขียวใหญ่ ยาเขียวเล็ก ยาเขียวมหาอุดม.
  43. ยาง ๑ : น. ชื่อนกในวงศ์ Ardeidae ปากแหลม ขายาว ตัวสีขาว บางชนิดตัวสีดํา นํ้าตาล หรือเขียว หากินตามชายนํ้าและทุ่งนา กินปลา แมลง และสัตว์นํ้า ขนาดเล็ก มีหลายชนิด เช่น ยางกรอกพันธุ์จีน (Ardeola bacchus) ยาง ควาย (Bubulcus ibis) ยางโทน ซึ่งมี ๒ ชนิด คือ ยางโทนน้อย (Egretta intermedia) และ ยางโทนใหญ่ (E. alba) ยางเปีย (E. garzetta) ซึ่งในฤดู ผสมพันธุ์จะมีขนฟูยาวขึ้นที่ท้ายทอยเป็นเปียสีขาว๒๓ เส้น, กระยาง ก็เรียก.
  44. ยาง ๒ : น. ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่หลายชนิดในสกุล Dipterocarpus วงศ์ Dipterocarpaceae เช่น ยางนา (D. alatus Roxb.) ยางแดง (D. turbinatus C.E. Gaertn.), ยางที่เจาะเผาจากลําต้นใช้ประสมชันยาเรือ เรียกว่า นํ้ามันยาง.
  45. ยางนอก : น. ยางชั้นนอกที่หุ้มล้อรถจักรยานหรือรถยนต์เป็นต้น มีดอก หล่อเป็นลวดลายต่าง ๆ เพื่อให้เกาะถนน ข้างในกลวงสำหรับใส่ยางใน. ยางน่อง น. ยางไม้ที่ได้จากพรรณไม้หลายชนิด เช่น ต้นน่อง (Antiaris toxicaria Leschen.) มีพิษมาก พวกชาวป่าใช้ทาลูกดอกหรือลูกหน้าไม้ ยิงสัตว์.
  46. ยางพารา : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Hevea brasiliensis (A. Juss.) Muell. Arg. ในวงศ์ Euphorbiaceae เมื่อกรีดลําต้นได้นํ้ายางสีขาว ใช้ทําผลิตภัณฑ์หลาย ชนิด เช่น ยางรถ พื้นรองเท้า.
  47. ยาดำ : น. ผลิตภัณฑ์ที่เตรียมจากนํ้ายางซึ่งได้จากการกรีดโคนใบตาม ขวางของพืชหลายชนิดในสกุล Aloe วงศ์ Liliaceae นําไปเคี่ยวให้งวด แล้วทิ้งไว้ให้แข็งตัวเป็นก้อน มีสีนํ้าตาลเข้ม กลิ่นไม่ชวนดม รสขม ใช้เป็นยาได้ ส่วนมากได้จากชนิด A. barbadensis Miller; โดยปริยาย หมายความว่า แทรกปนอยู่ทั่วไป.
  48. ย่านพาโหม : น. ชื่อไม้เถาหลายชนิดในสกุล Paederia วงศ์ Rubiaceae ลำต้นมีขน กลิ่นเหม็น เช่น ชนิด P. linearis Hook.f. ใช้แต่งกลิ่นอาหารและทำยา ได้, ตดหมูตดหมา ก็เรียก.
  49. ยาประสะ : น. ยาประเภทหนึ่งซึ่งตามปรกติเข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งซึ่งเป็น ตัวหลัก มีปริมาณเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ อีกหลายอย่างรวมกัน เรียกชื่อ ตามเครื่องยาที่เป็นหลัก เช่น ยาประสะขิง คือ เข้าขิงครึ่งหนึ่งกับเครื่อง ยาอื่น ๆ อีกครึ่งหนึ่ง แต่มีบางชนิดเครื่องยาที่เป็นตัวหลักมีปริมาณไม่ถึง ครึ่งหนึ่งของเครื่องยาทั้งหมด เช่น ยาประสะกานพลู.
  50. ยำสลัด : น. ยำชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ประกอบด้วยผักสดหลายชนิด เช่น ผักกาดหอม หอมหัวใหญ่ มะเขือเทศ แตงกวา เป็นหลัก และอาจมี เนื้อสัตว์หรือไข่ด้วย ราดด้วยน้ำปรุงรสที่เรียกว่า น้ำสลัด.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | [651-700] | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-999

(0.1220 sec)