Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กระเพาะอาหาร, กระเพาะ, อาหาร , then กรพาอาหาร, กระเพา, กระเพาะ, กระเพาะอาหาร, อาหาร .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กระเพาะอาหาร, 488 found, display 1-50
  1. กระเพาะ : น. อวัยวะภายในของคนและสัตว์ รูปเป็นถุง คือ กระเพาะอาหารและ กระเพาะปัสสาวะ. (เทียบ ข. กฺรพะ); ภาชนะสานสําหรับตวงข้าว มีอัตราจุ ๔ กระผีก.
  2. อาหาร : น. ของกิน, เครื่องคํ้าจุนชีวิต, เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิต, เช่น อาหารเช้า อาหารปลา อาหารนก; โดยปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น อาหารตา อาหารใจ. (ป., ส.).
  3. น้ำย่อย : น. ของเหลวที่มีสารอินทรีย์บางชนิดสําหรับย่อยอาหาร เกิด ในปาก กระเพาะ ลําไส้ ตับ และตับอ่อน.
  4. หลอดอาหาร : น. ทางเดินอาหารอยู่ระหว่างคอหอยส่วนล่างกับกระเพาะ อาหาร. (อ. oesophagus, esophagus).
  5. กระเพาะปลา : น. ชื่ออาหารคาวแบบจีนชนิดหนึ่ง ประกอบด้วยถุงลมปลา เนื้อไก่ เลือดหมู เป็นต้น.
  6. อาหารว่าง : น. ของกินนอกเวลากินอาหารตามปรกติ มักกินใน เวลาบ่าย, ของว่าง ก็ว่า, ราชาศัพท์ใช้ว่า เครื่องว่าง.
  7. กึ๋น : น. กระเพาะที่ ๒ ของสัตว์ประเภทสัตว์ปีก มีหน้าที่ย่อยอาหารต่อ จากกระเพาะที่ ๑ ประกอบด้วยผนังที่มีกล้ามเนื้อหนาและเหนียว สําหรับบดอาหาร โดยมีหินก้อนเล็ก ๆที่กลืนเข้าไปเป็นเครื่องช่วย.
  8. คลื่นไส้ : [คฺลื่น-] ก. ปั่นป่วนในกระเพาะอาหารหรือลำไส้ชวนให้อาเจียน, โดย ปริยายหมายความว่า น่ารังเกียจ, น่าสะอิดสะเอียน.
  9. โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต : น. เกลือกรดชนิดหนึ่ง มีสูตร NaHCO3 ลักษณะเป็นผงสีขาว ใช้ประโยชน์เป็นตัวทําให้ขนมมีลักษณะฟูพรุน เช่น ขนมปัง ใช้เป็นองค์ประกอบเคมีในเครื่องดับเพลิง ทางแพทย์ใช้ เป็นตัวลดกรดในกระเพาะอาหาร. (อ. Sodium hydrogen carbonate).
  10. ดอกจอก : น. ชื่อลายที่มีลักษณะคล้ายต้นจอก; เรียกกระเพาะอาหารหยาบ ของสัตว์บางชนิดเช่นวัวควาย ซึ่งพลิกกลับแล้วมีสัณฐานคล้ายต้นจอก; เรียกสว่านชนิดหนึ่งที่ปลายบานว่า สว่านดอกจอก; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าใส่ในพิมพ์รูปอย่างดอกจอกแล้วเอาไปทอด; (ปาก) ดอกไม้จีบ.
  11. ท้องขึ้น : ว. อาการที่ท้องอืดเพราะลมในกระเพาะอาหารเฟ้อขึ้น; เรียกปลาจวนจะเน่าว่า ปลาท้องขึ้น.
  12. ท้องเฟ้อ : ว. อาการที่ลมในกระเพาะตีขึ้นเพราะอาหารไม่ย่อยและ เป็นพิษ.
  13. บริโภค : [บอริโพก] ก. กิน (ใช้เฉพาะอาการที่ทําให้ล่วงลําคอลงไปสู่กระเพาะ) เช่น บริโภคอาหาร, เสพ เช่น บริโภคกาม; ใช้สิ้นเปลือง, ใช้สอย, เช่น บริโภคสมบัติ, คู่กับ อุปโภค. (ป. ปริโภค).
  14. โป๊ยเซียน ๒ : น. ชื่ออาหารอย่างหนึ่ง ใช้ปลาหมึกสด เนื้อไก่ กุ้ง และเครื่องใน หมูอีก ๕ อย่าง คือ หัวใจ เซ่งจี๊ ไส้ตัน ตับ และกระเพาะ ผัดรวม กับถั่วงอก ใบขึ้นฉ่าย ปรุงรสด้วยซีอิ๊วขาวและน้ำมันหอย.
  15. เฟ้อ : ก. ฟุ้ง, ฟุ้งซ่าน, เหลิง; อืดขึ้น, พองขึ้น. ว. มากเกินควร, มากเกินไป, เช่น คะแนนเฟ้อ; เรียกอาการที่ลมในกระเพาะตีขึ้นเพราะอาหารไม่ย่อย และเป็นพิษว่า ท้องเฟ้อ; เรียกภาวะทางเศรษฐกิจที่ปริมาณเงินหมุนเวียน ในประเทศมากเกินไป ทำให้ราคาสินค้าแพงและเงินเสื่อมค่า ว่า เงินเฟ้อ.
  16. ม้าม : น. อวัยวะภายในร่างกายริมกระเพาะอาหารข้างซ้าย มีหน้าที่ทําลาย เม็ดเลือดแดง สร้างเม็ดนํ้าเหลืองและสร้างภูมิคุ้มกันของร่างกาย.
  17. ล้างท้อง : ก. ใช้สายยางสอดเข้าทางปากดูดเอาเศษอาหารหรือของ ที่เป็นพิษออกจากกระเพาะและส่งนํ้าหรือนํ้าเกลือไปล้างกระเพาะ ทางสายยางนั้น.
  18. ลำไส้ : น. ส่วนของทางเดินอาหารซึ่งอยู่ระหว่างกระเพาะอาหารกับ ทวารหนัก เป็นท่อยาวขดไปมาอยู่ในช่องท้อง มีหน้าที่ย่อย ดูดซึม อาหารและน้ำ พักและขับถ่ายกากอาหาร, ไส้ ก็เรียก.
  19. ลำไส้เล็ก : น. ลำไส้ที่ส่วนต้นต่อกับกระเพาะอาหารส่วนปลายต่อ กับลำไส้ใหญ่ โดยธรรมดามีขนาดเล็กกว่าลำไส้ใหญ่ มีหน้าที่ย่อย และดูดซึมอาหาร.
  20. แหวะ : [แหฺวะ] ก. เอาสิ่งที่มีคมกรีดให้เป็นช่องตามที่ต้องการ เช่น แหวะท้องปลา; อาการที่เด็กเล็ก ๆ สํารอกอาหารหรือยาออกมา. น. อาหารหรือยาที่ล้น กระเพาะเด็กเล็ก ๆ ออกมาทางปาก.
  21. เอื้อง ๒ : น. หญ้าและใบไม้เป็นต้นที่สัตว์บางจําพวกเช่นวัวควายกินเข้าไป ในกระเพาะทีหนึ่งแล้วสํารอกออกมาเคี้ยวอีกให้ละเอียด ในคำว่า บดเอื้อง หรือ เคี้ยวเอื้อง. ว. เรียกอาการที่สัตว์บางจำพวกเช่น วัวควายสํารอกอาหารออกมาเคี้ยวอีกให้ละเอียดว่า บดเอื้อง หรือ เคี้ยวเอื้อง; โดยปริยายหมายความว่า ทําอะไรช้า ๆ.
  22. จังหัน ๑ : น. ข้าว, อาหาร, (ใช้แก่พระสงฆ์). (ข. จงฺหาน่).
  23. เจริญอาหาร : ก. บริโภคอาหารได้มาก. ว. ที่ทําให้บริโภคอาหาร ได้มากเช่น ยาเจริญอาหาร.
  24. ประกอบอาหาร : ก. ทําหรือปรุงแต่งอาหารต่าง ๆ.
  25. ภักต–, ภักตะ : [พักตะ–] น. ผู้ภักดี, สาวก. (ส.); อาหาร, ข้าวสุก, ของกินซึ่งสุกด้วยนํ้า. (ส. ภกฺต; ป.ภตฺต).
  26. ภักษาหาร : น. เหยื่อ, อาหาร, อาหารที่กินประจํา, เช่น เนื้อเป็นภักษาหาร ของเสือ หญ้าเป็นภักษาหารของวัว.
  27. โรงอาหาร : น. โรงสำหรับเป็นที่กินอาหารของนักเรียน นักศึกษาเป็นต้น.
  28. ล้นกระเพาะ : ว. ลักษณะที่กินมากจนแน่น เช่น กินจนล้นกระเพาะ. ล้นเกล้าล้นกระหม่อม น. คําเรียกพระเจ้าแผ่นดินโดยความเคารพ นับถือมาก เช่น ล้นเกล้าล้นกระหม่อมของปวงชนชาวไทย. ว. ใช้เป็น ราชาศัพท์ หมายความว่า มากล้นพ้นประมาณ, ใช้เขียนย่อว่าล้นเกล้าฯ ก็ได้ เช่น นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณล้นเกล้าฯ หาที่สุดมิได้.
  29. กัปปิยการก : [-การก] น. ผู้ปฏิบัติภิกษุในเรื่องปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค.
  30. กัปปิยภัณฑ์ : น. สิ่งของที่ควรแก่ภิกษุ ได้แก่ ปัจจัย ๔ คือ จีวร อาหาร ที่อยู่อาศัย ยารักษาโรค และสิ่งอื่น ๆ เช่น ร่ม รองเท้า.
  31. ไข่ ๑ : น. ตัวสืบพันธุ์ประกอบด้วยเซลล์สืบพันธุ์เพศเมีย อาหาร และสิ่งห่อหุ้ม ซึ่งอาจจะเป็นไข่ขาววุ้น เยื่อถุงไข่ หรือเปลือก ส่วนมากมีรูปร่างกลม จะมีตัวอ่อนภายในหรือไม่ก็ได้, ฟอง ก็เรียก, ลักษณนามเรียก ฟอง ลูก หรือ ใบ; เรียกสิ่งที่เป็นเม็ดกลม ๆ เล็ก ๆ ที่มีอยู่ตามใบไม้บางชนิด เช่น ไข่ชะอม ไข่ปรง; (ปาก) ลูกอัณฑะ. ก. ตกฟอง เช่น แม่ไก่ไข่ออกมา ๓ ฟอง.
  32. จตุปัจจัย : [จะตุปัดไจ] น. เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตในพระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา). (ป.).
  33. ฉลาก : [ฉะหฺลาก] น. สิ่งเช่นติ้ว ตั๋ว หรือแผ่นกระดาษเล็ก ๆ เป็นต้น ซึ่งทําเป็น เครื่องหมายกําหนดไว้เนื่องในการเสี่ยงโชคเสี่ยงทายเป็นต้น; ป้ายบอก ชื่อยา ใช้ปิดขวดยารักษาโรค เรียกว่า ฉลากยา; สลาก ก็ว่า; (กฎ) รูป รอย ประดิษฐ์ เครื่องหมายหรือข้อความใด ๆ ที่แสดงไว้ที่ภาชนะหรือหีบห่อ บรรจุยา อาหาร หรือผลิตภัณฑ์อื่น เช่น ฉลากยา ฉลากเครื่องสําอาง.
  34. ที่ : น. แหล่ง, ถิ่น, เช่น ที่ประกอบอาชีพ ที่ทํามาหากิน, สถานที่ เช่น ที่ประชุม ที่พัก, ตําแหน่งที่ เช่น เอาแว่นวางไว้ที่โต๊ะ; ที่ดิน เช่น ซื้อที่ ขายที่ เช่าที่; ภาชนะ, เครื่องใช้, เช่น ที่บูชา ที่นอน ที่เขี่ยบุหรี่; ลักษณนามบอกสถานที่หรือสิ่งของเป็นชุด ๆ เป็นต้น เช่น ที่นั่ง ๓ ที่ อาหาร ๓ ที่. ส. คําใช้แทนคํานามหรือข้อความที่อยู่ข้างหน้า เช่น คนที่ขยัน เด็กที่ฉลาด. ว. คํานําหน้าสังขยาบอกลําดับ เช่น ที่ ๑ ที่ ๒. บ. ใน, ณ, เช่น อยู่ที่บ้าน.
  35. บิณฑบาต : น. อาหาร (ใช้แก่พระภิกษุสามเณร) เช่น รับบิณฑบาต. ก. กิริยาที่พระภิกษุสามเณรรับของที่เขานํามาใส่บาตร, โดยปริยาย หมายถึงกิริยาที่พระภิกษุสามเณรขอหรือขอร้อง เช่น เรื่องนี้ ขอบิณฑบาตให้เลิกแล้วต่อกัน. (ป. ปิณฺฑปาต ว่า ก้อนข้าวที่ตก).
  36. ปัจจัย : น. เหตุอันเป็นทางให้เกิดผล, หนทาง, เช่น การศึกษาเป็นปัจจัย ให้เกิดความรู้ความสามารถ, องค์ประกอบ, ส่วนประกอบ, เช่น ปัจจัยในการผลิต, คำ ''ปัจจัย'' กับ คํา ''เหตุ'' มักใช้แทนกันได้; เครื่องอาศัยยังชีพ, เครื่องอาศัยเลี้ยงชีวิตของบรรพชิตใน พระพุทธศาสนา ๔ อย่าง คือ จีวร (ผ้านุ่งห่ม) บิณฑบาต (อาหาร) เสนาสนะ (ที่อยู่) คิลานเภสัช (ยา) รวมเรียกว่า จตุปัจจัย คือ ปัจจัย ๔, คือ ปัจจัย ๔, โดยปริยายหมายถึงเงินตราก็ได้ (มักใช้ แก่ภิกษุสามเณร); (ไว)ส่วนเติมท้ายธาตุหรือศัพท์เพื่อแสดง ความหมายเป็นต้น. (ป.).
  37. เพสลาด : [เพสะหฺลาด] ว. ไม่อ่อนไม่แก่ (มักใช้แก่ใบไม้บางชนิดที่ใช้เป็น อาหาร เช่น ใบชะพลู ใบทองหลาง).
  38. ภักขะ : น. เหยื่อ, อาหาร. (ป. ภกฺข; ส. ภกฺษ).
  39. ภักษ–, ภักษ์ : [พักสะ–, พัก] น. เหยื่อ, อาหาร. ก. กิน. (ส. ภกฺษ; ป. ภกฺข).
  40. ภักษา : น. เหยื่อ, อาหาร. (ส. ภกฺษ; ป. ภตฺต).
  41. ภัตตาหาร : น. อาหารสําหรับภิกษุสามเณรฉัน. (ป. ภตฺต + อาหาร).
  42. โภชนะห้า : [โพชะนะห้า] น. ข้าว ๕ อย่าง คือ ข้าวสุก (ข้าวมัน หรือ ข้าวผัด ก็นับเข้า) ขนมสด (ขนมที่จะบูดเมื่อล่วงเวลาแล้ว เช่น แป้งจี่ ขนมด้วง ขนม ครก) ขนมแห้ง (ที่ไม่บูด เช่น จันอับ ขนมปัง) ปลา (รวมทั้งหอย กุ้ง และ สัตว์นํ้าเหล่าอื่นที่ใช้เป็นอาหาร) เนื้อ (เนื้อของสัตว์บกและนกที่ใช้เป็น อาหาร).
  43. ยุทธปัจจัย : น. สิ่งของทั้งปวงที่มิใช่ยุทธภัณฑ์ แต่เป็นสิ่งเกื้อกูลต่อ การรบ เช่น อาหาร ยา เคมีภัณฑ์ รวมถึงสัตว์พาหนะด้วย.
  44. รองรัง : ว. มีสำรองไว้เผื่อขาดแคลน, มีสำรองไว้ไม่ให้ขาด, เช่น อาหาร รองรัง.
  45. เหนียว : [เหฺนียว] ว. ดึงขาดยาก, ทนทานไม่หักไม่ขาดง่าย, แกะออกยาก, ไม่ยุ่ย, ไม่เปื่อย, เช่น กิ่งมะขามเหนียวมาก ด้ายหลอดเหนียวมาก มือเหนียว ตีนเหนียว; มีลักษณะคล้ายยางใช้ติดสิ่งอื่นได้ เช่น เอาแป้งมันผสมน้ำ ตั้งไฟแล้วกวนจนเหนียว, อาการที่ทำให้รู้สึกเหนอะหนะ เช่น เหงื่อ ออกจนเนื้อตัวเหนียวไปหมด; (ปาก) คงกระพัน, ทนทานต่อศาสตราวุธ, ฟัน แทง หรือยิงไม่เข้า, เช่น เขาเป็นคนหนังเหนียว; ตระหนี่ เช่น เขา เป็นคนเหนียวมาก, มักใช้ว่า ขี้เหนียว. น. ชื่อดินที่มีลักษณะเหนียวใช้ ปั้นได้ เรียกว่า ดินเหนียว; ชื่อข้าวที่มีลักษณะเหนียวมาก ใช้นึ่งเป็น อาหาร เรียกว่า ข้าวเหนียว; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียว คลุกมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลเคี่ยวและข้าวตากคั่ว เรียกว่า ขนมเหนียว.
  46. เหยี่ยว : น. ชื่อนกในวงศ์ Accipitridae ปากงุ้มและคม ขาและนิ้วตีนแข็งแรงมาก เล็บยาวแหลม ปีกแข็งแรง บินร่อนได้นาน ๆ ส่วนใหญ่ล่าสัตว์กินเป็น อาหาร มีหลายชนิด เช่น เหยี่ยวขาว หรือ เหยี่ยวปักหลัก (Elanus caeruleus) เหยี่ยวแดง (Haliastur indus) เหยี่ยวรุ้ง (Spilornis cheela).
  47. กบ ๒ : น. ชื่อสัตว์สี่เท้าสะเทินน้ำสะเทินบกในวงศ์ Ranidae ไม่มีหาง ตีนแบนมีหนังติดเป็นพืด กระโดดได้ไกล ว่ายน้ำดําน้ำได้เร็ว มักวางไข่ในน้ำ เมื่อยังเป็นตัวอ่อนจะมีหาง อยู่ในน้ำเรียกว่า ลูกอ๊อด ภายหลังจึงงอกขา หางหดหายไป แล้วขึ้นอาศัยบนบก หน้าแล้งอยู่แต่ในรู ไม่ออกหาอาหารชั่วคราว เรียกว่า กบจําศีล มีหลายชนิด เช่น กบนา (Rana tigerina).
  48. กบนา : น. ชื่อกบชนิด Rana tigerina ในวงศ์ Ranidae ตัวสีเขียว มีลาย สีเข้ม มักอาศัยในรูตามคันนา นิยมนำมาทำเป็นอาหาร.
  49. กระเจา : น. (๑) ชื่อไม้ล้มลุกหลายชนิดในสกุล Corchorus วงศ์ Tiliaceae ขึ้นอยู่ในที่ลุ่ม เปลือกต้นเหนียว เมื่อลอกออกแล้ว เรียกว่า ปอ เช่น ปอกระเจาฝักกลม (C. capsularis L.) ผลป้อม เปลือกย่นเป็นตุ่ม ๆ ใบใช้เป็นอาหารได้, พายัพเรียก เส้ง, และ ปอกระเจาฝักยาว (C. olitorius L.) ฝักยาวเรียว มีสันตามยาว, เมล็ดของปอทั้ง ๒ ชนิด นี้มีพิษ ปอใช้ทํากระสอบ. (๒) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง. (ดู กระเชา).
  50. กระเจียว : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Curcuma sessilis Gage ในวงศ์ Zingiberaceae ลักษณะคล้ายต้นกระชาย มีหัวใต้ดิน ขณะออกดอกไม่มีใบ ช่อดอกเป็นช่อตั้ง ดอกสีขาว อยู่ระหว่าง กาบสีขาวปลายสีม่วงใช้ประกอบอาหารได้, พายัพเรียก อาวแดง.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-488

(0.1572 sec)