Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: กลั่น , then กลน, กลั่น .

Royal Institute Thai-Thai Dict : กลั่น, 56 found, display 1-50
  1. กลั่น : [กฺลั่น] ก. คัดเอาแต่ส่วนหรือสิ่งที่สําคัญหรือที่เป็นเนื้อแท้ ด้วยวิธีต้มให้ออกเป็นไอ แล้วใช้ความเย็นบังคับให้เป็นของเหลว เช่น กลั่นน้ำ, โดยปริยายหมายความว่า คัดเอา เลือกเอา.
  2. กลั่นกรอง : ก. คัดเลือกเอาแต่สิ่งที่เห็นว่าดีที่สุด, พิจารณาอย่างถี่ถ้วนรอบคอบ.
  3. กลั่นแกล้ง : ก. หาความไม่ดีใส่ให้, หาอุบายให้ร้ายโดยวิธีต่าง ๆ, แกล้งใส่ความ.
  4. กระดังงา : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cananga odorata (Lam.) Hook.f. et Thomson ในวงศ์ Annonaceae ดอกหอม กลีบบาง มี ๖ กลีบ ดอกใช้กลั่น น้ำมันหอมได้, กระดังงาใหญ่ สะบันงา หรือ สะบันงาต้น ก็เรียก. (เทียบมลายู canaga, kananga); พรรณไม้ชนิดนี้มีพันธุ์หนึ่งเป็น ไม้พุ่ม ดอกมักมีกลีบมากกว่า ๖ กลีบ หอมอ่อน เรียกว่า กระดังงาสงขลา [Cananga odorata Hook.f. et Thomson var. fruticosa (Craib) J. Sinclair].
  5. กล่อม ๒ : [กฺล่อม] ก. ถากแต่งให้กลมงาม เช่น กล่อมเสา กล่อมไม้; โดยปริยายหมายความว่า เหมาะเจาะ เช่น น้ำหอมกล่อมกลิ่นดอกไม้กลั่น. (ขุนช้างขุนแผน).
  6. กะแช่ : น. น้ำเมาชนิดหนึ่ง ใช้ข้าวเหนียวนึ่งหมักแช่กับแป้งเชื้อ แต่ยังมิได้กลั่นเป็นสุรา.
  7. การบูร : [การะบูน] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Cinnamomum camphora (L.) J.S. Presl ในวงศ์ Lauraceae เนื้อไม้มีสารสีขาว กลิ่นฉุนร้อน ซึ่งกลั่นแยกออกมาได้ เรียกว่า การบูร หรือ กรบูร ใช้ทํายา. (ส. กฺรบูร).
  8. กุหลาบ : [-หฺลาบ] น. (๑) ชื่อไม้พุ่มในสกุล Rosa วงศ์ Rosaceae ต้นตรงหรือทอดเลื้อย ลําต้นและกิ่งมีหนาม ขอบใบจัก ดอกสีต่าง ๆ กลิ่นหอม มีมากชนิดและมากพันธุ์ เรียกชื่อต่าง ๆ กัน ดอกของกุหลาบบางชนิด เช่น กุหลาบมอญ หรือ ยี่สุ่น (R. damascena Mill) ใช้กลั่นน้ำหอม. (๒) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้น ขนาดเล็กในสกุล Rhododendron วงศ์ Ericaceae ขึ้นตามป่าเขาใน ระดับสูง เช่น กุหลาบแดง (R. simsii Planch.) กุหลาบขาว (R. ludwigianum Hoss.).
  9. เกลือแกง : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่งชื่อโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำได้ มีมากในน้ำทะเล ใช้ปรุงอาหาร ทําเครื่องดองเค็ม, เมื่ออยู่ในสภาพบริสุทธิ์ที่สุด ใช้ละลายในน้ำกลั่น เรียกว่า น้ำเกลือ สําหรับให้ผู้ป่วยโดยให้ทางเส้นเลือด ใช้ในอุตสาหกรรมทําสบู่ อุตสาหกรรมผลิตโซดาแผดเผา. (อ. common salt).
  10. คงคา ๑ : น. นํ้า, แม่นํ้า, ใช้เป็นสามัญว่า แม่พระคงคา หมายถึง เจ้าแม่ประจํานํ้า, ชื่อแม่นํ้า สําคัญสายหนึ่งในประเทศอินเดีย. (ป., ส. คงฺคา ว่า ผู้ไปเร็ว, ผู้ไหลเชี่ยว); เรียกส่วนของท่อเหล้าในโรงต้มกลั่นว่า ท่อคงคา.
  11. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าเล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าเล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าเล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าเล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  12. ถ่านโค้ก : น. กากที่เหลือหลังจากนําถ่านหินไปกลั่นทําลายแล้ว ประกอบด้วยคาร์บอนประมาณร้อยละ ๘๐–๙๐ ใช้ประโยชน์ ในการถลุงแร่ เช่น ในอุตสาหกรรมถลุงเหล็กเป็นต้น. (อ. coke).
  13. ท่อคงคา : น. ส่วนของท่อเหล้าในโรงต้มกลั่น.
  14. น้ำมันเขียว : น. นํ้ามันชนิดหนึ่ง สีเขียวแกมนํ้าเงิน มีกลิ่นหอมฉุนคล้าย การบูร กลั่นได้จากใบของต้นเสม็ด ใช้สําหรับทา นวด แก้เคล็ดบวมได้.
  15. น้ำมันจันทน์ : น. นํ้ามันที่กลั่นจากไม้จันทน์ มีกลิ่นหอม.
  16. น้ำมันดิน : น. ของเหลวลักษณะข้น สีเข้มจนดํา ได้จากการกลั่นทําลาย ไม้หรือถ่านหิน ใช้ทารักษาเนื้อไม้หรือกันปลวกและแมลงเป็นต้น เมื่อ นําไปกลั่นโดยใช้อุณหภูมิให้เหมาะสม จะได้สารอื่น ๆ ที่มีประโยชน์ อีกมาก.
  17. น้ำมันดิบ : น. นํ้ามันที่สกัดหรือสูบขึ้นมาจากแหล่งกําเนิด และยังมิได้ ทําให้บริสุทธิ์หรือยังมิได้นําไปกลั่นแยกออกเป็นส่วน ๆ.
  18. น้ำมันระกำ : น. นํ้ามันระเหยง่ายชนิดหนึ่ง กลิ่นหอมฉุน กลั่นได้จาก นวดไม้ล้มลุกชนิด Gaultheria procumbens L. ในวงศ์ Ericaceae ใช้ทาแก้เคล็ดบวม และใช้เป็นสารแต่งกลิ่นได้.
  19. น้ำหอม : น. นํ้าที่กลั่นจากเครื่องหอม, นํ้าอบฝรั่ง ก็เรียก.
  20. น้ำอ้อย : น. นํ้าหวานที่ได้จากต้นอ้อย, ถ้าทําเป็นแผ่นกลม ๆ เรียกว่า นํ้าอ้อยงบ, ถ้าทําเป็นผงละเอียดหรือจับกันเป็นก้อน ๆ สีนํ้าตาล เรียกว่า นํ้าตาลทรายแดง, หางนํ้าอ้อยที่ใช้เป็นเครื่องผสมสําหรับต้มกลั่นสุรา หรือใช้ผสมปูนสอสําหรับการก่อสร้าง.
  21. บรั่นดี : [บะหฺรั่น-] น. ชื่อสุราชนิดหนึ่งกลั่นจากเหล้าองุ่น. (อ. brandy).
  22. พิมเสน ๒ : น. (๑) ชื่อไม้ต้นขนาดใหญ่ชนิด Dryobalanops aromatica C.E. Gaertn. ในวงศ์ Dipterocarpaceae มีเกล็ดพิมเสนอยู่ในเนื้อไม้. (๒) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Pogostemon cablin (Blanco) Benth. ในวงศ์ Labiatae ใบออกตรงข้ามกัน ขอบใบจัก ขยี้แล้วมีกลิ่นหอม ใช้กลั่น ให้นํ้ามันหอมระเหยซึ่งใช้แต่งกลิ่นและดับกลิ่นตัว. (๓) ชื่อมะม่วง หลายพันธุ์ของชนิด Mangifera indica L. พันธุ์หนึ่ง เมื่อดิบมีรส เปรี้ยว สุกแล้วหวาน, พันธุ์ที่แก่แล้วมีรสมัน เรียก พิมเสนมัน.
  23. เมรย-, เมรัย : [เมระยะ-] น. นํ้าเมาที่เกิดจากการหมักหรือแช่, นํ้าเมาที่ไม่ได้กลั่น. (ป.).
  24. ลอบกัด : ก. ทำร้ายลับหลัง, ด่าว่าหรือกลั่นแกล้งลับหลังให้เสียหาย.
  25. วิสกี้ : น. ชื่อสุราชนิดหนึ่งกลั่นจากเมล็ดธัญพืชบางชนิด. (อ. whisky).
  26. หมอก : [หฺมอก] น. ละอองน้ำขนาดเล็กมากที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เกิดจากการ กลั่นตัวของไอนํ้า ลอยอยู่ในอากาศ. ว. สีเทาแก่อย่างสีเมฆ, เป็นฝ้ามัว เช่น ตาหมอก.
  27. หมาลอบกัด : (สำ) น. คนที่ลอบทำร้ายหรือกลั่นแกล้งผู้อื่นลับหลัง.
  28. หาง : น. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายแห่งลําตัวสัตว์, ขนสัตว์จําพวกนก เช่น กา ไก่ ที่ยื่นยาวออกทางก้น; ส่วนท้ายหรือปลาย เช่น หางเชือก หางแถว; ใน ราชาศัพท์เรียก ปลาช่อนว่า ปลาหาง; ลักษณนามเรียกปลาช่อนตากแห้ง เช่น ปลาช่อนหางหนึ่ง ปลาช่อน ๒ หาง; เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสง ลักษณะเป็นทางยาวดุจหางว่า ดาวหาง; เรียกของที่คัดหรือกลั่นเอาส่วน ที่เป็นหัวออกแล้วว่า หาง เช่น หางเหล้า หางกะทิ หางนํ้านม; ส่วนของ ตัวหนังสือไทยที่ลากยาวขึ้นทางเบื้องบนหรือทางเบื้องล่าง.
  29. เหงื่อ : [เหฺงื่อ] น. ของเหลวที่ร่างกายขับออกทางผิวหนัง; หยดนํ้าที่กลั่นตัวจาก ไอนํ้าจับอยู่ที่ฝาภาชนะซึ่งปิดหรือที่ผิววัสดุซึ่งคลุมอยู่เป็นต้น, (ปาก) เหื่อ.
  30. เหล้า : [เล่า] น. นํ้าเมาที่กลั่นหรือหมักแล้ว.
  31. เหล้าโรง : น. เหล้าที่กลั่นจากโรงงานสุราโดยทั่วไปมักมีความเข้มข้นของ เอทิลแอลกอฮอล์ประมาณ ๒๘ ดีกรี หรือ ๔๐ ดีกรี, เหล้าขาว ก็เรียก.
  32. กล่น : [กฺล่น] ก. เกลื่อนกลาด, ดื่นดาษ, เรี่ยรายอยู่.
  33. กลิ่น ๑ : [กฺลิ่น] น. สิ่งที่รู้ได้ด้วยจมูก คือ เหม็น หอม และอื่น ๆ, บางทีใช้หมายความว่า เหม็น เช่น ของสิ่งนั้นมีกลิ่น.
  34. กลิ่น ๒ : [กฺลิ่น] น. ชื่อพวงดอกไม้ร้อยมีรูปแบนประกอบด้วยอุบะ, ถ้าทําให้ผูกแขวนคว่าลงมา เรียกว่า กลิ่นคว่า, ถ้าทําให้ผูกแขวน ตะแคง เรียกว่า กลิ่นตะแคง.
  35. กระไอ ๑ : น. กลิ่น (ใช้เฉพาะกลิ่นของสิ่งที่จวนจะบูด) เช่น แกงมีกระไอจวนจะบูดแล้ว, สะไอ ก็ว่า. ว. มีกลิ่นเหม็นแสดงว่าจวนจะบูด เช่น ข้าวเหม็นกระไอ, สะไอ ก็ว่า.
  36. กลั้น : [กฺลั้น] ก. บังคับความรู้สึกหรือสิ่งที่อยู่ภายใน ร่างกายไม่ให้แสดงออกหรือหลุดออกมา.
  37. กลิ่นอาย : น. กลิ่น. (เป็นคําที่มีความหมายซ้า อาย ก็ว่า กลิ่น).
  38. กลืน : [กฺลืน] ก. อาการที่ทําให้อาหารหรือสิ่งอื่น ๆ ที่อยู่ในปากล่วงลําคอ ลงไป, โดยปริยายใช้หมายถึงอาการที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น ก็ใช้ว่า กลืน ได้ในความหมายเช่นทําให้หายหรือให้สูญไป เช่น ถูกกลืนชาติ, อดกลั้นไม่สําแดงให้ปรากฏออกมา เช่น กลืนทุกข์ กลืนโศก, ประสานกันหรือเข้ากันได้สนิทดี เช่น สีกลืนกัน.
  39. กามคุณ : น. สิ่งที่น่าปรารถนามี ๕ ประการ คือ รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส; ความปรารถนาในเมถุน. (ป., ส.).
  40. แก่ ๑ : ว. มีอายุมาก เช่น แก่ไปทุกวัน ไม้แก่ เด็กคนนี้แก่กว่าเด็กคนนั้น, อยู่ในวัยชรา เช่น คนแก่ หญิงแก่, จัด เช่น เหลืองแก่ แก่เปรี้ยว แก่หวาน; โดยปริยายหมายความว่า จัดเจน หนัก หรือยิ่งไปในทางนั้น เช่น แก่สังคม แก่วิชา แก่เหล้า แก่เล่น แก่ไฟ.
  41. แกลน : [แกฺลน] (โบ; กลอน) ก. คร้าม, กลัว, เกรง, เช่น ฤๅแกลนกําลังศร. (สรรพสิทธิ์).
  42. โกลน : [โกฺลน] น. ห่วงที่ห้อยลงมาจากอานม้า ๒ ข้างสําหรับสอดเท้ายัน ในเวลาขึ้นหรือขี่; ไม้ท่อนกลม ๆ ที่วางเป็นระยะ ๆ เพื่อลากของที่หนัก มาบนนั้น. ก. เกลาไว้, ทําเป็นรูปเลา ๆ ไว้, เช่น โกลนไม้ โกลนเรือ; เรียกเรือที่ทําจากซุงเพียงเปิดปีกเจียนหัวเจียนท้ายเป็นเลา ๆ พอให้มี ลักษณะคล้ายเรือ แต่ยังไม่ได้ขุด ว่า เรือโกลน. (รูปภาพ โกลน)
  43. คันธ-, คันธะ : [คันทะ-] (แบบ) น. กลิ่น, กลิ่นหอม, เมื่อใช้เป็นส่วนหน้าสมาส แปลว่า หอม. (ป., ส.); ชื่อช้างตระกูล ๑ ใน ๑๐ ตระกูล เรียกว่า คันธหัตถี กายสีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม. (ดู กาฬาวก).
  44. จาง : ว. น้อยไป, ลดไป, ไม่เข้ม, (โดยมากใช้แก่สี รส กลิ่น).
  45. จิตสำนึก : น. ภาวะที่จิตตื่นและรู้ตัวสามารถตอบสนองต่อสิ่งเร้าจาก ประสาทสัมผัสทั้ง ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่สัมผัสได้ด้วยกาย. (อ. conscious).
  46. น้ำ : น. สารประกอบซึ่งมีองค์ประกอบเป็นธาตุไฮโดรเจนและออกซิเจน ในอัตราส่วน ๑ : ๘โดยนํ้าหนัก เมื่อบริสุทธิ์มีลักษณะเป็นของเหลว ใส ไม่มีสี กลิ่น รส มีประโยชน์มากเช่นใช้ดื่ม ชําระล้างสิ่งสกปรก, โบราณถือว่าเป็น ธาตุ ๑ ในธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม, ใช้เรียกสิ่งอื่น ที่มีลักษณะเป็นนํ้าหรือเหลวเหมือนนํ้า เช่น นํ้าตา นํ้าปลา นํ้าพริก นํ้าส้ม; โดยปริยายหมายถึงคุณสมบัติที่ถือว่าเป็นสาระของสิ่งที่กล่าวถึง เช่น นํ้าคํา นํ้าใจ นํ้าพัก นํ้าแรง นํ้ามือ; ความแวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ); ลักษณนามเรียกเรือที่ใช้มาแล้ว ๒ ปี ๓ ปี ว่า เรือ ๒ นํ้า เรือ ๓ นํ้า, และ ที่ใช้เกี่ยวกับนํ้าหมายความว่า ครั้ง เช่น ล้าง ๓ นํ้าต้ม ๓ นํ้า. ว. มีแสง แวววาว (ใช้แก่รัตนชาติ) เช่น เพชรนํ้าหนึ่ง ทับทิมนํ้างาม.
  47. เบญจกามคุณ : น. เครื่องผูกอันบุคคลพึงใคร่ ๕ คือ รูป เสียง กลิ่น รส และสิ่งที่ถูกต้องด้วยกาย. (ป. ปญฺจกามคุณ).
  48. ผัสส, ผัสสะ : น. การกระทบ, การถูกต้อง, เช่น ผัสสะทางกาย ผัสสะทางใจ, การที่ตา หู จมูก ลิ้น และกาย กระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส และ สิ่งที่รับรู้ได้ทางกาย เช่น ความสุขทางผัสสะ. (ป.).
  49. พู่กลิ่น : น. ชื่อพวงดอกไม้ร้อยมีรูปแบนประกอบด้วยอุบะ. (ดู กลิ่น๒).
  50. มลพิษ : [มนละพิด] น. พิษเกิดจากความมัวหมองหรือความสกปรกของสิ่งแวดล้อม เช่น ในอากาศหรือในน้ำเป็นต้น; (กฎ) ของเสีย วัตถุอันตราย และมลสารอื่น ๆ รวมทั้งกากตะกอน หรือสิ่งตกค้างจากสิ่งเหล่านั้นที่ถูกปล่อยทิ้งจากแหล่งกำเนิดมลพิษ หรือที่มีอยู่ในสิ่งแวดล้อม ตามธรรมชาติ ซึ่งก่อให้เกิดหรืออาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อคุณภาพสิ่งแวดล้อม หรือภาวะที่เป็น พิษภัยอันตรายต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนได้ และหมายความรวมถึงรังสี ความร้อน แสง เสียง กลิ่น ความสั่นสะเทือน หรือเหตุรำคาญอื่น ๆ ที่เกิดหรือถูกปล่อยออกจากแหล่งกำเนิด มลพิษด้วย. (อ. pollution).
  51. [1-50] | 51-56

(0.0727 sec)