ขิง : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Zingiber officinale Roscoe ในวงศ์ Zingiberaceae เหง้ามีกลิ่น รสเผ็ด ใช้ประกอบอาหารและทํายาได้, ขิงแกลง หรือ ขิงแครง ก็เรียก.
ขิงแกลง, ขิงแครง : [-แกฺลง, -แคฺรง] ดู ขิง.
ขิงแห้ง : น. ขิงชนิดหนึ่งที่ตากแห้ง ใช้เป็นเครื่องยาไทย.
ขิงก็รา ข่าก็แรง : (สํา) ต่างก็จัดจ้านพอ ๆ กัน, ต่างก็มีอารมณ์ร้อนพอ ๆ กัน, ต่างไม่ยอมลดละกัน.
ถึงพริกถึงขิง : (สำ) ว. เผ็ดร้อนรุนแรง เช่น การโต้วาทีคราวนี้ถึงพริกถึงขิง.
พริกขิง : น. ชื่อผัดชนิดหนึ่ง ใช้เครื่องปรุงคล้ายแกงเผ็ด แต่ไม่ใส่ เครื่องเทศ ผัดกับนํ้ามัน, เครื่องปรุงแกงเผ็ด เรียกว่า เครื่องพริกขิง.
ขง : (โบ) น. กรุง, บางทีเขียนเป็น โขง. (``กรุง'' เป็น ``ขุง'' และเป็น ``ขง'' อย่าง ทุ่ง-ท่ง, มุ่ง-ม่ง).
งอก่อ, งอก่องอขิง : ว. อาการที่ตัวงอหรือทําตัวงอ เพราะร้อนหรือ หนาวมากเป็นต้น.
แง่งขิง : น. เครื่องประดับยอดปรางค์ทําเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบ แตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, ฝักเพกา ลําภุขัน สลัดได นพศูล หรือ นภศูล ก็เรียก.
ยุ่งขิง : (ปาก) ว. ยุ่งมาก, นุงนัง, สับสนวุ่นวาย.
ไก่สามอย่าง : น. เครื่องกินแกล้มเหล้า มีกุ้งแห้ง ถั่วลิสง และตะไคร้ เป็นหลัก อาจเพิ่ม ขิง หัวหอม หรือพริกขี้หนูเข้าด้วยก็ได้.
ต้มส้ม : น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง ใช้เนื้อปลาต้มในนํ้าแกงที่ปรุงด้วยกะปิ ขิง หัวหอม พริกไทย ส้มมะขาม และนํ้าตาล มีรสเปรี้ยว เค็ม หวาน.
ตรีอากาศผล : น. ผลแก้อากาศธาตุ ๓ อย่าง คือ ขิง กระลําพัก อบเชยเทศ.
เบญจกูล : น. เครื่องยา ๕ อย่าง คือ ขิง ดีปลี ช้าพลู สะค้าน เจตมูล เพลิง. (ส. ปญฺจโกล).
มเหาษธ ๒ : [มะเหาสด] น. ชื่อพรรณไม้ที่มีกลิ่นฉุน เช่น ขิง กระเทียม. (ส.; ป. มโหสธ).
เมี่ยง ๒ : น. ของกินเล่นที่ใช้ใบไม้บางชนิด เช่น ใบชาหมัก ใบชะพลู ใบทองหลาง ห่อเครื่อง มีถั่วลิสง มะพร้าว กุ้งแห้ง หัวหอม ขิง เป็นต้น มีหลายชนิด เรียกชื่อต่าง ๆ กัน เช่น เมี่ยงคำ เมี่ยงลาว เมี่ยงส้ม.
เมี่ยงลาว : น. ของกินอย่างหนึ่ง ใช้ใบผักกาดดองห่อไส้เป็นคำ ๆ ไส้ทำด้วย หมูสับผัดเคล้ากับกุ้งแห้งป่น ถั่วลิสงตำ ขิง น้ำส้มมะขาม น้ำตาล น้ำปลา ปรุงให้มีรสหวานนำ เค็มตามและเปรี้ยวนิดหน่อย แล้วตักขึ้นเคล้าด้วยหอมเจียว กระเทียมเจียว กินกับข้าวตังทอดหรือข้าวเกรียบกุ้งทอด.
รากเหง้า : น. ต้นเหตุ เช่น โลภ โกรธ หลง เป็นรากเหง้าของความชั่ว ทั้งปวง; เหง้า, ลำต้นที่อยู่ในดินของพืชบางชนิด เช่น กล้วย บอน ขิง ข่า.
เหง้า : [เหฺง้า] น. ลําต้นที่อยู่ใต้ดินของพืชบางชนิด เช่น ขิง กระวาน ที่จมอยู่ใต้ดิน; ต้นเดิม, ต้นวงศ์.
กฏุก, กฏุก- : [กะตุก, กะตุกะ-] ว. เผ็ด, เผ็ดร้อน, เช่น ตรีกฏุก หมายถึงเครื่องยาที่เผ็ดร้อนรวม ๓ อย่าง คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง. (ป.).
ก่อ ๔ : ว. งอ ในคำว่า งอก่อ หรือ งอก่องอขิง. (ไทลื้อ ก่อ ว่า งอ).
ก่อหวอด :
ก. เริ่มจับกลุ่มเพื่อทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง. น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Fagaceae บางชนิดผลมี เนื้อในกินได้ รสมัน, ปักษ์ใต้เรียก กอ. (ถิ่น-พายัพ) น. ปลาช่อน. (ดู ช่อน). ว. งอ ในคำว่า งอก่อ หรือ งอก่องอขิง. (ไทลื้อ ก่อ ว่า งอ). ว. แสดงอาการเจ้าชู้ เช่น ไก่ก้อ.
ไข่หวาน : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําโดยต่อยไข่ใส่ลงในนํ้าเชื่อมร้อน ๆ แล้วต้มให้สุก มักใส่ขิงด้วย.
แครง ๒ :
[แคฺรง] น. ชื่อขิงในหมวดจตุทิพยคันธา เรียกว่า ขิงแครง. (ดู จตุทิพยคันธา ใน จตุ-).
แง่ง ๑ : น. ส่วนที่งอกเป็นแง่ออกมาจากเหง้าขิงข่ากะทือเป็นต้น.
จตุทิพยคันธา : [-ทิบพะยะ-] น. กลิ่นทิพย์ ๔ ประการ คือ ดอกพิกุล ชะเอมเทศ มะกลํ่าเครือ ขิงแครง.
ตรีกฏุก : น. ของเผ็ดร้อน ๓ ชนิด คือ พริกไทย ดีปลี ขิงแห้ง.
ตรีสัตกุลา : [-สัดตะ-] น. ตระกูลอันสามารถ ๓ อย่าง คือ เทียนดํา ผักชีลา ขิงสด.
นพศูล, นภศูล : [นบพะสูน] น. เครื่องประดับยอดปรางค์ ทําเป็นรูป หอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, แง่งขิง ฝักเพกาลําภุขัน หรือ สลัดได ก็เรียก.
นภศูล, นพศูล : [[นบพะสูน] น. เครื่องประดับยอดปรางค์ ทําเป็นรูป หอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, แง่งขิง ฝักเพกา ลําภุขัน หรือ สลัดได ก็เรียก.
ประสะ : ก. ฟอกหรือชําระสิ่งต่าง ๆ เช่นเครื่องยาเพื่อให้สะอาดหรือให้รส อ่อนลง; ใช้เรียกยาที่เข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ เช่น ประสะขิง ก็คือเข้าขิงเท่ากับยาอื่นเป็นต้น.
ฝักเพกา : น. เครื่องประดับยอดปรางค์ ทําเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็น รูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, แง่งขิง ลําภุขัน สลัดได นพศูล หรือ นภศูล ก็เรียก.
ไพล : [ไพฺล] น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Zingiber purpureum Roscoe ในวงศ์ Zingiberaceae ต้นและใบคล้ายขิง เหง้าสีเหลืองอมเขียวใช้ทํายาได้. ว. สีเหลืองอมเขียวอย่างสีเหง้าไพล เรียกว่า สีไพล.
ยาประสะ : น. ยาประเภทหนึ่งซึ่งตามปรกติเข้าเครื่องยาสิ่งหนึ่งซึ่งเป็น ตัวหลัก มีปริมาณเท่ากับเครื่องยาอื่น ๆ อีกหลายอย่างรวมกัน เรียกชื่อ ตามเครื่องยาที่เป็นหลัก เช่น ยาประสะขิง คือ เข้าขิงครึ่งหนึ่งกับเครื่อง ยาอื่น ๆ อีกครึ่งหนึ่ง แต่มีบางชนิดเครื่องยาที่เป็นตัวหลักมีปริมาณไม่ถึง ครึ่งหนึ่งของเครื่องยาทั้งหมด เช่น ยาประสะกานพลู.
ลำภุขัน : น. เครื่องประดับยอดปรางค์ ทําเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็นรูปดาบแตก สาขาออกไป ๔ ทิศ, สลัดได ฝักเพกา แง่งขิง นพศูล หรือ นภศูล ก็เรียก.
สมน้ำสมเนื้อ : ว. พอเหมาะพอดีกัน เช่น ขิงก็ราข่าก็แรง สมน้ำสมเนื้อ กันดีแล้ว.
สลัดได ๒ : [สะหฺลัด] น. เครื่องประดับยอดปรางค์ ทําเป็นรูปหอก มีกิ่งเป็น รูปดาบแตกสาขาออกไป ๔ ทิศ, แง่งขิง นพศูล นภศูล ฝักเพกา หรือ ลําภุขัน ก็เรียก.
สัมผัสอักษร : น. สัมผัสพยัญชนะที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียวกันหรือเสียงพ้องกัน เช่น จําใจจําจากเจ้า จําจร. (ตะเลงพ่าย), คูนแคขิงข่าขึ้น เคียงคาง. (หลัก ภาษาไทยของกำชัย ทองหล่อ).
หลวงพ่อ : (ปาก) น. คำเรียกพระพุทธรูปโดยความเคารพ เช่น หลวงพ่อ โสธร หลวงพ่อแก้ว หลวงพ่อวัดไร่ขิง; คำเรียกพระภิกษุที่เป็นพ่อ หรือ อยู่ในวัยเดียวกับพ่อ.
ขิ่ง : ก. พยายามทําสิ่งที่ยากอันตนจะต้องทําให้เสร็จ เช่น ท้าวธผู้ข้อนขิ่ง ทําทาน. (ม. คําหลวง ชูชก).
เข่ง : น. ภาชนะสานอย่างหนึ่งมีรูปและขนาดต่าง ๆ เช่น เข่งลําไย เข่งปลาทู; ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวกับนํ้าตาล ใส่กระทงวางใน เข่งเล็ก ๆ นึ่งให้สุกเรียกว่า ขนมเข่ง.
แข่ง : ก. ชิงเอาชนะกัน, ชิงดี, ชิงขึ้นหน้า.
โข่ง ๑ : น. ชื่อหอยนํ้าจืดกาบเดี่ยวในวงศ์ Ampullariidae เปลือกสีเขียวคลํ้ามีขนาด เท่าหัวแม่มือจนถึงกําปั้น เวียนเป็นวง ยอดสั้น วงสุดท้ายค่อนข้างกลม มีหลายชนิดในสกุล Pila เช่น ชนิด P. ampullacea, P. polita.
โข่ง ๒ : (ปาก) ว. เปิ่น, ไม่เข้าท่า; โค่ง.
ชิง ๑ : ก. แข่ง, แข่งขัน, เช่น ชิงรางวัล ชิงทุน, แย่ง เช่น ชิงอํานาจ.