Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ข้างเคียง, เคียง, ข้าง , then ขาง, ข้าง, ข้างเคียง, เคียง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ข้างเคียง, 932 found, display 1-50
  1. ข้างเคียง : ว. ที่อยู่ใกล้ ๆ, ที่สนิทชิดชอบกันมาก, เช่น คนข้างเคียง.
  2. เคียง : ว. ชิดกันโดยเรียงข้าง เช่น เดินเคียง นั่งเคียง, ใกล้กัน เช่น บ้านใกล้เรือนเคียง.
  3. ข้าง : น. เบื้อง เช่น ข้างหน้า ข้างหลัง; ส่วน เช่น ข้างหัว ข้างท้าย; ฝ่าย เช่น ข้างไหน ข้างนี้; สีข้าง เช่น เอาข้างเข้าถู. บ. ใกล้, ริม, เช่น ต้นฝรั่งข้างรั้ว.
  4. ระเบียง : น. พื้นเรือนที่ต่อออกไปทางด้านข้าง มีหลังคาคลุม; โรงแถวที่ล้อมรอบ อุโบสถหรือวิหาร, ถ้าเป็นอารามหลวง เรียกว่า พระระเบียง. ว. เรียง, เคียง, ราย.
  5. ข้าง : ว. ใกล้ด้านข้าง เช่น ยืนอยู่ข้าง ๆ.
  6. ข้าง ๆ คู ๆ : ว. ออกนอกแนวนอกเรื่องอย่างไม่สมเหตุสมผล เช่น เถียงไปข้าง ๆ คู ๆ.
  7. เลียบเคียง, เลียบ ๆ เคียง : ก. หาทางใช้คำพูดหรือแสดงอาการ กรายเข้าไปใกล้ ๆ เพื่อหยั่งเชิงเขาดู เช่น เลียบ ๆ เคียง ๆ เพื่อจะ ขอยืมเงิน.
  8. ของเคียง : น. ของกินที่เอามาตั้งเทียบข้างเพื่อกินประกอบกับอาหาร บางชนิด, ราชาศัพท์ว่า เครื่องเคียง.
  9. คู่เคียง : น. ผู้ที่เข้ากระบวนแห่ของหลวงซึ่งเดินเคียงราชยานไปคนละข้าง.
  10. เครื่องเคียง : (ราชา) น. ของเคียง, ของกินที่เอามาตั้งเทียบข้างเพื่อกิน ประกอบกับอาหารบางชนิด.
  11. ข้างกบ : น. กระดานกรุกระหนาบข้างเสาในพระระเบียง ปลายแผ่น กระดานยันใต้ท้องสะพานที่พาดอยู่บนหัวเสา, กระดานกรุกระหนาบ ข้างคูหาหรือช่องหน้าต่างโบสถ์ วิหาร พระที่นั่งต่าง ๆ, บานกบ ก็ว่า.
  12. ข้างกระดาน : น. ชื่อเรือต่อในจําพวกเรือข้าวชนิดหนึ่งที่เสริมข้างให้สูงขึ้น.
  13. ข้างควาย : น. เรียกไม้ขนาบใกล้สันหลังคา ๒ ข้างจากหลบ มีไม้ เสียบหนูยึดกลัดให้แน่น ว่า ไม้ข้างควาย.
  14. ข้างเงิน : น. ชื่อปลาทะเลขนาดเล็กทุกชนิดในสกุล Allanetta และ Stenatherina วงศ์ Atherinidae ลําตัวค่อนข้างกลมยาว หัวโต เกล็ดใหญ่และแข็ง ข้างลําตัวมีสีเด่นเป็นเพียงแถบสีเงินเหลือบนํ้าเงินพาดตลอดตามยาว อยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่ใกล้ผิวนํ้าชายฝั่ง, หัวแข็ง หรือ หัวตะกั่ว ก็เรียก.
  15. ข้างจัน : น. วิธีเหลาไม้ให้เป็นผิวนูนมีลักษณะอย่างข้างของลูกจัน.
  16. ข้างตะเภา : น. (๑) ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Plectorhynchus และ Diagramma วงศ์ Haemulidae ลำตัวป้อม แบนข้าง สันหัวโค้งลาดลง รอบปากมีเนื้อนุ่ม ใต้คางมีรู ๑-๓ คู่ เกล็ดเล็กสากมือพื้นลำตัวและอกมักมีสีฉูดฉาด ในปลา ขนาดเล็กมักมีลายสีทึบพาดตามยาวหลายเส้นและมักแตกเป็นจุดเมื่อตัว โตขึ้น ขอบแผ่นปิดเหงือกและในโพรงปากมักมีสีแดงส้ม ส่วนใหญ่พบ อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง ขนาดตั้งแต่ ๓๐-๘๐ เซนติเมตร, สร้อยนกเขา ก็เรียก. (๒) ดู ข้างลาย.
  17. ข้างลาย : น. ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Therapon และ Pelates วงศ์ Theraponidae มีเส้นดำข้างลำตัวข้างละ ๔-๖ เส้น แล้วแต่ชนิด อาศัยอยู่ตามชายฝั่งทะเลและบริเวณน้ำกร่อย เช่น ชนิด T. jarbua, P. quadrilineatus, ข้างตะเภา ออดแอด หรือ ครืดคราด ก็เรียก.
  18. เคียงบ่าเคียงไหล่ : ว. มีฐานะเสมอกัน ทัดเทียมกัน หรืออยู่ในระดับ เดียวกัน; ร่วมสุขร่วมทุกข์หรือร่วมเป็นร่วมตายด้วยกัน เช่น รบเคียงบ่าเคียงไหล่.
  19. ข้างขึ้น : น. ส่วนของเดือนจันทรคติที่มีพระจันทร์สว่าง คือ ตั้งแต่ ขึ้นคํ่าหนึ่งไปถึงกลางเดือน.
  20. ข้างตีน : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ทิศเหนือ.
  21. ข้างแรม : น. ส่วนของเดือนจันทรคติที่พระจันทร์มืด คือ ตั้งแต่แรม คํ่าหนึ่งไปถึงสิ้นเดือน.
  22. ข้างหัวนอน : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ทิศใต้.
  23. ข้างออก : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ทิศตะวันออก.
  24. ตะพัด ๒ : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Scleropages formosus ในวงศ์ Osteoglossidae หรือชนิดอื่นในสกุลเดียวกันที่พบในประเทศข้างเคียง เป็นปลาโบราณที่ยังมี พืชพันธุ์สืบมาจนถึงปัจจุบัน ลําตัวยาว แบนข้างตลอด แนวด้านข้างของสันหลัง ตรงโดยตลอดแนวสันท้องโค้ง ปากเชิดขึ้น ครีบหลังและครีบก้นอยู่ใกล้ครีบหาง มาก ขอบหางกลมเกล็ดใหญ่ เส้นข้างตัวอยู่ใกล้แนวสันท้อง พื้นลําตัวเป็นสีเงิน อมเทาหรือสีฟ้า พบเฉพาะบริเวณแหล่งนํ้าเขตภูเขาในจังหวัดตราด จันทบุรี และระยอง รวมทั้งบางจังหวัดในเขตภาคใต้ เช่น สุราษฎร์ธานี ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร.
  25. แนบ : ก. แอบชิด, แอบเคียง, เช่น แนบข้าง แนบกาย แนบเนื้อ; ติดไปด้วย เช่น ได้แนบสําเนาจดหมายมาด้วยแล้ว.
  26. พายุฝุ่น : น. พายุที่เกิดเนื่องจากแผ่นดินร้อนจัด กระแสอากาศยกตัว ขึ้นสู่เบื้องบน มวลอากาศที่อยู่ข้างเคียงจึงเคลื่อนตัวเข้ามาแทนที่ มักเกิดในบริเวณที่เป็นทะเลทรายในฤดูร้อน.
  27. มะเร็ง : น. เนื้องอกชนิดร้าย เกิดขึ้นเพราะเซลล์แบ่งตัวอย่างรวดเร็ว ควบคุมไม่ได้ แล้วแทรกไปตามเนื้อเยื่อข้างเคียง และสามารถหลุดจากแหล่งเริ่มต้นไปแบ่งตัว เพิ่มจำนวนที่บริเวณอื่น ๆ ได้ รักษาไม่ค่อยหาย. (อ. cancer).
  28. เหม็ง : น. วิธีแทงโปวิธีหนึ่ง ถ้าลูกค้าแทงเหม็งประตูใด โปออกประตูนั้น เจ้ามือ ใช้ ๑ ต่อ ถ้าออกข้างเคียงซ้ายหรือขวา เป็นเจ๊า ถ้าออกประตูตรงข้าม เจ้ามือกิน เช่น เหม็ง ๒ ถ้าออก ๒ เป็นถูก ออกหน่วย ออก ๓ เป็นเจ๊า ออกครบ เจ้ามือกิน.
  29. กงข้าง, กงค้าง : น. กงที่ตรึงข้างไม่ถึงท้องเรือสลับกับกงวาน. (ตํานานภาษีอากร).
  30. ใกล้ : [ไกฺล้] ว. จวน, เกือบ, เคียง, ไม่ห่าง. ใกล้เกลือกินด่าง (สํา) ก. มองข้ามหรือไม่รู้ค่าของดี ที่อยู่ใกล้ตัวซึ่งจะเป็นประโยชน์แก่ตนกลับไปแสวงหา สิ่งอื่นที่ด้อยกว่า, อยู่ใกล้ผู้ใหญ่แต่กลับไม่ได้ดี.
  31. ค่อนข้าง : ว. หนักหรือกระเดียดไปทางใดทางหนึ่ง เช่น ค่อนข้างดี.
  32. คู่เคียงเรียงหมอน : น. ผัวเมียที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน, ชายหญิง ที่อยู่กินร่วมกันฉันผัวเมีย, คู่เรียงเคียงหมอน ก็ว่า.
  33. คู่เรียงเคียงหมอน : น. ผัวเมียที่อยู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกัน, ชายหญิงที่อยู่กิน ร่วมกันฉันผัวเมีย, คู่เคียงเรียงหมอน ก็ว่า.
  34. แง้ม : ก. เปิดแต่น้อย ๆ เช่น แง้มประตู. (โบ) น. ริม, ข้าง, เช่น ปากคลอง บางกอกน้อยแง้มขวา.
  35. ด้าน ๑ : น. ฝ่าย, ข้าง, ทาง, ส่วน, เช่น ด้านซ้าย ด้านขวา ด้านวิชาการ ด้านศิลปกรรม ด้านวิทยาศาสตร์.
  36. ทาง ๑ : น. ที่สำหรับเดินไปมา, แนวหรือพื้นที่สําหรับใช้สัญจร, เช่น ทางบก ทางนํ้า ทางอากาศ ทางเดินรถ ทางเท้า ทางข้าม ทางร่วม ทางแยก ทางลาด ทางโค้ง; ช่อง เช่น ทางประตู ทางหน้าต่าง; โอกาส เช่น ไม่มีทางจะสําเร็จ; แนว เช่น เดินทางใน; วิธีการ เช่น ส่งเงินทาง ธนาณัติ; แถว, แถบ, ถิ่น, เช่น เป็นคนทางไหน; ฝ่าย, ข้าง, ส่วน, (ในลักษณะที่แยกแนวกัน) เช่น ทางผู้หญิงเขาจะว่าอย่างไร ทางเหนือ ทางโลก; แนวทางหรือแบบอย่างทางดนตรีเฉพาะของอาจารย์แต่ละคน.
  37. ทิศ, ทิศา : น. ด้าน, ข้าง, ทาง, เบื้อง, (หมายเอา เหนือ ใต้ ตะวันออก ตะวันตก เป็นต้น). (ส.; ป. ทิส).
  38. เบื้อง ๑ : น. ทาง, ข้าง, ด้าน, (ใช้ในลักษณะที่เริ่มต้นไปถึงปลาย สูงตํ่า หรือ ซ้าย ขวา เป็นต้น) เช่น เบื้องต้น เบื้องปลาย เบื้องบน เบื้องล่าง เบื้องซ้าย เบื้องขวา.
  39. ปักษ-, ปักษ์ : [ปักสะ-, ปัก] น. ฝ่าย, ข้าง, เช่น ปักษ์ใต้, กึ่งของเดือนจันทรคติ คือ เดือนหนึ่งมี ๒ ปักษ์ ข้างขึ้นเรียก ศุกลปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายขาว หมายเอาแสงเดือนสว่าง) ข้างแรมเรียก กาฬปักษ์ (แปลว่า ฝ่ายดํา หมายเอาเดือนมืด), ครึ่งเดือน เช่น หนังสือรายปักษ์. (ส.; ป. ปกฺข).
  40. พ่วงข้าง : ก. ติดไว้ข้าง ๆ เช่น รถพ่วงข้างรถจักรยานยนต์.
  41. ฟาก ๒ : น. ฝั่ง, ข้าง, เช่น อยู่ฟากนี้ เรือข้ามฟาก ฟากฟ้า.
  42. ไม้ข้างควาย : น. ไม้ขนาบสันหลังคา ๒ ข้างจากหลบมีไม้เสียบหนูกลัดยึดให้แน่น.
  43. ลากข้าง : ก. เขียนสระอาลงข้างหลังพยัญชนะ. น. เครื่องหมายสระอา.
  44. ส่วน : น. สิ่งที่แบ่งจากสิ่งรวม เช่น เงินส่วนนี้จะเอาไว้ทําบุญ; การเข้าร่วม เช่น เรื่องนี้ขอมีส่วนด้วย; แผนกย่อย, ฝ่าย, เช่น งานกองนี้แบ่งออก เป็นหลายส่วน, ตอน, ท่อน, เช่น เรื่องนี้แบ่งออกเป็น ๕ ส่วน; ขนาดที่ พอเหมาะพอดี เช่น ได้ส่วน สมส่วน ผิดส่วน; ด้าน เช่น ส่วนกว้าง ส่วนยาว ส่วนหนา; จำนวนที่อยู่ข้างล่างของเศษในเลขเศษส่วน. สัน. ฝ่าย, ข้าง, เช่น พอสอบเสร็จเพื่อน ๆ ก็ไปเที่ยวภูเก็ต ส่วนฉัน ไปเชียงใหม่.
  45. หอกข้างแคร่ : (สํา) น. คนใกล้ชิดที่อาจคิดร้ายขึ้นมาเมื่อไรก็ได้ มักใช้แก่ ลูกเลี้ยงที่ติดมากับพ่อหรือแม่, ศัตรูที่อยู่ข้างตัว.
  46. หันข้าง : ก. ผินด้านข้างให้เพราะงอนหรือไม่พอใจเป็นต้น.
  47. เกลียวข้าง : น. กล้ามเนื้อที่สีข้าง.
  48. เข้าข้าง : ก. เข้าเป็นฝ่าย.
  49. จับงูข้างหาง : (สํา) ก. ทําสิ่งที่เสี่ยงต่ออันตราย.
  50. ตบมือข้างเดียวไม่ดัง : (สํา) ก. ทําอะไรฝ่ายเดียวไม่เกิดผล.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-932

(0.1970 sec)