Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: คลุกเคล้า, เคล้า, คลุก , then คลก, คลา, คลุก, คลุกเคล้า, เคล้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : คลุกเคล้า, 93 found, display 1-50
  1. คลุก : [คฺลุก] ก. เคล้าให้เข้ากัน, ขยําให้ระคนเข้ากัน; ประชิดติดพันเข้าไป เช่น เข้าคลุกวงใน, เกลือก เช่น คลุกเกลือ คลุกน้ำตาล.
  2. เคล้า : [เคฺล้า] ก. ใช้มือเป็นต้นคนเบา ๆ ให้ทั่ว เช่น เคล้าเครื่องปรุงให้เข้ากัน ในการทำอาหาร; คลอเคลีย เช่น เคล้าแข้งเคล้าขา, เกลือก เช่น แมลงภู่ เคล้าเกสรดอกไม้.
  3. เคล้าคลึง : ก. ลูบคลํา, ทั้งเคล้าทั้งคลึง, ลูบคลํากอดรัด.
  4. เคล้าเคลีย : ก. เคล้าคู่กัน, เคียงเคล้ากัน, คลอเคลีย, เคลียเคล้า ก็ว่า.
  5. คุลีการ : ก. คลุกเคล้าเข้าด้วยกันแล้วปั้นก้อน, คลุกเคล้าให้เข้ากัน.
  6. ผงฟู : น. สารผสมชนิดหนึ่ง ซึ่งเมื่อเปียกนํ้าหรือทําให้ร้อนจะให้ แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ออกมา มีองค์ประกอบที่สําคัญ คือ โซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต มีสูตร NaHCO3 ปนแป้ง ผสม คลุกเคล้ากับสารอื่นซึ่งมักเป็นกรดทาร์ทาริก มีสูตร HOOC CHOHCHOHCOOH หรือโพแทสเซียมไฮโดรเจนทาร์เทรต มีสูตร KHC4H4O6 หรือแคลเซียมไดไฮโดรเจนฟอสเฟต มีสูตร Ca(H2PO4)2 หรือสารส้มใช้ประโยชน์ทําให้ขนมปังและขนม บางประเภทมีเนื้อฟูพรุน.
  7. พะโล้ : น. ชื่ออาหารแบบจีนชนิดหนึ่ง ใช้ลูกโป๊ยกั้ก อบเชย และเครื่องเทศ อื่น ๆ ตำเคล้าคลุกกับเป็ดหรือห่านเป็นต้นให้เข้ากันดี และเคี่ยวจน น้ำแห้ง, ถ้าทำอย่างไทยใช้น้ำตาลปีบเคี่ยวกับซีอิ๊วและน้ำปลา มีรส หวานเค็ม และมักไม่ใส่เครื่องเทศ เช่น ไข่พะโล้ หมูพะโล้.
  8. รักสมุก : น. น้ำรักผสมเถ้าถ่านของใบตองแห้งหรือหญ้าคา บดแล้วคลุก เคล้าให้เข้ากัน ใช้ทารองพื้น.
  9. คลึงเคล้า : ก. ลูบคลํา, ทั้งคลึงทั้งเคล้า, ลูบคลํากอดรัด, เกลือกกลั้วอย่าง กิริยาที่แมลงภู่คลึงเคล้าดอกไม้.
  10. เคลียเคล้า : ก. เคล้าเคลีย.
  11. ล้มลุกคลุกคลาน : ก. หกล้มหกลุก เช่น ฝนตกหนักถนนเป็นโคลน เขาต้องวิ่งหนีฝนล้มลุกคลุกคลานไปตลอดทาง สะดุดตอไม้ล้มลุก คลุกคลาน, โดยปริยายหมายความว่า ซวดเซ, ไม่มั่นคง, ตั้งตัวไม่ติด, เช่น ชีวิตของเขาต้องล้มลุกคลุกคลานอยู่ตลอดเวลา เขาล้มลุกคลุก คลานมาหลายปีกว่าจะตั้งตัวได้.
  12. อุกคลุก : (กลอน) ก. เข้ารบคลุกคลีประชิดตัว, อุตลุด, เช่น อุกคลุก พลุก เงยงัด คอคช เศิกแฮ. (ตะเลงพ่าย).
  13. คลา : [คฺลา] (กลอน) ก. เดิน, เคลื่อน, เช่น พาชีขี่คล่องคล้อย ควรคลา. (โลกนิติ); คลาด เช่น อายแก่ราชาคลา ยศแท้. (โลกนิติ).
  14. ลูกเคล้า : น. ชื่อหญ้าชนิดหนึ่งใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
  15. ขยำ : [ขะหฺยํา] ก. กํายํ้า ๆ, บีบยํ้า ๆ, คลุก.
  16. กะลอจี๊ : น. ชื่อขนมของจีนชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวทอดไฟอ่อน ๆ เวลากินคลุกงาผสมน้ำตาลทรายขาว.
  17. ขมม : [ขะหฺมม] ก. เชยชม, คลึงเคล้า.
  18. ข้าวเกรียบปากหม้อ : น. ชื่อของว่างชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า ละเลงบนผ้าที่ขึงปากหม้อน้ำเดือด มีไส้ทําด้วยกุ้งหรือหมูเป็นต้น. ข้าวเกรียบอ่อน น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า ประสม กับนํ้าตาลโตนดหรือนํ้าตาลมะพร้าว ละเลงบนผ้าที่ขึงปากหม้อน้ำ เดือด มีไส้ทําด้วยถั่วและมะพร้าว กินกับนํ้าตาลคลุกงา.
  19. ข้าวตอกตั้ง : น. ชื่อของหวานทําด้วยข้าวตอกคลุกนํ้าตาลและมะพร้าว ทําเป็นแว่น ๆ เกลือกแป้ง.
  20. ข้าวตู : น. ข้าวตากคั่วแล้วตําเป็นผงเคล้ากับนํ้าตาลและมะพร้าว.
  21. ข้าวพอง : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยเมล็ดข้าวเจ้าทอดน้ำมันให้พอง เคล้ากับน้ำตาลแล้วอัดเป็นแผ่น.
  22. ข้าวเภา : น. ชื่อข้าวในพิธีธนญชัยบาศรับช้างเผือกของพราหมณ์ พฤฒิบาศ คลุกด้วยสีเหลือง สีแดง แล้วปั้นเป็นก้อน ๆ, ข้าว กระยาสังแวง ก็เรียก.
  23. ข้าวเม่าทอด : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ใช้ข้าวเม่าตำคลุกกับมะพร้าว และน้ำตาลปึกหุ้มกล้วยไข่สุก แล้วชุบแป้งทอดเป็นแพ ๆ.
  24. ข้าวยำ : น. อาหารชนิดหนึ่งของชาวปักษ์ใต้ ใช้ข้าวสุกคลุกกับ เครื่องปรุง มีกุ้งแห้งป่น มะพร้าวคั่ว นํ้าเคยหรือนํ้าบูดู ส้มโอ และผักต่าง ๆ หั่นละเอียด เช่น ใบมะกรูด ตะไคร้ ถั่วฝักยาว.
  25. ข้าวหัวโขน : น. ข้าวตากคั่วคลุกนํ้าตาลปึก.
  26. ขี้หนู ๒ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้าโม่ทับน้ำ ยีให้ร่วนแล้วนึ่งให้สุก ใส่น้ำเชื่อม เคล้าให้ฟูเป็นเม็ดเล็ก ๆ คล้ายเม็ดทราย โรยด้วยมะพร้าว ทึนทึกขูด, (ราชา) ขนมทราย.
  27. ไข่ลูกเขย : น. อาหารของคาวทําด้วยไข่ต้มทั้งลูก ปอกเปลือกแล้วทอดนํ้ามัน เคล้ากับนํ้าตาล นํ้าปลาที่เคี่ยวจนงวด, (โบ) ไข่ญี่ปุ่น.
  28. ครองแครง : [คฺรองแคฺรง] น. ชื่อขนมทําด้วยแป้งกดบนพิมพ์ที่เป็นรอยริ้ว ๆ คล้าย ฝาหอยแครง ต้มกับกะทิ, ถ้าทอดกรอบเคล้านํ้าตาลเคี่ยว เรียกว่า ครองแครงกรอบ.
  29. คฤโฆษ : [คะรึโคด] (กลอน) ก. กึกก้อง, ดังลั่น, เช่น คฤโฆษกลองฆ้องเคล้า คลี่ดูริย. (ยวนพ่าย).
  30. คลอเคลีย : ก. เคล้าคู่กัน, เคียงเคล้ากันไป, เคลียคลอ ก็ว่า.
  31. คอนกรีต : น. วัสดุก่อสร้าง ประกอบด้วยซีเมนต์ ทราย หิน และนํ้า ผสมเคล้า เข้าด้วยกัน เมื่อแห้งแข็งตัวแล้วจะเป็นวัสดุที่แข็งมาก. (อ. concrete).
  32. คะไขว่ : [-ไขฺว่] (กลอน) ว. ขวักไขว่, สับสน, โบราณเขียนเป็น คไขว่ ก็มี เช่น ขว้างหอกซรัดคไขว่ ไล่คคลุกบุกบัน. (ตะเลงพ่าย).
  33. เคลียคลอ : ก. เคล้าคู่กัน, เคียงเคล้ากัน, คลอเคลีย ก็ว่า.
  34. งาลั่ว : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่งทำด้วยงาคั่วให้สุกแล้วเคล้ากับน้ำตาลเคี่ยว ทำเป็นแผ่นบาง ๆ ตัดเป็นรูปสี่เหลี่ยม.
  35. จี้ ๓ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำด้วยแป้งข้าวเหนียวผสมแป้งข้าวเจ้านวดกับกะทิ แล้วนึ่งให้สุก ปั้นเป็นก้อนกลมแบน หุ้มไส้ที่ทำด้วยน้ำตาลทรายเคี่ยว จนเหนียวผสมงาคั่ว แล้วคลุกนวลแป้งข้าวเจ้าที่คั่วสุก.
  36. ชวัก : [ชะ] (กลอน) ก. ชัก เช่น เคล้าฟ้าเคลือกเปลวลาม พระราม พระลักษณชวักอร. (แช่งน้ำ).
  37. ซีเมนต์ : น. วัสดุใช้ในการก่อสร้างชนิดหนึ่ง ลักษณะเป็นผง เมื่อผสมคลุกกับ นํ้าแล้วทิ้งไว้จะเกิดปฏิกิริยาเคมีเป็นผลให้เกิดการก่อตัวและแข็งตัวได้ องค์ประกอบเคมีที่สําคัญของซีเมนต์ คือ แคลเซียมซิลิเกต แคลเซียมอะลูมิเนต และแคลเซียมอะลูมิโนเฟอร์ไรต์ ใช้ประโยชน์ เพื่อทําคอนกรีต ปูนฉาบ หรือ ปูนก่อเป็นต้น เรียกว่า ปูนซีเมนต์. (อ. cement).
  38. ดอกลำดวน : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งสาลีเคล้านํ้าตาลกับนํ้ามัน ปั้นเป็นดอก ๓ กลีบอย่างดอกลําดวน แล้วอบหรือผิง.
  39. แดกงา : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทําด้วยข้าวเหนียวนึ่งแล้วเอามาตําคลุกกับงา.
  40. ต้ม ๒ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียวปั้นเป็นลูกกลม ๆ ถ้าใส่ไส้ นํ้าตาลปึกตัดเป็นก้อนสี่เหลี่ยมหรือไส้หน้ากระฉีกแล้วคลุกมะพร้าว ข้างนอก เรียกว่า ขนมต้มขาว, ถ้าต้มเคี่ยวกับนํ้าตาลปึกและมะพร้าว อย่างหน้ากระฉีก เรียกว่า ขนมต้มแดง.
  41. ถั่วแปบ : น. ชื่อไม้เถาชนิด Dolichos lablab L. ในวงศ์ Leguminosae ดอกสีม่วงฝักแบน ๆ; ชื่อขนมชนิดหนึ่งทําด้วยแป้งข้าวเหนียวต้ม คลุกกับมะพร้าว มีไส้ถั่วเขียวเราะเปลือกนึ่ง มีลักษณะแบน ๆ คล้ายถั่วแปบ โรยงา นํ้าตาล.
  42. ทับทิม ๑ : น. พลอยสีแดงชนิดหนึ่ง; เรียกสิ่งที่เป็นเกล็ดสีม่วงแก่ เมื่อละลายนํ้า จะออกเป็นสีทับทิม ว่า ด่างทับทิม; เรียกหินที่มีสีคล้ายทับทิมใช้รอง แกนในนาฬิกาข้อมือเป็นต้นว่า ทับทิม; เรียกขนมชนิดหนึ่งทําด้วย แป้งมันใส่สีแดงเหมือนเม็ดทับทิมต้มกินกับนํ้าเชื่อมหรือนํ้าหวานว่า ทับทิมลอยแก้ว, ถ้าทําด้วยแห้วหรือมันแกวหั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ คลุกแป้ง แล้วทําด้วยกรรมวิธีเดียวกัน เรียกว่า ทับทิมกรอบ. ว. สีแดงชนิดหนึ่ง คล้ายทับทิม เรียกว่า สีทับทิม. (ไทยเดิม ทับทิม ว่า แสงแดง). (ส. ทาฑิม).
  43. น้ำเกิด : น. นํ้าในทะเลและแม่นํ้าลําคลองที่มีทางติดต่อโดยตรงกับ ทะเลหรือได้รับอิทธิพลจากนํ้าทะเลเป็นต้น มีระดับนํ้าขึ้นสูงมากและ ลงตํ่ามากเนื่องจากอิทธิพลของดวงจันทร์และดวงอาทิตย์ ในช่วงเวลา ที่ดวงจันทร์และดวงอาทิตย์อยู่ในวงโคจรเกือบเป็นแนวเดียวกันกับโลก นํ้าเกิดจะมี ๒ ช่วง คือ ช่วงวันเดือนเพ็ญ ตั้งแต่วันขึ้น ๑๓ คํ่าถึงวันแรม ๒ คํ่า และช่วงวันเดือนดับ ตั้งแต่วันแรม ๑๓ คํ่า ถึงวันขึ้น ๒ คํ่า. น้ำขาว น. นํ้าเมาชนิดหนึ่งทําด้วยข้าวเหนียวนึ่งคลุกกับแป้งเหล้าซึ่ง เป็นเชื้อหมักไว้จนมีนํ้าขุ่นขาว.
  44. น้ำตับ : (ถิ่น–อีสาน) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ใช้ตับวัวหรือควายสับให้ ละเอียด คลุกข้าวสุก เกลือ และเครื่องปรุง ขยําให้เข้ากันแล้วยัดใน ไส้หมู, หมํ้า หรือ หมํ้าตับ ก็เรียก.
  45. น้ำพริก : น. อาหารชนิดหนึ่ง ปรุงด้วย กะปิ กระเทียม พริกขี้หนู มะนาว เป็นต้นใช้เป็นเครื่องจิ้มหรือคลุกข้าวกิน ใช้นํ้าปลาหรือนํ้าปลาร้าแทน กะปิก็มี ใช้ของเปรี้ยวอื่น ๆ เช่น มะขาม มะดัน มะม่วง แทนมะนาวก็มี เรียกชื่อต่างกันไปตามเครื่องปรุง เช่น นํ้าพริกปลาร้า นํ้าพริกปลาย่าง นํ้าพริกมะขาม นํ้าพริกมะดัน นํ้าพริกมะม่วง, เครื่องปรุงแกงเผ็ด แกงคั่ว หรือ แกงส้ม, อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง มี ๓ รส แต่ค่อนข้าง หวานทําด้วยถั่วเขียวโขลกกับเครื่องปรุง กินกับผักบางอย่างเป็นเหมือด ใช้คลุกกินกับขนมจีน, คู่กับ นํ้ายา.
  46. น้ำพริกเผา : น. นํ้าพริกชนิดหนึ่ง ใช้พริกแห้ง หอม กระเทียม กุ้งแห้ง เป็นต้น เผาหรือทอด แล้วตําให้ละเอียด ปรุงด้วยนํ้าปลา นํ้าตาล ส้มมะขาม ใช้คลุกข้าวหรือทาขนมปัง.
  47. น้ำมันสลัด : น. นํ้ามันที่ได้จากพืชบางชนิดเช่นมะกอก ใช้คลุกกับ ส่วนผสมอื่น ๆ เพื่อปรุงรสและกลิ่นในการทำสลัด.
  48. น้ำยา ๑ : น. อาหารคาวอย่างหนึ่ง ลักษณะอย่างแกง ทําด้วยปลาโขลก กับเครื่องปรุง กินกับผักบางอย่าง เช่น ถั่วงอก ใบแมงลัก ใช้คลุกกิน กับขนมจีน, คู่กับ นํ้าพริก; สิ่งที่ประสมเป็นนํ้าสําหรับจิตรกรรมหรือ ระบายภาพ; นํ้าที่ผสมสารเคมีเพื่อใช้ในกิจการบางอย่าง เช่น นํ้ายา ล้างรูป.
  49. บงสุกุล : น. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักออกจากศพว่า ผ้าบงสุกุล, โดยปรกติ ใช้ว่า บังสุกุล. (ดู บังสุกุล). (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น).
  50. บังสุกุล : น. เรียกผ้าที่พระภิกษุชักจากศพ หรือที่ทอดไว้หน้าศพ หรือที่ทอดบน ด้ายสายสิญจน์หรือผ้าภูษาโยงที่ต่อจากศพด้วยการปลงกรรมฐานว่า ผ้าบังสุกุล, เรียกกิริยาที่พระภิกษุชักผ้าเช่นนั้นว่า ชักบังสุกุล, (ปาก) บังสกุล ก็ว่า. (ป. ปํสุกูล ว่า ฝั่งแห่งฝุ่น, กองฝุ่น, คลุกฝุ่น; ส. ปําสุกูล).
  51. [1-50] | 51-93

(0.1217 sec)