Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความเกี่ยวเนื่อง, เนื่อง, เกี่ยว, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความเกี่ยวเนื่อง, 3645 found, display 1-50
  1. เกี่ยว : ก. อาการที่สิ่งงอเป็นขอเกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น ทอดสมอให้เกี่ยวแง่หินไว้, เอาของที่มีลักษณะเช่นนั้น เกาะติดหรือเหนี่ยวไว้ เช่น เอาขอเกี่ยว, ติดต่อผูกพัน, แตะต้อง, ยุ่งเกี่ยว, ข้องแวะ, เช่น เรื่องนี้อันตรายมากอย่าเอาตัวเข้าไปเกี่ยวเลย, เกี่ยวข้อง ก็ว่า; อาการที่สิ่งแหลมคมขูดขีด สะกิด เป็นต้น เช่น หนามเกี่ยว ตะปูเกี่ยว, ตัดด้วยเคียว เช่น เกี่ยวข้าว เกี่ยวหญ้า เกี่ยวแฝก; โดยปริยายหมายความว่า เนื่อง เช่น เกี่ยวด้วยเรื่องนี้.
  2. ความ : [คฺวาม] น. เรื่อง เช่น เนื้อความ เกิดความ; อาการ เช่น ความทุกข์ ความสุข; คดีที่ฟ้องร้องกันในโรงศาล; คํานําหน้ากริยาหรือวิเศษณ์เพื่อแสดงสภาพ เช่น ความตาย ความดี ความชั่ว.
  3. เนื่อง : ก. ติดต่อกัน, เกี่ยวข้องกัน, เช่น เรื่องนี้เนื่องกับเรื่องนั้น เรื่องมันเนื่อง ถึงกัน. น. แหวนทองเกลี้ยงมีหลายวงไขว้ติดกันรวมเป็นวงเดียวกันได้, เรียกวัตถุอื่น ๆ ที่มีลักษณะคล้ายกัน เช่น ถ้วยเนื่อง คือ ถ้วยที่มีหลาย ชั้นติดกัน, เนื่องรอบวงในประดับเพชร, เนื่องเพชรลงยาราชาวดี. (ตํานานเครื่องราชอิสริยาภรณ์). เนื่องจาก, เนื่องด้วย, เนื่องแต่ สัน. เพราะเหตุที่ เช่น โรงเรียนปิด เนื่องจากนํ้าท่วม เนื่องด้วยเขาป่วย จึงมาไม่ได้ เนื่องแต่เหตุนั้นนั่นเอง.
  4. กรรมพันธุ์ : [กำมะพัน] ว. มีกรรมเป็นเผ่าพันธุ์ คือ เกี่ยวเนื่องด้วย กรรมของตนเอง. น. ลักษณะ นิสัย ตลอดจนโรคหรือความวิกล วิการบางอย่างที่ลูกหลานสืบมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย หรือ พ่อแม่, พันธุกรรม ก็ว่า. (ส. กรฺม + พนฺธุ; ป. กมฺมพนฺธุ = ''มีกรรม เป็นเผ่าพันธุ์'' เกี่ยวเนื่องด้วยกรรมของตนเอง).
  5. ของกลาง : น. ของที่ใช้ร่วมกัน; (กฎ) ของที่ทําหรือมีไว้เป็นความผิด หรือที่ได้มาโดยได้กระทําความผิด หรือที่ได้ใช้หรือมีไว้เพื่อใช้ในการ กระทําความผิด หรือที่เกี่ยวเนื่องกับการกระทําความผิด หรือที่สงสัยว่า เป็นของดังกล่าว ซึ่งเจ้าพนักงานได้ยึดไว้เพื่อใช้เป็นพยานหลักฐานใน คดีอาญา.
  6. ภาคทฤษฎี : น. ภาคที่เกี่ยวกับความคิดเห็นอันเนื่องด้วยหลักวิชา, คู่กับ ภาคปฏิบัติ.
  7. ภาษาคำโดด : น. ภาษาแบบที่ใช้คำที่มีลักษณะโดด ๆ คือ ไม่มีการเปลี่ยน แปลงรูปไปตามหน้าที่หรือตามความสัมพันธ์ทางไวยากรณ์เกี่ยวเนื่อง กับคำอื่น คำในภาษาคำโดดมักจะมีพยางค์เดียวเป็นส่วนมาก แต่ก็มีคำ สองพยางค์และหลายพยางค์ด้วย เช่น ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาเวียดนาม. (อ. isolating language).
  8. ภาษาคำติดต่อ : น. ภาษาแบบที่มีการสร้างคำด้วยการเติมอุปสรรค อาคม หรือปัจจัย ซึ่งเป็นหน่วยคำไม่อิสระและไม่มีความหมาย ผสานเข้ากับคำ บางคำซึ่งเป็นคำตั้ง ทำให้เกิดเป็นคำใหม่ แต่จะมีรูปและความหมายเกี่ยว เนื่องกับคำตั้งนั้น เช่น ภาษาเขมร ภาษาญี่ปุ่น ภาษาตุรกี ภาษาฮังการี. (อ. agglutinative language).
  9. ศาลทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ : (กฎ) น. ศาล ยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่กฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาล ทรัพย์สินทางปัญญาและการค้าระหว่างประเทศ เช่น คดีอาญาและ คดีแพ่งเกี่ยวกับเครื่องหมายการค้า ลิขสิทธิ์ สิทธิบัตร และคดีแพ่ง เกี่ยวกับข้อพิพาทตามสัญญาถ่ายทอดเทคโนโลยีหรือสัญญา อนุญาตให้ใช้สิทธิ คดีแพ่งเกี่ยวกับการซื้อขาย แลกเปลี่ยนสินค้า หรือตราสารการเงินระหว่างประเทศหรือการให้บริการระหว่าง ประเทศการขนส่งระหว่างประเทศ การประกันภัย และนิติกรรม อื่นที่เกี่ยวเนื่อง คดีแพ่งหรือคดีอาญาที่เกี่ยวกับข้อพิพาทในการ ออกแบบวงจร รวมการค้นพบทางวิทยาศาสตร์ ชื่อทางการค้า ชื่อทางภูมิศาสตร์ที่แสดงถึงแหล่งกำเนิดของสินค้า ความลับ ทางการค้าและการคุ้มครองพันธุ์พืช.
  10. สังคม, สังคม : [คมมะ] น. คนจํานวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบ กฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญร่วมกัน เช่น สังคมชนบท; วงการ หรือสมาคมของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น สังคมชาวบ้าน. ว. ที่เกี่ยวกับ การพบปะสังสรรค์หรือชุมนุมชน เช่น วงสังคม งานสังคม. (ป.).
  11. เกี่ยวก้อย : (สำ) ก. อาการที่แสดงความคุ้นเคยสนิทสนมกัน เช่น เขาเกี่ยวก้อยกันไปเที่ยวเชียงใหม่.
  12. ตา ๒ : น. ส่วนหนึ่งของร่างกายคนและสัตว์ ทําหน้าที่เป็นเครื่องดูรูป; ส่วนหนึ่ง ของต้นไม้ตรงที่แตกกิ่ง, รอยของต้นไม้ตรงที่เคยแตกกิ่ง; ช่องที่เกิดจาก การถัก สาน หรือลากเส้นผ่านกัน เช่น ตาร่างแห ตาตะแกรง ตาตาราง; คราว เช่น ตานี้ ถึงตาฉันบ้างละนะ; เรียกลายที่เป็นตาตามรูปต่าง ๆ ตามลักษณะ ของสิ่งของ เช่น ตาสมุก ตาราชวัติ ตาเมล็ดงา ตาเม็ดบัว ตาหมากรุก. ตากบ ๑ ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบตาเขียด ก็เรียก. ตากบตาเขียด ว. มีลักษณะคล้ายตากบ ใช้เปรียบข้าวที่หุงดิบ ๆ สุก ๆ, ตากบ ก็เรียก. ตากล้อง (ปาก) น. ผู้ทําหน้าที่ถ่ายภาพ. ตากลับ ว. ลักษณะที่ตาเหลือกขึ้นจนไม่แลเห็นตาดํา; ลักษณะที่สายตาคน มีอายุกลับเห็นชัดเจนขึ้น. ตากล้า น. พื้นดินที่ยกเป็นคันแบ่งเป็นช่อง ๆ สําหรับตกกล้า, ตาตกกล้า ก็ว่า. ตากุ้ง ว. สีเหมือนตาของกุ้ง, สีม่วงอมเทา. ตาโก้ง น. ชื่อผ้าชนิดหนึ่งที่ทอเป็นตาโต ๆ. ตาไก่ น. ชื่อเครื่องหมายชนิดหนึ่ง มีรูปคล้ายตาไก่ ดังนี้ ๏ ในหนังสือเก่า สําหรับเขียนขึ้นต้นวรรคหรือต้นบรรทัด, ฟองมัน ก็เรียก; โลหะที่ทําเป็นรู ใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกันช่องสึก, ถ้าขนาดใหญ่เรียกว่า ตางัว. ตาขวาง ว. เริ่มแสดงอาการคลั่ง; ขุ่นเคือง, ไม่พอใจ. ตาขอ น. ไม้หรือเหล็กที่งอ ๆ สําหรับชัก เกี่ยว แขวน หรือสับ, ขอ หรือ ตะขอ ก็ว่า. ตาข่าย น. เครื่องดักสัตว์มีนกหรือกระต่ายเป็นต้น ถักเป็นตาร่างแห, เรียก ลวดหรือด้ายที่ถักเป็นตา ๆ อย่างข่ายว่า ลวดตาข่าย ฯลฯ. ตาขาว ว. แสดงอาการขลาดกลัว. ตาขุ่นตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาเขียว ก็ว่า. ตาเข น. ตาเหล่น้อย. ตาเขียว ว. แสดงอาการโกรธจัด, ตาขุ่นตาเขียว ก็ว่า. ตาแข็ง ว. ไม่ง่วง, ไม่กะพริบง่าย. ตาคม น. ตาที่มีลักษณะอย่างของมีคม อาจบาดหรือแทงใจได้. ตาค้าง ว. อาการที่ตาเหลือกขึ้นและไม่กลับลงมาตามเดิม, อาการที่นอนหลับ หรือตายลืมตา, อาการที่ตาไม่กะพริบ. ตางัว ๑ น. ชื่อโคมชนิดหนึ่ง; โลหะที่ทําเป็นรูใช้เลี่ยมรูผ้าหรือรูหนังเพื่อกัน ช่องสึก, ถ้าขนาดเล็กเรียกว่า ตาไก่. ตาจระเข้ น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์จิตรา มี ๑ ดวง, ดาวไต้ไฟ ดาวเสือ หรือ ดาวต่อมนํ้า ก็เรียก; ตาคนที่มีรูปยาวเหมือนตาของจระเข้. ตาเจ้าชู้ (สำ) น. ตาที่แสดงอาการกรุ้มกริ่มเป็นเชิงทอดไมตรีในทางชู้สาว. ตาชั่ง น. เครื่องชั่งสําหรับชั่งสิ่งของต่าง ๆ มีหลายชนิด เช่น ตราชู ชั่งจีน ชั่งสปริง. ตาแดง น. โรคเยื่อหุ้มลูกตาอักเสบ. ตาตกกล้า น. ตากล้า. ตาตั๊กแตน ๑ ว. มีลักษณะที่ใสแจ๋ว. ตาตั้ง ว. อาการที่ตาแข็งและเหลือกในเวลาชัก. ตาตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาราง ก็ว่า. ตาตี่ น. ตาที่หนังตาบนตกลงมาจนเกือบปิด ทําให้เบิกตากว้างไม่ได้. ตาตุ่ม ๑ น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลม ๆ ที่ข้อเท้าทั้ง ๒ ข้าง. ตาเต็ง น. เครื่องชั่งหรือตาชั่งขนาดเล็กชนิดหนึ่ง มีถาดห้อยอยู่ทางหัวคัน ที่เป็นไม้หรืองาช้าง มีตุ้มถ่วงห้อยเลื่อนไปมาตามคันได้ เดิมใช้สําหรับ ชั่งทอง เงิน เพชร และพลอย, เต็ง ก็เรียก. (เทียบ จ. เต็ง). ตาโต ๑ (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดง อาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาพอง ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาถั่ว น. ตาที่มีจุดขาวมัว ๆ อยู่กลางตาดํา ทําให้มองไม่ค่อยเห็น, โดยปริยาย หมายความว่า เซ่อ เช่น ของวางอยู่ตรงหน้า ไม่เห็นก็ตาถั่วแล้ว. ตาทัพ น. ทางที่กองทัพเดิน ซึ่งเปรียบด้วยตาหรือแต้มหมากรุก. ตาทิพย์ น. ตาที่สามารถดูอะไรเห็นได้หมด. ตานกแก้ว น. อวัยวะส่วนที่เป็นปุ่มกลมที่ข้อมือทั้ง ๒ ข้าง. ตาน้ำ น. ทางนํ้าใต้ดินที่มีนํ้าไหลไม่ขาดสาย. ตาบอด น. ตามืด, ตามองไม่เห็น, โดยปริยายหมายถึงหลงผิดไปชั่วคราว ไม่รู้ว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เพราะความรักเลยทำให้เขาตาบอดไปชั่ว ระยะหนึ่ง. ตาบอดคลำช้าง (สํา) น. คนที่รู้อะไรด้านเดียวหรือนัยเดียวแล้วเข้าใจว่า สิ่งนั้นเป็นอย่างนั้น. ตาบอดได้แว่น (สํา) น. ผู้ที่ได้สิ่งซึ่งไม่เป็นประโยชน์แก่ตน มักพูดเข้าคู่กับ หัวล้านได้หวี เป็น หัวล้านได้หวี ตาบอดได้แว่น. ตาบอดตาใส น. ตาบอดอย่างที่ตาดูเหมือนเป็นปรกติ แต่มองไม่เห็น. ตาบอดสอดตาเห็น (สํา) อวดรู้ในเรื่องที่ตนไม่รู้. ตาบอดสี น. ตาที่มองเห็นสีผิดไปจากสีที่เป็นจริง เนื่องจากประสาทตาที่ รับรู้สีพิการหรือเจริญไม่เต็มที่. ตาปลา น. เนื้อซึ่งด้านเป็นไตแข็งคล้ายตาของปลา มักเป็นที่ฝ่าเท้าหรือนิ้วเท้า. ตาปลาดุก น. ตาที่มีลักษณะเล็กเรียว. ตาปู น. ตะปู. ตาเป็นมัน (สํา) ว. อาการที่จับตามองจ้องดูสิ่งที่ต้องใจอย่างจดจ่อ. ตาเป็นสับปะรด (สํา) ว. มีพรรคพวกที่คอยสอดส่องเหตุการณ์ให้อยู่รอบข้าง. ตาโป่ง น. ตาหมากรุกที่เดินผิดกติกา โดยเดินทแยง ๔๕ องศาไป ๓ ตาตาราง (มักใช้แก่การเดินหมากม้าในหมากรุกไทย). ตาฝาด ว. เห็นผิดพลาดไป, เห็นคลาดเคลื่อนไปจากของเดิม. ตาพร่า ว. อาการที่เห็นไม่ชัดเจน. ตาพอง ๑ น. ตาที่มีลักษณะโป่งโตขึ้นมา. (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะ อยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต ตาลุก หรือ ตาลุกตาชัน ก็ว่า. ตาโพลง ว. เบิกตากว้าง เช่น ตกใจลืมตาโพลง. ตาฟาง น. ตาที่มองอะไรเห็นไม่ชัดเจน. ตาฟางไก่ น. ตาที่มองเห็นเฉพาะในเวลากลางวัน ในเวลากลางคืนมอง อะไรไม่เห็น. ตาเฟื้องตาสลึง (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว). ตามด น. รูเล็ก ๆ ที่นํ้าซึมออกได้อย่างรูรั่วตามก้นหม้อเป็นต้น. ตาแมว น. ชื่อชันชนิดหนึ่ง เรียกว่า ชันตาแมว; คดที่ได้จากตาแมว; แก้ว มีค่าชนิดหนึ่ง เรียกว่าเพชรตาแมว; แก้วสะท้อนแสงชนิดหนึ่งที่ฝังไว้ ตาไม่มีแวว (สำ) ว. ไม่รู้จักของดี เช่น เขาเป็นคนตาไม่มีแวว มีของดีมา ให้เลือกยังไม่ยอมเลือก. ตาราง น. ช่องสี่เหลี่ยมที่เกิดจากเส้นขนานในแนวยืนกับแนวนอนตัดกัน, ตาตาราง ก็ว่า; ใช้เป็นคํานําหน้าคํามาตราวัดที่เป็นหน่วยมาตรฐาน หมายความว่า สี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ตารางวา หมายความว่า วาสี่เหลี่ยมจัตุรัส. ตารางสอน น. ตารางที่บรรจุรายการสอนว่า วันใด เวลาใด สอนวิชาใด. ตารางเหลี่ยม (เลิก) น. ชื่อมาตราวัดพื้นผิวที่เป็นหน่วยมาตรฐาน คือพื้นที่ กําหนดเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส เช่น ๑ เมตรตารางเหลี่ยม เท่ากับ กว้าง ๑ เมตร ยาว ๑ เมตร หรือ ๑ ตารางเมตร. ตาร้าย น. เรียกผู้ที่มองดูคนอื่นแล้วถือว่าให้โทษแก่คนนั้น, ดูร้าย ก็ว่า; ที่ เดือดร้อน ในคําว่า เข้าตาร้าย. ตาริ้ว น. แถวซึ่งตั้งเป็น ๒ แถวหรือ ๔ แถวขนานกัน เช่นแถวกระบวนแห่ เป็นต้น. ตาเริด ว. อาการที่นอนตาค้างหรือนอนไม่หลับ. ตาลม น. โรคตาชนิดหนึ่ง. ตาลอ น. ตาถั่ว. ตาลอย ว. อาการที่ตาเหม่อ. ตาลาย ว. อาการที่มองเห็นอะไรไม่ชัดพร่าลายไปหมด. ตาลีตาเหลือก ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาเหลือก ก็ว่า. ตาลุก ๑ ก. ลืมตาโพลงด้วยความสนใจ. ตาลุก ๒, ตาลุกตาชัน (สํา) ว. อาการที่ตาเบิกกว้างเพราะอยากได้เมื่อ เห็นเงินเป็นต้น, แสดงอาการอยากได้เมื่อเห็นเงินเป็นต้น, ตาโต หรือ ตาพอง ก็ว่า. ตาเล็กตาน้อย (สํา) น. ตาที่แสดงอาการว่าชอบพอรักใคร่ เป็นการทอด ไมตรีในทางชู้สาว (มักใช้แก่หญิงสาว), ตาที่แสดงอาการประจบประแจง (มักใช้แก่เด็ก). ตาวาว ว. อาการที่จ้องมองดูสิ่งใดสิ่งหนึ่งด้วยความอยากได้ เช่น พอเห็น เงินก็ตาวาว เด็ก ๆ พอเห็นขนมก็ตาวาว. ตาแวว ว. ลักษณะของตาที่มีความไวในการเห็นภัยอันตราย, หวาดระแวง, เช่น กาตาแววเห็นธนู. ตาไว ว. ลักษณะของตาที่เห็นอะไรได้รวดเร็ว เช่น ตาไวเห็นคนรู้จักนั่งรถ ผ่านไป. ตาโศก น. ตามีลักษณะเศร้า ชวนให้เอ็นดู. ตาสว่าง น. ตามองเห็นชัดเจน เช่น พอหยอดยา ก็รู้สึกว่าตาสว่างขึ้น; ไม่ง่วง งัวเงีย, นอนต่อไม่หลับ, เช่น ตื่นขึ้นมากลางดึก เลยตาสว่าง นอนไม่หลับอีก; โดยปริยายหมายความว่า เข้าใจแล้วว่าอะไรผิดอะไรถูก เช่น เดี๋ยวนี้เขา ตาสว่างแล้วหลังจากที่หลงผิดมานาน. ตาส่อน น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่ตามปรกติ. ตาสำเภา น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตัวโค ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตาหมากรุก น. เรียกผ้าที่มีลายเป็นตารางสี่เหลี่ยมจัตุรัสแบบกระดาน หมากรุกมีสีสลับกันว่าผ้าตาหมากรุก. ตาหยี น. ตาหรี่, ตาที่แคบเรียวเล็ก. ตาหวาน ๑ น. ตาที่มีแววน่ารักน่าเอ็นดู, ตาแสดงอาการน่ารักน่าเอ็นดู. ตาเหล่ น. ตาเขมาก. ตาเหลือก ๑ น. ตาที่เบิกกว้าง, ตาที่กลอกขึ้น, ตาที่ตาดําอยู่ข้างบน. ว. อาการรีบร้อนลนลาน, ตื่นกลัว, ตาลีตาเหลือก ก็ว่า. ตาเหลือกตาพอง ว. อาการที่แสดงความตกใจกลัว. ตาแหลม ว. มีสายตาคมพอมองเห็นก็รู้ทันทีว่าอะไรดีมีคุณค่า เช่น ผู้หญิง คนนี้ตาแหลมพอมองเห็นหัวแหวนก็รู้ว่าเป็นเพชรแท้หรือเพชรเทียม. ตาแหวน น. ตาที่มีเส้นสีขาวหรือสีงาช้างเวียนรอบขอบตาดํา (มักใช้แก่ ม้า วัว ควาย). ตาอ้อย น. ชื่อลายชนิดหนึ่ง. ตาเอก น. ตาที่มีตาดําอยู่ไม่ตรงที่.
  13. กระแสความ : น. แนวความ, ข้อความที่ต่อเนื่องกัน.
  14. คาบเกี่ยว : ก. ติดต่อเกี่ยวเนื่องกัน เช่น ที่ดินคาบเกี่ยวกัน.
  15. ราวความ : น. เนื้อความที่ต่อเนื่อง เช่น เรื่องนี้ยังต้องไปสืบสาวราวความ ให้ละเอียด.
  16. การพา : (ความร้อน) น. การส่งถ่ายพลังงานความร้อนผ่านของเหลว หรือแก๊สโดยวิธีการซึ่งโมเลกุลของของเหลวหรือแก๊สเคลื่อนที่ไป. การเมือง น. (๑) งานที่เกี่ยวกับรัฐหรือแผ่นดิน เช่น วิชาการเมือง ได้แก่วิชาว่าด้วยรัฐ การจัดส่วนแห่งรัฐ และการดําเนินการแห่งรัฐ. (๒) การบริหารประเทศเฉพาะที่เกี่ยวกับนโยบายในการบริหาร ประเทศ เช่น การเมืองระหว่างประเทศ ได้แก่การดําเนินนโยบาย ระหว่างประเทศ. (๓) กิจการอํานวยหรือควบคุมการบริหาร ราชการแผ่นดิน เช่น ตําแหน่งการเมือง ได้แก่ตําแหน่งซึ่งมีหน้าที่ อํานวย (คณะรัฐมนตรี) หรือควบคุม (สภาผู้แทนราษฎร) การบริหารแผ่นดิน. (ปาก) ว. มีเงื่อนงํา, มีการกระทําอันมีเจตนาอื่น แอบแฝงอยู่, เช่น ป่วยการเมือง.
  17. เกี่ยวข้าว : น. เรียกเพลงร้องแก้กันในเวลาเกี่ยวข้าวทํานองเพลงเรือว่า เพลงเกี่ยวข้าว.
  18. เกี่ยวดองหนองยุ่ง : (ปาก) ว. เกี่ยวดองกันอย่างซับซ้อน.
  19. เกี่ยวเบ็ด : ก. เอาเบ็ดไปเกี่ยวเหยื่อ, เอาเหยื่อมาเกี่ยวเบ็ด.
  20. เกี่ยวแฝกมุงป่า : (สํา) ก. ทําอะไรเกินกําลังความสามารถของตัว.
  21. เกี่ยวพัน : ก. ติดเนื่องกัน, พัวพัน.
  22. เกี่ยวโยง : ก. ต่อเนื่องไปถึง.
  23. ความคิด : น. สิ่งที่นึกรู้ขึ้นในใจ; ความรู้ที่เกิดขึ้นภายในใจ ก่อให้เกิดการแสวงหา ความรู้ต่อไป เช่น เครื่องบินเกิดขึ้นได้เพราะความคิดของมนุษย์; สติ ปัญญาที่จะทำสิ่งใดสิ่งหนึ่งอย่างถูกต้องและสมควร เช่น คนทำลาย ของสาธารณะเป็นพวกไม่มีความคิด.
  24. ความชอบ : น. คุณงามความดีที่ควรได้รับบําเหน็จรางวัล.
  25. ความเป็นความตาย : น. เรื่องสำคัญมาก เช่น เรื่องภาวะวิกฤตทางเศรษฐกิจ เป็นความเป็นความตายของชาติ.
  26. ความมุ่งหมาย : น. ความตั้งใจ, เจตนา, เช่น ถนนสายนี้สร้างขึ้นด้วย ความมุ่งหมายเพื่อย่นระยะทาง.
  27. ความรู้ : น. สิ่งที่สั่งสมมาจากการศึกษาเล่าเรียน การค้นคว้า หรือประสบการณ์ รวมทั้งความสามารถเชิงปฏิบัติและทักษะ; ความเข้าใจหรือสารสนเทศ ที่ได้รับมาจากประสบการณ์; สิ่งที่ได้รับมาจากการได้ยิน ได้ฟัง การคิด หรือการปฏิบัติ; องค์วิชาในแต่ละสาขา เช่น ความรู้เรื่องเมืองไทย ความรู้เรื่องสุขภาพ.
  28. ความรู้ท่วมหัวเอาตัวไม่รอด : (สํา) ว. มีความรู้มากแต่ไม่รู้จักใช้ความรู้ ให้เป็นประโยชน์.
  29. ความรู้สึกช้า : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้ช้า เช่น เขาเป็นคนมีความรู้สึกช้า ต้องใช้เวลานานกว่าจะเข้าใจ.
  30. ความรู้สึกไว : น. ลักษณะอาการที่รับอารมณ์ต่าง ๆ ได้รวดเร็ว เช่น ผู้ที่ศึกษาวรรณคดี ควรจะมีความรู้สึกไวจึงจะรับรสวรรณคดีได้.
  31. ความเห็น : น. ข้อวินิจฉัยหรือความเชื่อที่แสดงออกตามที่เห็น รู้ หรือ คิด เช่น ฉันมีความเห็นว่านักมวยไทยจะเป็นฝ่ายชนะ ผมมีความเห็น ว่าเขาเป็นคนน่าเชื่อถือ.
  32. เกี่ยวดอง : ว. นับเป็นญาติกันทางเขยหรือสะใภ้.
  33. ความโน้มถ่วง : น. กิริยาที่แรงดึงดูดของโลกกระทําต่อเทหวัตถุ. (อ. gravitation).
  34. ความหลัง : น. เรื่องราวในอดีต.
  35. กฎหมายปกครอง : (กฎ) น. กฎหมายสาขาหนึ่งของกฎหมายมหาชน ที่วางหลักเกี่ยวกับการจัดระเบียบในทางปกครองของรัฐ และการ ดำเนินกิจกรรมของฝ่ายปกครองในการจัดทำบริการสาธารณะ รวมทั้งวางหลักความเกี่ยวพันในทางปกครองระหว่างฝ่ายปกครอง กับเอกชน. (อ. administrative law).
  36. กฎหมายพาณิชย์ : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ทางการค้าหรือธุรกิจระหว่างบุคคล เช่น กฎหมายว่าด้วยการซื้อขาย การเช่าทรัพย์ การจํานอง การจํานํา ตั๋วเงิน หุ้นส่วนบริษัท. (อ. commercial law).
  37. กฎหมายแพ่ง : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ระหว่างบุคคลเกี่ยวกับสถานภาพ สิทธิ และหน้าที่ของบุคคล ตามกฎหมาย เช่น กฎหมายว่าด้วยนิติกรรม ละเมิดทรัพย์สิน ครอบครัว มรดก. (อ. civil law).
  38. กฎหมายมหาชน : (กฎ) น.กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ระหว่างรัฐกับเอกชน ในฐานะที่รัฐมีอำนาจปกครองเอกชนที่อยู่ ในดินแดนของรัฐนั้น เช่น กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายอาญา. (อ. public law).
  39. กฎหมายระหว่างประเทศ : (กฎ) น. หลักกฎหมายหรือหลักปฏิบัติ ที่ยอมรับกันว่าด้วยรัฐและความเกี่ยวพันระหว่างรัฐ รวมทั้งความ เกี่ยวพันระหว่างรัฐกับองค์การระหว่างประเทศและประชาคม ระหว่างประเทศ, เดิมเรียกว่า กฎหมายนานาประเทศ. (อ. international law).
  40. กฎหมายเอกชน : (กฎ) น. กฎหมายที่วางระเบียบความเกี่ยวพัน ระหว่างเอกชนหรือระหว่างเอกชนกับรัฐ ในฐานะที่รัฐดำเนินการ อย่างเอกชนเกี่ยวกับสถานภาพของบุคคลตามกฎหมาย สิทธิและ หน้าที่ของเอกชน รวมทั้งวางระเบียบเกี่ยวกับทรัพย์สินของเอกชน เช่น กฎหมายแพ่ง กฎหมายพาณิชย์. (อ. private law).
  41. กฎอัยการศึก : (กฎ) น. กฎหมายซึ่งได้ตราขึ้นไว้สําหรับประกาศใช้ เมื่อมีเหตุจําเป็น เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยในบ้านเมือง เช่น ในกรณีเกิดสงคราม การจลาจล ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอํานาจหน้าที่เหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธ์ การระงับปราบปราม หรือการรักษา ความสงบเรียบร้อย และศาลทหารมีอํานาจพิจารณาพิพากษา คดีอาญาบางอย่างที่ประกาศระบุไว้แทนศาลพลเรือน.
  42. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  43. กระทงแถลง : (กฎ; เลิก) น. ส่วนสําคัญในสํานวนความที่เป็นประเด็น และที่เกี่ยวกับประเด็นอันพึงเสนอวินิจฉัย.
  44. กระเบื้องกาบกล้วย : น. กระเบื้องมุงหลังคาชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็น กระเบื้อง ๒ แผ่นวางคร่อมกัน แผ่นคว่ำมีรูปร่างเหมือนกาบกล้วย ข้างใต้ตอนบนมีงวงหรือขอสำหรับยึดกับระแนง ส่วนแผ่นหงาย ที่อยู่ข้างล่างนั้นเป็นแผ่นแบน งอริมขึ้นทั้ง ๒ ข้าง มีขออยู่ตอนบน เพื่อเกี่ยวกับระแนง ปัจจุบันนิยมทำให้กระเบื้องแผ่นคว่ำและ แผ่นหงายติดเป็นแผ่นเดียวกันเพื่อให้มีความคงทนมากขึ้น, กาบู ก็เรียก.
  45. กระแสจิต : น. กระแสความนึกคิดหรือกระบวนความนึกคิด ที่เกิดดับต่อเนื่องกันไป, เรียกอาการที่ส่งความนึกคิดติดต่อกัน ระหว่างจิตของคนหนึ่งกับอีกคนหนึ่ง ซึ่งอยู่ห่างกันโดยไม่ต้อง อาศัยประสาทสัมผัสทั้ง ๕ อย่างใดอย่างหนึ่งว่า การส่งกระแสจิต.
  46. กลาโหม : [กะลาโหมฺ] น. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ในสมัยโบราณ มีสมุหพระกลาโหมเป็นประธาน; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่ เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจาก ภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ; การชุมนุมพลรบ.
  47. กัลปพฤกษ์ ๑ : [กันละปะพฺรึก] น. ต้นไม้ที่เชื่อกันว่าให้ผลสําเร็จ ตามความปรารถนา; เรียกต้นไม้ที่ทําขึ้นเนื่องในการทิ้งทานใน งานเมรุหลวง และมีลูกมะนาวบรรจุเงินตราห้อยอยู่ตามกิ่งต่าง ๆ ของต้นไม้นั้นว่าต้น กัลปพฤกษ์, เรียกลูกมะนาวที่บรรจุเหรียญเงินนั้น ว่า ลูกกัลปพฤกษ์; (โบ) ใช้ว่า กํามพฤกษ์ ก็มี เช่น พวกประจํา กํามพฤกษ์บังคมไหว้. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ส.; ป. กปฺปรุกฺข).
  48. กาบู : น. กระเบื้องมุงหลังคาชนิดหนึ่ง มีลักษณะเป็นกระเบื้อง ๒ แผ่นวางคร่อมกัน แผ่นคว่ำมีรูปร่างเหมือนกาบกล้วย ข้างใต้ตอนบนมีงวงหรือขอสำหรับยึดกับระแนง ส่วนแผ่นหงายที่อยู่ข้างล่างนั้นเป็นแผ่นแบน งอริมขึ้นทั้ง ๒ ข้าง มีขออยู่ตอนบนเพื่อเกี่ยวกับระแนง ปัจจุบันนิยมทำให้กระเบื้อง แผ่นคว่ำและแผ่นหงายติดเป็นแผ่นเดียวกันเพื่อให้มีความคงทน มากขึ้น, กระเบื้องกาบกล้วย ก็เรียก.
  49. กุลสัมพันธ์ : [กุนละ-] ว. เกี่ยวเนื่องกันทางตระกูล. (ป.).
  50. เกลียว : [เกฺลียว] น. สิ่งที่มีลักษณะเป็นรอยพันหรือบิดโดยรอยต่อเนื่อง อย่างสว่าน หรือตะปูควงหรือเชือกที่ฟั่นเป็นต้น, ลักษณะของเชือก ที่ฟั่น. ก. กิริยาที่หมุนบิดให้เชือกเขม็งขึ้น เรียกว่า ตีเกลียว, ถ้าเอาเชือก ๒ เส้นฟั่นควบเป็นเส้นเดียวกัน แล้วเอาเชือกเส้นที่ ๓ ซึ่งเขม็งแล้ว ควบเข้าไประหว่างเชือก ๒ เส้นนั้น โดยคลายเกลียว ที่ปลายเชือก ๒ เส้นแรกเล็กน้อยเพื่อให้เชือกเส้นที่ ๓ สอดควบ เข้าด้วยกันได้จนตลอดเรียกว่า สับเกลียว หรือ สับเชือก. ว. โดยปริยายหมายความว่า ขยันขันแข็ง เช่น หากินตัวเป็นเกลียว, น้ำหนึ่งใจเดียวกัน เช่น เข้ากันเป็นเกลียว, ในลักษณะนี้ถ้าไม่เข้าเกลียวกัน คือแตกพวกหรือไม่ถูกกัน หรือมีความเห็นไม่ลงรอยกัน เรียกว่า ปีนเกลียว.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3300 | 3301-3350 | 3351-3400 | 3401-3450 | 3451-3500 | 3501-3550 | 3551-3600 | 3601-3645

(0.1447 sec)