คาบ ๒ : ก. เอาปากหรือสิ่งที่มีลักษณะอย่างปากงับหนีบไว้, โดยปริยายหมายถึง อาการที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น คาบข่าวไปบอก.
คาบ ๑ : น. ครั้ง, หน, ระยะเวลาเวียนรอบ, ช่วงเวลา. ก. กลั้นใจบริกรรม เวทมนตร์ครั้งหนึ่ง ๆ.
คาบ ๓ : น. พื้นหน้าเรียบ เช่น ราบคาบ. (ไทยขาว).
คาบเกี่ยว : ก. ติดต่อเกี่ยวเนื่องกัน เช่น ที่ดินคาบเกี่ยวกัน.
คาบลูกคาบดอก : (สํา) ว. อยู่ในระยะคับขันกำลังจะได้หรือเสียก้ำกึ่งกัน สำนวนนี้เปรียบกับต้นไม้ที่ออกดอกและกำลังจะเป็นลูกคาบเกี่ยวกัน จึงว่า คาบลูกคาบดอก.
คาบศิลา : น. ชื่อปืนเล็กยาวอย่างโบราณ มีนกเป็นเหล็กคาบหินเหล็กไฟ หรือหินปากนกสับลงกับเหล็กให้เป็นประกายติดดินหู.
คาบเส้น : ก. อยู่ตรงเกณฑ์ที่กำหนดพอดี เช่น สอบไล่ได้คะแนนคาบเส้น.
กระหนาบคาบเกี่ยว : ว. ประชิดเหลื่อมล้ากัน.
กาคาบพริก : (สํา) ว. ลักษณะที่คนผิวดําแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีแดง.
ไม้คาบ : น. ไม้สำหรับบีบนวดงวงตาล.
กระแวน :
น. นกกาแวน เช่น คับคาคาบคาร่อน กระแวนว่อนบินบน. (ตะเลงพ่าย). (ดู กาแวน).
กระหนาบ : ก. ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีกระหนาบ; อาการที่อยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น กระหนกกระหนาบภาพหาญ, กระหนกกระหนาบคาบเครือสร้อยสน. (พากย์); ดุดันเอา. (แผลงมาจากขนาบ).
กั้นหยั่น : น. มีดปลายแหลม มีคม ๒ ข้าง ส่วนของใบมีดตั้งแต่กั่นถึงปลาย ใหญ่เท่ากัน เป็นอาวุธ ใช้เหน็บเอว, จีนใช้เป็นเครื่องหมายกันจัญไร เช่นในรูปสิงโตคาบกั้นหยั่น.
ขนาบ : [ขะหฺนาบ] ก. ประกบเข้าให้แน่น เช่น เอาไม้ขนาบทั้งข้างล่างข้างบน หรือขนาบข้างเป็นต้น, ประชิดเข้าไปทั้ง ๒ ข้าง เช่น กองทัพตีขนาบ, ติดชิดกันอยู่ทั้ง ๒ ข้าง เช่น ที่ดินขนาบคาบเกี่ยวกัน; (ปาก) ดุดันเอา เช่น ถูกขนาบ; โดยปริยายหมายความว่า เรื่อยมา, ตลอดมา, เช่น รับ ของถวายกันขนาบมา. (ประพาสมลายู).
ขันสาคร : น. ขันขนาดใหญ่ทำด้วยโลหะผสม ได้แก่ สัมฤทธิ์ ทองเหลือง ตัวขันเป็นทรงลูกมะนาวตัด ก้นขันมีเชิง ข้างขันทำเป็นรูปหน้าสิงโตปาก คาบห่วงซึ่งใช้เป็นหูหิ้วข้างละหู ใช้บรรจุน้ำสำหรับทำน้ำมนต์หรือสำหรับ ผู้มีบรรดาศักดิ์ใช้อาบ. (รูปภาพ ขันสาคร)
คับคา :
น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น คับคาคาบคาร่อน กระแวนว่อนบินบน. (ตะเลงพ่าย), ปัจจุบันเรียก จาบคาหัวเขียว. (ดู จาบคา).
งับ : ก. ปิดอย่างไม่สนิทหรือปิดอย่างไม่ลงกลอน เช่น งับประตู; อาการที่ อ้าปากคาบหรือกัดโดยเร็ว.
เงือด, เงือดงด : ก. อดกลั้น, ยับยั้ง, เช่น เงือดคํารบสองคาบสามคาบ. (จารึกสยาม), จำต้องเงือดงดอดกลั้น คอยหยิบผิดมันให้จงได้. (สังข์ทอง).
จ้องหน่อง : น. เครื่องทําให้เกิดเสียงเป็นเพลง โดยใช้ปากคาบแล้วกระตุกหรือชักด้วย เชือกให้สั่นดังเป็นเสียงดนตรี.
ฉวยฉาบ : (กลอน) ก. จิกหรือหยิบแล้วบินหรือพาไป เช่น ฉวยฉาบคาบนาคี เป็นเหยื่อ. (เห่เรือ).
ดินหู : น. ดินปืนอย่างแรง ใช้โรยที่รางชนวนในการยิงปืนคาบศิลาสมัย โบราณ.
นิตยสาร : น. หนังสือพิมพ์ที่ออกเป็นรายคาบ เช่น นิตยสารรายสัปดาห์ นิตยสารรายเดือน. (ส.).
บริกรรม : [บอริกํา] ก. สํารวมใจสวดมนต์ภาวนา, สํารวมใจร่ายมนตร์หรือเสก คาถาซํ้า ๆ หลายคาบหลายหนเพื่อให้เกิดความขลังความศักดิ์สิทธิ์. (ส. ปริกรฺมนฺ; ป. ปริกมฺม).
บีบขมับ : ก. เอาไม้คาบเข้าที่ขมับทั้ง ๒ ข้าง แล้วผูกรวบรัดหัวท้าย ไม้คาบนั้นเข้าด้วยกัน เป็นวิธีลงโทษในสมัยโบราณ แบบหนึ่ง.
ปะกำ : น. ไม้ที่ทําเป็น ๒ ขาสําหรับคาบไม้อื่น, ลูกตั้งฝาที่คาบพรึง.
ปากห่าง : น. ชื่อนกขนาดใหญ่ชนิด Anastomus oscitans ในวงศ์ Ciconiidae ซึ่งเป็นวงศ์เดียวกับนกกาบบัวแต่ตัวเล็กกว่า ลําตัวสีเทาอมขาว แต่ จะเป็นสีเทาเข้มในฤดูผสมพันธุ์ ปากหนาแหลมตรง เมื่อจะงอยปาก สบกัน ส่วนกลางของปากบนและปากล่างแยกห่างจากกัน ทั้งนี้เพื่อ สะดวกในการคาบเหยื่อ กินหอยเป็นอาหารหลักโดยเฉพาะหอยโข่ง มีที่วัดไผ่ล้อม จังหวัดปทุมธานี เป็นจํานวนมาก.
เผลอ : [เผฺลอ] ก. หลงลืมไปชั่วขณะ เช่น เผลอตัว เผลอสติ, เลินเล่อ, ไม่ ระวังตัว, เช่น เผลอไปแผล็บเดียว แมวคาบปลาไปกินเสียแล้ว.
ร่องแร่ง : ว. อาการที่ห้อยติดอยู่จวนจะหลุด เช่น เขาถูกฟันแขนห้อยร่องแร่ง แมว คาบหนูห้อยร่องแร่ง, กะร่องกะแร่ง.
รางปืน : น. ไม้เนื้อแข็งที่ทำเป็นร่องสำหรับรองรับลำกล้องปืนประเภท ประทับบ่า เช่น ปืนนกสับ ปืนคาบศิลา หรือตัวปืนใหญ่ในสมัยโบราณ เป็นต้น.
แล ๒ : ว. อาการที่ทิ้งไว้นานโดยไม่ใส่ใจ เช่น กับข้าวทิ้งแลไว้บนโต๊ะ ไม่มีคนกิน ของวางแลไม่มีคนซื้อ, แร ก็ว่า; ทีเดียว, ฉะนี้, (มักใช้ ในที่สุดประโยคหรือข้อความ หรือคำลงท้ายคำประพันธ์) เช่น ยมพะบาลจับผู้หญิงผู้ชายจำให้ขึ้นจำให้ลงหากันดั่งนั้น หลายคาบ หลายคราลำบากนักหนาแล. (ไตรภูมิ), ห่อนข้าคืนสม แม่แล ฯ. (เตลงพ่าย).
สงกร : [กอน] (แบบ) น. การปะปน, การคาบเกี่ยว. (ป.; ส. สํกร).
สะบัด : ก. เคลื่อนไหวหรือทําให้เคลื่อนไหวไปมาอย่างเร็วและแรง เพื่อให้ สิ่งที่ติดอยู่หลุดไป เช่น หมาสะบัดขนเพื่อให้นํ้าที่ติดอยู่หลุดกระเซ็น ไป หรือเพื่อให้หมดทางต่อสู้ดิ้นรน เช่น แมวคาบหนูสะบัดไปมา หรือเพื่อให้เข้าที่ ให้กลับเข้ารูปเดิม เป็นต้น เช่น เขาชอบสะบัดผม สะบัดแขนเสื้อ, เอาใบมีดโกนปัดไปปัดมาบนแผ่นหนังเป็นต้นเพื่อ ลับให้คม เรียกว่า สะบัดมีดโกน หรือ สะบัดมีด, เรียกอาการของสิ่ง เช่นธงเมื่อถูกลมพัดกระพือหรือถูกโบกไปมาเป็นต้นให้ปลิวพลิ้ว เกิดเป็นริ้ว ๆ ว่า ธงสะบัด, สลัด ปัด หรือ ฟัด ก็ใช้โดยอนุโลม; โดย ปริยายหมายความว่า อย่างมาก, อย่างยิ่ง, เช่น สวยสะบัดโกงสะบัด; (โบ) ฉ้อโกง, กระบัด ประบัด หรือ ตระบัด ก็ใช้.
สังกร : [กอน] น. ความปะปน, ความคาบเกี่ยว. (ป.; ส. สํกร).
สาคร ๒ : [คอน] น. ชื่อขันขนาดใหญ่ทำด้วยโลหะผสม ได้แก่ สัมฤทธิ์ ทองเหลือง ตัวขันเป็นทรงลูกมะนาวตัด ก้นขันมีเชิง ข้างขันทำเป็นรูปหน้าสิงโตปาก คาบห่วงซึ่งใช้เป็นหูหิ้วข้างละหู ใช้บรรจุน้ำสำหรับทำน้ำมนต์ หรือ สำหรับผู้มีบรรดาศักดิ์ใช้อาบ เรียกว่า ขันสาคร.
องคาพยพ : [องคาบพะยบ, องคาพะยบ] น. ส่วนน้อยและใหญ่ แห่งร่างกาย, อวัยวะน้อยใหญ่. (ป. องฺค+ อวยว).
เอือน ๑ : (โบ) น. พยาธิในท้องชนิดหนึ่ง เช่น ลางคาบมีตืดมีเอือนในท้องนั้น. (ไตรภูมิ).