Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ฉันท์ , then ฉนท, ฉนฺท, ฉันท์ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ฉันท์, 66 found, display 1-50
  1. ฉันท- ๑, ฉันท์ : [ฉันทะ] น. ชื่อคําประพันธ์ประเภทหนึ่งที่วางคํา ครุ ลหุ เป็นแบบ ต่าง ๆ. (ป.).
  2. ฉันท- ๒, ฉันท์ ๒, ฉันทะ : น. ความพอใจ, ความรักใคร่, ความชอบใจ, ความยินดี; ความร่วมความคิด ความเห็นกัน เช่น ลงมติเป็นเอกฉันท์, ความไว้เนื้อเชื่อใจ เช่น มอบฉันทะ. (ป.).
  3. ฉันทา : ดู ฉันท-ฉันท์, ฉันทะ.
  4. ฉันทาคติ : ดู ฉันท-ฉันท์, ฉันทะ.
  5. ฉันทานุมัติ : ดู ฉันท-ฉันท์, ฉันทะ.
  6. อัษฎกฉันท์ : น. ฉันท์ปัฐยาวัต.
  7. กามฉันท์ : น. ความพอใจในกามคุณทั้ง ๕. (ป.).
  8. เดียดฉันท์ : ก. ไม่พอใจด้วย, รังเกียจ, ลําเอียง.
  9. รังเกียจเดียดฉันท์ : ก. ลำเอียงด้วยความรังเกียจ.
  10. กระคาย : (กลอน) ว. ระคาย เช่นบุกแฝกกระคายคา ละเลาะลัดลดาดอน. (ม. ฉันท์ มหาราช).
  11. กระดาก ๓ : น. ชื่อไม้ต้นชนิดหนึ่ง เช่น กระดากกระโดนดําดง. (ม. ฉันท์ มหาพน).
  12. กริว ๒ : [กฺริว] ว. เกรียว เช่น บางหมู่ก็กริวเกริ่น. (ม. ฉันท์ มหาพน).
  13. กรุน : [กฺรุน] ก. ตัด, ทําลาย, เช่น จะกรุนจะกราดสงคราม. (ม. ฉันท์ มหาราช). (ถิ่นพายัพ กุน ว่า ตัด, ทําลาย, ใช้คู่กับ กาด ว่า ทําให้ราบลง).
  14. กลอน ๒ : [กฺลอน] น. คําประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคําเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่ายก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตํารากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคําประพันธ์เฉพาะอย่างเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คําประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึง เรียกว่ากลอน เป็นลํานําสําหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสําหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด.
  15. ขวัดขวิด : [ขฺวัดขฺวิด] ก. กวัดไกว เช่น เท้ากวัดขวัดขวิดคือควัน. (ม. ฉันท์ มหาราช).
  16. ทำนองเสนาะ : น. วิธีการอ่านออกเสียงอย่างไพเราะตามลีลาของ บทร้อยกรองประเภทโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน.
  17. ประพนธ์ : น. คําร้อยกรอง เช่น โคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน. ก. ประพันธ์, ร้อยกรอง, ผูก, แต่ง, เรียบเรียง; เกี่ยวเนื่อง. (ส. ปฺรพนฺธ; ป. ปพนฺธ).
  18. เวทางค์, เวทางคศาสตร์ : น. วิชาประกอบการศึกษาพระเวทมี ๖ อย่าง คือ ๑. ศึกษาวิธีออก เสียงคําในพระเวทให้ถูกต้อง ๒. ไวยากรณ์ ๓. ฉันท์ ๔. โชยติส คือ ดาราศาสตร์ ๕. นิรุกติ คือ กําเนิดของคําและ ๖. กัลปะ คือ วิธีจัดทําพิธี. (ส.).
  19. กช, กช- : [กด, กดชะ-] (กลอน; ตัดมาจาก บงกช) น. ดอกบัว เช่น ดุจบัวอัน บานชู กชกรรณิกามาศ. (สมุทรโฆษ), โดยมากใช้เข้าคู่กับคํา กร เป็น กรกช เช่น กรกชชุลีคัล. (อิเหนาคําฉันท์). (ป. ปงฺกช).
  20. กฏุกผล : [กะตุกะผน] (แบบ) น. ผลอันเผ็ดร้อน. (ชุมนุมตํารากลอน ปาราชิตฉันท์).
  21. กมล- , กมลา : [กะมะละ-, กะมะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๔ คณะสลับกัน คือ ส คณะ ย คณะ ส คณะ ย คณะ (ตามแบบว่า กมลาติ เณยฺยา สยเสหิ โย เจ) ตัวอย่างว่า จะวิสัชนาสาร พิสดารก็หลายเลบง เรียกว่า กมลฉันท์ หรือ กมลาฉันท์. (ป. ว่า นางงาม; ส. ว่า พระลักษมี).
  22. กระกลับกลอก : (กลอน) ก. กลับกลอก เช่น มีตาดุจแก้วแสงสาย กระกลับกลอกพราย ชื่อรัตนจักษุมงคล. (ตําราช้างคําฉันท์).
  23. กฤดาอัญชลี : [กฺริ-] (โบ; กลอน) แยกคําจาก กฤดาญชลี เช่น ขอถวายกฤดาอัญ- ชลีโอนศิโรจร. (ตําราช้างคําฉันท์).
  24. กุมารลฬิตา : [กุมาระละลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๒ คณะ คือ ช คณะ และ ส คณะ และเติมครุข้างท้ายอีก ๑ คำ หรือ ๑ พยางค์ จึงมีบาทละ ๗ คำ หรือ ๗ พยางค์ (ตามแบบว่า กุมารลฬิตาชฺสฺคา) ตัวอย่างว่า อนึ่งนุชมีจิต สนิทกรุณะเปรมปรี ดิสวามิมะนะภักดี ภิบาลบมิอนาทร. (ชุมนุมตำรากลอน).
  25. กุสุมวิจิตร : น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๔ คณะ คือ น คณะ ย คณะ น คณะ ย คณะ บาทละ ๑๒ คำ หรือ ๑๒ พยางค์ (ตามแบบว่า นยสหิตานฺยา กุสุมวิจิตฺตา) ตัวอย่างว่า จะรจิตรอรรถา ปิสุณวจีขวน พิปริตญาณยล บรชนทำลาย. (ชุมนุมตำรากลอน).
  26. กุสุมิตลดาเวลลิตา : [กุสุมิตะละดาเวนลิตา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติแบบหนึ่ง กําหนดด้วย ๖ คณะคือ ม คณะ ต คณะ น คณะ ย คณะ ย คณะ ย คณะ บาทละ ๑๘ คำ หรือ ๑๘ พยางค์ (ตามแบบว่า โม โต โน โย ยา กุสุมิตลตาเวลฺลิตากฺขุตฺวสีหิ) ตัวอย่างว่า มนตรีมาตย์ผู้ฉลาดมละ ทุจริตธรรม์ พึงผดุงสรร- พสิ่งสวัสดิ์. (ชุมนุมตำรากลอน).
  27. คชาธาร : น. ช้างทรง, ช้างพระที่นั่ง; เครื่องแต่งหลังช้างชนิดหนึ่ง มี ๓ อย่าง คือ ๑. พระคชาธารเครื่องมั่น สําหรับใช้ในการสงคราม. ๒. พระคชาธารพุดตานทอง สำหรับผูกช้างพระที่นั่งทรงซึ่งใช้ในกระบวน อิสริยยศ. ๓. พระคชาธารกาญจนฉันท์ สําหรับผูกหลังช้าง ประดิษฐาน พระชัยวัฒน์. (ป. คช + อาธาร).
  28. คณ-, คณะ : [คะนะ-] น. หมู่, พวก, (ซึ่งแยกมาจากส่วนใหญ่); กลุ่มคนผู้ร่วมกันเพื่อ การอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น คณะกรรมการ คณะสงฆ์ คณะนักท่องเที่ยว; หน่วยงานในมหาวิทยาลัยหรือสถาบันที่เทียบเท่า ซึ่งรวมภาควิชาต่าง ๆ ที่จัดการเรียนการสอนวิชาในสายเดียวกัน เช่น คณะนิติศาสตร์ คณะ อักษรศาสตร์; กลุ่มคำที่จัดให้มีลักษณะเป็นไปตามแบบรูปของร้อยกรอง แต่ละประเภท ประกอบด้วยบท บาท วรรค และคำ ตามจำนวนที่กำหนด, หลักเกณฑ์ที่ใช้ในการแต่งฉันท์วรรณพฤติ มี ๘ คณะ คือ ช คณะ ต คณะ น คณะ ภ คณะ ม คณะ ย คณะ ร คณะ ส คณะแต่ละคณะมี ๓ คำ หรือ ๓ พยางค์ โดยถือครุและลหุเป็นหลัก. (ป., ส.).
  29. คาถา ๑ : น. คําประพันธ์ประเภทร้อยกรองในภาษาบาลี, อัตราของฉันท์ คือ ๔ บาท เรียกว่า คาถาหนึ่ง.
  30. คำ ๒ : น. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็ก ที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คํานาม คํากริยา คําบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือ บาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคําหนึ่ง, ลักษณนามบอกจําพวกของเคี้ยว ของกิน เช่น ข้าวคําหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคํากลอนว่า คําหนึ่ง.
  31. คำหลวง : น. คําประพันธ์ซึ่งเป็นพระราชนิพนธ์ มีโคลงฉันท์กาพย์ กลอนปนกัน คือ มหาชาติคําหลวงและพระนลคําหลวง, คําประพันธ์ ที่แต่งมีลักษณะอย่างมหาชาติคําหลวง คือ นันโทปนันทสูตรคําหลวง และพระมาลัยคําหลวง.
  32. ฆน-, ฆนะ : [คะนะ-] (แบบ) น. แท่ง, ก้อน. ว. แน่น, ทึบ, แข็ง เช่น กรวดกรับ อันคละฆนศิลา. (ดุษฎีคําฉันท์). (ป., ส.).
  33. จาว ๖ : ก. ส่งเสียงดัง, อึกทึก, เช่น อันจาวจำเรียงเสียงฉันท์. (สมุทรโฆษ). (ไทยขาว จาว ว่า ส่งเสียงดัง).
  34. จิตรปทา : น. ชื่อฉันท์ในวรรณพฤติ. (ป., ส.).
  35. ฉันทศาสตร์ : [ฉันทะสาด] น. ตำราว่าด้วยการแต่งฉันท์ทั้งที่เป็นมาตราพฤติ และวรรณพฤติ เป็นศิลปศาสตร์อย่างหนึ่งในศิลปศาสตร์ ๑๘ ประการ. (ส.).
  36. ชเนตตี : [ชะเนดตี] น. แม่ เช่น ชเนตตีสมะนามกร. (ฉันท์วรรณพฤติ). (ป.; ส. ชนยิตฺรี).
  37. ชลจัณฑ์ : น. นํ้าจัณฑ์ เช่น ชื่อชลจัณฑ์ ดุมุเมามน. (จิตรปทาฉันท์).
  38. ชะวุ้ง : ว. เป็นคุ้ง, คด, อ้อม, เช่น หว่างเวิ้งชะวุ้งศิขร. (กุมารคําฉันท์).
  39. ดุษฎีสังเวย : น. บทร้อยกรองที่แต่งเป็นฉันท์สําหรับกล่อมช้าง.
  40. ตนุมัธยมา, ตนุมัธยา : [-มัดทะยะ-] น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่ง. (ส.; ป. ตนุมชฺฌา).
  41. ทุตวิลัมพิตมาลา : [ทุตะวิลำพิตะ-] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๔ คณะ คือ น ภ ภ ร (ตามแบบว่า ทุตวิลมฺพิตมาห นภา ภรา) ตัวอย่างว่า ชินกถาคณนา วนิดาประมาณ พฤศติเพธพิสดาร อดิเรกภิปราย.
  42. โทธก : [-ทก] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ เป็น ภ คณะล้วน (ตามแบบว่า โทธกมิจฺฉติ เจ ภภภาคา) ตัวอย่างว่า มิตรคณาทุรพาละ ทุพลมี นามก็กระลี หินะชาติ ประกาศภิปราย. (ชุมนุมตํารากลอน).
  43. ธาตุมมิสสา : [ทาตุมมิดสา] น. ชื่อฉันท์วรรณพฤติ กําหนดด้วย ๓ คณะ คือ ม ภ ต คณะ กับลงท้ายเป็นครุอีก ๒ พยางค์ (ตามแบบว่า ธาตุมฺมิสฺสา ยติ สา มฺภา ตคา โค) ตัวอย่างว่า จักสําแดงมิตร สุจริตจิตนามขนาน บัญญัติคือสมาน สุขทุข เสมอประดุจกัน. (ชุมนุมตํารากลอน).
  44. น ๒ : น. ชื่อคณะฉันท์ มีลหุล้วน เรียกว่า น คณะ, ย่อจากคําว่า นภ (ฟ้า).
  45. บัฐยาพฤต : [บัดถะหฺยาพฺรึด] น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่งซึ่งกําหนดด้วยอักษร ๓๒ คํา มี ๔ บาท บาทละ ๘ คํา, ปัฐยาวัต หรือ อัษฎกฉันท์ ก็เรียก. (ส.; ป. ปฐฺยาวตฺต).
  46. บาทบูรณ์ : [บาดทะบูน] น. คําที่ทําบาทของบทกลอนให้เต็ม เช่น ในฉันท์ ๑๑ มีคําที่ได้ใจความ ๑๐ คํา แล้วอีกคําหนึ่งไม่ต้องมี ความหมายอย่างไรก็ได้ เติมเข้ามาให้ครบ ๑๑ คําเติมนี้ เรียกว่า บาทบูรณ์. (ส.).
  47. ปัฐยาวัต : [ปัดถะหฺยาวัด] (แบบ) น. ชื่อฉันท์ชนิดหนึ่ง ซึ่งกําหนดด้วยอักษร ๓๒ คํา มี ๔ บาท บาทละ ๘ คํา, บัฐยาพฤต หรือ อัษฎกฉันท์ ก็เรียก. (ป. ปฐฺยาวตฺต).
  48. พฤต : [พฺรึด] น. คําฉันท์. ก. หมุน, เวียน; เกิดขึ้น. ว. กลม. (ส. วฺฤตฺต).
  49. พฤติ, พฤติ : [พฺรึด, พฺรึดติ] น. ความประพฤติ, กิจการ, ความเป็นไป; ลักษณะ ความเป็นอยู่, อาชีวะ; คําฉันท์. (ส. วฺฤตฺติ; ป. วุตฺติ).
  50. ภุชงคประยาต : [พุชงคะ–] น. ชื่อฉันท์แบบหนึ่งมี ๑๒ คํา แบ่งเป็น ๒ วรรค มีลหุต้นวรรคและกลางวรรค. (ส.; ป. ภุชงฺคปฺปยาต).
  51. [1-50] | 51-66

(0.0526 sec)