Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ช่อน , then ชอน, ช่อน .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ช่อน, 47 found, display 1-47
  1. ช่อน : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa striatus ในวงศ์ Channidae ลําตัวทรงกระบอกส่วนท้ายแบนข้างเล็กน้อย มีเกล็ดในแนว เส้นข้างตัวราว ๕๒-๕๗ เกล็ด ด้านหลังลําตัวเป็นสีนํ้าตาลเทา หรือค่อนข้างดํา ด้านข้างสีอ่อนกว่าและมีลายสีดําพาดเฉียง ท้องสีขาว ครีบต่าง ๆ มีจุดหรือริ้วสีนํ้าตาลดํา พบชุกชุม ทั่วไป อาจยาวได้ถึง ๘๐ เซนติเมตร, พายัพเรียก ก่อ หรือ หลิม, อีสานเรียก ค่อ.
  2. ชอน : ก. ไชคดเคี้ยวไปในดินหรือภายในสิ่งอื่นด้วยอาการเช่นนั้น เช่น รากไม้ชอนไปในดิน; พุ่งแยงออกมา (ใช้แก่แสงอย่าง แสงแดดแสงไฟ) เช่น แสงตะวันชอนตา.
  3. เกล็ดปลาช่อน : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Phyllodium pulchellum (L.) Desv. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณทั่วไป ช่อดอกยาว ดอกเล็กอยู่ภายในกาบรูปหอยแครงซึ่งประกบเรียงกันไปตาม แนวก้านช่อดอก, ลิ่นต้น ก็เรียก.
  4. ไก่แก่แม่ปลาช่อน : (สํา) น. หญิงค่อนข้างมีอายุที่มีมารยา และเล่ห์เหลี่ยมมาก และมีกิริยาจัดจ้าน.
  5. ช้าช่อน : (กลอน) ว. งาม.
  6. พุงปลาช่อน : ดู จุกโรหินี.
  7. หูปลาช่อน : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Emilia sonchifolia (L.) DC. ex Wight ในวงศ์ Compositae ใบมีขน ขอบใบจัก กินได้ แต่ไม่ควรกินเป็นประจํา.
  8. ก่อ ๓ : (ถิ่น-พายัพ) น. ปลาช่อน. (ดู ช่อน).
  9. ก่อหวอด : ก. เริ่มจับกลุ่มเพื่อทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง. น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Fagaceae บางชนิดผลมี เนื้อในกินได้ รสมัน, ปักษ์ใต้เรียก กอ. (ถิ่น-พายัพ) น. ปลาช่อน. (ดู ช่อน). ว. งอ ในคำว่า งอก่อ หรือ งอก่องอขิง. (ไทลื้อ ก่อ ว่า งอ). ว. แสดงอาการเจ้าชู้ เช่น ไก่ก้อ.
  10. ค่อ : (ถิ่น-อีสาน) น. ปลาช่อน. (ดู ช่อน).
  11. หลิม ๒ : [หฺลิม] (ถิ่น-พายัพ) น. ปลาช่อน. (ดู ช่อน).
  12. กระสง : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Channa lucius ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อนซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่หัวแหลมกว่าและ แอ่นงอนขึ้นเล็กน้อย มีลายพาดขวางลําตัวข้างละ ๗-๑๒ แถบ ทุกครีบมีจุดประหรือริ้วสีดํา.
  13. ก้าง ๒ : น. ชื่อปลาน้ำจืดชนิด Channa gachua ในวงศ์ Channidae คล้ายปลาช่อนหรือปลากระสงซึ่งเป็นปลาสกุลเดียวกัน เว้นแต่ปลาก้างนั้นเกล็ดข้างตัวมีราว ๔๑-๔๕ เกล็ด ขอบครีบต่าง ๆ เป็นสีส้ม, ขี้ก้าง ก็เรียก.
  14. เขื่อง ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. ที่ซึ่งปลาช่อนปลาดุกอาศัยอยู่เวลาไข่.
  15. ครอก ๑ : [คฺรอก] น. ลูกสัตว์หลายตัวที่เกิดพร้อมกันคราวเดียว เช่น ลูกครอกปลาช่อน, ลักษณนามเรียกการตกลูกของสัตว์คราวหนึ่ง ๆ เช่น ปีนี้แมวออกลูก ๒ ครอก; (โบ) ลูกของทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย เรียกว่า ลูกครอก.
  16. จุกโรหินี : [จุกกะ-] น. ชื่อไม้อิงอาศัยชนิด Dischidia rafflesiana Wall. ในวงศ์ Asclepiadaceae เกาะเลื้อยบนต้นไม้ มีนํ้ายางขาว ใบเป็นรูปถุง กลวงใน ออกเป็นกระจุก รากใช้ทํายาได้, พุงปลา หรือ พุงปลาช่อน ก็เรียก, พายัพเรียก กล้วยไม้.
  17. ชลจร : น. ทางนํ้า, สัตว์นํ้า, เช่น ค้าวเขือเชื้อชลจรและ ช่อนสลับ. (สมุทรโฆษ).
  18. ชะโด : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Channa micropeltes ในวงศ์ Channidae รูปร่างคล้ายปลาช่อนซึ่งอยู่ในสกุลเดียวกันแต่เกล็ดเล็กและมี จํานวนมากกว่า เฉพาะบนเส้นข้างตัวมี ๘๒–๙๕ เกล็ด ข้างลําตัวมีแถบสีดําเรียงคู่กันจากนัยน์ตาถึงหาง ระหว่างแถบ เป็นสีแดง แถบนี้อาจแตกเป็นแต้มหรือจุดในปลาที่โตเต็มที่ ขนาดยาวได้ถึง ๙๐ เซนติเมตร, แมลงภู่ อ้ายป๊อก หรือ โด ก็เรียก.
  19. ชักครอก : [คฺรอก] น. เรียกลูกปลาจำพวกปลาช่อนที่ตาม พ่อเป็นฝูง ๆ ว่า ลูกชักครอก, ลูกครอก ก็ว่า.
  20. แถก : ก. ถ่าง, กาง, เช่น ปลาแถกเหงือก; เสือกไป, ไถไป, ดิ้นรน, เช่น บพิตรพณเกล้า ข้าเห็นพราหมณ์เถ้าแถกมาถึง ชาวกาลึงคราษฎร์ฦๅ. (ม. คำหลวงกุมาร); ถาก, ปาด, เช่น นกเอ๋ยนกแสก จับจ้องร้องแจ๊ก เพียงแถกขวัญ. (กลอนดอกสร้อยรำพึงในป่าช้า พระยาอุปกิตศิลปสาร); กัดถลาก ๆ เช่น หมาแถกเอา; แทะด้วยหน้าฟัน เช่น หมาแถกกะลา มะพร้าว; โกนผมโดยใช้มีดกดลงอย่างแรงและลากไปเป็นทางยาว อย่างไม่ประณีตในคําว่า แถกผม; กระเสือกกระสน เช่น ปลาช่อนก็ดิ้น แถกโผล่ขึ้นมาอาศัยอยู่ในหนองน้ำนั้นต่อไปใหม่. (สารคดีชีวิตสัตว์ ของนายแพทย์บุญส่ง เลขะกุล).
  21. นฬป : [นะลบ] (แบบ) น. ปลาช่อน. (ป.).
  22. ปลาหาง : (ราชา) น. ปลาช่อน.
  23. พราด, พราด ๆ : [พฺราด] ว. เสียงดังเช่นนั้น; อาการที่ดิ้นบิดตัวไปมา เช่น เด็กดิ้นพราด หัวปลาช่อนถูกทุบดิ้นพราด ๆ.
  24. พุง : น. ท้อง เช่น นอนตีพุง พุงปลิ้น, เรียกเครื่องในท้องของปลาบาง ชนิดรวมกัน มีกระเพาะและไส้เป็นต้น ว่า พุง เช่น พุงปลาช่อน.
  25. ลิ่นต้น : ดู เกล็ดปลาช่อน.
  26. ลุ่มเนื้อ : ว. มีเนื้อที่เริ่มจะเน่า (มักใช้แก่เนื้อปลา) เช่น ปลาช่อนตัวนี้ลุ่มเนื้อ.
  27. ลูกครอก : น. ลูกปลาจําพวกปลาช่อนที่ตามพ่อเป็นฝูง ๆ, ลูกชักครอก ก็ว่า; (โบ) ลูกทาสที่เกิดในเรือนเบี้ย.
  28. หวอด : น. ฟองนํ้าที่ปลาบางชนิดมีปลากัด ปลาช่อนเป็นต้น พ่นไว้สําหรับเก็บไข่. ว. อาการที่หาวทำเสียงดังเช่นนั้น ในคำว่า หาวหวอด.
  29. หาง : น. ส่วนที่ยื่นออกจากส่วนท้ายแห่งลําตัวสัตว์, ขนสัตว์จําพวกนก เช่น กา ไก่ ที่ยื่นยาวออกทางก้น; ส่วนท้ายหรือปลาย เช่น หางเชือก หางแถว; ใน ราชาศัพท์เรียก ปลาช่อนว่า ปลาหาง; ลักษณนามเรียกปลาช่อนตากแห้ง เช่น ปลาช่อนหางหนึ่ง ปลาช่อน ๒ หาง; เรียกดาวจรที่ส่วนท้ายมีแสง ลักษณะเป็นทางยาวดุจหางว่า ดาวหาง; เรียกของที่คัดหรือกลั่นเอาส่วน ที่เป็นหัวออกแล้วว่า หาง เช่น หางเหล้า หางกะทิ หางนํ้านม; ส่วนของ ตัวหนังสือไทยที่ลากยาวขึ้นทางเบื้องบนหรือทางเบื้องล่าง.
  30. หางปลา : น. ชื่อพัดชนิดหนึ่งที่ปิดด้วยกระดาษเป็นต้นลงบนโครงพัด รูปคล้ายหางปลาช่อนที่แผ่ออก เรียกว่า พัดหางปลา; ชื่อพลั่วชนิดหนึ่ง ปลายบากเข้าเป็นรูปคล้ายหางปลาทู ใช้ขุดดิน เรียกว่า พลั่วหางปลา; เครื่องหมายสัญญาณให้รถไฟแล่นเข้าออกได้; โลหะลักษณะแบน สําหรับเหนี่ยวเพลาล้อหลังรถจักรยาน เพื่อให้โซ่ตึง; ชื่อชายปั้นลม แบบหนึ่ง ปลายตอนล่างผายออกคล้ายหางปลาที่ตัดตรง; ตัวไม้สำหรับ ช่วยยึดตัวไม้ส่วนโครงหลังคาเรือนบางตัวให้มั่นคง.
  31. ชร ๑ : [ชอน] น. ลวดลาย, ลายประกอบริม, ระบาย, เช่น ขนนเขนยชร. (ข.).
  32. ชร ๒ : [ชอน] น. น้ำ เช่น ชรเซาะเขาเราตกแต่ง. (คําฤษดี), ชรธารา. (ม. คําหลวง วนปเวสน์).
  33. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  34. กุญชร : [กุนชอน] (แบบ) น. ช้าง. (ป.).
  35. ซอกซอน : ก. ด้นดั้นไป, ชอนไชไป เช่น หนอนซอกซอนไป รากไม้ซอกซอนไป.
  36. ซอน : ก. ชอนไป, เสียด, ซุก.
  37. ด้น : ก. เย็บเป็นฝีเข็มขึ้นทีลงที, ด้นปล่อย ก็เรียก; กิริยาที่หนอนชอนไชในผลไม้ เป็นต้น; มุ่งหน้าเดาไป, มุ่งหน้าฝ่าไป, ด้นดั้น ก็ว่า. น. เรียกกลอนชนิดหนึ่ง ที่ว่าดะไปไม่คำนึงถึงหลักสัมผัสว่า กลอนด้น; (ปาก) เรียกตัวจี๊ดว่า หนอนด้น.
  38. นิรชร : [ระชอน] (แบบ) น. เทวดา. (ส.).
  39. บัญชร : [บันชอน] น. กรง, ซี่กรง; หน้าต่าง. (ป., ส. ปญฺชร).
  40. ปัชชร : [ปัดชอน] (แบบ) ก. ประชวร. (ป.).
  41. พรุน : ว. ลักษณะที่เป็นรูเว้าหวําชอนไชไปทั่วแทบไม่มีชิ้นดี เช่น ผ้าถูก แมลงกัดกินพรุนไปหมด.
  42. พลอน : [พฺลอน] ก. ปอกให้มีเปลือกติดอยู่บ้าง เช่น พลอนมะพร้าว, เรียก มะพร้าวที่ปอกแล้วเช่นนั้นว่า มะพร้าวพลอน, ปล้อน. ว. ชอนไป, พรุน, ย่อยยับ.
  43. : พยัญชนะตัวที่ ๓๕ เป็นพวกอักษรตํ่า ใช้เป็นตัวสะกดในแม่กน, ถ้าเขียน ตัว ร ควบกัน ๒ ตัว เรียกว่า ร หัน ร ตัวหน้าทำหน้าที่เหมือนไม้หันอากาศ ร ตัวหลังเป็นตัวสะกด เช่น กรรไตร (กันไตฺร) ยรรยง (ยันยง) และเมื่อ สะกดพยัญชนะที่ไม่มีสระอื่นเกาะต้องอ่านเหมือนมีสระ ออ อยู่ด้วย เช่น กร (กอน) กุญชร (กุนชอน),ถ้าตามพยัญชนะอื่นแต่มิได้ทำหน้าที่เป็น ตัวสะกดและมีคำอื่นตามพยัญชนะที่อยู่หน้าตัว ร มักออกเสียง ออ และ ตัว รออกเสียง อะ เช่น จรลี (จอ–ระ–ลี) หรดี (หอ–ระ–ดี).
  44. เศวตกุญชร : [สะเหฺวดกุนชอน] น. ช้างเผือก.
  45. หางไหล ๑ : น. ส่วนของพืชบางชนิดเช่นบอนและบัว ซึ่งเลื้อยหรือชอน ไปแตกเป็นหน่อขึ้น, ไหล ก็เรียก.
  46. ไหล ๒ : น. ส่วนของพืชบางชนิดเช่นบอนและบัว ซึ่งเลื้อยชอนไปแตกเป็นหน่อ ขึ้น, หางไหล ก็เรียก.
  47. อรชร : [ออระชอน] ว. งามอย่างเอวบางร่างน้อย, มักใช้เข้าคู่กับคำ อ้อนแอ้น เป็น อรชรอ้อนแอ้น.
  48. [1-47]

(0.0748 sec)