Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ถือดี , then ถอด, ถือดี .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ถือดี, 27 found, display 1-27
  1. ถือดี : ก. ทะนงตัว, อวดดี, สําคัญว่ามีดีในตน, (มักเป็นไปในเชิงก้าวร้าว คนอื่นเป็นต้น).
  2. จองหอง : ว. เย่อหยิ่ง, ทะนงตัว, ถือดี, อวดดี.
  3. อวดดี : ก. ทะนงใจว่าตนดี, ถือดี, แสดงให้เขาเห็นว่าตนดีโดยไม่มีดี จริง ๆ.
  4. ถอด : ก. เอาออก เช่น ถอดเสื้อ ถอดรองเท้า ถอดยศ; ถ่าย เช่น ถอดแบบ มาจากพ่อจากแม่; หลุดออก เช่น เล็บถอด.
  5. ทะนงตัว : ก. ถือดีในตัวของตัว.
  6. ทิฐิ : [ทิดถิ] น. ความเห็น เช่น สัมมาทิฐิ ความเห็นชอบ มิจฉาทิฐิ ความเห็นผิด; ความอวดดื้อถือดี เช่น เขามีทิฐิมาก. (ป. ทิฏฺ??; ส. ทฺฤษฺฏิ).
  7. ถอดเขี้ยวถอดเล็บ : (สํา) ก. ละพยศ, ละความดุหรือร้ายกาจ, เลิก แสดงฤทธิ์แสดงอํานาจอีกต่อไป.
  8. ถอดความ : ก. แปลให้เข้าใจความได้ง่ายขึ้น.
  9. ถอดหัวโขน : ก. พ้นจากตําแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์.
  10. หญ้าถอดปล้อง : น. ชื่อเฟินชนิด Equisetum debile Roxb. ex Vauch. ในวงศ์ Equisetaceae ลําต้นเป็นปล้อง ๆ มักขึ้นตามรอยแตกของกําแพง ใช้ทํายาได้.
  11. ใหม่ถอดด้าม, ใหม่เอี่ยม : ว. ใหม่ยังไม่มีใครใช้, ใหม่จริง ๆ.
  12. กอและ ๒ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. เรียกอาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยไก่ที่ถอดกระดูก ชุบเครื่องปรุงรส ปิ้งให้สุก ว่า ไก่กอและ.
  13. กัลเม็ด : [กันละ-] น. กลเม็ด, วิธีที่แยบคาย, สิ่งที่แยบคาย; แหวนที่มีก้านหัวเป็นเกลียวถอดออกจากเรือนได้ เรียกว่า แหวนกัลเม็ด, ขวดที่มีจุกเป็นเกลียวเรียกว่า ขวดกัลเม็ด.
  14. ไก่กอและ : (ถิ่น-ปักษ์ใต้) น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำด้วยไก่ที่ถอดกระดูก ชุบเครื่องปรุงรส ปิ้งให้สุก.
  15. เขี้ยวเล็บ : น. กําลัง, อํานาจ, ความเก่ง, เช่น ถอดเขี้ยวเล็บ หมดเขี้ยวเล็บ กองทัพต้องมีเขี้ยวเล็บ.
  16. ตะเกียบ : น. เครื่องใช้สําหรับคีบอาหารทําด้วยไม้หรืองาเป็นต้นเป็นคู่ ๆ; ชื่อเสาสั้นคู่หนึ่งที่ ฝังลงดินสำหรับขนาบเสากลางซึ่งอยู่เหนือพื้นดินอย่างเสาดอกไม้พุ่ม เสาหงส์ เสาโคม เสาธง ให้ ตั้งตรงมีสลัก ๒ อัน เมื่อถอดสลักอันหนึ่งออกแล้วโน้มเสา กลางลงมาได้; โดยปริยายใช้เรียก ของที่เป็นคู่สําหรับคีบ เช่น ตะเกียบรถ จักรยาน; ครีบคู่ที่อยู่ตรงอกปลา, ขาม้า ก็เรียก; เรียกขาคนที่ ลีบเล็กว่า ขาตะเกียบ; ส่วนล่างของกระดูกเชิงกรานที่แตะพื้นในเวลานั่ง; กระดูกอ่อน ๒ อันที่ก้น ของสัตว์ปีกมีนก เป็นต้น.
  17. ถอดถอน : ก. ถอดออกจากตําแหน่ง.
  18. ถอดรหัส : ก. ถอดสารลับออกเป็นภาษาสามัญ.
  19. ถ่ายแบบ : ก. เอาแบบอย่าง; ถอดแบบ, ถอดลักษณะหรือนิสัยใจคอ มา, เช่น ถ่ายแบบพ่อ ถ่ายแบบแม่.
  20. ทับศัพท์ : ว. ที่รับเอาคําของภาษาหนึ่งมาใช้ในอีกภาษาหนึ่งโดยวิธี ถ่ายเสียงและถอดอักษร เช่น เขียนทับศัพท์ แปลทับศัพท์.
  21. โทรสาร : น. กรรมวิธีในการถอดแบบเอกสารหรือรูปภาพโดยทาง คลื่นไฟฟ้า, เดิมใช้โทรภาพ; เอกสารซึ่งส่งหรือรับด้วยกรรมวิธี ดังกล่าว. (อ. facsimile).
  22. ปี่ไฉน : [-ฉะไหฺน] น. ชื่อปี่ชนิดหนึ่งขนาดเล็กมาก ยาวราว ๑๙ เซนติเมตร นิยมทำด้วยไม้หรืองา แบ่งออกเป็น ๒ ท่อน ถอดออก จากกันได้ ท่อนบนเรียกว่า เลาปี่ ท่อนล่างเรียกว่า ลำโพง มีลิ้น ทำด้วยใบตาลผูกติดกับปลายท่อลมเล็กที่เรียกว่า กำพวด.
  23. ผลลัพธ์ : น. จํานวนที่ได้จากการคํานวณ เช่น ถอดกรณฑ์ที่ ๒ ของ ๔๙ ได้ผลลัพธ์เป็น ๗, ผล ก็ว่า.
  24. รื้อ : ก. แยกออกหรือถอดออกเป็นต้นจากสิ่งที่เป็นรูปแล้วให้เสียความเป็น กลุ่มก้อนของรูปเดิม เช่น รื้อบ้าน รื้อหลังคา รื้อข้าวของกระจุยกระจาย; เอาขึ้นมาใหม่ เช่น รื้อเรื่องราวที่ระงับไว้ขึ้นมาพิจารณาใหม่ รื้อเรื่องเดิม ขึ้นมาเขียนใหม่; ขนออก เช่น รื้อสัตว์จากวัฏสงสาร.
  25. ลิ้น : น. อวัยวะที่อยู่ในปาก มีหน้าที่ ๑. กลั้วอาหารให้เข้ากันแล้วส่งลง ในลําคอ ๒. ช่วยในการออกเสียง ๓. ให้รู้รส, ลิ้นสัตว์บางจำพวก เช่นจำพวกที่มีขน ใช้ลิ้นเลียขนเลียแผลเพื่อทำความสะอาดได้; โดย ปริยายหมายถึงส่วนของสิ่งต่าง ๆ มักมีรูปแบน ยาวหรือกลม ที่อยู่ ภายใน ก็มี เช่น ลิ้นหีบ ลิ้นลุ้ง ที่อยู่ภายนอก ก็มี เช่น ลิ้นของปี่ ที่ เป็นชั้นอยู่ภายในยกถอดออกได้ ก็มี เช่น ลิ้นเชี่ยนหมาก ลิ้นกล่อง อาหาร; อุปกรณ์สําหรับปิดเปิดให้สิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่นอากาศ นํ้า เป็นต้น หยุดการเคลื่อนที่ผ่าน หรือเคลื่อนที่ผ่านไปได้; การพูด, ถ้อยคำ, เช่น ไม่เชื่อลิ้นเจ้าแล้วนะแก้วตา.
  26. หม่อม : น. หญิงสามัญที่เป็นภรรยาของเจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือหม่อมเจ้า, บุตร ชายหญิงของพระองค์เจ้าหรือหม่อมเจ้า, (โบ) เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หรือ หม่อมเจ้า ที่ต้องโทษถูกถอดจากบรรดาศักดิ์, คํานําหน้าชื่อราชนิกุล ราชินีกุลชั้นผู้ใหญ่ทั้งชายหญิงที่ไม่มีตําแหน่ง, คํานําหน้าชื่อหญิงสามัญ ซึ่งไม่มีบรรดาศักดิ์ได้เป็นภรรยาของเจ้าคุณราชพันธ์ในตระกูลบุนนาค ทั้ง ๓ ชั้น เช่น หม่อมปาน หม่อมรอด, คํานําหน้านามบุคคลที่เป็นผู้ดีมี ตระกูลทั้งชายหญิง เช่น เจ้าพระยาอรรคมหาเสนา สมัยธนบุรี เรียกว่า หม่อมบุนนาค.
  27. หัวโขน ๑ : น. รูปหัวยักษ์ ลิง ที่ใช้สวมเวลาเล่นโขนหรือละคร, โดยปริยาย หมายถึงตำแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่ดำรงอยู่ มักใช้ในสำนวน เช่น สวมหัวโขน ถอดหัวโขน.
  28. [1-27]

(0.0475 sec)