Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปาทา , then บาทา, ปะทะ, ปาท, ปาทา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปาทา, 26 found, display 1-26
  1. ปะทะ : ก. โดนกัน, กระทบกัน, เช่น เรือปะทะกัน ข้างเรือปะทะกัน, ประจัญกัน เช่น กองทัพปะทะกัน, ต้านไว้ เช่น ยกทัพไปปะทะข้าศึก.
  2. ปะทะปะทัง : ก. พยุงไว้, ทานไว้, ประคองไว้.
  3. กระทบ : ก. โดน, ถูกต้อง, ปะทะ, พูดหรือทําให้กระเทือนไปถึงผู้อื่น เช่น พูดกระทบเขา ตีวัวกระทบคราด, ในบทกลอนใช้ว่า ทบ ก็มี เช่น ของ้าวทบปะทะกัน. (ตะเลงพ่าย), หรือว่า ประทบ ก็มี เช่น ประทบประทะอลวน. (ตะเลงพ่าย).
  4. จำนัล : ก. แจจัน เช่น จํานัลจํานับรอบราย. (สมุทรโฆษ). (ข. จาล่, จัล, จำนัล ว่า ปะทะ). (ดู แจจน, แจจัน).
  5. ทะ ๒ : (กลอน) ก. ปะทะ เช่น ของ้าวทบทะกัน. (ตะเลงพ่าย).
  6. บาท ๑, บาท- : [บาด, บาดทะ-] น. ตีน, ราชาศัพท์ว่า พระบาท. (ป., ส. ปาท).
  7. ประ ๒ : [ปฺระ] ก. ปะทะ เช่น ประหมัด, กระทบ, ระ, เช่น ผมประบ่า.
  8. อัดก๊อบปี้ : ก. บีบอัดให้แน่น เช่น อัดก๊อบปี้ผ้าม่วง, (ปาก) ปะทะ อย่างแรง เช่น รถเก๋งถูกรถบรรทุกอัดก๊อบปี้พังยับเยิน.
  9. ขบ ๑ : ก. เอาฟันเน้นเพื่อให้แตก เช่น ขบเมล็ดแตงโม, เอาฟันเน้นกัน เช่น ขบฟัน; กัด เช่น หมาใดตัวร้ายขบบาทา. (โลกนิติ); อาการที่เมื่อยปวด เหมือนมีอะไรบีบหรือกดอยู่ที่ตรงนั้น เรียกว่า เมื่อยขบ, ลักษณะของสิ่ง ที่ยังเข้ากันได้ไม่สนิท ยังปีนหรือเกยกันอยู่ เช่น บานประตูขบกัน; อาการที่เล็บมือเล็บเท้ายาวจนกดเนื้อข้างเล็บ เรียกว่า เล็บขบ.
  10. จุน : ก. คํ้าหรือยันเพื่อปะทะปะทังไว้.
  11. ต่อต้าน : ก. ปะทะไว้, ต้านทานไว้, สู้รบป้องกันไว้.
  12. ทับ ๒ : ก. วางข้างบน, ซ้อนข้างบน, อาการที่ของหนัก ๆ โค่นหรือล้มลง พาดบนสิ่งใดสิ่งหนึ่งโดยแรง เช่น ต้นไม้ล้มทับบ้าน, อาการที่สิ่ง ที่มีล้อเคลื่อนไปด้วยกําลังเร็วแล้วปะทะกับสิ่งใดสิ่งหนึ่งแล้วกด หรือบดลงไปโดยแรง เช่น รถทับคน; ร่วมเพศเพื่อสืบพันธุ์ (ใช้แก่ สัตว์บางชนิด เช่น ม้า วัว ควาย); เรียกเครื่องหมายรูปดังนี้ / ที่ขีด เอนหลังจํานวนเลขว่า ทับ.
  13. น้ำวน : (ภูมิ) น. กระแสนํ้าไหลวนเป็นวงในทะเลหรือแม่นํ้า เกิดจาก รูปร่างลักษณะของร่องนํ้าหรือเนื่องจากกระแสนํ้า ๒ สายไหลมา ปะทะกัน.
  14. แนวหน้า : น. แนวหรือเขตแบ่งกําลังทัพทางบกส่วนหน้าซึ่งพร้อมที่จะ ปะทะกับฝ่ายศัตรู.
  15. บาทบงกช : [บาดทะบงกด, บาดบงกด] น. บัวบาท, บัวรองเท้า, หมายความว่า เท้าพระพุทธเจ้าหรือพระเจ้าแผ่นดิน. (ป., ส. ปาทปงฺกช).
  16. บาทบริจาริกา : [บาดบอริ-] น. หญิงที่มีหน้าที่รับใช้ปฏิบัติพระเจ้า แผ่นดิน. (ป., ส. ปาทปาริจาริกา).
  17. บาทภัฏ : [บาดทะพัด] น. ทหารเดินเท้า, ทหารราบ. (ส. ปาทภฏ).
  18. บาทยุคล : [บาดทะยุคน, บาดยุคน] น. เท้าทั้งคู่. (ป. ปาทยุคล).
  19. ประจัญ : [ปฺระจัน] ก. ปะทะต่อสู้, ผจัญ ก็ว่า.
  20. ประเชิญ : ก. ชนกัน, ปะทะกัน, เจอหน้ากัน; เอาผ้านุ่ง ผ้าขาวม้าเป็นต้นที่ขาด กลางผืนมาตัดตรงขาดออก แล้วเอาชายมาต่อกันเข้าใหม่ เรียกว่า ประเชิญผ้า.
  21. โปฐปทมาส : [โปดถะปะทะมาด] น. เดือนอันประกอบด้วยวันเพ็ญรวมนักษัตร โปฐปทาคือ เดือนภัทรบท ได้แก่ เดือน ๑๐ หรือเดือนกันยายน. (ป. โปฏฺ?ปทมาส).
  22. เผชิญ : [ผะเชิน] ก. ประเชิญ, ชนกัน, ปะทะกัน, ต่อกัน.
  23. พยาบาท : [พะยาบาด] น. การผูกใจเจ็บคิดจะแก้แค้น, การคิดปองร้าย, ในคำว่า ผูกพยาบาท. ก. ผูกใจเจ็บและอยากแก้แค้น, ปองร้าย, เช่น อย่าไป พยาบาทเขาเลย. (ป. พฺยาปาท, วฺยาปาท; ส. วฺยาปาท).
  24. พะ ๑ : น. เพิงที่ต่อปะเข้าไปกับด้านสกัดของเรือน, พะเพิง เพิง หรือ เพิงพะ ก็เรียก. ก. พักพิงหรือแอบอิงอาศัย เช่น ลูกมาพะพ่อแม่อยู่, พะพิง ก็ว่า; ปะทะกัน, ชนกัน, เช่น คน ๒ คนเดินมาพะกัน; ปะทะติดอยู่ เช่น สวะมาพะหน้าบ้าน.
  25. พาน ๕ : ก. พบปะ มักใช้เข้าคู่กับคํา พบ เป็น พบพาน หรือ พานพบ, เช่น ไม่ได้พบพานเสียนาน; ขวาง, กีดขวาง, ขึงขวาง, เช่น เอาเชือกมา พานไว้ เมื่อคนมาปะทะก็จะล้มลง, กั้นไว้ เช่น พานคนข้างหลังไว้, ระให้หมดไป เช่น เอาไม้กวาดพานหยากไย่.
  26. อุบาท, อุปบาท : [อุบาด, อุบบาด] น. การบังเกิด, กําเนิด, มักใช้เป็นส่วนท้ายสมาส เช่น พุทธุบาท (พุทธ + อุบาท), พุทธุปบาท (พุทธ + อุปบาท). (ป. อุปฺปาท; ส. อุตฺปาท).
  27. [1-26]

(0.0729 sec)