Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ผลา , then ผล, ผละ, ผลา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ผลา, 723 found, display 1-50
  1. ผลา : [ผฺลา] น. ง้าว; ก้อนหิน. ว. กล้า; คม.
  2. ผละ : [ผฺละ] ก. แยกออก เช่น นักมวยชกแล้วผละออก, ละทิ้งไปโดย กะทันหัน เช่น ผละไปจากการประชุม.
  3. ผล : น. ลูกไม้ เช่น ผลมะม่วง ผลมะปราง; สิ่งที่เกิดจากการกระทำ เช่น ผลแห่งการทำดี ผลแห่งการทำชั่ว; ประโยชน์ที่ได้รับ เช่น ทำนา ได้ผล เรียนได้ผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล, คู่กับ มรรค; ลักษณนามเรียกผลไม้ เช่น มะม่วง ๒ ผล มะปราง ๓ ผล; จำนวนที่ได้จากการคำนวณ เช่น ๕ กับ ๗ บวกกัน ได้ผล เท่ากับ ๑๒, ผลลัพธ์ ก็ว่า. (ป., ส.).
  4. -กระผลา : [-ผฺลาม] ใช้เข้าคู่กับคํา กระผลี เป็น กระผลีกระผลาม.
  5. ตรีผลา : [-ผะลา] น. ชื่อผลไม้ ๓ อย่างประกอบขึ้นใช้ในตํารายาไทย หมายเอา สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม. (ส. ตฺริผลา).
  6. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  7. ผลา : [เผฺลาะ] ว. เสียงหลุดจากช่องกระบอก.
  8. ผละงาน : ก. ละทิ้งการงานไปโดยกะทันหัน, นัดหยุดงาน.
  9. สกทาคามิผล, สกิทาคามิผล : [สะกะ, สะกิ] น. ธรรมที่พระสกทาคามีได้บรรลุ. (ป. สกทาคามิผล, สกิทาคามิผล; ส. สกฺฤทาคามินฺ + ผล). (ดู ผล).
  10. อนาคามิผล : น. ธรรมที่พระอนาคามีได้บรรลุ. (ป.; ส. อนาคามินฺ + ผล). (ดู ผล).
  11. อรหัตผล : น. ธรรมที่พระอรหันต์ได้บรรลุ. (ป. อรหตฺตผล; ส. อรฺหตฺตฺว + ผล). (ดู ผล).
  12. ตรีปิตผล : [-ปิตะผน] น. ผลแก้ดี ๓ อย่าง คือ เจตมูลเพลิงเทศ ผักแพวแดง รากกะเพรา.
  13. ตรีผลธาตุ : น. ผลแก้ธาตุ ๓ อย่าง คือ กะทือ ไพล รากตะไคร้.
  14. ตรีผลสมุตถาน : [-สะหฺมุดถาน] น. ที่เกิดแห่งผล ๓ อย่าง คือ ผลมะตูม ผลยอ ผลผักชีลา.
  15. ตรีวาตผล : [-วาตะผน] น. ผลแก้ลม ๓ อย่าง คือ ผลสะค้าน รากพริกไทย ข่า.
  16. ตรีสันนิบาตผล : น. ผลแก้สันนิบาต ๓ อย่าง คือ ผลดีปลี รากกะเพรา ราก พริกไทย.
  17. ตรีเสมหผล : น. ผลแก้เสมหะ ๓ อย่าง คือ ผลช้าพลู รากดีปลี รากมะกลํ่า.
  18. ตรีอากาศผล : น. ผลแก้อากาศธาตุ ๓ อย่าง คือ ขิง กระลําพัก อบเชยเทศ.
  19. ประเมินผล : ก. พิจารณาและวัดคุณค่าของกิจการใด ๆ ตามวัตถุ ประสงค์ที่ตั้งไว้ เช่น ประเมินผลการสัมมนา ประเมินผลการปฏิบัติ งานในรอบปีของบริษัท; (การศึกษา) วัดคุณค่าหรือผลความก้าวหน้า การศึกษา เช่น การสอบไล่เป็นวิธีประเมินผลการศึกษาวิธีหนึ่ง
  20. ผลุบโผล่, ผลุบ ๆ โผล่ ๆ : ว. อาการที่ผลุบลงแล้วผุดขึ้น, อาการที่ ผลุบเข้าไปแล้วโผล่ออกมา, จม ๆ ลอย ๆ, เช่น ขอนลอยน้ำผลุบ ๆ โผล่ ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ทําบ้างไม่ทําบ้างไม่สมํ่าเสมอ, ลุ่ม ๆ ดอน ๆ, กะผลุบกะโผล่ หรือ ผลุบโผล่ ๆ ก็ว่า.
  21. เผล่ : [เผฺล่] ว. อาการที่ยิ้มอย่างกระหยิ่มอิ่มใจ.
  22. เผละผละ : ว. อ้วนจนเนื้อเหลวไม่มีรูปมีทรง เช่น อ้วนเผละผละ.
  23. โผล่ : [โผฺล่] ก. ผุดขึ้น, สูงขึ้น, เช่น โผล่ขึ้นมาจากน้ำ; ชะโงกออกมา, เยี่ยมออกมา, เช่น โผล่หัวออกมาจากรัง, ยื่นออกให้ปรากฏ เช่น โผล่หน้า.
  24. มักกะลีผล : (โบ) น. ชื่อต้นไม้ในนิยาย ว่ามีอยู่ที่ป่าหิมพานต์ ออกผลเป็นรูปหญิง สาวงดงามห้อยย้อยเป็นระย้า ผลเมื่อครบ ๗ วันก็เน่า, นารีผล ก็เรียก.
  25. เล็งผลเลิศ : ก. คาดหวังเฉพาะผลได้หรือผลสำเร็จอย่างดีเยี่ยม.
  26. สมเหตุสมผล : ว. มีเหตุผลสมควร, มีเหตุผลรับกัน, เช่น คำชี้แจง ของเขาสมเหตุสมผล เขาอภิปรายได้สมเหตุสมผล.
  27. สลัดผลไม้ : น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่งตามแบบตะวันตก ทำด้วยผลไม้ หลายชนิด หั่นเป็นชิ้นเล็ก ๆ ราดด้วยน้ำเชื่อมหรือครีม หรือใช้ โรยหน้าไอศกรีม.
  28. หน่วย : [หฺน่วย] น. ตัวเลขหลังสุดของเลขจํานวนเต็มที่เรียงกันเรียกว่า เลขหลัก หน่วย เช่น ๑๔๓ เลข ๓ เป็นเลขหลักหน่วย; จํานวนหรือหมู่ที่นับเป็น หนึ่ง เช่น หน่วยอนุสภากาชาด; ลูกตา ในคําว่า นํ้าตาคลอหน่วย นํ้าตา ล่อหน่วย; ลูก, ผล, เช่น มะม่วง ๓ หน่วย. ว. หนึ่ง (ใช้แก่การพนันถั่ว และโป).
  29. หว่านพืชหวังผล : (สำ) ก. ให้ผลประโยชน์แก่ผู้อื่นเพื่อหวังผลตอบแทน.
  30. ออกดอกออกผล : ก. ทําให้เกิดผลประโยชน์หรือกำไรเพิ่มพูนขึ้น.
  31. ตรีสุรผล : น. ยามีผลกล้า ๓ อย่าง คือ สมุลแว้ง เนื้อไม้ เทพทาโร.
  32. ประวาลผล : [ปฺระวาละผน] น. ไม้จันทน์แดง. (ส.).
  33. ผลลัพธ์ : น. จํานวนที่ได้จากการคํานวณ เช่น ถอดกรณฑ์ที่ ๒ ของ ๔๙ ได้ผลลัพธ์เป็น ๗, ผล ก็ว่า.
  34. กระดอม : น. ชื่อไม้เถาเนื้ออ่อนชนิด Gymnopetalum cochinchinense (Lour.) Kurz ในวงศ์ Cucurbitaceae เถา ๕ เหลี่ยม มีมือจับ ผล ๑๐ เหลี่ยม สุกสีส้ม มีรสขม ใช้ทํายาได้, ขี้กาดง หรือขี้กาเหลี่ยม ก็เรียก.
  35. คงคาเดือด : น. ชื่อไม้ต้นขนาดกลางชนิด Arfeuillea arborescens Pierre ในวงศ์ Sapindaceae ขึ้นตามป่าเบญจพรรณแล้ง สูง ๘-๑๐ เมตร มีพุ่มใหญ่ ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อย ๓-๔ คู่ ดอกเล็กสีม่วงดํา หอมมาก ผล มีปีกบาง ๆ ๓ ปีก เปลือกใช้ทํายาได้, ราชบุรีเรียก ตะไล, พายัพเรียก ช้างเผือก.
  36. ตะโก ๑ : น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Diospyros วงศ์ Ebenaceae เปลือกสีดํา คลํ้า เช่น ตะโกสวน (D. malabarica Kostel.) ผลคล้ายมะพลับ ตะโกนา (D. rhodocalyx Kurz) ผลเล็ก ผล เปลือก และเนื้อไม้ใช้ทํายาได้.
  37. เบญจางค-, เบญจางค์ : [เบนจางคะ-, เบนจาง] น. อวัยวะทั้ง ๕ คือ หน้าผาก ๑ มือ ๒ เข่า ๒; ส่วนทั้ง ๕ คือ ราก เปลือก ใบ ดอก ผล.
  38. ผลานิสงส์ : ดู ผล.
  39. ผลาผล : ดู ผล.
  40. ผลาหาร : ดู ผล.
  41. พิบาก : น. ผล (ผลแห่งกรรม). ว. ยากเย็น. (ป., ส. วิปาก).
  42. มรรค, มรรค-, มรรคา : [มัก, มักคะ-, มันคา] น. ทาง; เหตุ, ใช้คู่กับ ผล ว่า เป็นมรรคเป็นผล; ในพระพุทธศาสนา เป็นชื่อแห่งโลกุตรธรรม คู่กับ ผล มี ๔ ชั้น คือ โสดาปัตติมรรค สกทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค, ทางที่จะนำไปสู่ความพ้นทุกข์ เป็น ๑ ในอริยสัจ ๔ ได้แก่ ทุกข์ สมุทัย นิโรธ และมรรค เรียกเต็มว่า มรรคมีองค์ ๘ ประกอบด้วย สัมมาทิฐิ - ความเห็นชอบ ๑ สัมมาสังกัปปะ - ความดำริชอบ ๑ สัมมาวาจา - การเจรจาชอบ ๑ สัมมากัมมันตะ - การงานชอบ ๑ สัมมาอาชีวะ - การเลี้ยงชีวิตชอบ ๑ สัมมาวายามะ - ความพยายามชอบ ๑ สัมมาสติ - ความระลึกชอบ ๑ สัมมาสมาธิ -ความตั้งใจชอบ ๑ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า มัชฌิมาปฏิปทา คือ ทางสายกลาง. (ส. มารฺค; ป. มคฺค).
  43. มะม่วงหิมพานต์ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Anacardium occidentale L.ในวงศ์ Anacardiaceae ผลรูปคล้ายไต เปลือกแข็ง มีเมล็ดอยู่ภายในคั่วแล้วกินได้ ยางเป็นพิษ ก้านผลอวบนํ้า ลักษณะคล้ายผลชมพู่, คนทั่ว ๆ ไปมักเข้าใจว่าก้านผลนี้คือ ผล ส่วนผลรูปคล้ายไตคือ เมล็ด.
  44. ลูกไม้ ๑ : น. ผลไม้, ลักษณนามว่า ผล.
  45. โลกุตรธรรม : [โลกุดตะระทํา] น. ธรรมที่พ้นวิสัยของโลก มี ๙ คือ มรรค ๔ (คือ โสดาปัตติมรรค สกิทาคามิมรรค อนาคามิมรรค อรหัตมรรค) ผล ๔ (คือ โสดาปัตติผล สกิทาคามิผล อนาคามิผล อรหัตผล) และนิพพาน ๑. (ส.; ป. โลก + อุตฺตร + ธมฺม).
  46. ส้มกุ้ง ๒ : น. (๑) ชื่อไม้เถาชนิด Ampelocissus martinii Planch. ในวงศ์ Vitaceae เถาและใบมีขนสีแดง ผลกลมออกเป็นพวงคล้ายองุ่น. (๒) ชื่อไม้เถา ชนิด Embelia ribes Burm.f. ในวงศ์ Myrsinaceae เถาและใบเกลี้ยง ผล กลมออกเป็นช่อ ใช้ทํายาได้. (๓) ชื่อไม้เถาชนิด Rubus moluccanus L. ในวงศ์ Rosaceae เถามีขนและหนาม ผลออกเป็นกระจุก สุกสีแดง กินได้. (๔) ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Begonia inflata C.B. Clarke ในวงศ์ Begoniaceae ต้นและใบอวบนํ้า ใบมีรสเปรี้ยว.
  47. กงสุล : (กฎ) น. ชื่อตําแหน่งของบุคคลซึ่งรัฐบาลของประเทศหนึ่งแต่งตั้ง ให้เป็นผู้แทนประจําอยู่ในเมืองต่าง ๆ ของอีกประเทศหนึ่ง เพื่อทํา หน้าที่ช่วยเหลือคนชาติของประเทศผู้แต่งตั้งกงสุลที่ไปอยู่ในเมือง ต่างประเทศนั้น ๆ และเพื่อดูแลผลประโยชน์ทั่วไปของประเทศ ผู้แต่งตั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในด้านการพาณิชย์ กงสุล มี ๒ ประเภท คือ (๑) กงสุลโดยอาชีพ ได้แก่ ผู้ที่เป็นข้าราชการของ ประเทศผู้แต่งตั้ง และ (๒) กงสุลกิตติมศักดิ์ได้แก่ ผู้ได้รับแต่งตั้ง ซึ่งมิใช่ข้าราชการและไม่ได้รับเงินเดือน ซึ่งอาจเป็นคนชาติของ ประเทศผู้แต่งตั้ง หรือคนชาติอื่นก็ได้ กงสุลที่มีตําแหน่งเป็นหัวหน้า สถานกงสุลมี ๔ ระดับ คือ กงสุลใหญ่ กงสุล รองกงสุล และตัวแทน ฝ่ายกงสุล. ว. เกี่ยวกับกงสุล เช่น สถานกงสุล เขตกงสุล พนักงาน ฝ่ายกงสุล. (ฝ. consul).
  48. กฎแห่งกรรม : น. กฎว่าด้วยกรรมและผลแห่งกรรม ที่ผู้กระทําจักต้องได้รับ.
  49. กฏุกผล : [กะตุกะผน] (แบบ) น. ผลอันเผ็ดร้อน. (ชุมนุมตํารากลอน ปาราชิตฉันท์).
  50. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-723

(0.0652 sec)