Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: พ้อง , then พอง, พ้อง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : พ้อง, 106 found, display 1-50
  1. พ้อง : ว. ต้องกัน, ตรงกัน, ซํ้ากัน, เช่น พ้องรูป พ้องเสียง พ้องความ เห็นพ้องด้วย ชื่อพ้องกัน.
  2. คำพ้องเสียง : น. คำที่ออกเสียงเหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมี ความหมายต่างกัน เช่น ใส-ไส-ไสย กาน-กาล-การ-การณ์, (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทยของพระยาศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) เรียกคำพ้องเสียงว่า ไวพจน์.
  3. เล่นพรรคเล่นพวก, เล่นพวก, เล่นพวกเล่นพ้อง : ก. ถือพวกพ้องเป็นใหญ่ หรือสำคัญ.
  4. พอง : ก. อาการที่โป่งหรือฟูขึ้นมาเพราะมีอากาศหรือน้ำเป็นต้นอยู่ภายใน เช่น ลูกโป่งพองลม ถูกน้ำร้อนลวกหนังพอง เหยียบไฟเท้าพอง, ทำให้โป่ง ฟู หรือตั้งขึ้น เช่น อึ่งอ่างพองตัว เป่าลูกโป่งให้พอง เป่า ปี่จนแก้มพอง ลิงพองขน แมวทำขนพอง; ขยายตัวให้โตขึ้นเช่น เห็ดหูหนูเมื่อแช่น้ำย่อมพองตัว ข้าวตังเมื่อเอาไปทอดก็จะพอง.
  5. คำพ้องความ : น. คำที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือ ใกล้เคียงกันมาก เช่น โคกับวัว ควายกับกระบือ มนุษย์กับคน, ไวพจน์ ก็ว่า.
  6. คำพ้องรูป : น. คำที่เขียนเหมือนกันแต่มีความหมายต่างกัน เช่น ขัน (น้ำ) กับ (ไก่) ขัน คู (ร่องน้ำ) กับ (นกเขา) คู.
  7. ผิดพ้องหมองใจ : ก. ขุ่นเคืองใจ.
  8. พวกพ้อง : น. หมู่ญาติ, เพื่อนฝูง.
  9. จ๊ะ ๒ : ก. เจอกันหรือพ้องกันโดยบังเอิญ เช่น เดินมาจ๊ะกัน แกงจ๊ะกัน.
  10. ต้องกัน : ว. ตรงกัน, พ้องกัน, ถูกกัน.
  11. นั่น : ส. คําใช้แทนนามที่อยู่ไกลกว่า นี่ เช่น นั่นอะไร, คําใช้แทนนามที่หมายถึง บุคคลสิ่งของ หรือเรื่องที่อ้างถึง เช่น เอานี่ผสมนั่น. ว. ที่อยู่ไกลกว่า นี่ เช่น โต๊ะนั่น ที่นั่น. นั่นซี, นั่นนะซี คําแสดงการเห็นพ้องด้วย. นั่นแน่ คําแสดงการยืนยันการพบเห็นเป็นต้น เช่น นั่นแน่มาอยู่ที่นี่เอง นั่นแน่ ว่าแล้วอย่างไรล่ะ. นั่นปะไร, นั่นเป็นไร คํากล่าวแสดงว่าเหตุการณ์เป็นอย่างที่พูดไว้, (ปาก) คำแสดงการซ้ำเติม เช่น นั่นปะไร ว่าแล้วไม่เชื่อ.
  12. พงศ์พันธุ์ : น. พวกพ้องที่เนื่องมาแต่วงศ์. (ส.).
  13. พันธุ, พันธุ์ : น. พวกพ้อง, เชื้อสาย, วงศ์วาน; เทือกเถา, เหล่ากอ; เชื้อ เช่น ข้าว เก็บไว้ทำพันธุ์ พันธุ์ข้าว. (ป., ส.).
  14. มติมหาชน : น. ความคิดเห็นหรือท่าทีของประชาชนกลุ่มใหญ่ที่เห็นพ้องต้องกันใน เรื่องใดเรื่องหนึ่ง.
  15. ลงเนื้อเห็นด้วย : ก. เห็นพ้องด้วย.
  16. ลูบหน้าปะจมูก : (สำ) ก. ทำอะไรเด็ดขาดจริงจังลงไปไม่ได้ เพราะ เกรงจะไปกระทบกระเทือนพวกพ้องเป็นต้น.
  17. ไวพจน์ : น. คําที่เขียนต่างกันแต่มีความหมายเหมือนกันหรือใกล้เคียงกันมาก เช่น มนุษย์กับคน บ้านกับเรือน รอกับคอย ป่ากับดง, คําพ้องความ ก็ว่า, (ป. เววจน); (โบ) ในหนังสือแบบเรียนภาษาไทย ของพระยา ศรีสุนทรโวหาร (น้อย อาจารยางกูร) หมายถึง คําที่ออกเสียง เหมือนกันแต่เขียนต่างกันและมีความหมายต่างกัน เช่น ใสกับไส โจทก์กับโจทย์ พานกับพาล, ปัจจุบันเรียกว่า คําพ้องเสียง.
  18. สมานคติ : [สะมานะ] น. การดําเนินอย่างเดียวกัน, การมี ความเห็น พ้องกัน. (ส.).
  19. สมานฉันท์ : [สะมานะ, สะหฺมานนะ] น. ความพอใจร่วมกัน, ความเห็นพ้องกัน, เช่น มีความเห็นเป็นสมานฉันท์. (ป. สมาน + ฉนฺท).
  20. สอดคล้อง : ว. พ้อง, ประสาน, ไม่ขัดกัน, เช่น มีความเห็นสอดคล้อง กัน ทำงานสอดคล้องกัน ความคิดกับการกระทำสอดคล้องกัน.
  21. สัมผัสอักษร : น. สัมผัสพยัญชนะที่มีพยัญชนะต้นตัวเดียวกันหรือเสียงพ้องกัน เช่น จําใจจําจากเจ้า จําจร. (ตะเลงพ่าย), คูนแคขิงข่าขึ้น เคียงคาง. (หลัก ภาษาไทยของกำชัย ทองหล่อ).
  22. หัวเดียวกระเทียมลีบ : ว. ตัวคนเดียวโดดเดี่ยว ไม่มีพวกพ้อง.
  23. เอกจิต : [เอกะ] น. ความคิดจําเพาะถึงสิ่งอย่างเดียว, ความคิด อันหนึ่งอันเดียว, ความคิดต้องกัน, ความเห็นพ้องกัน. (ป., ส. เอกจิตฺต).
  24. ข้าวพอง : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยเมล็ดข้าวเจ้าทอดน้ำมันให้พอง เคล้ากับน้ำตาลแล้วอัดเป็นแผ่น.
  25. ท้องขึ้นท้องพอง : ว. เรียกผลไม้บางอย่างที่ชํ้าจวนจะเสีย เช่น กล้วยท้องขึ้นท้องพอง คือกล้วยที่ชํ้าจวนจะเสีย, ท้องขึ้น ก็ว่า.
  26. ท้องพอง : ว. ท้องอืด, ใช้เข้าคู่กับคํา ท้องขึ้น เป็น ท้องขึ้นท้องพอง.
  27. กะพอง : น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, กระพอง ตระพอง หรือ ตะพอง ก็ว่า.
  28. ขนพอง : น. ขนตั้งชันฟูขึ้น เกิดจากความตกใจหรือความกลัวเป็นต้น.
  29. ขนพองสยองเกล้า : น. ขนและผมตั้งชันขึ้นเพราะรู้สึกสยดสยอง มากเป็นต้น.
  30. ขนลุกขนชัน, ขนลุกขนพอง : น. ขนตั้งชันขึ้นเพราะความขยะแขยง หรือตกใจกลัวเป็นต้น.
  31. จองหองพองขน : ว. เย่อหยิ่งแสดงอาการลบหลู่.
  32. ดินสอพอง : น. ดินอย่างหนึ่งสีขาว ใช้ทาตัวอย่างแป้ง.
  33. หินดินสอพอง : น. ชอล์ก. (ดู ชอล์ก๑).
  34. ฟุฟะ : ว. ไม่แน่น, พอง ๆ เช่น เสื้อติดระบายฟุฟะ.
  35. กระเปาะ : น. รูปนูนกลม, เรียกสิ่งที่มีสัณฐานคล้ายคลึงเช่นนั้นว่า กระเปาะ เช่น กระเปาะไข่ กระเปาะดอกไม้; ฐานที่ฝังเพชรพลอยเป็น หัวแหวนหรือตุ้มหู; เก็จ (ดู เก็จ๒), (วิทยา) ส่วนของหลอดแก้ว ที่พองออก จะกลมหรือรีก็ตาม.
  36. กระพอง ๑ : น. ส่วนที่นูนเป็นปุ่ม ๒ ข้างศีรษะช้าง, ตระพอง ตะพอง หรือ กะพอง ก็ว่า.
  37. กระพอง ๒ : น. ชื่อตัวไม้อันบนที่เป็นราวลูกกรงเรือนหรือเกวียน, กําพอง ก็เรียก.
  38. กรามช้าง ๑ : น. ตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่ง ขึ้นที่แถวกราม มีอาการเป็นเนื้อร้ายงอกขึ้นที่ต่อมแถวก้านคาง ทําให้ขากรรไตรพองโตใหญ่ออกมา เรียกว่า มะเร็งกรามช้าง.
  39. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  40. กำจาย ๒ : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มชนิด Caesalpinia digyna Rottler ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าเบญจพรรณ ต้นมีหนาม ดอกสีเหลือง ออกเป็นช่อตามง่ามใบ ฝักพองหนา มีรสฝาด ใช้ย้อมหนังได้ เมล็ดสีดําให้น้ามันจุดไฟ. (๒) ดู ขี้อ้าย(๑).
  41. ขึ้น ๑ : ก. ไปสู่เบื้องบน เบื้องสูง หรือ เบื้องหน้า, ไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้าม กับลง; เพิ่มหรือทําให้เพิ่ม เช่น ขึ้นราคา ขึ้นภาษี ราคาขึ้น ภาษีขึ้น; เริ่ม เช่น ขึ้นหนุ่ม ขึ้นบรรทัดใหม่; เอาเข้าไว้เป็นหลักฐาน เช่น ขึ้นทะเบียน ขึ้นทําเนียบ; เอ่ยคําหยาบออกมาด้วยความโกรธ เช่น ขึ้นมึง ขึ้นกู; เกิด, มี, เช่น ฝีขึ้น สนิมขึ้น; นิยมนับถือ,เลื่อมใส, เช่น อาจารย์คนนี้มีคนขึ้นมาก; อยู่ในสังกัด เช่น กรมศิลปากรขึ้นกับ กระทรวงศึกษาธิการ; อืดพอง เช่น ศพขึ้น ท้องขึ้น; ฟู เช่น ขนมขึ้น; แรกปรากฏจากขอบฟ้า เช่น ตะวันขึ้น; งอก เช่น ต้นไม้ขึ้น; มีโชค จะทําอะไรก็ประสบผล เช่น มือขึ้น ชะตาขึ้น; ก่ง เช่น ขึ้นธนู; ขึง เช่น ขึ้นกลอง ขึ้นฆ้อง; เริ่มเดินเป็นครั้งแรก เช่น ขึ้นขุน ขึ้นโคน; ทําให้เป็น รูปร่าง เช่น ขึ้นรูป ขึ้นกระบุง; เอาเช็คเป็นต้นไปขอรับเป็นตัวเงินจาก ธนาคาร เรียกว่า ขึ้นเงิน; เอาเข้าเก็บไว้ เช่น ขึ้นคลัง; (ปาก) แล่นไปตาม ทางจากใต้ไปเหนือ เช่น รถขึ้น ขาขึ้น. น. ข้างขึ้น เช่น ขึ้นคํ่าหนึ่ง ขึ้น ๒ คํ่า.
  42. ขึ้นหม้อ : น. เรียกข้าวที่หุงแล้วพองตัวมากกว่าข้าวธรรมดาว่า ข้าวขึ้นหม้อ. ว. โดยปริยายหมายความว่า มีผลประโยชน์รวดเร็ว มากผิดปรกติ, โดดเด่น, เป็นที่โปรดปราน, โชคดี.
  43. เขดา : [ขะเดา] น. กําเดา, ความร้อน, เช่น ชลเขดาเดือดดาลพอง. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ข. เกฺดา).
  44. ไข่จิ้งหรีด : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่งทําด้วยข้าวตากคั่วจนพองเหลืองกวน กับนํ้าตาลปีบที่เคี่ยวเหนียว บางทีโรยมะพร้าวขูดด้วย.
  45. คะนอง : ก. แสดงอาการร่าเริง, คึก, ลําพอง; พูดหรือทําเกินขอบเขต เช่น คะนองปาก คะนองมือ; เรียกอาการของฟ้าที่มีเสียงลั่นเปรี้ยง ๆ ว่า ฟ้าคะนอง.
  46. คึก : ว. คะนอง, ลําพอง, ร่าเริง, ฮึก ก็ว่า.
  47. แคบหมู : (ถิ่น-พายัพ) น. หนังหมูหรือหนังหมูติดมันทอดให้พองและกรอบ.
  48. โคกกระออม : น. ชื่อไม้เถาชนิด Cardiospermum halicacabum L. ในวงศ์ Sapindaceae ขึ้นทั่วไปตามที่รกร้าง ลําต้นเรียวเป็นร่อง ใบสีเขียวอ่อน มีมือเกาะ ดอกเล็ก สีขาว ผลกลม มีกลีบเลี้ยงรูปสามเหลี่ยมพองลมหุ้มอยู่ รากและใบใช้ทํายาได้, กระออม ก็เรียก.
  49. งวง ๒ : น. ชื่อไก่ขนาดใหญ่ชนิด Meleagris gallopavo ในวงศ์ Meleagrididae ขนสวยงาม คอและหัวเปลือยมีหนังตะปุ่มตะป่ำ เหนือจะงอยปากบนมี หนังเส้นหนึ่งห้อยยาวเหมือนงวง ตัวผู้มักพองขนและรําแพนหาง มีถิ่น กำเนิดในทวีปอเมริกาเหนือ.
  50. งาตัด : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยงากวนกับนํ้าตาลแล้วตัดเป็นชิ้น สี่เหลี่ยมคล้ายข้าวพองในเครื่องจันอับ.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-106

(0.0675 sec)