มาลัย : น. ดอกไม้ประดิษฐ์แบบไทยลักษณะหนึ่ง โดยการนำดอกไม้ กลีบดอกไม้ และใบไม้มาร้อยด้วยเข็มแล้วรูดออกมาใส่ด้ายผูก เป็นพวง มีลักษณะต่าง ๆ กัน, พวงมาลัย ก็เรียก. (เทียบทมิฬ มาไล).
มาลัยชายเดียว : น. มาลัยที่มีอุบะห้อยชายเพียงพวงเดียว, มาลัยมือ มาลัยข้อมือ หรือ มาลัยเปีย ก็เรียก.
มาลัยชำร่วย : น. มาลัยพวงเล็ก ๆ สำหรับให้เป็นของชำร่วย มีหลายแบบ เช่น มาลัยตุ้ม มาลัยตัวด้วง.
มาลัยสองชาย : น. มาลัยที่มี ๒ ชาย มีอุบะห้อยข้างละ ๑ พวง.
พวงมาลัย : น. ดอกไม้ประดิษฐ์แบบไทยลักษณะหนึ่ง โดยการนำ ดอกไม้ กลีบดอกไม้และใบไม้ มาร้อยด้วยเข็ม แล้วรูดออกมาใส่ ด้ายผูกเป็นพวง มีลักษณะต่าง ๆ กัน, มาลัย ก็เรียก; เครื่องสําหรับ บังคับเรือไฟหรือเรือยนต์ รถยนต์ ให้ไปตามทางที่ต้องการ; เครื่อง สําหรับช่วยพยุงคนตกนํ้า มีรูปคล้ายพวงมาลัย; ชื่อการเล่นของ ชาวบ้านชนิดหนึ่งเรียกว่า เพลงพวงมาลัย.
หีบพระมาลัย : น. หีบใส่คัมภีร์พระมาลัยซึ่งมีขนาดใหญ่กว่าคัมภีร์ใบลาน, ตู้พระมาลัย ก็เรียก.
พระมาลัยมาโปรด : (สํา) น. ผู้ที่มาช่วยเหลือในยามที่กําลังตกทุกข์ ได้ยากได้ทันท่วงที.
พ่อพวงมาลัย : (สํา) น. ชายที่ปล่อยชีวิตตามสบาย ไม่ยอมตั้งตัว หรือทําการงานเป็นหลักฐาน.
อุบะ : น. เป็นดอกไม้ที่ร้อยเป็นสายแล้วเข้าพวงอย่างพู่สำหรับห้อยกับ มาลัย ห้อยระหว่างเฟื่อง หรือห้อยประดับข้างหูเป็นต้น.
กนก : [กะหฺนก] (แบบ) น. ทองคํา เช่น มาลากนก = มาลัยทอง, โดยมากใช้ประกอบเป็นส่วนหน้าของสมาส เช่น กนกนัครา. (สมุทรโฆษ). (ป.; ส.).
กรอง ๑ : [กฺรอง] ก. ร้อย เช่น กรองมาลัย = ร้อยดอกไม้; ถัก, ทอ, เช่น กรองแฝก กรองคา.
กฤษฎา ๓, กฤษฎาญ, กฤษฎาญชลิต, กฤษฎาญชลี, กฤษฎาญชวลิตวา, กฤษฎาญชวลิศ, กฤษฎาญชวเลศ, กฤษฎาญชุลี : [กฺริดสะดา, -ดาน, -ดานชะลิด, -ดานชะลี, -ดานชะวะลิดตะวา, -ดานชะวะลิด, -ดานชะวะเลด,-ดานชุลี] (โบ; กลอน) แผลงมาจาก กฤดาญชลี เช่น ถวายอภิวันทกฤษฎาญ กฤษฎาการกราบเกล้า. (ม. คําหลวง มัทรี; ฉกษัตริย์), กฤษฎาญชลิตไหว้. (มาลัยคําหลวง), กฤษฎาญชลียะยุ่งแล. (ม. คําหลวง ทศพร), อันว่ากฤษฎาญชวลิตวา. (มาลัยคำหลวง), อนนว่าเจ้าสากลกฤษฎาญชวลิศท่านธแล้ว. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์), ถวายกฤษฎาญชวเลศ ทูลแถลงเหตุนุสนธ์. (เพชรมงกุฎ), กฤษฎาญชุลีน้อม. (ฉันทลักษณ์).
คล้อง : [คฺล้อง] ก. เอาของที่มีลักษณะเป็นเส้น เป็นวงหรือเป็นบ่วง คาด เกี่ยว หรือสวมสิ่งใดสิ่งหนึ่งเข้า เช่น ผ้าคล้องคอ คล้องพวงมาลัย คล้องช้าง, เอาของที่เป็นวงหรือโค้งเกี่ยวหรือเกี่ยวกัน เช่น ลูกโซ่คล้องกัน คล้องแขน, รับกัน เช่น ชื่อคล้องกัน.
ชูชีพ : น. เครื่องช่วยพยุงตัวในนํ้าหรือในอากาศ เช่น พวงมาลัยชูชีพ ร่มชูชีพ.
โซงโขดง : [ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบเข้าไปเกล้า ไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โองโขดง ก็ว่า. (สิบสองเดือน).
ทาม ๑ : น. สายที่ผูกปลายตะโกกหรือแอกด้านหนึ่งอ้อมใต้คอวัวหรือควาย ไปยังอีกด้านหนึ่ง, เชือกหนังทําเป็นปลอกสวมใส่คอช้างที่จับใหม่, สายเชือกหรือหนังที่รั้งโกกหรือพวงมาลัยสวมคอม้าไปผูกกับรถ หรือไถ. (เทียบ ป. ทาม ว่า เชือก).
นาง ๑ : น. คําประกอบหน้าคําเพื่อแสดงว่าเป็นเพศหญิง เช่น นางฟ้า นางบําเรอ นางละคร นางพระกํานัล; คําแทนชื่อหญิง เช่น นางก็ร้อยพวงมาลัย; (กฎ) คํานําหน้าชื่อหญิงผู้มีสามีแล้ว, คํานําหน้าชื่อภรรยาที่เรียกตามราช ทินนามของสามีที่มีบรรดาศักดิ์ตํ่ากว่าพระยาลงมา; คำเรียกสัตว์ตัวเมีย โดยสุภาพ เช่น นางช้าง นางม้า; ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์เรวดี มี ๑๖ ดวง, ดาวปลาตะเพียน ก็เรียก.
ประลมพ์ : [ปฺระลม] น. กิ่งไม้เลื้อย, ช่อดอกไม้, พวงมาลัย. ก. ห้อยย้อย. (ส. ปฺรลมฺพ).
เปีย ๑ : น. ผมที่ไว้ยาวบริเวณท้ายทอย, ผมที่ถักห้อยยาวลงมา, ผมเปีย หรือ หางเปีย ก็เรียก, เรียกลายที่ถักตอก ๓ ขาไขว้กันว่า ลายเปีย หรือ ลายผมเปีย; พวงมาลัยที่มีอุบะห้อยลงมาเหมือนผมเปีย. (จ.).
พุด : น. (๑) ชื่อไม้พุ่มหรือไม้ต้นหลายชนิดในสกุล Gardenia วงศ์ Rubiaceae เช่น พุด หรือ ข่อยด่าน (G. collinsae Craib) ดอกสีขาว กลิ่นหอม เนื้อไม้ละเอียด สีนวล ใช้แกะสลัก, พุดจีน หรือ พุดซ้อน (G. jasminoides Ellis) ดอกสีขาว กลิ่นหอม พันธุ์กลีบดอกซ้อน ไม่ติดผล พันธุ์กลีบดอกไม่ซ้อนผลใช้แต่งสีให้สีเหลือง. (๒) ชื่อ ไม้พุ่มหลายชนิดในสกุล Taberneamontana วงศ์ Apocynaceae เช่น พุดจีบ หรือ พุดสวน [T. divaricata (L.) Roem. et Schult.] ดอกสีขาว ใช้ดอกตูมร้อยพวงมาลัย.
ร้อย ๒ : ก. สอด, สอดด้วยด้ายเป็นต้น, เช่น ร้อยดอกไม้ ร้อยพวงมาลัย ร้อย สตางค์แดง ร้อยเชือกผูกรองเท้า.
ลอย : ก. ทรงตัวอยู่ในอากาศ เช่น บัลลูนลอย ว่าวลอย; เด่นขึ้น, นูนขึ้น, เช่น รูปปลาที่วาดบนพัดมองเหมือนลอยออกมา; ไม่อยู่เป็นหลัก แหล่ง, ไม่มีตําแหน่งหรือหน้าที่การงานเป็นหลักแหล่ง, เช่น เป็น พ่อพวงมาลัยลอยไปลอยมา; ไม่จม เช่น เรือลอย ซุงลอย; อยู่บน ผิวน้ำ เช่น จอกแหนลอย; ปล่อยให้ไปตามน้ำหรืออากาศ เช่น ลอยกระทง ปล่อยลูกโป่งให้ลอยในพิธีเปิดงาน. ว. ไม่มีอะไรคุ้ม หรือผูกไว้ (ใช้ในการเล่นหมากรุก) เช่น โคนลอย ม้าลอย.
ลูกหมาก ๒ : น. อุปกรณ์ในส่วนช่วงล่างของรถยนต์ มีหน้าที่บังคับ ล้อและพวงมาลัยไม่ให้สั่น ทั้งช่วยผ่อนความสะเทือนของตัวรถด้วย.
วิจิตรรจนา : [จิดรดจะนา] ว. งามอย่างประณีตละเอียดซับซ้อน เช่น มาลัยพวงนี้เขาตั้งใจร้อยอย่างวิจิตรรจนา.
ศิถี : น. พวงดอกไม้, พวงมาลัย. (บ.).
ส่งกลีบ : ก. อาการที่ใช้เข็มร้อยมาลัยให้กลีบดอกไม้หรือใบไม้ยื่นยาว ออกมาจากเข็มเสมอกัน.
สวม : ก. กิริยาที่เอาของที่เป็นโพรงเป็นวงเป็นต้นครอบลงบนอีกสิ่งหนึ่ง เช่น สวมชฎา สวมหมวก เกี้ยวสวมจุก, คล้อง เช่น สวมพวงมาลัย, นุ่ง ในคําว่า สวมกางเกง, ใส่ เช่น สวมเสื้อ สวมรองเท้า; เข้าแทนที่ เช่น สวมตําแหน่ง.
หัก : ก. พับงอ, พับงอหรือทําให้พับให้งอเพื่อให้ขาดหรือหลุดออกจากกัน; เอาออกจากจํานวนที่มีอยู่ เช่น หักจํานวนเงิน; ถูกตีอย่างแรงจนงงม่อยไป (ใช้แก่ไก่); เลี้ยวอย่างกะทันหัน เช่น หักหัวเรือ หักพวงมาลัย; เรียกแต้ม ลูกเต๋า ๓ ลูก ที่ขึ้นแต้ม ๑ ๒ ๓ ตามลําดับ ถือว่าเป็นแต้มเลวที่สุด.
เอ้อระเหย : ว. ปล่อยอารมณ์ตามสบาย. น. คําขึ้นต้นเพลงพวงมาลัย.
โองโขดง : [ขะโดง] น. ทรงผมของหญิงไทยสมัยโบราณ ซึ่งรวบขึ้นไปเกล้า ไว้บนขม่อมเป็นห่วงยาว ๆ โดยมากมีเกี้ยวหรือพวงมาลัยสวม, โซงโขดง ก็ว่า.
จี : ว. ตูม เช่น สงวนมิ่งมาลยจาวจี แกล่กลํ้า. (ทวาทศมาส), พายัพว่า จี๋.
มาลย์ : (แบบ) น. ดอกไม้, ดอกไม้ที่ร้อยเป็นพวง. (ป., ส. มาลฺย).