Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ละลาย , then ลลาย, ละลาย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ละลาย, 65 found, display 1-50
  1. ละลาย : ก. อาการที่ของแข็งเปลี่ยนสภาพเป็นของเหลวด้วยความร้อน เช่น นํ้าแข็งละลาย; คลายตัวหรือทําให้คลายตัวซึมซาบสลายไปในนํ้า หรือของเหลว เช่น ยาละลาย เกลือละลายในนํ้า ละลายยาหอม ละลายนํ้าตาลในนํ้ากะทิ, โดยปริยายหมายความว่า หายไป, หมดไป, เช่น พอเห็นนํ้าตา ความโกรธแค้นก็ละลายหายไป เอาเงินไปละลาย ในวงไพ่หมด; (วิทยา) อาการที่สารอย่างหนึ่งแผ่กระจายในสารอีก อย่างหนึ่งอย่างสมํ่าเสมอโดยไม่มีปฏิกิริยาเคมีต่อกัน เช่น คาร์บอน ละลายในเหล็ก แอลกอฮอล์ละลายในนํ้า แก๊สออกซิเจนละลายใน แก๊สไนโตรเจน ผลที่ได้เรียกว่า สารละลาย.
  2. ล้มละลาย : ก. สิ้นเนื้อประดาตัว, หมดทรัพย์สมบัติของตัว; (กฎ) มีหนี้สินล้นพ้นตัว และศาลได้มีคําพิพากษาให้ล้มละลาย.
  3. ละลมละลาย : ก. สูญหายไปหมด เช่น ข้าวของละลมละลายไป.
  4. ศาลล้มละลาย : (กฎ) น. ศาลยุติธรรมชั้นต้นซึ่งเป็นศาลชำนัญพิเศษ มีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีตามกฎหมายว่าด้วยล้มละลายที่มิใช่ คดีอาญา เช่น คดีที่เจ้าหนี้ไม่มีประกันหรือเจ้าหนี้มีประกันฟ้อง ลูกหนี้ผู้มีหนี้สินล้นพ้นตัวให้ล้มละลายนอกจากนั้นยังรวมถึง คดีแพ่งที่เกี่ยวพันกับคดีดังกล่าวด้วย ได้แก่ คดีแพ่งธรรมดาที่ เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์หรือผู้บริหารแผนของลูกหนี้พิพาท กับบุคคลใด ๆ อันมีมูลจากสัญญาหรือละเมิดอันเนื่องมาจาก การจัดการกิจการและทรัพย์สินของลูกหนี้.
  5. มหาละลาย : น. ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่งใช้ทํายาได้. (พจน. ๒๔๙๓).
  6. ฉลาย : [ฉะหฺลาย] ก. สลาย, แตกพัง, ทลาย, ละลาย.
  7. น้ำดอกไม้ ๑ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งมัน ละลาย กับนํ้าเชื่อมใส่ถ้วยตะไลนึ่ง เมื่อสุกหน้าจะบุ๋ม, ขนมชักหน้า ก็เรียก.
  8. กรด ๑ : [กฺรด] น. สารอย่างหนึ่ง มีรสเปรี้ยว โดยปรกติกัดหรือ ทําให้สิ่งอื่นแปรไป; (เคมี) มีความหมายหลายอย่าง สุดแล้วแต่ทฤษฎีที่ใช้เป็นหลักกําหนด คือ เป็นสารเคมี ที่ประกอบด้วยธาตุไฮโดรเจน และเมื่อสารนี้ละลาย น้ำเป็นสารละลายแล้ว ไฮโดรเจนที่มีอยู่ทั้งหมดหรือ บางส่วนต้องแปรสภาพออกมาเป็นไฮโดรเนียมไอออน (H3O+) สารละลายที่ได้มีรสเปรี้ยวเปลี่ยนสีลิตมัสสี น้ำเงินเป็นสีแดงได้; สารเคมีที่มีสมบัติจ่ายโปรตอนให้ แก่สารอื่นได้; สารเคมีที่มีสมบัติรับอิเล็กตรอนคู่หนึ่ง มาจากสารอื่นได้. (อ. acid).
  9. กระจายหางดอก : น. ชื่อว่านชนิดหนึ่ง ต้นและใบดังเถาผักบุ้งเทศ แต่ไม่มีหัว มีดอกและฝักอย่างผักบุ้งเทศ เชื่อกันว่าว่านชนิดนี้ใช้เมล็ดตําละลาย กับเหล้าแก้พิษเสือ พิษจระเข้ และพิษสุนัขบ้า. (กบิลว่าน).
  10. กะไหล่ : น. กรรมวิธีเคลือบสิ่งที่เป็นโลหะด้วยเงินหรือทองเป็นต้น โดยใช้ปรอทละลายเงินหรือทองให้เป็นของเหลว แล้วทาลงบน โลหะที่ต้องการเคลือบ จากนั้นไล่ปรอทออกโดยใช้ความร้อน, กาไหล่ ก็ว่า. ว. เรียกของเช่นพานเป็นต้นที่เคลือบเงินหรือทอง ด้วยกรรมวิธีเช่นนั้นว่า พานกะไหล่เงิน พานกะไหล่ทอง. (เทียบทมิฬ กะลายิ).
  11. ก๊าซไข่เน่า, แก๊สไข่เน่า : น. แก๊สพิษชนิดหนึ่ง มีกลิ่นเหม็นเหมือนไข่เน่า มีสูตร H2S เกิดขึ้นจากการเสื่อมสลายของสารอินทรีย์ที่ ประกอบด้วยกํามะถันในธรรมชาติมักมีปรากฏละลายอยู่ใน บ่อน้ำร้อนและในแหล่งน้ำแร่บางแห่ง. (อ. hydrogen sulphide).
  12. เกลือแกง : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่งชื่อโซเดียมคลอไรด์ (NaCl) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำได้ มีมากในน้ำทะเล ใช้ปรุงอาหาร ทําเครื่องดองเค็ม, เมื่ออยู่ในสภาพบริสุทธิ์ที่สุด ใช้ละลายในน้ำกลั่น เรียกว่า น้ำเกลือ สําหรับให้ผู้ป่วยโดยให้ทางเส้นเลือด ใช้ในอุตสาหกรรมทําสบู่ อุตสาหกรรมผลิตโซดาแผดเผา. (อ. common salt).
  13. เกลือเงิน : น. เกลือปรกติชนิดหนึ่งชื่อซิลเวอร์ไนเทรต (AgNO3) ลักษณะเป็นผลึกสีขาวละลายน้ำได้ ใช้ประโยชน์ในทางแพทย์ อุตสาหกรรมชุบโลหะให้เป็นเงิน.
  14. ขลุบ : [ขฺลุบ] น. ลูกคลี, ลูกกลม ๆ สําหรับเล่นแข่งขัน, ใช้เป็น คลุบ ก็มี; เบ้ากลมรูปเหมือนขลุบ มีแบบพิมพ์ติดอยู่บนเบ้านั้นเสร็จ เมื่อทอง ในเบ้าละลาย ก็พลิกควํ่าให้ทองไหลลงในแบบพิมพ์นั้น เรียกว่า เบ้าขลุบ; อาวุธชนิดหนึ่ง ใช้ในการรบ เช่น ลืมระวังพลั้งเพลี่ยงมัน เหวี่ยงขลุบ ถูกอกอุบจุกอัดขัดไม่หาย. (อภัย). (เทียบ ป. คุฬ ว่า ลูกกลม).
  15. แขวนลอย : (เคมี) น. ภาวะที่อนุภาคซึ่งมีขนาดจํากัดแผ่กระจายอยู่ในของไหลหรือ ของแข็งโดยไม่ละลายหรือสลายตัวรวมเป็นเนื้อเดียวกับของไหลหรือ ของแข็งนั้น, สารที่อยู่ในภาวะเช่นนี้เรียกว่า สารแขวนลอย เช่น ฝุ่นใน อากาศ หยดนํ้าเล็ก ๆ ในแก๊ส. (อ. suspension).
  16. ไขมัน : น. สารประกอบอินทรีย์จำพวกหนึ่งมีทั้งในสัตว์และพืช ไม่ ละลายน้ำ, ถ้าเป็นของเหลวในอุณหภูมิปรกติเรียก น้ำมัน, ถ้าเป็น ของแข็งในอุณหภูมิปรกติเรียก ไข. (อ. fat); (ปาก) เรียกเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ชนิดหนึ่งในคนและสัตว์บางชนิดซึ่งสะสมสารประกอบอินทรีย์ดังกล่าว ไว้มากโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องหรือในผนังหน้าท้อง มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ, มัน ก็ว่า.
  17. คลอโรฟอร์ม : [คฺลอ-] น. ของเหลวไม่มีสี ระเหยง่าย มีกลิ่นหอมหวาน มีสูตร CHCl3 ใช้เป็นยาสลบและตัวทําละลาย. (อ. chloroform).
  18. คว้าง : [คฺว้าง] ว. อาการที่หมุนหรือลอยไปตามกระแสลมและนํ้าเป็นต้น อย่างไม่มีจุดหมายหรือไม่มีที่ยึดเหนี่ยว เช่น ลอยคว้าง หมุนคว้าง; ลักษณะที่ละลายเหลวอย่างนํ้า เช่น ทองละลายคว้างอยู่ในเบ้า.
  19. แคปซูล : น. หลอดเล็ก ๆ ทําด้วยสารที่ไม่เป็นพิษ และละลายได้ง่าย ใช้บรรจุยา; ส่วนของยานอวกาศที่มีอุปกรณ์จําเป็นพร้อมมูล สามารถแยกตัวออก จากส่วนอื่นได้; (พฤกษ) ลักษณะของผลที่เมื่อแก่เปลือกหุ้มผลจะแห้ง แล้วแตกแยกออกจากกันเป็นหลายซีกหรือหลายรู เช่น ผลลําโพง ฝิ่น. (อ. capsule).
  20. โครเมียม : น. ธาตุลําดับที่ ๒๔ สัญลักษณ์ Cr เป็นโลหะแข็งสีเงิน หลอม ละลายที่ ๑๘๗๕?ซ.ใช้ประโยชน์ในอุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้า ไม่เป็นสนิม อุตสาหกรรมผลิตเหล็กกล้าที่มีความแข็งแรงเป็น พิเศษเพื่อใช้ทําเครื่องมือช่าง และในอุตสาหกรรมชุบโลหะ ด้วยโครเมียม. (อ. chromium).
  21. เงินยวง : น. เนื้อเงินบริสุทธิ์ที่ละลายคว้างอยู่ในเบ้า มีสีขาวผ่องเป็น มันปลาบ. ว. เรียกสีขาวผ่องเป็นมันปลาบเหมือนสีเงินที่ละลายคว้าง อยู่ในเบ้าว่า สีเงินยวง.
  22. จรลาย : [จอระ-] (กลอน) ก. ละลายไป, หายไป.
  23. เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ยุติธรรมแต่งตั้งโดยเฉพาะตัว หรือโดยตําแหน่งหน้าที่ ให้ปฏิบัติหน้าที่ พิทักษ์ทรัพย์สินและจัดการเกี่ยวกับทรัพย์สินของลูกหนี้ในคดีล้มละลาย เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์นี้ถือว่าเป็นเจ้าพนักงานของศาล.
  24. เจือจาง : ว. ไม่เข้มข้น, เข้มข้นน้อยลงเพราะเติมตัวทําละลายเช่นนํ้า เพิ่มลงไป, มีตัวทําละลายมาก มีตัวถูกละลายน้อย เช่น สารละลาย กรดเจือจาง, (ใช้แก่สารละลาย).
  25. ชุบ : ก. เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในนํ้าหรือของเหลวอื่น ๆ เพื่อให้ เปียก ให้กล้า ให้แข็ง เป็นต้น เช่น ชุบมือ ชุบมีด ชุบแป้ง, เอาสิ่งใดสิ่งหนึ่งจุ่มลงไปในสารละลายเพื่อให้โลหะในสาร ละลายติดสิ่งที่ชุบ เช่น ชุบทอง ชุบโครเมียม; (โบ) เขียน หนังสือด้วยหมึกเป็นต้น.
  26. เชลแล็ก : น. ของแข็งที่สกัดได้จากครั่ง ลักษณะเป็นแผ่นบาง สี ค่อนข้างเหลือง ละลายได้ดีในแอลกอฮอล์ ใช้ประโยชน์ เคลือบผิววัตถุหรือชักเงาผิวไม้, (ปาก) ชะแล็ก. (อ. shellac).
  27. เชื่อม ๑ : ก. ทําของหวานอย่างหนึ่ง โดยเอานํ้าตาลใส่นํ้าตั้งไฟเคี่ยว ให้ละลายแล้วใส่สิ่งที่ต้องการเคี่ยวจนได้ที่ เช่น เชื่อมกล้วย, เคี่ยวนํ้าตาลให้ใสเพื่อประสมกับสิ่งอื่น เช่น วุ้นนํ้าเชื่อม. ว. เรียกนํ้าหวานที่เอานํ้าตาลเคี่ยวให้ใสเพื่อใช้ประสมหรือ เคี่ยวกับสิ่งอื่นว่า นํ้าเชื่อม; ใช้ประกอบคำ หวาน หมายความ ว่า หวานมาก เช่น ตาหวานเชื่อม.
  28. โซดา : น. นํ้าที่เจือด้วยโซเดียมไฮโดรเจนคาร์บอเนต, นํ้าที่มี แก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ละลายและอัดไว้ในขวด เรียกว่า นํ้าโซดา. (อ. soda).
  29. ด่าง ๑ : น. นํ้าขี้เถ้าที่เกรอะหรือแช่ไว้ มีรสกร่อย ๆ สําหรับทํายาและกัดสิ่งของ; (วิทยา) สารประกอบจําพวกไฮดรอกไซด์ของโลหะแอลคาไล ซึ่งละลาย นํ้าได้ดี มีรสฝาด ถูกมือลื่นคล้ายสบู่.
  30. ดิสโพรเซียม : น. ธาตุลําดับที่ ๖๖ สัญลักษณ์ Dy เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง หลอม ละลายที่ ๑๔๐๗๐ซ. (อ. dysprosium).
  31. ตก : ก. กิริยาที่ลดลงสู่ระดับตํ่าในอาการอย่างพลัดลง หล่นลง เช่น ตกบันได ตกต้นตาล เครื่องบินตก; ไหลลง, หยดลง มา, เช่น นํ้าตก ฝนตก เหงื่อตก; ลดลง เช่น ฝีมือตก มือตก เสียงตก; เพาะข้าวลงในตากล้า เรียกว่า ตกกล้า; เอาเบ็ด เกี่ยวเหยื่อหย่อนลงไปให้ปลาหรือกุ้งกินแล้ววัดหรือสาวขึ้น มา เช่น ตกปลา ตกกุ้ง; ย่างเข้า เช่น ตกเย็น ตกคํ่า ตกฤดู หนาว, เรียกสีที่ละลายออกหรือจางไปในเวลาซักหรือถูก แดดเป็นต้นว่า สีตก, ได้, ถึง, เช่นตกทุกข์ ตกระกําลําบาก, มาถึง เช่น คําสั่งยังไม่ตก ของที่สั่งตกมาแล้ว, ขาดหายไป เช่น เขียนหนังสือตก, เขียนคําที่ขาดเติมลง เช่น ตกหนังสือ, ไม่ได้ขึ้นยานพาหนะเพราะไปไม่ทันหรือไม่มีค่าโดยสาร เช่น ตกรถตกเรือ, เอาเงินหรือสิ่งของให้ไปก่อนแล้วคิดเอา เป็นพืชผลภายหลังตามแต่จะตกลงกัน เช่น ตกข้าว คือ เอาเงินให้ไปก่อนแล้วคิดเอาข้าวทีหลัง, โดยปริยายหมาย ความว่า ลดลงตํ่า เป็นอาการแสดงว่า กลัวยอมแพ้ หรือ หมดกําลัง เป็นต้น เช่น คอตก หัวตก หางตก. ว. สำเร็จ เช่น แก้ตก ปลงตก คิดตก.
  32. ตะกอน : น. สิ่งที่ละลายปนอยู่ในนํ้าหรือของเหลวอื่นแล้วตกจมลงนอนก้นภาชนะเป็นต้น; (ภูมิ) สารต่าง ๆ ที่ผุพังทําลายโดยทางวิธีกล ทางเคมี หรือทางพัฒนาการของ ชีวิตแล้วตกจมทับถมเนื่องจากการกระทําของนํ้า ลม หรือธารนํ้าแข็ง.
  33. ตะกั่ว : น. แร่จําพวกโลหะ มีลักษณะอ่อน ละลายตัวง่าย มีหลายชนิดด้วยกัน ได้แก่ ตะกั่วเกรียบ คือ ตะกั่วกรอบ ตะกั่วนม คือ ตะกั่วอ่อน; (โบ) ดีบุก เช่น ตะกั่วทุ่ง ตะกั่วป่า (วิทยา) ธาตุลําดับที่ ๘๒ สัญลักษณ์ Pb เป็นโลหะสีขาวแกมนํ้าเงิน ลักษณะเป็นของแข็งเนื้ออ่อน หลอมละลายที่ ๓๒๗.๔?ซ. ใช้ประโยชน์ผสมกับ โลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ สารประกอบของตะกั่วใช้ในอุตสาหกรรมสีทา ตะกั่ว และสารประกอบของตะกั่วเป็นพิษต่อร่างกาย. (อ. lead).
  34. ทิงเจอร์ : น. สารละลายที่ใช้เอทิลแอลกอฮอล์เป็นตัวทําละลาย เช่น ทิงเจอร์ ไอโอดีน คือ สารละลายที่เกิดจากการละลายผลึกไอโอดีนใน เอทิลแอลกอฮอล์. (อ. tincture).
  35. น้ำกรด : น. สารละลายของกรดซึ่งใช้นํ้าเป็นตัวทําละลาย.
  36. น้ำกระด้าง : น. นํ้าซึ่งเมื่อฟอกกับสบู่แล้วเกิดตะกอนขึ้น ซึ่งเรียกว่า ไคลสบู่ และไม่มีฟองสบู่เกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นน้อย ทั้งนี้เพราะมีเกลือ ของแคลเซียมและแมกนีเซียมละลายอยู่.
  37. น้ำเกลือ : น. นํ้าที่มีเกลือโซเดียมคลอไรด์ละลายอยู่ สําหรับฉีดเข้า หลอดเลือดดํา.
  38. น้ำเชื่อม : น. นํ้าตาลทรายผสมนํ้าตั้งไฟจนละลาย ใช้ใส่ขนม เช่นวุ้น นํ้าเชื่อม หรือใช้ผสมกับแป้งทําขนมชั้นหรือขนมนํ้าดอกไม้เป็นต้น.
  39. น้ำมัน : น. ของเหลวที่มีลักษณะเป็นมันลื่น ไม่ละลายน้ำ สกัดจากพืช สัตว์ แร่บางชนิด เช่น ถ่านหิน, หรือที่สูบขึ้นมาจากแหล่งกำเนิด, โดย ปริยายหมายถึงสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น น้ำมันใส่ผม. (อ. oil).
  40. น้ำยาเคมี : น. ของเหลวซึ่งมีสารเคมีละลายอยู่.
  41. น้ำแร่ : น. นํ้าที่มีสารบางอย่างละลายอยู่เป็นพิเศษ บางอย่างมีสมบัติทาง ยารักษาโรค.
  42. น้ำส้มสายชู : น. ของเหลวซึ่งมีกรดแอซีติกละลายอยู่ไม่เกินร้อยละ ๖ มีรสเปรี้ยว ใช้ปรุงอาหาร, นํ้าส้ม ก็เรียก. น้ำสังข์
  43. น้ำอ่อน : น. นํ้าที่ละลายสบู่ได้ดี ให้ฟองได้ง่าย และไม่มีไคลสบู่เกิดขึ้น.
  44. น้ำอัดลม : น. นํ้าที่มีแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ละลายอยู่โดยใช้ความดัน อาจผสมนํ้าตาลหรือนํ้าผลไม้ ใช้เป็นเครื่องดื่ม.
  45. บ่อน้ำร้อน : น. บ่อที่มีนํ้าผุดขึ้นมาจากใต้ดิน และมีอุณหภูมิสูงกว่า อุณหภูมิของร่างกายมนุษย์ เกิดจากนํ้าไหลซึมซาบลงไปใต้ดินลึก มาก เมื่อไปกระทบอุณหภูมิสูง ทําให้นํ้าร้อนจัดขึ้น และขยายตัว หรือกลายเป็นไอเกิดแรงดันตัวเองขึ้นมาตามรอยแยกของชั้นหิน และดินขึ้นมาสู่ผิวดิน ทั้งละลายเอาแก๊ส แร่ธาตุ และสารเคมีที่มีอยู่ ตามชั้นดินต่าง ๆ ติดมาด้วย ที่พบเสมอมักจะเป็นธาตุกํามะถันและ แก๊สไข่เน่า นํ้าในบ่อนํ้าร้อนบางแห่งจึงอาจมีสมบัติทางยาได้.
  46. เบ้าขลุบ : น. เบ้ากลมรูปเหมือนขลุบ มีแบบพิมพ์ติดอยู่บนเบ้านั้น เสร็จ เมื่อทองในเบ้าละลาย ก็พลิกควํ่าให้ทองไหลลงในแบบพิมพ์ นั้น.
  47. แบเรียม : น. ธาตุลําดับที่ ๕๖ สัญลักษณ์ Ba เป็นโลหะ ลักษณะเป็นของแข็ง สีเงิน เนื้ออ่อน เมื่อถูกอากาศสีจะหมองลงอย่างรวดเร็ว หลอม ละลายที่ ๗๑๔?ซ. สารประกอบของแบเรียมใช้ในอุตสาหกรรม สีทา แก้ว และดอกไม้ไฟ. (อ. barium).
  48. แป้งกระแจะ : น. แป้งที่ผสมผงกระแจะ ใช้ละลายน้ำ สำหรับทา หรือเจิม.
  49. พิทักษ์ทรัพย์ : (กฎ) น. คำสั่งศาลในคดีล้มละลายให้พิทักษ์ทรัพย์สิน ของลูกหนี้ไม่ว่าเด็ดขาดหรือชั่วคราว คำสั่งพิทักษ์ทรัพย์ถือเสมือน เป็นหมายของศาลให้เจ้าพนักงานพิทักษ์ทรัพย์เข้ายึดดวงตรา สมุด บัญชี และเอกสารของลูกหนี้ ตลอดจนบรรดาทรัพย์สินซึ่งอยู่ใน ความครอบครองของลูกหนี้ หรือของผู้อื่นอันอาจแบ่งได้ในคดี ล้มละลายซึ่งมีผลให้ลูกหนี้หมดอำนาจจัดการทรัพย์สินของตน โดยอำนาจจัดการทรัพย์สินของลูกหนี้ตกเป็นของเจ้าพนักงาน พิทักษ์ทรัพย์แต่ผู้เดียว.
  50. ฟอร์มาลิน : น. สารละลายซึ่งมีแก๊สฟอร์มาลดีไฮด์ละลายอยู่ร้อยละ ๔๐ ใช้ประโยชน์เป็นยาล้างเชื้อโรคและดองซากศพ. (อ. formalin).
  51. [1-50] | 51-65

(0.0591 sec)