ลิง ๑ : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมหลายชนิดในอันดับ Primates ลักษณะ คล้ายคน แขนขายาว ตีนหน้าและตีนหลังใช้จับเกาะได้ มีทั้งชนิด ที่มีหาง เช่น วอก (Macaca mulatta) และชนิดที่ไม่มีหาง เช่น กอริลลา (Gorilla gorilla). ว. อาการที่แสดงกิริยาซุกซนอยู่ไม่สุข เช่น เด็กคนนี้ลิงเหลือเกิน.
ลิง ๒ : ดู นางเกล็ด.
ลิงชิงหลัก : น. ชื่อการเล่นของเด็กอย่างหนึ่ง ผู้เล่นยืนประจําหลัก ของตนและต้องวิ่งสับหลักกันไปมา มีผู้เล่นอีกคนหนึ่งยืนอยู่ตรง กลาง เรียกว่า ลิง คอยชิงหลักของคนอื่นในขณะที่วิ่งสับหลักกัน, ถ้าใช้ลูกบอลโยนแทนการวิ่งสับหลัก เรียกว่า ลิงชิงบอล.
ลิงจุ่น : ดู ลิงลม.
ลิงได้แก้ว : (สำ) น. ผู้ที่ไม่รู้คุณค่าของสิ่งมีค่าที่ได้มาหรือที่มีอยู่, วานรได้แก้ว ก็ว่า.
ลิงตกต้นไม้ : (สํา) น. ผู้เชี่ยวชาญในวิชาใดก็ตามอาจพลาดพลั้งใน วิชานั้นได้.
ลิงนั่งแป้น : (สำ) น. ผู้ที่เขายกให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญ แต่ไม่มีอำนาจ อะไรจริงจัง ต้องทำตามที่เขาสั่ง.
ลิงล้างก้น : (สำ) น. ผู้ที่ทำอะไรลวก ๆ พอให้เสร็จ ๆ ไป แต่ไม่ เรียบร้อย.
ลิงหลอกเจ้า : (สํา) ก. ล้อหลอกผู้ใหญ่เวลาผู้ใหญ่เผลอ.
ตะลิงปลิง : [-ปฺลิง] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Averrhoa bilimbi L. ในวงศ์ Oxalidaceae ใบคล้าย ใบมะยม ผลยาวคล้ายมะดันแต่มีร่องตื้น ๆ รสเปรี้ยว.
ละครลิง : น. ละครที่ใช้ลิงแสดง โดยทำท่าทางไปตามคำร้องของ ผู้บอกบท มักเล่นเรื่องพระรถเมรีและจันทโครบ.
หม้อแกงลิง : น. ชื่อไม้เถาชนิด Nepenthes ampullaria Jack ในวงศ์ Nepenthaceae ชอบ ขึ้นในป่าพรุทางภาคใต้ ปลายใบเปลี่ยนเป็นรูปกระเปาะมีฝาปิด ใช้ดักจับ แมลง, หม้อข้าวหม้อแกงลิง หรือ หม้อแกงค่าง ก็เรียก.
หม้อข้าวหม้อแกงลิง : ดู หม้อแกงลิง.
เหลิงเจิ้ง : [เหฺลิง-] (ปาก) ว. พล่าม, เพ้อเจ้อ, อาการที่พูดมากไม่มีสาระ.
ออกลิงออกค่าง : ก. ทํากิริยาซุกซนอยู่ไม่สุขอย่างลิงอย่างค่าง.
บันไดลิง ๑ : น. บันไดเชือกที่ตรึงติดเฉพาะส่วนบน ใช้ไต่ขึ้นที่สูงหรือ ไต่ลงที่ตํ่า, กระไดลิง ก็ว่า.
ลง : ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทําพิธี จารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจ แล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทําเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.
ขมิ้นลิง : ดู กระดูกอึ่ง.
จับลิงหัวค่ำ : น. การเล่นเรื่องเบ็ดเตล็ดก่อนจะเล่นเรื่องที่แสดงจริงเพื่อ เรียกคนดู เช่นในการเล่นหนังตะลุง หนังใหญ่ หรือโขน.
บันไดลิง ๑ : ดูใน บันได.
พูดจนลิงหลับ : (ปาก) ก. พูดจนผู้ฟังเคลิบเคลิ้มไปตาม.
ฤๅษีเลี้ยงลิง : (สํา) น. ผู้เลี้ยงเด็กซุกซนหรือปกครองคนหมู่มากที่ไม่อยู่ใน ระเบียบวินัยย่อมเดือดร้อนรําคาญ.
ลูกลิงลูกค่าง : น. เรียกเด็กที่อยู่ไม่สุข ซุกซนมาก ชอบปีนป่าย หกคะเมนตีลังกาเป็นต้น.
หมากลิง : น. ชื่อปาล์มชนิด Areca triandra Roxb. ในวงศ์ Palmae.
กราว ๓ : [กฺราว] น. ชื่อเพลงหน้าพาทย์ ใช้ในเวลายกทัพหรือแสดงอาการร่าเริง, ครั้นมีเพลงกราวอื่น ๆ ด้วย เพลงนี้เรียกว่า กราวใน, ต่อนี้ทําบทเชิด, ถ้ามีการพากย์ เช่น พากย์รถก่อนยกทัพออก ทําเพลงกราวในหยุด หมายความว่าสุดเจรจาแล้วใช้กราวในพอหยุดป้องหน้าแล้วจึงพากย์, สําหรับบทของมนุษย์ ลิง หรือเทวดา เปลี่ยนเป็น กราวนอก ใช้เป็นเพลงประจํากัณฑ์มหาราชในเวลามีเทศน์มหาชาติ และเรียกว่า กราวเขน ก็ได้ เพราะเมื่อยกกองทัพ พวกเขนออกก่อน, ถ้าเกี่ยวกับการรําเยาะเย้ยใช้เพลง กราวรำ, อาณัติสัญญาณลาโรง ก็ใช้เพลงนี้, เมื่อประสมลูกฆ้องมอญเป็น กราวรำมอญ, นอกนี้ถ้าประสมลูกฆ้องใน ๑๒ ภาษา ก็มีชื่อตามภาษานั้น ๆ คือ กราวกระแซ เจือไปข้างเพลงลาว ๆ, กราวเขมร มีเนื้อร้อง เป็นเพลงเขมร, กราวจีน ทําในเวลาเข้าเฝ้าหรือเดินเล่นหรือ เล่นสนุกกัน ทํานองเป็นเพลงจีน ๒ ชั้น.
กบินทร์ : [กะ-] (แบบ) น. พญาลิง, กเบนทร์ ก็ว่า. (ป., ส. กปิ = ลิง + ส. อินฺทฺร = ผู้เป็นใหญ่).
กบิล ๑ : [กะบิน] (แบบ) น. ลิง. (ส. กปิล).
กปิ : [กะ-] (แบบ) น. ลิง เช่น ทรงพาหะองคต กปิยศโยธิน. (พากย์). (ป., ส.).
กระบี่ ๑ : (กลอน) น. ลิง เช่น ขุนกระบี่มีกำลังโดดโลดโผน กระโจมโจนจับยักษ์หักแขนขา. (รามเกียรติ์ ร. ๒). (ป., ส. กปิ).
นม ๑ : น. ส่วนของร่างกาย อยู่บริเวณหน้าอก มี ๒ เต้า, ของผู้หญิงมีต่อม สำหรับผลิตน้ำนมเป็นอาหารสำหรับลูกอ่อน ส่วนของผู้ชายมีขนาด เล็กและไม่มีน้ำนม, นมของสัตว์บางชนิด เช่น ลิง ค่าง ก็มี ๒ เต้า เช่นเดียวกับคน ส่วนของสัตว์บางชนิด เช่น สุนัข วัว ควาย มีหลาย เต้าเรียงอยู่ที่ท้องเป็น ๒ แถว; แม่นม, ราชาศัพท์ว่า พระนม; น้ำนม เช่น เลี้ยงลูกด้วยนม; ชื่อสิ่งที่เป็นเต้าเป็นปุ่มคล้ายนม เช่น นมทอง หลาง นมจะเข้; เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นปุยขาวห่อหุ้มต้นผักกระเฉด ว่า นมผักกระเฉด,เรียกสิ่งที่มีลักษณะเป็นปุยขาวห้อยติดอยู่ตามข้อ พังพวยว่า นมพังพวย.
นักษัตร ๒ : [นักสัด] น. ชื่อรอบเวลา กําหนด ๑๒ ปี เป็น ๑ รอบ เรียกว่า ๑๒ นักษัตร โดยกําหนดให้สัตว์เป็นเครื่องหมายในปีนั้น ๆ คือ ชวด-หนู ฉลู-วัว ขาล-เสือ เถาะ-กระต่าย มะโรง-งูใหญ่ มะเส็ง-งูเล็ก มะเมีย-ม้า มะแม-แพะ วอก-ลิง ระกา-ไก่ จอ-หมา กุน-หมู.
นางเกล็ด : น. ชื่อปลานํ้าจืดชนิด Thynnichthys thynnoides ในวงศ์ Cyprinidae ลําตัว เพรียวแบนข้างเล็กน้อย ปากเล็กอยู่ปลายสุดของหัว ไม่มีหนวด เกล็ดเล็ก เฉพาะบนเส้นข้างตัวมี ๕๘-๖๕ เกล็ด พื้นลําตัวสีเงินเป็นประกาย พบ ทั่วไปแต่มีชุกชุมในเขตภาคกลางของประเทศไทย ขนาดยาวได้ถึง ๒๕ เซนติเมตร, เกล็ดถี่ พรม หรือ ลิง ก็เรียก.
ปลวังค- : [ปะละวังคะ-] (แบบ) น. ลิง เช่น ปลวังคสังวัจฉร. (ส. ปฺลวงฺค).
ไปยาล : น. เครื่องหมายละคํา รูปดังนี้ ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย สําหรับละคํา ที่ประกอบคําหน้า เช่น กรุงเทพฯ โปรดเกล้าฯ, รูปดังนี้ ฯลฯ หรือ ฯเปฯ เรียกว่า ไปยาลใหญ่ สําหรับละข้อความข้างท้าย เช่น ในป่า มีช้าง เสือ ลิง ค่าง ฯลฯ อ่านว่า ''ละ'', หรือละข้อความในระหว่าง เช่น เพลงสรรเสริญพระบารมีว่า ข้าวรพุทธเจ้า ฯลฯ ดุจถวายชัย ชโย อ่านว่า ''ละถึง'', เปยยาล ก็เรียก. (ป. เปยฺยาล).
พลีมุข : [พะลี] น. ลิง. (ส. พลีมุข ว่า หน้าย่น).
พานร : [พานอน] น. ลิง. (ป., ส. วานร).
พานรินทร์, พานเรศ : [พานะริน, พานะเรด] (กลอน) น. พญาลิง, ลิง.
มักฏะ : [มักกะตะ] (แบบ) น. ลิง. (ป. มกฺกฏ; ส. มรฺกฏ).
วอก : น. ชื่อปีที่ ๙ ของรอบปีนักษัตร มีลิงเป็นเครื่องหมาย; (ปาก) ลิง เช่น ซนเป็นอ้ายวอก; เรียกหน้าของคนที่ผัดแป้งจนขาวเกินไป ว่า หน้าวอก.
สวา : [สะหฺวา] น. ลิง. (ข.). สวาปาม [สะหฺวา] ก. ขยุ้มกินอย่างตะกละลุกลนอย่างลิงกิน, (ปาก) กินอย่างตะกละ.
หัวโขน ๑ : น. รูปหัวยักษ์ ลิง ที่ใช้สวมเวลาเล่นโขนหรือละคร, โดยปริยาย หมายถึงตำแหน่งหน้าที่หรือยศถาบรรดาศักดิ์ที่ดำรงอยู่ มักใช้ในสำนวน เช่น สวมหัวโขน ถอดหัวโขน.
กระไดลิง : ๑ น. บันไดเชือกที่ตรึงติดเฉพาะส่วนบน ใช้ไต่ขึ้นที่สูง หรือไต่ลงที่ต่า, บันไดลิง ก็ว่า.
กระแหนะ : [-แหฺนะ] น. ลายปูนปิดทอง. ก. แตะ, เติม; ว่าเปรียบเปรย; กรรมวิธีในการสร้างงานประติมากรรมตกแต่ง หรือ วิธีการช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดยใช้สมุกปั้นเป็นลวดลาย หรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็น หัวโขน, แขนะ ก็ว่า.
กอบด้วย :
ว. มี (มักจะใช้ในคําที่กล่าวถึงลักษณะเพิ่มเติม) เช่น นาย ก เป็นผู้มีอํานาจและกอบด้วยเมตตา, ประกอบด้วย. น. ชื่อไม้เถาชนิด Chilocarpus costatus Miq. ในวงศ์ Apocynaceae พบทางปักษ์ใต้ มียางขาว, ย่านกอบนาง ก็เรียก. น. กระดาษที่ใช้สําหรับทําสําเนา เรียกว่า กระดาษก๊อบปี้. (อ. carbon paper); (ปาก) ลักษณนามเรียกสําเนาหนังสือ เช่น ก๊อบปี้หนึ่ง สําเนา ๒ ก๊อบปี้. (อ. copy). [กอบ] ก. ประกอบ. (โบ) น. ปลาย. ว. ค่อม, เตี้ย. ก. ก้ม. (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นกะเพรา. (ดู กะเพรา). ว. ค่อม, เตี้ย, เช่น มีเจ่งตาบอดพลาย ก่อมก้อ. (โลกนิติ). น. คนป่าพวกหนึ่ง ตัวดํา ผมหยิก อยู่ในแหลมมลายู, เงาะ ก็เรียก. ดู อีก๋อย. น. นิ้วเล็กที่สุดของนิ้วทั้ง๕เรียกว่า นิ้วก้อย, ในการเล่นปั่นแปะ หรือโยนหัวโยนก้อย เรียกสมมุติด้านหนึ่งของสตางค์หรือ เหรียญกระษาปณ์ว่า ด้านก้อย, คู่กับ ด้านหัว, โดยปริยาย หมายความว่า เล็ก เช่น หัวเท่ากิ่งก้อย คือ หัวเล็กนิดเดียว, ไม่รู้จักนิ้วก้อยหัวแม่มือ หมายความว่า ไม่รู้จักเด็กไม่รู้จักผู้ใหญ่ หรือ ไม่รู้จักต่ำสูง. น. ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง คล้ายพล่า ทำด้วยกุ้งสด เรียกว่า ก้อยกุ้ง, (ถิ่น-อีสาน) ชื่ออาหารชนิดหนึ่ง ทำจากเนื้อ ปลา กุ้ง ที่ดิบ ๆ คล้ายพล่า. ว. อาการที่ทําเป็นเจ้าชู้. น. ชื่อลิงไม่มีหางชนิด Gorilla gorilla ในวงศ์ Pongidae เป็นลิงที่มีขนาดใหญ่ที่สุด ตัวสูงขนาดคนแต่ล่าสันและ แข็งแรงกว่ามาก มีถิ่นกําเนิดในทวีปแอฟริกา. น. กีฬาชนิดหนึ่ง ใช้ไม้ตีลูกกลมผ่านพื้นที่ขวางกั้นที่เตรียมไว้ให้มี ลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น เป็นหลุมทราย บ่อน้ำ ให้ไปลงหลุมที่กําหนด. (อ. golf).
กำเพลิง : [-เพฺลิง] น. ปืนไฟ. (ข. กําเภฺลีง).
แขนะ : [ขะแหฺนะ] (โบ) ก. แกะ, สลัก, เจาะ. น. กรรมวิธีในการสร้างงาน ประติมากรรมตกแต่ง หรือวิธีการทางช่างจุลศิลป์ประเภทหนึ่ง โดย ใช้สมุกปั้นเป็นลวดลายหรือรูปภาพติดเข้ากับพื้นไม้หรือพื้นกระดาษ เช่น ปั้นหน้ายักษ์หน้าลิงติดลงบนกะโหลกปิดกระดาษทำเป็นหัวโขน, กระแหนะ ก็ว่า.
กบี่ : [กะ-] น. ลิง, นิยมเขียนเป็น กระบี่. (ป., ส. กปิ).
กระดูกอึ่ง : น. ชื่อไม้พุ่ม ๓ ชนิดในสกุล Dendrolobium และ Dicerma วงศ์ Leguminosae คือ ชนิด Dendrolobium triangulare (Retz.) Schindl. มักขึ้นในที่โล่งต่ำซึ่งชุ่มแฉะในฤดูฝน ฝักเล็กแบนคอดกิ่ว เป็นข้อ ๆ ใช้ทํายาได้, ขมิ้นนาง ขมิ้นลิง ลูกประคําผี หน้านวล เหนียวหมา หรือ อีเหนียว ก็เรียก; ชนิด D. lanceolatum (Dunn) Schindl. ขึ้นตามป่าผลัดใบที่มีต้นไผ่ สูงประมาณ ๑ เมตร ใบรูปไข่กลับ โคนใบสอบ, กระดูกเขียด แกลบหนู แกลบหูหนู แปรงหูหนู หรือ อึ่งใหญ่ ก็เรียก; และชนิด Dicerma biarticulatum (L.) DC. ชอบขึ้นตามไหล่ทางที่ตัดผ่านทุ่งนา สูงประมาณ ๑ เมตร ใบเล็กคล้ายใบมะขาม ดอกสีม่วง.
กระไดลิง ๒ : น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็งชนิด Bauhinia scandens L. var. horsfieldii (Miq.) K. et S.S. Larsen ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นในป่าดิบแล้ง ป่าเบญจพรรณที่ชุ่มชื้นทั่วไป และตามริมแม่น้ำลําคลอง เถาแบนยาว งอกลับไปกลับมาคล้ายขั้นบันได ดอกเล็กสีขาว ออกเป็นช่อที่ปลายกิ่ง เปลือกเหนียวใช้แทนเชือก เถาใช้ทํายาได้, กระไดวอก มะลืมดํา บันไดลิง หรือ ลางลิง ก็เรียก.