Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ล้วง , then ลวง, ล้วง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ล้วง, 68 found, display 1-50
  1. ล้วง : ก. เอามือสอดเข้าไปในที่ซึ่งเป็นช่องเป็นรู เช่น เดินเอามือล้วง กระเป๋ากางเกง, โดยปริยายหมายความว่า หยั่งเอาความรู้ความคิด ที่เขาปิดบังไว้ เช่น ล้วงความลับ ล้วงข้อสอบ.
  2. ล้วงตับ, ล้วงไส้ : ก. หลอกลวงให้ตายใจเพื่อล้วงเอาความลับเป็นต้น.
  3. ล้วงกระเป๋า : ก. เอามือสอดเข้าไปในกระเป๋า, ถ้ายืนเอามือล้วง กระเป๋าเวลาอยู่ต่อหน้าผู้หลักผู้ใหญ่ถือว่าเป็นการแสดงกิริยาที่ ไม่สุภาพ; ลักทรัพย์ในกระเป๋าของผู้อื่น เช่น เขาถูกล้วงกระเป๋า ระวังถูกล้วงกระเป๋า.
  4. ล้วงควัก : ก. หยิบฉวยเอาสิ่งของเป็นต้นไปโดยพลการ เช่น มาล้วง ควักข้าวสาร ถ่าน เกลือของเจ้าของบ้านไป.
  5. ล้วงคอ, ล้วงคองูเห่า : (ปาก) ก. บังอาจลักขโมยหรือล่อลวงเอา ทรัพย์สินเป็นต้นจากผู้ที่น่าเกรงขาม.
  6. จก : ก. ฉก เช่น ระวังงูจะจกเอา, ล้วง เช่น รู้สึกเหมือนกับว่ามีมือใครมาจกกระเป๋า, ควัก เช่น น้องคงแอบมาจกเงินไป ๕๐๐ บาท, ขุด เช่น จกแรง ๆ หน่อย ทำอย่างนี้พรุ่งนี้ก็ไม่ได้สักหลุม, คุ้ย, สับ เช่น เอาจอบจกลงไปตรงนั้นซิ; เอาตัวมา เช่น คุณต้องไปจกตัวเขามาให้ได้.
  7. ควัก : [คฺวัก] ก. ดึงหรือล้วงสิ่งใดสิ่งหนึ่งออกมา, เอามือล้วงลงไปในที่ใดที่หนึ่ง แล้วเอาสิ่งที่อยู่ในนั้นออกมา, ใช้เครื่องมือปลายโค้งหรืองอทําอาการเช่นนั้น เช่น ควักหู, ใช้เข็มควักถักด้ายให้เป็นลวดลายต่าง ๆ เรียกว่า ควักลูกไม้, เอาเครื่องมือรูปพายขนาดเล็กตักสิ่งใดสิ่งหนึ่งขึ้นมา เช่น ควักปูน ควักกะปิ, (ปาก) ดึงเอาตัวออกมา เช่น ควักเอาตัวมาจากที่นอน.
  8. มือกาว : ว. ขี้ขโมย. น. ผู้ที่เก่งหรือชำนาญในทางล้วงกระเป๋า, ผู้ชำนาญในการหยิบฉวยสิ่งของของผู้อื่นติดมือไปเมื่อเจ้าของ เผลอ, เรียกผู้รักษาประตูฟุตบอลที่รับลูกบอลได้แม่นยำโดยลูก ไม่หลุดจากมืออย่างกับมือทากาวว่า ประตูมือกาว.
  9. ระวัง : ก. คอยดู เช่น ระวังเด็กให้ดี, เอาใจใส่โดยไม่ประมาท, กันไว้ไม่ให้เกิด ภัยอันตรายหรือความเสื่อมเสียเป็นต้น, เช่น ระวังตัวให้ดี ระวังโจรผู้ร้าย ระวังถูกล้วงกระเป๋า เวลาข้ามถนนให้ระวังรถ.
  10. รู้ตัว : ก. รู้สึกตัว เช่น โดนล้วงกระเป๋าโดยไม่รู้ตัว, รู้มาก่อน เช่น ได้รับ แต่งตั้งโดยไม่รู้ตัว, รู้เนื้อรู้ตัว ก็ว่า; รู้ล่วงหน้าว่าจะมีเหตุดีหรือร้ายแก่ตัว เช่น ผู้ร้ายรู้ตัวว่าจะถูกจับเลยชิงหนีไปเสียก่อน; รู้ว่าใครเป็นผู้ทำเรื่องใด เรื่องหนึ่ง เช่น รู้ตัวคนส่งบัตรสนเท่ห์ รู้ตัวคนส่งดอกไม้มาอวยพรวันเกิด.
  11. ลวง ๑ : ก. ทําให้หลงผิด เช่น ขุดหลุมพรางลวงข้าศึก. ลวงตา ก. ทําให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริง เช่น แสงแดดกล้า ที่ปรากฏในระยะไกลลวงตาให้เห็นถนนลาดยางเป็นน้ำ. ว. เรียก ภาพที่ทำให้เห็นผิดไปจากความเป็นจริงว่า ภาพลวงตา.
  12. ลองดี : ก. หาทางพิสูจน์ว่าจะดีจริงหรือไม่ (โดยมากเป็นไปในเชิง ดูหมิ่นหรือท้าทาย) เช่น พูดจาท้าทายลองดีนักเลงใหญ่ ล้วงคองูเห่า ด้วยการลองดีกับตำรวจ.
  13. ลวง ๒ : น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๘, เขียนเป็น รวง ก็มี.
  14. ลวงโลก : ว. ตลบตะแลงปลิ้นปล้อนในคำว่า คนลวงโลก.
  15. ลวงเล้า : (ถิ่น–พายัพ) น. ปีระกา อัฐศก.
  16. หลอกลวง : ก. ใช้อุบายทุจริตลวงให้เข้าใจผิด, (กฎ) แสดงข้อความอันเป็น เท็จหรือปกปิดข้อความจริงที่ควรบอกให้แจ้ง เพื่อให้บุคคลอื่นเข้าใจผิด.
  17. ล่วง : ก. ผ่านจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง เช่น เดินล่วงเข้าไปในเขต หวงห้าม เวลาล่วงไปหลายปี.
  18. รวง ๒ : น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๘, เขียนเป็น ลวง ก็มี.
  19. กระทรวง ๑ : [-ซวง] น. หมู่, พวก, เช่น ทุกหมวดทุกกระทรวงทรง ฤทธิเรื้อง. (ยอพระเกียรติกรุงธน), ชนิด, อย่าง, เช่น อนึ่งนั้นอุเบกขาว่าเพ่งเฉย คือแหวกเลยสุขทุกข์อาลัยห่วง ไม่มีทุกข์ไม่มีสุขสิ้นทั้งปวง สามกระทรวงนี้เป็นชื่อเวทนา. (ปกีรณําพจนาดถ์), แบบ, อย่าง, กระบวน, เช่น ส่วนองค์พระอัยกาก็ทรงพาหนะหัสดินทร กรินทรราชเป็นทัพหลวงตามกระทรวงพยุหยาตรา. (ม. ร่ายยาว มหาราช), โดยสมควรแก่กระทรวงแล้วส่งไป. (สามดวง), ผจญคนกลิ้งกลอกกลับหลอกลวง เอากระทรวงสัตย์ ซื่อให้เสื่อมเท็จ. (สุ. สอนเด็ก). (ดู กระซุง).
  20. กระอืด : ก. ร้องไห้ร่ำไร, ร่ำไห้, เช่น เกรงอาตม์กระอืดโอย. (สรรพสิทธิ์), จำนองกระอืดโอย ทุกขทรวงละลวงกาม. (อนิรุทธ์).
  21. กล, กล- : [กน, กนละ-] น. การลวงหรือล่อลวงให้หลงหรือให้เข้าใจผิด เพื่อให้ฉงนหรือเสียเปรียบ เช่น เล่ห์กล, เล่ห์เหลี่ยม เช่น กลโกง; เรียกการเล่นที่ลวงตาให้เห็นเป็นจริงว่า เล่นกล; เครื่องกลไก, เครื่องจักร, เครื่องยนต์, เช่น ช่างกล. ว. เช่น, อย่าง, เหมือน, เช่น เหตุผลกลใด; เคลือบแฝง เช่น ถ้าจําเลยให้การเป็นกลความ. (กฎหมาย).
  22. กลฉ้อฉล : [กน-] (กฎ) น. การใช้อุบายหลอกลวงด้วยการแสดง ข้อความอันเป็นเท็จ หรือการจงใจปิดบังซ่อนเร้นข้อความจริงเพื่อให้ ผู้อื่นหลงผิดแสดงเจตนาทำนิติกรรม การแสดงเจตนาเพราะถูก กลฉ้อฉลเป็นโมฆียะ. (อ. fraud).
  23. กลวง ๑ : [กฺลวง] ว. เป็นรูเป็นโพรงข้างใน, ไม่ตัน.
  24. กลวง ๒ : [กฺลวง] น. บริเวณ, ที่ว่าง, ท่ามกลาง, เช่น ในกลวงป่าตาลนี้มีศาลาสองอัน. (จารึกสยาม).
  25. กลวง ๓ : [กฺลวง] (ปาก) น. โรงถลุงดีบุก, คลวง ก็ว่า.
  26. กันลอง ๒ : ก. กระโดด, ข้าม, ผ่าน. ว. เลิศ, ยิ่ง; ล่วง, พ้น, เช่น มหาโพยมกันลอง. (กล่อมช้างของเก่า). (ข. กนฺลง).
  27. เกิง : (โบ; กลอน) ว. ล่วง เช่น ตกพ่างบุษบนนเกิง ขาดขว้นน. (ทวาทศมาส).
  28. โกง : ก. ใช้อุบายหรือเล่ห์เหลี่ยมหลอกลวง เช่น โกงเงิน, แสดงอาการดื้อไม่ยอมทําตาม เช่น เด็กโกง ม้าโกง. ว. โค้ง, ไม่ตรง, เช่น หลังโกง.
  29. คลวง ๑ : [คฺลวง] น. เรือน, ที่นั่ง, ตําหนัก.
  30. คลวง ๒ : [คฺลวง] น. โรงถลุงดีบุก, (ปาก) กลวง.
  31. เงี้ยว ๔ : ว. คด เช่น แล้วลวงล่องอเงี้ยว. (นิ. เพชร).
  32. จริง, จริง ๆ : [จิง] ว. แน่ เช่น ทําจริง ชอบจริง ๆ; แท้, ไม่ปลอม, เช่น ของจริงไม่ใช่ของเทียม; เป็นอย่างนั้นแน่แท้ ไม่กลับเป็นอย่างอื่น เช่น ข้อนี้เป็นความจริง, ไม่เท็จ, ไม่โกหก, ไม่หลอกลวง, เช่น เรื่องจริง พูดจริง, เป็นไปตามนั้น เช่น ความฝัน กลายเป็นความจริง.
  33. จอมปลอม : ว. ที่หลอกลวงให้คนเชื่อว่าเป็นเช่นนั้นจริง เช่น ของจอมปลอม ผู้ดีจอมปลอม บัณฑิตจอมปลอม.
  34. ฉ้อโกง : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานหลอกลวงผู้อื่นโดยทุจริต ด้วยการ แสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง โดยการหลอกลวง ดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือ บุคคลที่สาม หรือทําให้ผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สามทํา ถอน หรือ ทําลายเอกสารสิทธิ เรียกว่า ความผิดฐานฉ้อโกง.
  35. ฉ้อฉล : ก. ใช้อุบายหลอกลวงโดยเอาความเท็จมากล่าวเพื่อให้เขาหลงผิด.
  36. ซื้อรู้ : ก. เสียเงินตราหรือสิ่งของเป็นต้นโดยถูกลวง แต่ได้เป็นความรู้ไว้.
  37. ซื่อสัตย์ : ก. ประพฤติตรงและจริงใจ, ไม่คิดคดทรยศ, ไม่คดโกงและ ไม่หลอกลวง.
  38. ตกทอง : น. วิธีการหลอกลวงด้วยการใช้ทองปลอมที่มีน้ำหนักมาก กว่าไปแลกเป็นทองแท้ที่มีน้ำหนักน้อยกว่า.
  39. ตกหลุม, ตกหลุมพราง : (สํา) ก. ถูกลวงด้วยเล่ห์กลหรืออุบาย, เสียรู้, หลงกล.
  40. ตบตา : (สํา) ก. หลอกหรือลวงให้เข้าใจผิด.
  41. นิติกรรมอำพราง : (กฎ) น. นิติกรรมอันหนึ่งที่ทำขึ้นด้วยเจตนาลวง เพื่อปิดบังนิติกรรมอีกอันหนึ่งที่ทำขึ้นด้วยเจตนาอันแท้จริง ซึ่งกฎหมาย ให้บังคับตามกฎหมายเกี่ยวกับนิติกรรมที่ถูกอำพรางนั้น.
  42. บาทหลวง : [บาดหฺลวง] น. นักบวชในศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก.
  43. ปลิ้น : [ปฺลิ้น] ก. กลับข้างในบางส่วนให้โผล่ออกมา เช่น ปลิ้นตา, โผล่ยื่น หรือทําให้โผล่ยื่นออกมาจากสิ่งที่มีอะไรห่อหุ้มอยู่ เช่น พุงปลิ้น ตาปลิ้น; (ปาก) ลักลอบหรือหลอกลวงเอาไปซึ่งหน้า เช่น ปลิ้นเอาเงินไป.
  44. ปั้นสีหน้า : ก. แกล้งแสดงหน้าตาให้ผิดปรกติเพื่อลวงให้เขาหลงเชื่อ เช่น ไม่เจ็บแต่ปั้นสีหน้าให้เหมือนคนเจ็บ.
  45. ฝ่าฝืน : ก. ขัดขืน, ล่วง, ละเมิด.
  46. พรางพรอก : [พฺรอก] ก. พูดลวง, แสร้งพูด.
  47. พลวง ๑ : [พฺลวง] น. ธาตุลําดับที่ ๕๑ สัญลักษณ์ Sb เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีขาวคล้ายโลหะเงิน เปราะ หลอมละลายที่ ๖๓๐.๕?ซ. มี สมบัติพิเศษ คือ ขยายตัวเมื่อแข็งตัว ใช้ประโยชน์นําไปผสมกับ โลหะอื่นให้เป็นโลหะเจือ. (อ. antimony).
  48. พลวง ๒ : [พฺลวง] น. ชื่อไม้ต้นชนิด Dipterocarpus tuberculatus Roxb. ในวงศ์ Dipterocarpaceae ใบใหญ่ ใช้ห่อยาสูบและมุงหลังคา, คลุ้ง ตองตึง หรือ ตึง ก็เรียก.
  49. เฟ็ด : ว. แฟบ, หด, สั้น, ถลกขึ้นสูง (ใช้แก่ผ้านุ่ง); เล็ด เช่น พระพรุณรายเรื่อฟ้า เฟ็ดโพยม. (ทวาทศมาส), ลวงแส้งเฟ็ด ไพ่อ้อม เอาชัย. (ยวนพ่าย).
  50. มดเท็จ : ว. โกหกหลอกลวง, มักใช้เข้าคู่กับคำ โป้ปด เป็น โป้ปดมดเท็จ.
  51. [1-50] | 51-68

(0.0659 sec)