ศิโรเวฐน์ : น. ผ้าโพก. (ส. ศิโรเวษฺฏ, ศิโรเวษฺฏน; ป. สิโรเว?น).
ศิขัณฑ์ : น. จุกหรือแกละ; หงอน. (ส.).
ศิโรรัตน์ : น. เพชรประดับหัว. (ส.).
ศิโรรัตน์ :
ดู ศิร, ศิระ.
ศิโรเวฐน์ :
ดู ศิร, ศิระ.
กฤดาอัญชลี : [กฺริ-] (โบ; กลอน) แยกคําจาก กฤดาญชลี เช่น ขอถวายกฤดาอัญ- ชลีโอนศิโรจร. (ตําราช้างคําฉันท์).
กัลพุม : [กันพุม] (โบ) น. กรรพุม, มือที่ประนม, เช่น ถวายกรกัลพุมบันสารโกสุม ศิโรจม์. (ม. คำหลวง ฉกษัตริย์); พุ่ม เช่น จับพฤกษางกูรกัลพุม โดยกุสุมฤดูกาล. (ม. คำหลวง วนปเวสน์).
ศิศีระ : น. ฤดูหนาว; ความหนาว, ความเยือกเย็น. ว. เย็น, หนาว, เย็นเยือก. (ส. ศิศิร).
เยภุยสิกา : น. ความเห็นข้างมาก. (ป. เยภุยฺยสิกา).
อาศิรพิษ, อาศิรวิษ, อาศีรพิษ, อาศีรวิษ : น. 'ผู้มีพิษในเขี้ยว' คือ งู, อสรพิษ. (ส. อาศีรวิษ, อาศีวิษ; ป. อาสีวิส).
ควีนสิริกิติ์ : [คฺวีนสิหฺริกิด] น. ชื่อกล้วยไม้ชนิด Cattleya 'Queen Sirikit' ในวงศ์ Orchidaceae เป็นพันธุ์ผสม ดอกใหญ่ สีขาว ปากเหลือง สวยงามมาก และมีกลิ่นหอม.
เจ้าฟ้าหญิงสิรินธร : น. ชื่อนกนางแอ่นชนิด Pseudochelidon sirintarae ในวงศ์ Hirundinidae ลำตัวสีดำ มีแต้มขาวตรงโคนหาง ตาและขอบตาขาว ปากเหลือง เฉพาะ ตัวผู้มีหางยาวคล้ายเส้นลวด ๒ เส้นพบบริเวณบึงบอระเพ็ด, ตาพอง ก็เรียก.
ซิ, ซี : คําประกอบท้ายคําอื่นเพื่อเสริมข้อความให้เด่น ให้ชัด หรือ ให้สละสลวยเป็นต้น, โดยมากใช้กับกริยาเป็นเชิงบังคับ เชิงชวน หรือรับคำเป็นต้น เช่น ไปซิ มาซิ หรือ ไปซี มาซี, สิ ก็ว่า.
มูสิก-, มูสิกะ : [-สิกะ-] น. หนู. (ป.).
ศิว, ศิวะ : [สิวะ] น. พระอิศวร; พระนิพพาน. (ส.; ป. สิว).
กรรบาสิกพัสตร์ : [กับบาสิกะ-] น. ผ้าอันทอด้วยฝ้าย คือ ผ้าฝ้าย. (ใน ม. ร่ายยาว นครกัณฑ์ ว่า มาแต่แคว้นกาสี). (ส. วสฺตฺร ว่า ผ้า).
กรวด ๓ : [กฺรวด] ก. หลั่งน้ำ เช่น น้ำพระเต้าสิโตทกธารามารดริน กรวดลงในมืออินทพฤฒาจารย์. (ม. กาพย์ สักบรรพ). (ข. จฺรวจ).
กสิกร : [กะสิกอน] น. ผู้ทําไร่ไถนา.
กะลาสี : น. ลูกเรือ. ว. อย่างเครื่องแต่งกายกะลาสีสมัยโบราณหรือ พลทหารเรือปัจจุบัน เช่น หมวกกะลาสี เงื่อนกะลาสี คอเสื้อกะลาสี. (มลายู กะลาสิ จากคำอิหร่าน ขะลาสิ).
กาศิก, กาศิก- : [กาสิกะ-] (แบบ) ว. ที่มาจากแคว้นกาสี, เหมือนไหม, แกมไหม. (ส.; ป. กาสิก).
ขรรคะ, ขรรคา : [ขักคะ, ขันคา] (แบบ) น. แรด เช่น หนึ่งนบสิขานนนารถ เถลิงขรรคาอาศน์ แลยาตรอัมพรแผ่นพาย. (ดุษฎีสังเวย). (ป. ขคฺค; ส. ขฑฺค).
ควักค้อน : [คฺวัก-] (กลอน) ก. ค้อนจนหน้าควํ่า เช่น ขืนจะมาควักค้อนค่อนว่า เงาะของข้าเคยใส่ทำไมสิ. (สังข์ทอง), ค้อนควัก ก็ว่า.
คู่ความ : (กฎ) น. บุคคลผู้ยื่นคําฟ้องหรือถูกฟ้องต่อศาล และหมายความ รวมถึงบุคคลผู้มีสิทธิกระทําการแทนบุคคลนั้น ๆ ตามกฎหมายหรือ ในฐานะทนายความ.
ถือสิทธิ์ : ก. อ้างสิทธิ์หรืออํานาจที่มีอยู่, ลุอํานาจ.
ไถ่ ๑ : (กฎ) ก. ชําระหนี้เพื่อถอนคืนทรัพย์สินที่จํานําไว้; ซื้อทรัพย์สินที่ขาย ฝากไว้คืนภายในกําหนดเวลา; ให้ทรัพย์สินหรือประโยชน์เพื่อแลก เปลี่ยนเสรีภาพของผู้ถูกเอาตัวไป ผู้ถูกหน่วงเหนี่ยว หรือผู้ถูกกักขัง.
ไถ่ถอน : (กฎ) ก. ชําระหนี้เพื่อปลดเปลื้องพันธะในทรัพย์สินที่จํานอง ไว้ให้หลุดจากการเป็นประกัน.
นางกวัก ๑ : น. ชื่อรูปศักดิ์สิทธิ์ที่ทําด้วยจะงอยงวงช้างหรือสิ่งอื่น โดย เชื่อว่าเป็นเครื่องเรียกเอาโชคลาภมาให้.
นาสิก : (แบบ) น. จมูก. (ป., ส. นาสิกา).
ปฏิญญา : [ปะตินยา] น. การให้คํามั่นสัญญาหรือการแสดงยืนยันโดยถือเอา สิ่งศักดิ์สิทธิ์หรือความสุจริตใจเป็นที่ตั้ง. (ป.). ปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน น. การให้คํามั่นสัญญาหรือการ แสดงยืนยันถึงสิทธิหรืออํานาจอันชอบธรรมของมนุษย์ซึ่งเป็นที่ยอมรับ กันทั่วไป.
ประทานบัตร : [ปฺระทานนะบัด, ปฺระทานบัด] (กฎ) น. หนังสือสําคัญ ที่ออกให้ตามกฎหมายว่าด้วยแร่ เพื่อให้มีสิทธิทําเหมืองแร่ภายในเขต ที่กําหนดในหนังสือสําคัญนั้น; ใบอนุญาตซึ่งผู้ว่าราชการจังหวัดออก ให้แก่บุคคลผู้ประมูลได้ ให้มีสิทธิทําการประมงในที่ว่าประมูล.
มนสิการ : [มะนะสิกาน] น. การกําหนดไว้ในใจ. (ป., ส.).
มสิ : [มะสิ] น. เขม่า; หมึก. (ป., ส.).
โยนิโสมนสิการ : [มะนะสิกาน] น. การพิจารณาโดยแยบคาย. ก. เข้าใจ ตั้งแต่ต้น, เข้าใจโดยตลอด. (ป.).
รังสิมันตุ์ : (แบบ) น. ''ผู้มีแสงสว่าง'' คือพระอาทิตย์, ใช้ รังสิมา ก็ได้. (ป. รํสิมนฺตุ; ส. รศฺมิมตฺ).
รังสิมา : (แบบ) น. รังสิมันตุ์. (ป. รํสิมา; ส. รศฺมิมตฺ).
รังสิ, รังสี : น. แสง, แสงสว่าง. (ป. รํสิ; ส. รศฺมี).
รัศมิมัต : ว. มีรัศมี, ใช้ รัศมิมาน ก็ได้. (ส.; ป. รํสิมนฺตุ, รํสิมา).
รัศมี : น. แสงสว่างที่พวยพุ่งออกจากจุดกลาง, แสงสว่าง; เส้นที่ลากจากจุด ศูนย์กลางของวงกลมไปถึงเส้นรอบวง. (ส.; ป. รํสิ).
ราศี ๑ : น. กอง, หมู่, เช่น บุญราศี ว่า กองบุญ; ชื่อมาตราวัดจักรราศี คือ ๓๐ องศา เป็น ๑ ราศี,ถ้ากลุ่มดาวใดอยู่ในช่วงจักรราศีนั้น ก็เรียกชื่อราศีตาม กลุ่มดาวนั้น เช่น ราศีเมษ ราศีกรกฎ, อาทิตย์โคจรรอบจักรวาลผ่านหมู่ ดาว ๑๒ หมู่ และดาวหมู่หนึ่ง ๆ เรียกว่า ราศี ๑. (ส. ราศิ; ป. ราสิ).
ราสี : น. ราศี. (ป. ราสิ).
ศรี ๑ : [สี] น. มิ่ง, สิริมงคล, ความรุ่งเรือง, ความสว่างสุกใส, ความงาม, ความเจริญ, เช่นศรีบ้าน ศรีเรือน ศรีเมือง, ใช้นำหน้าคำบางคำเป็น การยกย่อง เช่น พระศรีรัตนตรัยวัดพระศรีรัตนศาสดาราม. (ส. ศฺรี; ป. สิริ, สิรี).
ศศิ ๑, ศศิน, ศศี : [สะสิ, สะสิน, สะสี] น. ''ซึ่งมีกระต่าย'' คือ ดวงจันทร์. (ส.).
ศศิ ๒ :
[สะสิ] (โหร) น. ชื่อยาม ๑ ใน ๘ ยามในเวลากลางคืน. (ดู ยาม).
ศิลปศาสตร์ : น. วิชาต่าง ๆ ซึ่งไม่ใช่วิชาทางเทคนิค หรือทาง อาชีพ เช่น ภาษาศาสตร์ ปรัชญา ประวัติศาสตร์; ตำราว่าด้วย วิชาความรู้ต่าง ๆ ในสมัยก่อนพุทธกาล มี ๑๘ ประการ ได้แก่ เ๑. สูติ วิชาฟังสียงคนเสียงสัตว์รู้ว่าดีหรือร้าย ๒. สัมมติ วิชา เข้าใจในกฎธรรมเนียม ๓. สังขยา วิชาคำนวณ ๔. โยคยันตร์ วิชาการช่าง ๕. นีติ วิชาแบบแผนราชการ ๖. วิเสสิกา วิชาการค้า ๗. คันธัพพา วิชานาฏศิลป์ ๘. คณิกาวิชากายบริหาร ๙.ธนุพเพธา วิชายิงธนู ๑๐. ปุราณา วิชาโบราณคดี ๑๑. ติกิจฉา วิชาการแพทย์ ๑๒. อิติหาสา วิชาตำนานหรือประวัติศาสตร์ ๑๓. โชติ วิชา ดาราศาสตร์ ๑๔. มายา วิชาตำราพิชัยสงคราม ๑๕. ฉันทสา วิชาการประพันธ์ ๑๖. เกตุ วิชาพูด ๑๗. มันตา วิชาร่ายมนตร์ ๑๘. สัททา วิชาไวยากรณ์.
สนิท : [สะหฺนิด] ว. อย่างใกล้ชิด, ชิดชอบ, เช่น เพื่อนสนิท คนสนิท เขา สนิทกันมาก, แนบชิด เช่น เข้าปากไม้ได้สนิท; กลมกล่อม, กลมกลืน, ในลักษณะที่เข้ากันได้ดีไม่มีอะไรบกพร่อง ซึ่งดูประหนึ่งว่าเป็น เนื้อเดียวหรือเป็นอันหนึ่งอันเดียวกัน เช่น ประตูปิดสนิท สีเข้ากันสนิท เป็นเนื้อเดียวกัน ผนังห้องแต่ละด้านแม้จะทาสีต่างกันแต่สีก็เข้ากันได้ สนิท; อย่างแท้จริง หรือทั้งหมดโดยไม่มีอะไรแทรกหรือเจือปน เช่น มะปรางหวานสนิท เชื่อสนิท ตีหน้าสนิท. (ป. สินิทฺธ ว่า เสน่หา, รักใคร่; ส. สฺนิคฺธ).
สหัสรังสี : [สะหัดสะ] น. พันแสง หมายถึง พระอาทิตย์. (ป. สหสฺสรํสิ).
สังเวชนียสถาน : [สังเวชะนียะสะถาน] น. สถานที่ทางพระพุทธศาสนา อันเป็นที่ตั้งแห่งความสลดสังเวช มี ๔ แห่ง คือ ๑. สถานที่ที่พระพุทธเจ้า ประสูติ ได้แก่ สวนลุมพินีปัจจุบันได้แก่ รุมมินเด ในประเทศเนปาล ๒. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าตรัสรู้ คือ ที่ควงพระศรีมหาโพธิ ปัจจุบัน ได้แก่ พุทธคยา ประเทศอินเดีย ๓. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าทรงแสดง ปฐมเทศนา คือ ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ปัจจุบันไ ด้แก่ สารนาถ ประเทศอินเดีย ๔. สถานที่ที่พระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ ปรินิพพาน คือ ป่าสาลวัน เมืองกุสินารา ปัจจุบันได้แก่ เมืองกาเซีย ประเทศอินเดีย.
แห่แหน : [-แหนฺ] ก. ห้อมล้อมระวังกันไปเป็นขบวน เช่น ประชาชนแห่แหน พระพุทธสิหิงค์ไปตามถนน; ยกพวกกันมามาก ๆ เพื่อวัตถุประสงค์อย่างใด อย่างหนึ่ง เช่น เพื่อนฝูงแห่แหนกันมาเต็มบ้าน.
อสิตะ : [อะสิตะ] ว. มีสีดํา, มีสีคลํ้า, มีสีแก่. (ป., ส.).
อะดุง : (กลอน) ว. สูงส่ง, ไม่มีที่เปรียบ, เลิศ, เช่น ศรีสิทธิฤทธิชัย ไกรกรุง อะดุงเดชฟุ้งฟ้า. (ลอ).