ประกัน : ก. รับรองว่าจะรับผิดในความเสียหายที่เกิดขึ้น, รับรองว่าจะมีหรือ ไม่มีเหตุการณ์นั้น ๆ. น. หลักทรัพย์ที่ให้ไว้เป็นเครื่องรับรอง.
สังคม, สังคม : [คมมะ] น. คนจํานวนหนึ่งที่มีความสัมพันธ์ต่อเนื่องกันตามระเบียบ กฎเกณฑ์ โดยมีวัตถุประสงค์สําคัญร่วมกัน เช่น สังคมชนบท; วงการ หรือสมาคมของคนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง เช่น สังคมชาวบ้าน. ว. ที่เกี่ยวกับ การพบปะสังสรรค์หรือชุมนุมชน เช่น วงสังคม งานสังคม. (ป.).
แรงงานและสวัสดิการสังคม : น. ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับ การบริหารแรงงานการจัดหางาน การประชาสงเคราะห์ การพัฒนาฝีมือ แรงงาน การสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน และการประกันสังคม.
ประกันชีวิต : (กฎ) น. ชื่อสัญญาประกันภัยชนิดหนึ่ง ซึ่งบุคคล คนหนึ่งเรียกว่า ผู้รับประกันภัย ตกลงจะใช้เงินจํานวนหนึ่งให้แก่ ผู้รับประโยชน์โดยอาศัยความทรงชีพ หรือมรณะของบุคคลคนหนึ่ง และในการนี้ผู้เอาประกันภัยตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย ให้แก่ผู้รับประกันภัย, สัญญาประกันชีวิต ก็เรียก. (ปาก) ก. ทําสัญญา ประกันชีวิต.
ประกันเชิงลา : (โบ) ก. ประกันตัวออกมาจากที่คุมขังได้เป็นคราว ๆ คราวละ ๓ วัน หรือ ๗ วัน.
ประกันภัย : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้รับ ประกันภัย ตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือใช้เงินจํานวนหนึ่ง ให้ในกรณีที่หากมีวินาศภัยขึ้น หรือในเหตุอย่างอื่นในอนาคตดัง ได้ระบุไว้ในสัญญา และการนี้บุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้เอา ประกันภัย ตกลงจะส่งเงินซึ่งเรียกว่า เบี้ยประกันภัย, สัญญา ประกันภัย ก็เรียก.
กรมธรรม์ประกันภัย : (กฎ) น. ตราสารที่มีลายมือชื่อของ ผู้รับประกันภัยและมีรายการแสดงวัตถุที่เอาประกันภัย จำนวนงินเอาประกันภัย ชื่อผู้เอาประกันภัย ชื่อผู้รับประกันภัย วันที่สัญญาเริ่มต้นและสิ้นสุด และอื่น ๆ ตามที่กฎหมายบังคับ ตลอดจนเงื่อนไขเกี่ยวกับประโยชน์ สิทธิ และหน้าที่ของ ผู้เอาประกันภัย และผู้รับประกันภัย, มักเรียกสั้น ๆ ว่า กรมธรรม์. (อ. policy of insurance).
ค้ำประกัน : (กฎ) น. ชื่อสัญญาซึ่งบุคคลภายนอกคนหนึ่ง เรียกว่า ผู้คํ้าประกัน ผูกพันตนต่อเจ้าหนี้คนหนึ่ง เพื่อชําระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชําระหนี้นั้น.
นายประกัน : ( น. ผู้รับประกันหรือคํ้าประกัน, ผู้รับผิดชอบชดใช้ค่าเสียหาย แทน.
เบี้ยประกันภัย : (กฎ) น. จํานวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องชําระ ให้แก่ผู้รับประกันภัยตามสัญญา เพื่อที่จะได้รับเงินผลประโยชน์ หรือค่าสินไหมทดแทน เมื่อตนเสียชีวิต หรือเมื่อได้รับความ เสียหายตามชนิดของภัยที่ได้เอาประกันภัยไว้.
ผู้รับประกันภัย : (กฎ) น. คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะใช้ค่าสินไหมทดแทน หรือใช้เงินจํานวนหนึ่งให้ตามสัญญาประกันภัย.
ผู้เอาประกันภัย : (กฎ) น. คู่สัญญาฝ่ายซึ่งตกลงจะส่งเบี้ยประกันภัย ตามสัญญาประกันภัย.
มารสังคม : [มาน-] น. ผู้ที่เป็นภัยต่อสังคม.
มูลประกันภัย : (กฎ) น. ราคาทรัพย์ที่กำหนดในการเอาประกันภัย.
รับประกัน : ก. ยืนยัน เช่น รับประกันว่าเขาเป็นคนซื่อ, รับรอง, รับใช้ ค่าเสียหาย, เช่น รับประกันคุณภาพ รับประกันซ่อมฟรี; (กฎ) รับรอง ว่าจะรับผิดแทนลูกหนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้ตามสัญญา.
สัญญาประกันชีวิต : (กฎ) ดู ประกันชีวิต.
สัญญาประกันภัย : (กฎ) ดู ประกันภัย.
หลักประกัน : น. หลักทรัพย์เพื่อความมั่นคง; สิ่งที่ยึดถือเพื่อความมั่นคง เช่น ถ้าไม่ใช่คนมั่งมี ก็ควรมีวิชาไว้เป็นหลักประกัน; (กฎ) เงินสดหรือ หลักทรัพย์ที่นํามาประกันตัวผู้ต้องหาหรือจําเลยหรือ ประกันการชําระหนี้.
จัดประกัน : ก. ทําให้แน่นอน.
ผัดวันประกันพรุ่ง : (สํา) ก. ขอเลื่อนเวลาออกไปครั้งแล้วครั้งเล่า.
ผู้ค้ำประกัน : น. ผู้ให้คำรับรองต่อเจ้าหนี้เพื่อชำระหนี้ในเมื่อลูกหนี้ ไม่ชำระหนี้นั้น; (กฎ) ผู้ที่ทำสัญญาผูกพันตนต่อเจ้าหนี้ เพื่อชำระ หนี้ในเมื่อลูกหนี้ไม่ชำระหนี้นั้น.
เอาหัวเป็นประกัน : (สำ) ก. รับรองด้วยความมั่นอกมั่นใจ.
สังคมนิยม : [สังคมมะ, สังคม] น. ทฤษฎีเศรษฐกิจและการเมือง ที่มี หลักการให้รัฐหรือส่วนรวมเป็นเจ้าของปัจจัยในการผลิต ตลอดจน การจําแนกแจกจ่าย และวางระเบียบการบริโภคผลผลิต.
สังคมวิทยา : [สังคมมะ, สังคม] น. วิชาว่าด้วยเรื่องสังคม.
สังคมศาสตร์ : [สังคมมะ, สังคม] น. ศาสตร์ว่าด้วยความรู้เกี่ยวกับ สังคม มีหมวดใหญ่ ๆ เช่น ประวัติศาสตร์ (เกี่ยวกับสังคม) มานุษยวิทยา สังคมวิทยา เศรษฐศาสตร์ รัฐศาสตร์ จิตวิทยาสังคม.
สังคมศึกษา : [สังคมมะ, สังคม] น. หมวดวิชาที่ประกอบด้วยวิชา ภูมิศาสตร์ ประวัติศาสตร์ หน้าที่พลเมือง และศีลธรรม.
ฐาน ๒, ฐาน, ฐานะ : [ถาน, ถานะ] น. ตําแหน่งหน้าที่; หลักฐาน, ลําดับความเป็นอยู่ใน สังคม เช่น ทุกคนยอมรับรู้ฐานะในสังคมของเขา. (ป.).
ต้นสังกัด : น. ส่วนราชการระดับสูงที่ข้าราชการนั้น ๆ สังกัดอยู่ เช่น สำนักงาน ตำรวจแห่งชาติเป็นต้นสังกัดของข้าราชการตำรวจทุกคน.
นิคมที่ดิน : น. ที่ดินที่รัฐจัดสรรให้ประชากรอพยพครอบครัวเข้าไปตั้งถิ่น ฐานเพื่อประกอบอาชีพและอยู่อาศัยอย่างเป็นระเบียบ โดยมีการวางแผน เพื่อพัฒนาพื้นฐานทางเศรษฐกิจ สังคม และวิชาชีพ รวมทั้งบริการ สาธารณูปโภคต่าง ๆ ไว้ล่วงหน้า.
ผังเมือง : (กฎ) น. แผนผัง นโยบาย และโครงการที่ใช้เป็นแนวทาง ในการสร้างหรือพัฒนาเมืองหรือส่วนของเมือง ในด้านสุขลักษณะ ความสะดวก สบายความเป็นระเบียบความสวยงาม การใช้ประโยชน์ ในทรัพย์สิน ความปลอดภัยของประชาชน และสวัสดิภาพของสังคม เพื่อส่งเสริมเศรษฐกิจ สังคม และสภาพแวดล้อม.
ล้างสมอง : ก. ทําให้บุคคลเปลี่ยนความคิดเห็นหรือความเชื่อถือ ของตนโดยเฉพาะในลัทธิการเมือง สังคม หรือศาสนาไปอย่าง สิ้นเชิง และยอมรับความคิดเห็นหรือความเชื่อใหม่โดยใช้วิธีการ ต่าง ๆ รวมทั้งอาจมีการทรมานจิตใจอย่างรุนแรง.
สถาบัน : [สะ] (สังคม) น. สิ่งซึ่งคนในส่วนรวม คือ สังคม จัดตั้งให้มีขึ้น เพราะเห็นประโยชน์ว่ามีความต้องการและจําเป็นแก่วิถีชีวิตของ ตน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันพระมหากษัตริย์ สถาบันการศึกษา สถาบันการเมือง สถาบันการเงิน. (ส.).
อัยการ : [ไอยะ] น. การของเจ้า; (โบ) ตัวบทกฎหมาย เรียกว่า พระอัยการ; (กฎ) ชื่อสำนักงานที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการดำเนินคดีอาญา ทั้งปวง ดำเนินคดีแพ่งและให้คำปรึกษาด้านกฎหมายแก่รัฐบาล และหน่วยงานของรัฐ คุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของประชาชน และอำนาจหน้าที่ตามที่กำหนดไว้ในกฎหมาย เรียกว่า สำนักงาน อัยการสูงสุด, เดิมเรียกว่า กรมอัยการ, ถ้าหมายถึงเจ้าพนักงาน ผู้ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะทนายแผ่นดินเพื่ออำนวยความยุติธรรม รักษาผลประโยชน์ของรัฐ และคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพของ ประชาชน เรียกว่า พนักงานอัยการ หรือ ข้าราชการอัยการ, เจ้าพนักงานผู้มีหน้าที่ฟ้องผู้ต้องหาต่อศาล ทั้งนี้ จะเป็นข้าราชการ ในสำนักงานอัยการสูงสุดหรือเจ้าพนักงานอื่นผู้มีอำนาจเช่นนั้น ก็ได้, โบราณเรียกว่า พนักงานรักษาพระอัยการ ยกกระบัตร หรือ ยกบัตร.
สังคมสงเคราะห์ : [สังคมสงเคฺราะ] น. การดําเนินงานเพื่อช่วยเหลือ บุคคลให้สามารถช่วยตนเองได้.
กฎธรรมดา : น. ข้อกําหนดระเบียบการปฏิบัติเนื่องจากธรรมดา วิสัยของมนุษย์และสังคม.
กรมธรรม์ : [กฺรมมะทัน] (กฎ; โบ) น. เอกสารซึ่งทาส ลูกหนี้ยินยอม ให้กรมการอำเภอทำให้ไว้แก่เจ้าหนี้นายเงิน, คำนี้เรียกเต็มว่า สารกรมธรรม์ หรือย่อว่า สารกรม, บางทีเรียกเพียงคำเดียวว่า กรม ก็มี เช่น กู้หนี้ถือสีนกันเข้าชื่อในกรมหลายคน. (สามดวง); กรมธรรม์ประกันภัย. (ส. กรฺม + ธรฺม).
กว้าง : [กฺว้าง] น. ด้านสั้นที่คู่กับด้านยาว. ว. ไม่แคบ, แผ่ออกไป. กว้างขวาง ก. แผ่ออกไปมาก, ใหญ่โต, เช่น มีเนื้อที่กว้างขวาง; เผื่อแผ่ เช่น มีน้าใจกว้างขวาง, รู้จักคนมากและมีคนรู้จักมาก เช่น กว้างขวางในสังคม.
กวีนิพนธ์ : น. คําประพันธ์ที่กวีแต่ง. [กะสะหฺนะ] (กลอน) น. ครู่, ครั้ง, คราว. (ส.; ป. ขณ). [กะสะ-] (แบบ) น. ความอดกลั้น, ความอดโทษ, เช่น พระกษมาเสมอหล้า สี่แดน. (ยวนพ่าย). ก. กล่าวคําขอโทษ, โดยมากใช้ว่า ษมา. (ส. กฺษมา; ป. ขมา). [กะสะ-] (แบบ) น. แผ่นดิน. (ส. กฺษฺมา; ป. ฉมา). [กะสัด] (โบ) น. พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้านาย. (ส. กฺษตฺร; ป. ขตฺต). [กะสัดตฺรา] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น คือพรหมทัตกษัตรา. (กฤษณา). กษัตราธิราช น. พระเจ้าแผ่นดิน. [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่๔วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ, ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
กษัตริย์ : [กะสัด] น. พระเจ้าแผ่นดิน, ใช้เต็มว่า พระมหากษัตริย์, คนในวรรณะที่ ๒ แห่งสังคมฮินดู ซึ่งมีอยู่๔วรรณะ ได้แก่ วรรณะพราหมณ์ วรรณะกษัตริย์ วรรณะแพศย์ และวรรณะศูทร. (ส. กฺษตฺริย ว่า ผู้ป้องกันภัย, ชาตินักรบ, ป. ขตฺติย). ว. แท้ไม่มีอื่นปน เช่น ทองเนื้อกษัตริย์, เรียกรูปพรรณที่ทําด้วยโลหะมีราคา เช่น ถ้าทําด้วยเงิน ทอง นาก สลับกัน เรียกว่า สามกษัตริย์.
กอล์ฟ :
[กฺวาง] น. (๑) ชื่อปลางัวบางชนิดในวงศ์ Triacanthidae, Monacanthidae และ Balistidae. (ดู งัว๕ ประกอบ). (๒) ปลาม้า. (ดู ม้า๓). [กฺว่าง] น. ชื่อด้วงปีกแข็งชนิด Xylotrupes gideon ในวงศ์ Dynastidae ตัวมีสีตั้งแต่สีน้ำตาลอมแดงจนถึงเกือบดำ ตัวผู้ที่มีขนาดใหญ่เรียกว่า กว่างโซ้ง หรือ กว่างชน มีเขาที่หลังอก ยื่นยาวเป็นจะงอยเรียวไปทางด้านหน้าและโค้งลง ตรงปลายเป็น ๒ แฉก กับที่หัวมีเขาเล็กยื่นออกไปเป็นเขาเดี่ยว โค้งขึ้นคล้ายนอแรด แต่ปลายแยกเป็น ๒ แฉก ตัวผู้ที่มีขนาดย่อมมีเขาสั้นเรียก กว่างกิ หรือ กว่างแซม ตัวเมียไม่มีเขาเรียก กว่างแม่ หรือ กว่างอีลุ่ม, อาจเรียกแมลงปีกแข็งชนิดอื่นที่มีเขาว่าแมงกว่าง หรือ แมงกวาง เช่นกัน. [กฺว้าง] น. ด้านสั้นที่คู่กับด้านยาว. ว. ไม่แคบ, แผ่ออกไป. กว้างขวาง ก. แผ่ออกไปมาก, ใหญ่โต, เช่น มีเนื้อที่กว้างขวาง, เผื่อแผ่ เช่น มีน้าใจกว้างขวาง, รู้จักคนมากและมีคนรู้จักมาก เช่น กว้างขวางในสังคม.
การคลัง : น. การจัดการเงิน, การคลังแผ่นดิน หรือ การคลังสาธารณะ คือ การจัดการเงินของประเทศ, การคลังเอกชน คือ การจัดการ เงินของบุคคล เช่น บริษัท; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับ การเงินแผ่นดิน ภาษีอากร การรัษฎากร กิจการเกี่ยวกับที่ราชพัสดุ กิจการอันกฎหมายบัญญัติให้เป็นการผูกขาดของรัฐ กิจการหารายได้ ซึ่งรัฐมีอํานาจดําเนินการได้แต่ผู้เดียวตามกฎหมาย และไม่อยู่ในอํานาจ หน้าที่ของกระทรวง ทบวง กรมอื่น และกิจการซึ่งจะเป็นสัญญา ผูกพันต่อเมื่อรัฐบาลได้ให้อํานาจหรือให้สัตยาบัน รวมทั้งการค้า ประกันหนี้ของส่วนราชการ องค์การของรัฐ สถาบันการเงิน และรัฐวิสาหกิจ.
เก็บตัว ๒, เก็บเนื้อเก็บตัว : ก. สงวนตัวไม่ไปงานสังคม, ไม่ออกสังคม, ไม่คบหาสมาคมกับใคร.
แก่ ๑ : ว. มีอายุมาก เช่น แก่ไปทุกวัน ไม้แก่ เด็กคนนี้แก่กว่าเด็กคนนั้น, อยู่ในวัยชรา เช่น คนแก่ หญิงแก่, จัด เช่น เหลืองแก่ แก่เปรี้ยว แก่หวาน; โดยปริยายหมายความว่า จัดเจน หนัก หรือยิ่งไปในทางนั้น เช่น แก่สังคม แก่วิชา แก่เหล้า แก่เล่น แก่ไฟ.
ข้าราชการอัยการ :
(กฎ) น. ข้าราชการผู้มีอำนาจและหน้าที่ในการ ดำเนินคดีตามกฎหมายซึ่งบัญญัติว่าเป็นอำนาจและหน้าที่ของพนักงาน อัยการ, ถ้ารวมถึงข้าราชการธุรการในสำนักงานอัยการสูงสุดด้วย เรียกว่า ข้าราชการฝ่ายอัยการ. (ดู อัยการ).
คณาธิปไตย : [คะนาทิปะไต, คะนาทิบปะไต] น. ระบอบการปกครอง แบบหนึ่ง ซึ่งปกครองโดยคณะบุคคลจํานวนน้อยของสังคม มักได้แก่ กลุ่มผู้อาวุโส กลุ่มทหาร หรือ กลุ่มปฏิวัติ. (ป. คณ + อธิปเตยฺย).
ครอบครัว : [คฺรอบคฺรัว] น. สถาบันพื้นฐานของสังคมที่ประกอบด้วยสามีภรรยา และหมายความรวมถึงลูกด้วย.
คหกรรมศาสตร์ : [คะหะกํามะสาด] น. วิชาที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ โดยมุ่งพัฒนาครอบครัว ด้วยการจัดการทรัพยากรบุคคล วัสดุและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาอาชีพ และเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ความมั่นคงของสถาบันครอบครัวและสังคม.
คอมมิวนิสต์ : น. ระบบเศรษฐกิจการเมืองและสังคมแบบหนึ่งของลัทธิสังคมนิยม ที่มีอุดมการณ์ให้รวมทรัพย์สินทั้งปวงเป็นสมบัติส่วนกลางของชุมชน ไม่ให้มีกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล และให้จัดสรรรายได้แก่บุคคลอย่าง เสมอภาคกัน ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ยากของคนในสังคมอันเป็น ผลจากความไม่เสมอภาคในทรัพย์สิน, ผู้ที่นิยมระบบคอมมิวนิสต์. ว. เกี่ยวกับระบบคอมมิวนิสต์. (อ. communism, communist).
ค่านิยม : น. สิ่งที่บุคคลหรือสังคมยึดถือเป็นเครื่องช่วยตัดสินใจ และ กำหนดการกระทำของตนเอง.
ค้ำเงิน : (กฎ; โบ) ก. คํ้าประกันเงินกู้, พระไอยการลักษณะกู้หนี้เรียก บุคคลซึ่งคํ้าประกันเงินกู้ว่า ผู้คํ้าเงิน.