Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หน่าย , then หนาย, หน่าย .

Royal Institute Thai-Thai Dict : หน่าย, 42 found, display 1-42
  1. หน่าย : ก. เบื่อ, จืดจาง, คลายจากความพัวพัน, คลายจากความรัก, มักใช้เข้าคู่กับคำ เบื่อ เป็น เบื่อหน่าย.
  2. หน่ายแหนง : [หฺน่ายแหฺนง] ก. ระอาเพราะหมางใจหรือแคลงใจเป็นต้น, แหนงหน่าย ก็ว่า.
  3. หน่ายหนี : ก. จากไปเพราะเบื่อหรือทนไม่ไหวเป็นต้น.
  4. แหนงหน่าย : [แหฺนงหฺน่าย] ก. ระอาเพราะหมางใจหรือแคลงใจเป็นต้น, หน่ายแหนง ก็ว่า.
  5. มุหน่าย : น. นํ้ามันตานี หรือนํ้ามันเหนียว เป็นเครื่องหอมสําหรับใส่ผม, นํ้ามันตานีที่ผสมกับเขม่าและปูน, นํ้ามันหอมเป็นเครื่องเจิม.
  6. เหนื่อยหน่าย : ก. รู้สึกอิดหนาระอาใจ.
  7. กรรมสิทธิ์ : [กํามะสิด] น. ความเป็นเจ้าของทรัพย์; (กฎ) สิทธิ ทั้งปวงที่ผู้เป็นเจ้าของมีอยู่เหนือทรัพย์สิน อันได้แก่ สิทธิใช้สอย จําหน่าย ได้ดอกผล กับทั้งสิทธิติดตามและเอาคืนซึ่งทรัพย์สิน ของตน และสิทธิขัดขวางมิให้ผู้อื่นสอดเข้าเกี่ยวข้องกับทรัพย์สิน นั้นโดยมิชอบด้วยกฎหมาย. (ส. กรฺม + สิทฺธิ = ความสำเร็จ; ป. กมฺมสิทฺธิ).
  8. กักตุน : ก. เก็บสินค้าไว้เป็นจํานวนมากเพื่อเก็งกําไร, ตุน ก็ว่า. (กฎ) น. มีโภคภัณฑ์ไว้ในครอบครองเกินปริมาณที่จําเป็นสําหรับ ใช้จ่ายส่วนตัว และไม่นําออกจําหน่ายตามวิถีทางการค้าปรกติ.
  9. กินแบ่ง : น. เรียกสลากที่จําหน่ายแก่ผู้ถือเพื่อรับรางวัลในการเสี่ยงโชค โดยผู้จําหน่ายหักส่วนลดเป็นกําไรว่า สลากกินแบ่ง.
  10. ของเก่า : น. ของโบราณ, ของใช้แล้ว; (กฎ) ทรัพย์ที่ผู้ค้าของเก่าเป็น อาชีพเสนอขาย แลกเปลี่ยน หรือจําหน่ายโดยประการอื่นอย่างทรัพย์ ที่ใช้แล้ว ทั้งนี้ รวมถึงของโบราณด้วย.
  11. ของร้อน : น. ของที่มีผู้ขโมยเขาเอามาฝากไว้หรือจําหน่ายให้ ถ้ารับ เอาไว้จะทําให้เดือดร้อน; ของที่ผิดกฎหมาย ถ้ามีไว้ในครอบครอง จะทําให้เดือดร้อน เช่น ปืนเถื่อน ฝิ่นเถื่อน.
  12. จำหน่าย : ก. ขาย, จ่าย, แจก, แลกเปลี่ยน, โอน; เอาออก เช่น จําหน่ายจากบัญชี. (แผลงมาจาก จ่าย).
  13. เจ้าของ : น. (กฎ) ผู้มีกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน; ผู้มีสิทธิครอบครอง ใช้สอย เก็บผลประโยชน์ และจําหน่ายทรัพย์สิน.
  14. เดินตลาด : ก. วิ่งเต้นจําหน่ายสินค้า, เที่ยวเสาะแสวงหาแหล่งจําหน่ายสินค้า.
  15. ตลาด : [ตะหฺลาด] น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ; (กฎ) สถานที่ซึ่งปรกติจัดไว้ให้ ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรือ อาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจําหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความ รวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สําหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้า ประเภทดังกล่าวเป็นประจําหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กําหนด.
  16. ทุนจดทะเบียน : (กฎ) น. จํานวนเงินทุนของบริษัทที่ได้จดทะเบียน ไว้ตามกฎหมายและได้กําหนดไว้ในหนังสือบริคณฑ์สนธิของบริษัท โดยแยกออกเป็นหุ้นพร้อมทั้งระบุมูลค่าหุ้นที่ตราไว้ และจํานวน สูงสุดของหุ้นที่จะออกจําหน่ายได้. (อ. authorized capital).
  17. ทุ่มตลาด : ก. นําสินค้าจํานวนมากออกขายในราคาที่ตํ่ากว่าราคา ปรกติ; (กฎ) นําสินค้าเข้ามาจําหน่ายในประเทศในราคาที่ตํ่ากว่า ราคาปรกติของสินค้านั้น อันก่อหรืออาจก่อให้เกิดความเสียหาย แก่กิจการอุตสาหกรรมภายในประเทศ. (อ. dumping).
  18. นิพพิทา : [นิบพิทา] น. ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์. (ป.).
  19. นิพพิทาญาณ : น. ความรู้ที่ทําให้เบื่อหน่ายในกองทุกข์. (ป.).
  20. เบื่อ ๒ : ก. รู้สึกอิดหนาระอาใจ เหนื่อยหน่าย หรือไม่อยาก เช่น เบื่องาน เบื่อโลก เบื่ออาหาร.
  21. ประปา : น. นํ้าที่เกรอะกรองให้สะอาดปราศจากเชื้อโรคแล้วจ่ายไปให้ ประชาชนบริโภคใช้สอย เรียกว่า นํ้าประปา, เรียกรัฐวิสาหกิจ ซึ่งมีหน้าที่จัดทําและจําหน่ายนํ้าประปาว่า การประปา, เรียกสิ่ง อื่น ๆ ที่เกี่ยวกับการนี้ เช่น ก๊อกประปา ท่อประปา. (ส. ปฺรปา; ป. ปปา).
  22. ผาติกรรม : น. การทําให้เจริญ, ใช้ในวินัยว่า การจําหน่ายครุภัณฑ์ เพื่อประโยชน์สงฆ์อย่างใดอย่างหนึ่ง โดยเอาของเลวแลกเปลี่ยน เอาของดีกว่าให้แก่สงฆ์ หรือเอาของของตนถวายสงฆ์เป็นการ ทดแทนที่ตนทําของสงฆ์ชํารุดไปบ้าง, รื้อของที่ไม่ดีออกเสียทํา ให้ใหม่ดีกว่าของเก่า เช่น เอาที่วัดไปทําอย่างอื่นแล้วสร้างวัด ถวายใหม่เป็นการชดใช้.
  23. ภัตตาคาร : น. อาคารที่จําหน่ายอาหารและเครื่องดื่ม ค่อนข้างใหญ่และ หรูหรา. (ป. ภตฺต + อคาร).
  24. ภาษีมูลค่าเพิ่ม : (กฎ) น. ภาษีทางอ้อมประเภทหนึ่งที่เรียกเก็บจากบุคคล ที่ซื้อสินค้าหรือรับบริการ โดยจัดเก็บเฉพาะจากมูลค่าส่วนที่เพิ่มขึ้นใน แต่ละขั้นตอนของการผลิต การจําหน่าย หรือการให้บริการ ตัวอย่างเช่น ซื้อวัตถุดิบ วัสดุอุปกรณ์มา ๑๐๐ บาท ผลิตเป็นสินค้าขายในราคา ๑๕๐ บาท ดังนี้ ก็จะเก็บภาษีมูลค่าเพิ่มเฉพาะผลต่างจํานวน ๕๐ บาท เท่านั้น. (อ. value-added tax).
  25. เมื่อพีเนื้อหอม เมื่อผอมเนื้อเหม็น : (สํา) น. เวลารวยคนมาห้อมล้อม ประจบประแจง เวลาจนคนพากันหน่ายหนี.
  26. ระอมระอา : (กลอน) ก. เบื่อหน่ายเต็มที.
  27. ระอา : ก. เบื่อหน่ายหรือหมดกําลังใจเพราะถูกรบกวน, ทําให้เกิดรําคาญหรือ มีเหตุติดขัดบ่อย ๆ, ระอิดระอา ก็ว่า.
  28. รำคาญ : ก. ระคายเคือง เช่น รำคาญหู รำคาญตา รำคาญเนื้อ รำคาญตัว; เบื่อ เช่น ทำสวนครัวแก้รำคาญ; ทำให้เดือดร้อน, เบื่อหน่าย, เช่น เสียงทะเลาะกัน ทำให้รำคาญ.
  29. รำคาญใจ : ก. ถูกรบกวนจุกจิกจนเบื่อหน่าย เช่น น้อง ๆ มาเซ้าซี้เขาให้ พาไปเที่ยวบ่อย ๆ จนเขารำคาญใจ.
  30. วิราคะ : น. ความปราศจากราคะ, ความหน่าย, ความไม่ไยดี; พระนิพพาน. (ป., ส.).
  31. แววตา : น. สิ่งเป็นเยื่อบาง มีลักษณะใสเป็นแสงวาวดั่งแก้ว หุ้มด้านนอกของดวงตา, ความรู้สึกที่ปรากฏออกทางตาทำให้รู้ว่า รักหรือเกลียดเป็นต้น เช่น ดูแววตาก็รู้ว่ารักหรือชังใบหน้าและแวว ตาปรากฏความเบื่อหน่าย; โดยปริยายหมายความว่า เป็นยอดรัก ประดุจดวงตา เช่น โอ้พ่อพลายแก้วแววตา มรณาแน่แล้วฤๅอย่างไร. (ขุนช้างขุนแผน).
  32. เศรษฐกิจ : [เสดถะกิด] น. งานอันเกี่ยวกับการผลิต การจําหน่าย จ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชน. (ส. เศฺรษฺ? + กิจฺจ).
  33. เศรษฐศาสตร์ : [เสดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการผลิต การจําหน่าย จ่ายแจก และการบริโภคใช้สอยสิ่งต่าง ๆ ของชุมชนมี ๒ สาขา คือ เศรษฐศาสตร์จุลภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจส่วนเอกชน หรือ ปัญหาการหาตลาดเป็นต้น และ เศรษฐศาสตร์มหัพภาค ได้แก่ เศรษฐศาสตร์ภาคที่ศึกษาปัญหา เศรษฐกิจของประเทศโดยส่วนรวม เช่น ปัญหาเรื่องรายได้ของ ประชาชาติ การออมทรัพย์ของประชากร ปัญหาการลงทุน.
  34. สยิ้ว : [สะยิ่ว] ก. ทําหน้านิ่วคิ้วขมวดแสดงความไม่พอใจหรือเบื่อหน่าย ในคำว่า สยิ้วหน้า สยิ้วพระพักตร์.
  35. สลากกินรวบ : น. สลากชนิดที่จําหน่ายแก่ผู้ถือเพื่อรับสิ่งของเป็น รางวัลในการเสี่ยงโชคโดยผู้จําหน่ายรวบเงินค่าสลากไว้ทั้งหมด.
  36. หงิก : ว. งอที่ปลาย เช่น มือหงิก คือ มือเหยียดนิ้วไม่ออก, ใบไม้หงิก คือ ใบไม้ ปลายงอ; โดยปริยายหมายความว่า อาการที่เหนื่อยหน่ายเนื่องจากถูกดุ ถูกใช้ หรือทำงานหนักมากเป็นต้น เช่น ถูกแม่ดุเสียหงิกไปเลย, อาการ ที่ถูกว่าย้อนกลับมาจนเสียหน้า.
  37. หน้าบูด : ว. มีสีหน้าแสดงอาการเบื่อหน่ายหรือไม่พอใจ เช่น เขาทำหน้าบูด เพราะเจอเรื่องที่ไม่สบอารมณ์, หน้าบูดหน้าเบี้ยว หรือ หน้าเบี้ยวหน้าบูด ก็ว่า.
  38. ห้าง ๒ : น. สถานที่จําหน่ายสินค้า, สถานที่ประกอบธุรกิจ. (จ.).
  39. เหม็นเบื่อ : ก. เบื่อหน่ายเพราะจําเจ.
  40. อายัด : (กฎ) ก. ห้ามจําหน่ายจ่ายโอนทรัพย์สินหรือสิทธิเรียกร้อง.
  41. อิดหนาระอาใจ : ก. เบื่อหน่าย, เอือมระอา.
  42. เอือม : ว. เบื่อหน่ายในสิ่งที่ซํ้า ๆ ซาก ๆ มากเกินไป.
  43. [1-42]

(0.0644 sec)