Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: หน่าย , then หนาย, หน่าย .

Eng-Thai Lexitron Dict : หน่าย, more than 7 found, display 1-7
  1. cheese off : (PHRV) ; รู้สึกเบื่อหน่าย (มักใช้รูป passive voice) ; Related:เหนื่อยหน่าย, เฉื่อยชา ; Syn:brown off, feed up, tire of
  2. tediousness : (N) ; ความน่าเบื่อหน่าย ; Related:ความน่าเหนื่อยหน่าย, ความจืดชืด ; Syn:tedium, dearth, dullness
  3. weary : (VT) ; ทำให้เบื่อหน่าย ; Related:ทำให้เหนื่อยหน่าย, ทำให้เหนื่อยใจ, ทำให้อ่อนใจ
  4. heigh-ho : (INT) ; คำอุทานแสดงความเหนื่อยล้า เบื่อหน่าย ผิดหวัง ฯลฯ
  5. Eng-Thai Lexitron Dict : หน่าย, more results...

Thai-Eng Lexitron Dict : หน่าย, more than 7 found, display 1-7
  1. หน่ายแหนง : (V) ; detest ; Syn:แหนงหน่าย, เบื่อหน่าย ; Def:เบื่อเพราะหมางใจ ; Samp:พออยู่ด้วยกันนานเข้าที่เคยซึ้งใจก็กลับเป็นหน่ายแหนง
  2. หน่ายหนี : (V) ; shun ; Related:evade, eschew ; Def:หลบไปเพราะทนไม่ได้, จากไปเพราะเบื่อ ; Samp:ต่อให้เธอไปอยู่ที่ไหนก็จะอาสาตามไปทุกที่ เพราะรักเธอแน่วแน่ ความรู้สึกก็ไม่เปลี่ยนแปลง หน่ายหนี
  3. เบื่อหน่าย : (V) ; be bored with ; Related:be tired of, be fed up with, be weary of, be sick of, irk ; Syn:ระอา, เบื่อ, ระอิดระอา, อิดหนาระอาใจ, เหนื่อยหน่าย ; Def:เบื่อหน่ายหรือหมดกำลังใจ เพราะถูกรบกวนทำให้เกิดรำคาญหรือมีเหตุติดขัดบ่อยๆ ; Samp:ประชาชนเบื่อหน่ายเต็มทนกับระบบนี้ ไม่ต้องการจะยุ่งเกี่ยวอะไรทั้งสิ้น
  4. เบื่อหน่าย : (ADV) ; tediously ; Related:monotonously, wearily, tiresomely ; Syn:ระอา, เบื่อ, ระอิดระอา, อิดหนาระอาใจ, เหนื่อยหน่าย ; Def:เบื่อหน่ายหรือหมดกำลังใจ เพราะถูกรบกวนทำให้เกิดรำคาญหรือมีเหตุติดขัดบ่อยๆ ; Samp:นางได้แต่มองการกระทำของลูกชายอย่างเบื่อหน่าย
  5. ความเบื่อหน่าย : (N) ; boredom ; Related:ennui, tiresomeness ; Syn:ความเบื่อ, ความแหนงหน่าย, ความเหนื่อยหน่าย ; Samp:เขาเริ่มเกิดความเบื่อหน่ายในงานที่ทำอยู่
  6. ความเหนื่อยหน่าย : (N) ; boredom ; Related:monotony, tedium ; Syn:ความเบื่อหน่าย ; Def:การที่หมดความพอใจ ; Samp:คนในวัยผู้ใหญ่มักจะเกิดความเหงาและความเหนื่อยหน่ายในช่วงปลายชีวิต
  7. เหนื่อยหน่าย : (V) ; be bored ; Related:be tired of, be uninterested, be fed up with, be sick of, be weary of ; Syn:เบื่อหน่าย, เอือมระอา, เบื่อ, เซ็ง ; Def:หมดความพอใจ ; Samp:ผมเริ่มรู้สึกเหนื่อยหน่ายกับสภาพแวดล้อมที่เผชิญอยู่
  8. Thai-Eng Lexitron Dict : หน่าย, more results...

Royal Institute Thai-Thai Dict : หน่าย, more than 5 found, display 1-5
  1. หน่าย : ก. เบื่อ, จืดจาง, คลายจากความพัวพัน, คลายจากความรัก, มักใช้เข้าคู่กับคำ เบื่อ เป็น เบื่อหน่าย.
  2. หน่ายแหนง : [หฺน่ายแหฺนง] ก. ระอาเพราะหมางใจหรือแคลงใจเป็นต้น, แหนงหน่าย ก็ว่า.
  3. หน่ายหนี : ก. จากไปเพราะเบื่อหรือทนไม่ไหวเป็นต้น.
  4. แหนงหน่าย : [แหฺนงหฺน่าย] ก. ระอาเพราะหมางใจหรือแคลงใจเป็นต้น, หน่ายแหนง ก็ว่า.
  5. มุหน่าย : น. นํ้ามันตานี หรือนํ้ามันเหนียว เป็นเครื่องหอมสําหรับใส่ผม, นํ้ามันตานีที่ผสมกับเขม่าและปูน, นํ้ามันหอมเป็นเครื่องเจิม.
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : หน่าย, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : หน่าย, 9 found, display 1-9
  1. นิพพิทา : ความหน่าย หมายถึงความหน่ายที่เกิดขึ้นจากปัญญาพิจารณาเห็นความจริง ถ้าหญิงชายอยู่กินกันเกิดหน่ายกัน เพราะความประพฤติไม่ดีต่อกัน หรือหน่ายในมรรยาทของกันและกัน อย่างนี้ไม่จัดเป็นนิพพิทา; ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์
  2. นิพพิทาญาณ : ความรู้ที่ทำให้เบื่อหน่ายในกองทุกข์, ปรีชาหยั่งเห็นสังขาร ด้วยความหน่าย ดู วิปัสสนาญาณ
  3. นิพพิทานุปัสสนาญาณ : ปรีชาคำนึงถึงสังขารด้วยความหน่าย เพราะมีแต่โทษมากมาย แต่ไม่ใช่ทำลายตนเองเพราะเบื่อสังขาร เรียกสั้นว่า นิพพิทาญาณ
  4. ภัททกาปิลานี : พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาพราหมณ์โกสิยโคตรในสาคลนครแห่งมัททรัฐ (คัมภีร์อปทานว่าไว้ชัดดังนี้ แต่อรรถกถาอังคุตตรนิกายคลาดเคลื่อนเป็นแคว้นมคธ) พออายุ ๑๖ ปี ได้สมรสกับปิปผลิมาณพ (พระมหากัสสปะ) ต่อมามีความเบื่อหน่ายในฆราวาส จึงออกบวชเป็นปริพาชิกา เมื่อพระมหาปชาบดีผนวชเป็นภิกษุณีแล้ว นางได้มาบวชอยู่ในสำนักของพระมหาปชาบดี เจริญวิปัสสนากัมมัฏฐานด้วยความไม่ประมาท ได้บรรลุพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางปุพเพนิวาสานุสสติ เรียกภัททากาปิลานี บ้าง ภัททากปิลานีบ้าง
  5. มุญจิตุกัมยตาญาณ : ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย, ความหยั่งรู้ที่ทำให้ต้องการจะพ้นไปเสีย คือ ต้องการจะพ้นไปเสียจากสังขารที่เบื่อหน่ายแล้ว ด้วยนิพพิทานุปัสสนาญาณ (ข้อ ๖ ในวิปัสสนาญาณ ๙)
  6. ยส : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีมีความเป็นอยู่อย่างสุขสมบูรณ์ วันหนึ่งเห็นสภาพในห้องนอนของตน เป็นเหมือนป่าช้า เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่าย จึงออกจากบ้านไปพบพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาอนุปุพพีกถา และอริยสัจโปรด ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม ต่อมาได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่เศรษฐีบิดาของตน ก็ได้บรรลุอรหัตตผลแล้วขออุปสมบท เป็นภิกษุสาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้า
  7. ยสะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรเศรษฐีเมืองพาราณสีมีความเป็นอยู่อย่างสุขสมบูรณ์ วันหนึ่งเห็นสภาพในห้องนอนของตน เป็นเหมือนป่าช้า เกิดความสลดใจคิดเบื่อหน่าย จึงออกจากบ้านไปพบพระพุทธเจ้าที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน ในเวลาใกล้รุ่ง พระพุทธเจ้าตรัสเทศนาอนุปุพพีกถา และอริยสัจโปรด ยสกุลบุตรได้ดวงตาเห็นธรรม ต่อมาได้ฟังธรรมที่พระพุทธเจ้าแสดงแก่เศรษฐีบิดาของตน ก็ได้บรรลุอรหัตตผลแล้วขออุปสมบท เป็นภิกษุสาวกองค์ที่ ๖ ของพระพุทธเจ้า
  8. วิปัสสนาญาณ : ญาณที่นับเข้าในวิปัสสนาหรือญาณที่จัดเป็นวิปัสสนามี ๙ อย่าง คือ ๑.อุทยัพพยานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นความเกิดและความดับแห่งนามรูป ๒.ภังคานุปัสสนาญาณ ญาณตามเห็นจำเพาะความดับเด่นขึ้นมา ๓.ภยตูปัฏฐานญาณ ญาณอันมองเห็นสังขารปรากฏเป็นของน่ากลัว ๔.อาทีนวานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นโทษ ๕.นิพพิทานุปัสสนาญาณ ญาณคำนึงเห็นด้วยความหน่าย ๖.มุจจิตุกัมยตาญาณ ญาณหยั่งรู้อันให้ใคร่จะพ้นไปเสีย ๗.ปฏิสังขานุปัสสนาญาณ ญาณอันพิจารณาทบทวนเพื่อจะหาทาง ๘.สังขารุเปกขาญาณ ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร ๙.สัจจานุโลมิกญาณ ญาณเป็นไปโดยควรแก่การหยั่งรู้อริยสัจ
  9. สังขารุเปกขาญาณ : ปรีชาหยั่งรู้ถึงขั้นเกิดความวางเฉยในสังขาร, ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร, ญาณอันเป็นไปโดยความเป็นกลางต่อสังขาร คือรู้เท่าทันสภาวะของสังขารว่าที่ไม่เที่ยงเป็นทุกข์เป็นต้นนั้น มันเป็นไปของมันอย่างนั้นเป็นธรรมดา จึงเลิกเบื่อหน่าย เลิกคิดหาทางแต่จะหนี วางใจเป็นกลางต่อมันได้เลิกเกี่ยวเกาะและให้ญาณแล่นมุ่งสนิพพานอย่างเดียว (ข้อ ๘ ในวิปัสสนาญาณ ๙)

ETipitaka Pali-Thai Dict : หน่าย, 9 found, display 1-9
  1. นิพฺพินฺท : (วิ.) เบื่อ, หน่าย, เบื่อหน่าย, จืด จาง. นิปุพฺโพ, วิทฺ ตุฏฐยํ, อ. นิคฺคหิตาคโม.
  2. ปฏิกุฏติ : ก. งอ, โก่ง, บิด, หด, กระตุก; ถอยกลับ, หน่าย
  3. นิพฺพิทาญาณ : (นปุ.) ความรู้ในความเบื่อ หน่าย, นิพพิทาญาณ คือความรู้ทำให้ เกิดความเบื่อหน่ายในกองทุกข์.
  4. กิสฺสติ : ก. ผอม, อ่อนเพลีย, ล้า, เบื่อหน่าย
  5. นิพฺพิชฺช : ค. เบื่อหน่ายแล้ว
  6. นิพฺพิชฺชติ : ก. เบื่อหน่าย, เหนื่อยหน่าย, ท้อใจ
  7. นิพฺพิณฺณ : (ปุ.) ความเบื่อ, ความหน่าย, ความเบื่อหน่าย, ความเบื่อหน่ายในวัฏฏะ, ความจืดจาง. นิปุพฺโพ, วิทฺ ติฏฐยํ, โต.
  8. นิพฺพินฺทติ : ก. เบื่อหน่าย, เหนื่อยหน่าย, ท้อใจ
  9. อภินิพฺพิทา : อิต. ความเบื่อหน่ายโลก

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : หน่าย, 1 found, display 1-1
  1. สึก, ลาสิกขา : อุปพฺพชติ, วิพฺภมติ, หีนาย อาวตฺตติ, อุปฺปพฺพชิตฺวา, วิพฺภมิตฺวา

(0.0999 sec)