หรอ : [หฺรอ] ก. สึกเข้าไป, กร่อนเข้าไป, ในคําว่า สึกหรอ ร่อยหรอ.
หรอย ๆ : ว. ต้อย ๆ, หย็อย ๆ, (ใช้แก่กิริยาที่เด็กวิ่ง).
ร่อยหรอ : ก. ค่อยหมดไป, หมดไปสิ้นไปทีละน้อย, เช่น เงินทองร่อยหรอ.
กระหรอด :
[-หฺรอด] น. นกกรอด. (ดู ปรอด).
เห่เรือ : น. ทํานองที่ใช้ร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่งในกระบวนพยุหยาตรา ทางชลมารค.
กร่อน : ก. หมดไปสิ้นไปทีละน้อย, ร่อยหรอ, สึกหรอ.
กระโฉม : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Limnophila rugosa Merr. ในวงศ์ Scrophulariaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นแฉะ ลําต้นและกิ่งอวบน้ำ สีม่วง ใบรูปไข่ ค่อนข้างหนา ด้านล่างมีขนขอบหยักห่าง ๆ ก้านใบแบน ๆ โคนก้านโอบกิ่งหรือลําต้น ดอกเล็ก ๆ สีม่วงแกม ชมพู กลางเหลือง ออกเป็นกระจุกที่ง่ามใบหรือปลายกิ่ง ทุกส่วน ของไม้นี้มีกลิ่นหอม ใช้เป็นอาหาร และใช้ทํายาได้, ผักโฉม ก็เรียก เช่น ผักโฉมชื่อเพราะพร้อง เป็นโฉมน้องฤๅโฉมไหน. (เห่เรือ).
ฉวยฉาบ : (กลอน) ก. จิกหรือหยิบแล้วบินหรือพาไป เช่น ฉวยฉาบคาบนาคี เป็นเหยื่อ. (เห่เรือ).
ช่อม่วง : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง. (เห่เรือ); ชื่อดอกไม้ไฟชนิดหนึ่ง.
ชะวาด : น. ชื่อปลาชนิดหนึ่ง เช่น ชะวาดแอบแปบปนปลอม. (เห่เรือ).
ชะแวง : น. ชื่อปลาชนิดหนึ่ง เช่น ชะแวงแฝงฝั่งแนบ. (เห่เรือ).
เซาะ : ก. ทําให้กร่อนหรือร่อยหรอเข้าไปทีละน้อย เช่น นํ้าเซาะตลิ่ง เซาะรูให้กว้าง. น. ซอกเขาเล็ก ๆ ที่นํ้าเซาะให้เป็นทางลงมา.
ปรอด : [ปะหฺรอด] น. ชื่อนกขนาดเล็กในวงศ์ Pycnonotidae สีเหลืองหม่น กินผลไม้และแมลง มีหลายชนิด เช่น ปรอดสวน (Pycnonotus blanfordi) ปรอดหน้านวล (P. goiavier), กรอด ก็เรียก, บางทีเขียน เป็น กระหรอด หรือ กะหรอด.
หยับ, หยับ ๆ : ว. อาการที่เคี้ยวเนิบ ๆ เช่น คนแก่เคี้ยวหมากหยับ ๆ; อาการขึ้นลงเนิบ ๆ เช่น พายอ่อนหยับจับงามงอน (เห่เรือ); อาการที่หัวเรือโต้คลื่นเหยิบ ๆ.
เห่ : น. ทำนองที่ใช้ร้องในบางพระราชพิธี, ถ้าใช้ร้องเมื่อเวลาพายเรือพระที่นั่ง ในกระบวนพยุหยาตราทางชลมารค เรียกว่า เห่เรือ, ถ้าใช้ร้องในพระราชพิธี ขึ้นพระอู่พระเจ้าลูกเธอ เรียกว่า เห่กล่อม; คำสั่งที่เขียนไว้ในวงเล็บท้าย บทเพลงเพื่อให้นักดนตรี นักร้อง และ นักแสดงปฏิบัติตาม. ก. กล่อม เช่น เห่ลูก. ว. เสียงอย่างกล่อมลูก.
แห ๓ : (วรรณ) ว. ใช้เข้าคู่กับคำ ห่าง เป็น ห่างแห หรือแหห่าง เช่น กระแหแห ห่างชาย ดั่งสายสวาทคลาดจากสม. (เห่เรือ).