Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เก้า , then กา, เก้, เก้า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เก้า, 408 found, display 1-50
  1. เก้า : น. จํานวนแปดบวกหนึ่ง; ชื่อเดือนจันทรคติ เรียกว่า เดือน ๙ ตกในราวเดือนสิงหาคม.
  2. ทองเนื้อเก้า : น. ทองคำบริสุทธิ์ โบราณกำหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัดราคาตามเนื้อทอง คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
  3. ทวารทั้งเก้า : น. ช่องตามร่างกายทั้ง ๙ ช่อง ได้แก่ ตา ๒ หู ๒ จมูก ๒ ปาก ๑ ทวารหนัก ๑ ทวารเบา ๑.
  4. ทองนพคุณเก้าน้ำ : น. ทองนพคุณ.
  5. บอกเล่าเก้าสิบ : (สํา) ก. บอกกล่าวให้รู้.
  6. นพ, นพ : [นบ, นบพะ] ว. เก้า (ใช้ประกอบหน้าศัพท์อื่น). (ป. นว; ส. นวนฺ).
  7. กระโจม ๑ : น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกําบังแดดลม เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง (๑) สิ่งที่รวมกันเข้าเป็นลอม เช่น กระโจมปืน. (๒) สิ่งที่ผูกรวบยอดให้รวมกัน เช่น ปากผูกกระโจม. (๓) ผ้าที่ทําเป็นลอมเพื่อเข้าไปอยู่ให้เหงื่อออก เช่น เข้ากระโจม; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน, โจม ก็ว่า; (ถิ่น) เครื่องสวมศีรษะอย่างหนึ่ง เช่น กระจอนหูแปงประดับแก้วเครื่องเลิศอุดมกระโจมคำสุบเก้าเกษ. (ม. ภาคอีสาน นครกัณฑ์).
  8. กา ๑ : น. ชื่อนกชนิด Corvus macrorhynchos ในวงศ์ Corvidae ตัวดํา ร้องกา ๆ, อีกา ก็เรียก; ชื่อดาวฤกษ์ธนิษฐา เช่น แม้นดาวกามาใกล้ในมนุษย์. (อภัย).
  9. กา ๕ : ก. ทําเครื่องหมายเป็นรูปกากบาท, ทำเครื่องหมาย ไว้ให้สังเกตได้ เช่น ดูเฉพาะที่กาไว้.
  10. ฉันวุติ : [ฉันนะวุดติ] ว. เก้าสิบหก เช่น เป็นที่หมายฉันวุติโรค. (สิบสองเดือน). (ป. ฉนฺนวุติ).
  11. ซอม : น. เรียง (?) เช่น พลูเก้าซอม. (สุบิน).
  12. ทองคำ : น. ธาตุลําดับที่ ๗๙ สัญลักษณ์ Au เป็นโลหะ ลักษณะเป็น ของแข็งสีเหลือง หลอมละลายที่ ๑๐๖๓?ซ. เนื้ออ่อนมาก บุให้เป็น แผ่นจนมีความหนาน้อยกว่า ๐.๐๐๐๑ มิลลิเมตรได้ ใช้ทํารูปพรรณ ต่าง ๆ และทําเงินตรา ปัจจุบันกําหนดความบริสุทธิ์ของทองคําด้วย หน่วยกะรัต โดยกําหนดว่า ทองคํา ๒๔ กะรัตเป็นทองคําบริสุทธิ์ที่สุด, โบราณกําหนดคุณภาพของเนื้อ ตั้งแต่เนื้อสี่ถึงเนื้อเก้า โดยตั้งพิกัด ราคาตามเนื้อทอง เช่น ทองเนื้อหก คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๖ บาท ทองเนื้อเก้า คือ ทองหนัก ๑ บาท ราคา ๙ บาท. (ประกาศ ร. ๔), ทองเนื้อเก้านี้เป็นทองแท้เป็นทองบริสุทธิ์ เรียกว่า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือบางทีเรียกว่า ทองชมพูนุท เช่นว่า ดังทองชมพูนุทเนื้อเก้า. (สังข์ทอง ตอนตีคลี). (อ. gold).
  13. ทองชมพูนุท : น. ทองคําเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ มีสีเหลืองเข้ม ออกแดง, ทองเนื้อเก้า ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ หรือ ทองนพคุณ ก็เรียก.
  14. ทองทึบ : ว. มีพื้นเป็นทองทึบทั้งหมด. ทองธรรมชาติ ๑ น. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์, ทองเนื้อเก้า ทองเนื้อแท้ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
  15. ทองนพคุณ : น. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ โบราณกำหนด ราคาตามคุณภาพของเนื้อทอง หนัก ๑ บาท เป็นเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ, เรียกสั้น ๆ ว่า ทองนพคุณ, ทองธรรมชาติ ทองเนื้อแท้ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
  16. ทองเนื้อแท้ : น. ทองคำเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์, ทองเนื้อเก้า ทองธรรมชาติ ทองนพคุณ หรือ ทองชมพูนุท ก็เรียก.
  17. เท้าแขน : น. ตัวไม้สําหรับคํ้ายันของหนักเช่นกันสาดให้มีกําลัง ทรงตัวอยู่ได้; ส่วนของเก้าอี้สําหรับวางแขน. ว. เรียกอาการที่ นั่งพับเพียบเอาแขนเท้าพื้นว่า นั่งเท้าแขน.
  18. นพคุณ : [นบพะ] น. ทองคําเนื้อเก้า เป็นทองบริสุทธิ์ โบราณกําหนด ราคาตามคุณภาพของเนื้อ หนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้านํ้า, เรียกสั้น ๆ ว่า ทองนพคุณ.
  19. นว ๒ : [นะวะ] ว. เก้า, จํานวน ๙, (ใช้เป็นคําหน้าสมาส). (ป.; ส. นวนฺ).
  20. เนาว ๒ : [เนาวะ] (แบบ) ว. เก้า, จํานวน ๙. (ป. นว).
  21. เนื้อ ๑ : น. ส่วนของร่างกายคนและสัตว์อยู่ถัดหนังเข้าไป; เนื้อวัวหรือเนื้อควาย ที่ใช้เป็นอาหาร เช่น แกงเนื้อ; สิ่งที่เป็นลักษณะประจําตัวของสิ่งต่าง ๆ เช่น เนื้อไม้ เนื้อเงิน เนื้อทอง; ส่วนที่อยู่ถัดเปลือกของผลไม้ต่าง ๆ เช่น เนื้อมะม่วง เนื้อทุเรียน; สิ่งที่ประกอบกันเป็นตัวอาหาร, คู่กับ นํ้า เช่น แกงมีแต่นํ้าไม่มีเนื้อ เอาแต่เนื้อ ๆ; สาระสําคัญ เช่น เนื้อเรื่อง; คุณสมบัติ ของเนื้อทองคําและเงินเป็นต้น เช่น ทองเนื้อเก้า เงินเนื้อบริสุทธิ์; (โบ) ราคาทองคำเป็นเงินบาทตามคุณภาพของเนื้อทอง เช่น ทองคำหนัก ๑ บาท เป็นราคาเงิน ๘ บาท เรียกว่า ทองเนื้อแปด, ถ้าเป็นราคาเงิน ๙ บาท เรียกว่า ทองเนื้อเก้า หรือ ทองนพคุณเก้าน้ำ; โดยปริยาย หมายความว่า ทุนเดิม, เงิน, ทรัพย์, เช่น เข้าเนื้อ ชักเนื้อควักเนื้อตัวเอง.
  22. ร้อยแปด : (ปาก) ว. จํานวนมากมายหลายอย่างต่างชนิด, ร้อยแปดพันเก้า ก็ว่า.
  23. ห้อง : น. ส่วนของเรือนหรือตึกเป็นต้นที่มีฝากั้นเป็นตอน ๆ; ตอน เช่น พระพุทธคุณ เก้าห้อง; ชั้น เช่น ห้องฟ้า.
  24. กา ๒ : น. ชื่อปลาน้าจืดชนิด Morulius chrysophekadion ในวงศ์ Cyprinidae ปากงุ้มต่า ตาเล็ก ตลอดทั้งหัว ตัว และครีบมีสีม่วงจนดําทึบ เฉพาะเกล็ดมีจุดสีเหลืองประปราย, เพี้ย ก็เรียก.
  25. กา ๓ : น. ภาชนะสําหรับใส่น้ำหรือต้มน้ำ มีพวยและหูสําหรับหิ้ว หรือจับ, ลักษณนามว่า ใบ หรือ ลูก.
  26. กา ๔ : น. คํากํากับชื่อปีในวิธีนับศักราชของไทยเหนือ ตรงกับเลข ๐.
  27. ก กา : น. เรียกแม่บทแจกลูกพยัญชนะต้นกับสระโดยไม่มีตัวสะกด ว่า แม่ ก กา หรือมาตรา ก กา.
  28. กาจับหลัก ๑ : ดูใน กา.
  29. กาบุรุษ : [กาบุหฺรุด] (แบบ) น. คนเลว. (ส. กาปุรุษ; ป. กาปุริส).
  30. การิตการก : [การิดตะ-] (ไว) น. ผู้ถูกใช้ให้ทํา, เป็นประธานของประโยค เรียงไว้หน้ากริยา ''ถูก-ให้'' เช่น คนงานถูกนายจ้างให้ทํางาน ทั้งกลางวันและกลางคืน, ถ้ามิได้เป็นประธานก็เรียงไว้หลังบุรพบท ''ยัง'' หรือ กริยานุเคราะห์ ''ให้'' เช่น นายจ้างยังลูกจ้างให้ทํางาน นายจ้างให้ลูกจ้างทํางาน.
  31. การิตวาจก : [การิดตะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นการิตการกหรือผู้รับใช้, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทําหน้าที่เป็นการิตการก คือ เป็นผู้ถูกใช้ กริยาของการิตวาจกใช้กริยานุเคราะห์ ''ถูก'' ''ถูก-ให้'' หรือ ''ถูกให้'' เช่น ลูกจ้างถูกนายจ้างให้ทํางาน.
  32. กานท, กานท์ : (โบ) น. บทกลอน เช่น สารสยามภาคพร้อง กลกานท นี้ฤๅ. (ยวนพ่าย).
  33. กาฟักไข่ : น. ชื่อการเล่นอย่างหนึ่ง ผู้เล่นหาไม้หรือของอื่นมาคนละชิ้น สมมุติเป็นไข่ มอบให้แก่ผู้ที่ถูกจับสลาก สมมุติเป็นกา ผู้เป็นการักษาสิ่งนั้นไว้ในวงเขตที่กําหนด ผู้เล่นนอกนั้นคอยลักไข่.
  34. กามามิศ : น. อามิสคือกาใม เช่น ฝ่ายเจ้าช้างจงจม ตมเปือกกามามิศ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. กาม + ส. อามิษ).
  35. กาเวียน : น. กาต้มน้ำชนิดหนึ่ง อยู่ในถังซึ่งมีเตาไฟ.
  36. กากะทิง : ดู กระทิง.
  37. กาคาบพริก : (สํา) ว. ลักษณะที่คนผิวดําแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าสีแดง.
  38. กาจับหลัก ๑ : น. ไม้แป้นวงกลม มีหลักปักอยู่ที่ริมแป้น ที่ปลายหลัก มีวัตถุรูปกระจับสําหรับรับคางศพที่บรรจุโกศ; เครื่องดักทําร้าย ของโบราณ มีของแหลมอยู่ข้างล่าง เมื่อคนนั่งกระทบไกเข้าก็ลัดขึ้น เสียบทวาร; ท่าถือขอช้างอย่างหนึ่ง. (ตําราขี่ช้าง).
  39. กาจับหลัก ๒ : (๑) ดู กาสามปีก(๑). (๒) ดู ราชดัด.
  40. กามามิศ : ดู กาม, กาม-.
  41. กายินทรีย์, กาเยนทรีย์ : น. ร่างกายซึ่งเป็นใหญ่ในการรับสัมผัส. (ป. กาย + อินฺทฺริย).
  42. กายินทรีย์, กาเยนทรีย์ : ดู กาย, กาย-.
  43. การางหัวขวาน : ดู กะรางหัวขวาน.
  44. กาเรียน : ดู กระเรียน.
  45. กาเรียนทอง : น. ชื่อเพลงไทยทำนองหนึ่ง. (ดู กระเรียน๒).
  46. กาแล : (ถิ่น-พายัพ) น. ชื่อไม้เครื่องเรือนที่ต่อจากปั้นลมทั้ง ๒ ด้านไปไขว้กัน อยู่ตอนบนสุดของหลังคาที่ยื่นจากหน้าจั่ว อาจสลักลวดลายตามแต่ จะเห็นงาม, เรียก กะแล หรือ แกแล ก็มี.
  47. กาก-, กากะ : (แบบ) น. กา (นก). (ป., ส.).
  48. ปะกาปะกัง : ว. เก้ ๆ กัง ๆ, งก ๆ เงิ่น ๆ.
  49. สักการ, สักการะ : [การะ] ก. บูชาด้วยสิ่งหรือเครื่องอันพึงบูชา เช่น ดอกไม้ ธูป เทียน, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ บูชา เป็น สักการบูชา. (ป.; ส. สตฺการ).
  50. กถิกาจารย์ : [กะถิกาจาน] (แบบ) น. อาจารย์ผู้กล่าว. (ป., ส. กถิก + ส. อาจารฺย).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-408

(0.0602 sec)