Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เบี้ยล่าง, เบี้ย, ล่าง , then บยลาง, เบี้ย, เบี้ยล่าง, เปี้ย, ลาง, ล่าง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เบี้ยล่าง, 315 found, display 1-50
  1. เบี้ยล่าง : ว. ใต้อํานาจ, เสียเปรียบ, เป็นรอง.
  2. ล่าง : ว. อยู่ในที่หรือฐานะตํ่ากว่าสิ่งที่อ้างถึง, ถัดไปข้างใต้ เช่น พื้นล่าง ชั้นล่าง ข้างล่าง อยู่ล่าง.
  3. ตกเป็นเบี้ยล่าง : (สํา) ก. ตกเป็นรองเขา, เสียเปรียบเขา.
  4. เบี้ย : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยวหลายชนิดในสกุล Cypraea วงศ์ Cypraeidae เปลือกแข็ง ผิวเป็นมัน หลังนูน ท้องแบน ช่องปาก ยาวแคบและไปสุดตอนปลายทั้ง ๒ ข้าง เป็นลําราง ริมปากทั้ง ๒ ด้านหยักหรือมีฟัน ไม่มีแผ่นปิด เรียกรวม ๆ ว่า หอยเบี้ย, เปลือกหอยเบี้ยชนิดที่คนโบราณใช้เป็นวัตถุกลางสําหรับซื้อ ขายสิ่งของ เรียกว่า เบี้ย เช่น เบี้ยจั่น หรือ เบี้ยจักจั่น ก็คือ เปลือก ของหอยเบี้ยชนิด C. moneta เบี้ยแก้ว หรือ เบี้ยนาง คือ เปลือก ของหอยเบี้ยชนิด C. annulus มีอัตรา ๑๐๐ เบี้ย เป็น ๑ อัฐ (เท่ากับ สตางค์ครึ่ง) จึงเรียกคําว่า เบี้ย เป็นเงินติดมาจนทุกวันนี้ เช่น เบี้ยประชุม เบี้ยประกัน เบี้ยเลี้ยงชีพ.
  5. เบี้ย : น. ชื่อไม้ล้มลุกชนิด Portulaca oleracea L. ในวงศ์ Portulacaceae ใช้เป็นผักได้, ผักเบี้ย หรือ ผักเบี้ยใหญ่ ก็เรียก.
  6. เบี้ยแก้ : น. ชื่อหอยทะเลกาบเดี่ยว ๒ ชนิด ในวงศ์ Cypraeidae คือ ชนิด Cypraea mauritiana เปลือกเรียกว่า เบี้ยแก้ใหญ่ หรือ เบี้ยอีแก้ ใช้ขัดผ้าให้เนื้อเรียบเป็นมัน ชนิด C. caputserpentis เปลือกเรียกว่า เบี้ยแก้ ใช้ทํายา.
  7. เบี้ยโบก : น. การพนันอย่างหนึ่ง ซัดเบี้ยเข้ากระบอกแล้วให้ลูกมือ แทง.
  8. เบี้ยหวัด : น. (โบ) เงินที่มีกำหนดจ่ายเป็นรายปีให้แก่พระบรม วงศานุวงศ์หรือข้าราชบริพารจากเงินงบประมาณรายจ่ายหมวด เงินอุดหนุนของสำนักพระราชวัง, เงินปี หรือ เบี้ยหวัดเงินปี ก็เรียก; เงินตอบแทนความชอบที่ให้แก่ทหารที่ออกจากประจํา การ ซึ่งจ่ายเป็นรายเดือนตามข้อบังคับของกระทรวงกลาโหม.
  9. เบี้ยกันดาร : (กฎ) น. เงินที่จ่ายช่วยเหลือข้าราชการและลูกจ้าง ประจําเนื่องจากการปฏิบัติราชการประจําในท้องที่กันดารหรือ โรงในเรียนที่กันดาร.
  10. เบี้ยต่อไส้ : (สํา) น. เงินที่พอประทังชีวิตให้ยืนยาวไปได้ชั่วระยะ หนึ่ง.
  11. เบี้ยทำขวัญ : (โบ) น. เงินที่ฝ่ายหนึ่งต้องเสียให้อีกฝ่ายหนึ่งเป็น ค่าเสียหาย.
  12. เบี้ยน้อยหอยน้อย : (สํา) ว. มีเงินน้อย, มีไม่มาก.
  13. เบี้ยบน : ว. มีอํานาจเหนือ, ได้เปรียบ, เป็นต่อ.
  14. เบี้ยบ้ายรายทาง : (สํา) น. เงินที่จะต้องใช้จ่ายหรือเสียไปเรื่อย ๆ เป็นระยะ ๆ ในขณะทําธุรกิจอย่างใดอย่างหนึ่งให้สําเร็จ.
  15. เบี้ยบำนาญ : (โบ; ปาก) น. บํานาญ.
  16. เบี้ยประกันภัย : (กฎ) น. จํานวนเงินที่ผู้เอาประกันภัยจะต้องชําระ ให้แก่ผู้รับประกันภัยตามสัญญา เพื่อที่จะได้รับเงินผลประโยชน์ หรือค่าสินไหมทดแทน เมื่อตนเสียชีวิต หรือเมื่อได้รับความ เสียหายตามชนิดของภัยที่ได้เอาประกันภัยไว้.
  17. เบี้ยประชุม : น. เงินค่าตอบแทนที่ให้แก่กรรมการเป็นต้นที่เข้าประชุม.
  18. เบี้ยปรับ : (กฎ) น. จํานวนเงินหรือการชําระหนี้อย่างอื่นที่มิใช่เป็น จํานวนเงิน ซึ่งลูกหนี้สัญญาว่าจะให้เจ้าหนี้เรียกเอาได้เมื่อตนไม่ชําระ หนี้ หรือไม่ชําระหนี้ให้ถูกต้องสมควร; เงินค่าปรับที่ผู้ต้องเสียภาษี อากรจะต้องเสียเพิ่มขึ้นจากจํานวนภาษีอากรที่ต้องชําระ ในกรณีที่ไม่ ปฏิบัติตามที่ประมวลรัษฎากรกําหนดไว้.
  19. เบี้ยเลี้ยง : (กฎ) น. เงินที่จ่ายให้เป็นค่าอาหารประจําวันในกรณีที่ ออกทํางานนอกสถานที่ตั้งประจํา.
  20. เบี้ยหัวแตก, เบี้ยหัวแหลก : น. เงินที่ได้มาไม่เป็นกอบเป็นกําแล้ว ใช้จ่ายหมดไปโดยไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน.
  21. ผักเบี้ย, ผักเบี้ยใหญ่ : ดู เบี้ย.
  22. โกรม : [โกฺรม] (แบบ) ว. ใต้, ต่า, ล่าง, ใต้ฟ้า เช่น อนนสองดไนยหน่อเหน้า เหง้ากรุงโกรมกษัตริย. (ม. คําหลวง ฉกษัตริย์). (ข.).
  23. กระยาเบี้ย : (โบ) น. เบี้ยเงินค่าตัวทาส และเงินกู้.
  24. เครื่องช่วงล่าง : น. อุปกรณ์ประกอบที่อยู่ใต้พื้นรถยนต์ เช่น สลัก ลูกหมาก คันส่ง แหนบ ล้อ คานปีกนก, เครื่องล่าง ก็ว่า.
  25. เครื่องล่าง : น. อุปกรณ์ประกอบที่อยู่ใต้พื้นรถยนต์ เช่น สลัก ลูกหมาก คันส่ง แหนบ ล้อ คานปีกนก, เครื่องช่วงล่าง ก็ว่า.
  26. แม่เบี้ย : น. พังพานงู (ใช้แก่งูเห่าและงูจงอาง) เช่น งูเห่าแผ่แม่เบี้ย.
  27. เรือนเบี้ย : น. เรียกทาสที่เป็นลูกของทาสนํ้าเงินว่า ทาสเรือนเบี้ย.
  28. กระจังหลังเบี้ย : น. ใบไม้เล็ก ๆ เป็นหยัก ๆ. (ปาเลกัว).
  29. กระบั้วกระเบี้ย : ว. กระปั้วกระเปี้ย, กะปลกกะเปลี้ย, เดินไม่คล่องแคล่ว (อย่างผู้รื้อไข้).
  30. กระยาดอก, กระยาดอกเบี้ย : (โบ) น. สิ่งที่ส่งชําระแทนดอกเบี้ย เช่น กู้เงินเขามาแล้ว มอบที่นาให้ทําหรือมอบบุตรภริยาให้รับใช้การงาน.
  31. เก็บเบี้ยใต้ถุนร้าน : (สํา) ก. เก็บเล็กผสมน้อย, ทําอะไรที่ประกอบด้วย ส่วนเล็กส่วนน้อย โน่นบ้างนี่บ้าง จนสําเร็จเป็นรูปเป็นร่างขึ้นมา.
  32. ขายหน้าวันละห้าเบี้ย : (สํา) ก. ทําให้ต้องอับอายขายหน้าอยู่ทุกวัน.
  33. เจ้าเบี้ย : น. นายเงิน.
  34. แจงสี่เบี้ย : ก. อธิบายละเอียดชัดแจ้ง.
  35. แผ่พังพาน, แผ่แม่เบี้ย : ก. อาการที่งูเห่าหรืองูจงอางเป็นต้นชูและ แผ่คอให้แบนเพื่อเตรียมฉกศัตรูเป็นต้น.
  36. พูดไปสองไพเบี้ย นิ่งเสียตำลึงทอง : (สํา) ก. พูดไปไม่มีประโยชน์ นิ่งเสียดีกว่า.
  37. มือล่าง : น. ผู้รับไพ่ที่มือบนทิ้งให้.
  38. ไม่ได้เบี้ยออกข้าว : (สํา) ว. ไม่มีส่วนได้อะไรด้วยเลย, ไม่มีส่วนได้อะไรด้วยแล้ว ยังต้องเสียผลประโยชน์ไปอีก.
  39. ไม่ได้เบี้ยเอาข้าว : (สํา) ว. ไม่ได้อย่างหนึ่งก็ต้องเอาอีกอย่างหนึ่ง, ไม่ยอมกลับมือเปล่า.
  40. ฤกษ์ล่าง : น. ฤกษ์ที่ประกอบฤกษ์บน มี ๙ ฤกษ์.
  41. เล่นเบี้ย : ก. เล่นการพนันชนิดเล่นถั่ว.
  42. ไล่เบี้ย : ก. ไล่เลียงหาคนทำผิดตั้งแต่หัวแถวจนถึงปลายแถว; (กฎ) เรียกร้องให้รับผิดในการชําระหนี้ย้อนขึ้นไปเป็นลําดับ, โดยปริยาย หมายถึงการกระทําในลักษณะเช่นนั้น.
  43. หัวเบี้ย : น. ผู้ที่เก็บและจ่ายเงินในวงถั่วโปเป็นต้น; (โบ) จํานวนเงินขนอน ตลาดที่เรียกเก็บเอาไว้ในทีแรก.
  44. อีแก้ : น. เบี้ยอีแก้. (ดู เบี้ยแก้ ที่ เบี้ย๑).
  45. กะ- ๕ : พยางค์หน้าอันใช้เป็น กระ- ได้, แต่มีบางคําซึ่งต้องการพยางค์นี้เพื่อ สละสลวยหรือเน้นคําให้เด่นขึ้น เช่น เกริก เป็น กะเกริก, หรือเกิดเป็นพยางค์หน้าขึ้น โดยแยกเอาตัวสะกดในแม่กกแห่งคํา หน้ามานํา เช่น นกยาง เป็น นก-กะยาง, ผักโฉม เป็น ผัก-กะโฉม, ลูกดุม เป็น ลูก-กะดุม. ต่อไปนี้เป็นคําที่ขึ้นด้วยพยางค์ กะ- ซึ่งเคยใช้เป็นกระ- ได้, ให้ดูคําแปลที่ กระ- นั้น ๆ คือ :- กะเกริก, กะเกริ่น. กะง่อนกะแง่น, กะเง้ากะงอด. กะจก, กะจ้อน, กะจ้อยร่อย, กะจะ, กะจัง, กะจับ, กะจับปิ้ง, กะจับปี่, กะจ่า, กะจาด, กะจาบ, กะจิบ, กะจิริด, กะจี้, กะจุก, กะจุ๋งกะจิ๋ง, กะจุบ, กะจุ๋มกะจิ๋ม, กะจุย, กะจู้, กะจู๋กะจี๋, กะเจอะกะเจิง, กะเจา, กะเจ้า, กะเจาะ, กะเจิง, กะเจิดกะเจิง, กะเจี้ยง, กะเจี๊ยบ, กะเจียว, กะแจะ, กะโจน, กะโจม. กะฉอก, กะฉ่อน, กะฉับกะเฉง, กะฉีก, กะฉูด, กะเฉด, กะโฉม. กะชดกะช้อย, กะชอน, กะชั้น, กะชับ, กะชาก, กะชาย, กะชุ, กะชุ่มกะชวย, กะแชง. กะซิก, กะซิบ, กะซุง, กะซุบกะซิบ, กะเซ็น, กะเซอ, กะเซอะกะเซอ, กะเซอะกะเซิง, กะเซ้า, กะเซิง, กะแซะ. กะดก, กะด้ง, กะดวง, กะดวน, กะด้วมกะเดี้ยม, กะดอ, กะดอง, กะดอน, กะดอม, กะดักกะเดี้ย, กะดังงา, กะดาก, กะด้าง, กะดางลาง, กะดาน, กะดิก, กะดิ่ง, กะดิบ, กะดี่, กะดี้, กะดี้กะเดียม, กะดึง, กะดุกกะดิก, กะดุ้งกะดิ้ง, กะดุบกะดิบ, กะดุม, กะดูก, กะเด็น, กะเด้า, กะเดาะ, กะเดิด, กะเดียด, กะเดือก, กะเดื่อง, กะแด็ก ๆ, กะแด้แร่, กะแด่ว, กะแดะ, กะโดก, กะโดด, กะโดน, กะได. กะตรกกะตรํา, กะต้อ, กะตรับ, กะตรุม, กะต้วมกะเตี้ยม, กะต่องกะแต่ง, กะต๊อบ, กะต้อยตีวิด, กะตัก, กะตั้ว, กะต่าย, กะติก, กะตือรือร้น, กะตุก, กะตุกกะติก, กะตุ้งกะติ้ง, กะตุ้น, กะเตง, กะเต็น, กะเตอะ, กะเตาะ, กะเตาะกะแตะ, กะเตื้อง, กะแต, กะโตกกะตาก. กะถด, กะถั่ว, กะถาง, กะถิก, กะถิน, กะเถิบ, กะโถน. กะทง, กะทบ, กะทอก, กะท่อนกะแท่น, กะท่อม, กะท้อมกะแท้ม, กะทะ, กะทั่ง, กะทั่งติด, กะทา, กะทาย, กะทาหอง, กะทํา, กะทิง, กะทึง, กะทืบ, กะทุง, กะทุ้ง, กะทุ่ม, กะทุ่มหมู, กะทู้, กะเท่, กะเทียม, กะแทก. กะนั้น, กะนี้, กะโน้น, กะไน. กะบก, กะบวย, กะบะ, กะบั้วกะเบี้ย, กะบาก, กะบาย, กะบิ, กะบิด, กะบี่, กะบุง, กะบุ่มกะบ่าม, กะบู้กะบี้, กะบูน, กะเบน, กะเบา, กะเบียด, กะเบียน, กะเบื้อง, กะแบกงา, กะแบะ. กะปรี้กะเปร่า, กะป้อกะแป้, กะป๋อง, กะปอดกะแปด, กะปั้วกะเปี้ย, กะป่ำ, กะปุก, กะปุ่มกะป่ำ, กะเป๋า, กะเปาะ, กะโปก. กะผลีกะผลาม, กะผีก. กะพอก, กะพอง, กะพัก, กะพัง, กะพังเหิร, กะพังโหม, กะพัน, กะพี้, กะพือ, กะพุ้ง, กะเพาะ, กะเพิง, กะเพื่อม. กะฟัดกะเฟียด, กะฟูมกะฟาย. กะมัง, กะมิดกะเมี้ยน, กะเมาะ. กะย่องกะแย่ง, กะย่อม, กะยาง, กะยาหงัน, กะยิ้มกะย่อง, กะยืดกะยาด. กะรอก, กะเรียน, กะไร. กะลําพัก, กะลําพุก, กะลุมพุก, กะลุมพู. กะวาน, กะวิน, กะวีกะวาด, กะวูดกะวาด, กะเวยกะวาย, กะแวน. กะสง, กะสม, กะสร้อย, กะสวน, กะสวย, กะสอบ, กะสัง, กะสัน, กะสับกะส่าย, กะสา, กะสาบ, กะสาย, กะสือ, กะสุน, กะสูบ, กะเสด, กะเส็นกะสาย, กะเส่า, กะเสาะกะแสะ, กะเสือกกะสน, กะแสง, กะแสะ. กะหนก, กะหนาบ, กะหมั่ง, กะหัง, กะหึม, กะหืดกะหอบ, กะแห, กะแหน่, กะแหนะ, กะโห้. กะอ้อกะแอ้, กะออดกะแอด, กะออม, กะอ้อมกะแอ้ม, กะแอก, กะแอม, กะไอ.
  46. ก้น : น. ส่วนเบื้องล่างหรือส่วนท้ายของลําตัว, โดยปริยายหมายความ ถึงบริเวณก้นด้วย เช่น ล้างก้น; ส่วนล่างของภาชนะ เช่น ก้นหม้อ, ส่วนสุดของห้วงหรือแอ่ง เช่น ก้นบ่อ ก้นสระ ก้นคลอง, ตรงข้ามกับปาก; ส่วนสุดที่เหลือ เช่น ก้นเทียน ก้นบุหรี่.
  47. ก้นกบ : น. ปลายกระดูกสันหลังที่สุดลงมาข้างล่าง, พายัพเรียก ก้นหย่อน, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึง เช่นนั้น เช่น ก้นกบว่าวจุฬา.
  48. ก้นปล่อง : น. ชื่อยุงในสกุล Anopheles วงศ์ Culicidae มีหลายชนิด ที่พบเป็นสามัญเช่น ชนิด A. minimus ยุงเหล่านี้เวลาเกาะ หรือดูดเลือดคนหรือสัตว์ หัวจะปักลง ก้นชี้ขึ้น ผนังด้านล่าง ของส่วนท้องไม่มีเกล็ด ตัวเมียมีรยางค์ที่ปากยาวออกมา ๑ คู่ เช่นเดียวกับตัวผู้ ทําให้เหมือนกับมีปากเป็นสามแฉก ตัวเมียดูดเลือดและบางชนิดเป็นพาหะในการนําโรคมาสู่คน และสัตว์ เช่น โรคมาลาเรีย ตัวผู้กินน้ำหรือน้ำหวานจากดอกไม้.
  49. กบ ๘ : น. สลักไม้ที่ใส่ไว้ด้านในส่วนล่างตอนกลางของบานหน้าต่าง หรือประตู ทําหน้าที่คล้ายกลอน เมื่อปิดหน้าต่างหรือประตู ใช้กบนี้สอดเข้าในช่องเจาะตัวไม้ธรณี.
  50. กบแจะ : (ปาก) ก. แตะ, กระทบ, ประกบกัน, (ใช้เฉพาะการเล่นอย่างเล่นโยนหลุม โดยโยนสตางค์ หรือเบี้ยให้ไปแตะหรือประกบกัน), แจะ ก็ว่า.
  51. [1-50] | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-315

(0.1506 sec)