Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: เลอะ , then ลอ, เลอ, เลอะ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : เลอะ, 127 found, display 1-50
  1. เลอะ : ว. เปื้อน เช่น เสื้อเลอะเขม่า หน้าเลอะหมึก, เปรอะไปด้วยสิ่งเปียก ๆ แฉะ ๆ มีลักษณะเละ อย่างโคลนเลน เช่น ย่ำโคลนขึ้นบ้านเลอะหมด, เรี่ยรายกระจัดกระจายไปทั่วอย่างไม่มีระเบียบ เช่น วางข้าวของไว้ เลอะเต็มห้อง, โดยปริยายหมายความว่า วุ่นวายสับสน เช่น เรื่องนี้ชัก เลอะกันใหญ่ ผ้าดอกเลอะ; หลง ๆ ลืม ๆ เช่น พูดจาเลอะ อายุมากแล้ว ชักจะเลอะ.
  2. เลอะเลือน : ว. หลง ๆ ลืม ๆ, ฟั่นเฟือน, เช่น พอแก่ตัว ความจำ เลอะเลือน.
  3. เลอ : บ. เหนือ, ข้างบน, พ้น. ว. ยิ่ง. (ข.).
  4. ม่อลอกม่อแลก : ว. เปื้อน ๆ เปรอะ ๆ, เลอะ ๆ เทอะ ๆ, เช่น เนื้อตัวเปียกฝนม่อลอกม่อแลก, มะลอกมะแลก ก็ว่า.
  5. กะป้ำกะเป๋อ : ว. เลอะ ๆ เทอะ ๆ, หลง ๆ ลืม ๆ, ป้ำเป๋อ หรือ ป้ำ ๆ เป๋อ ๆ ก็ว่า.
  6. เปรอะ : [เปฺรอะ] ว. เลอะ เช่น ผ้าเปรอะ, เกรอะกรัง เช่น สนิมเปรอะ, หมักหมม เช่น ขี้ไคลเปรอะ; (ปาก) โดยปริยายหมายความว่า สับสน, ยุ่งเหยิง, เช่น ลวดลายเปรอะ วางของเปรอะไปหมด.
  7. เฟอะ : ว. เลอะ เช่น แผลมีหนองเฟอะ.
  8. ไม่ได้ศัพท์ : (กลอน) ว. ไม่ได้เรื่อง, ไม่ได้ความ, เลอะเทอะเอาเป็นหลักไม่ได้, เช่น พูดเลอะหลงไหลไม่ได้ศัพท์. (สังข์ทอง).
  9. เยอะ ๒ : น. เรียกแผลที่หนองไหลเปรอะเลอะ.
  10. เลอะเทอะ : ว. เปรอะเปื้อน เช่น ขุดดินมือเลอะเทอะ กินข้าวหก เลอะเทอะ, เลเพลาดพาด เช่น วางข้าวของไว้เลอะเทอะ, โดยปริยาย หมายความว่า เลื่อนเปื้อน, เหลวไหล, ไม่ได้เรื่อง, เช่น คนเมาพูดจา เลอะเทอะ, โบราณใช้ว่าเลอะเพอะ ก็มี.
  11. หลง : [หฺลง] ก. สําคัญผิด, เข้าใจผิด, เช่น กาหลงเข้าใจว่าไข่นกดุเหว่าเป็นไข่ ของตน; หมกมุ่น, มัวเมา, คลั่งไคล้, เคลิบเคลิ้ม, เช่น หลงในอบายมุข หลงเสน่ห์; พลัด เช่น กาหลงเข้าไปในฝูงหงส์, เข้าไปแล้วหาทางออก ไม่ได้ เช่น หลงป่า หลงทางเหลืออยู่, ตกค้างอยู่, เช่น มะม่วงหลง ฝน หลงฤดู; มีความจำเลอะเลือน, สติเฟือนไป, เช่น พอแก่ก็ชักจะหลงแล้ว; เรียกเสียงที่แผดดังผิดปรกติ หรือเสียงที่ผิดระดับเสียงดนตรีว่า เสียงหลง.
  12. หลงลืม : ก. มีความจำเลอะเลือน, มีความจำเสื่อมจึงทำให้ลืม, มีสติเฟือน ไป.
  13. หลง ๆ ลืม ๆ : ว. เลอะเลือน, จำได้บ้างไม่ได้บ้าง, ขี้หลงขี้ลืม ก็ว่า.
  14. หลงใหล : ก. คลั่งไคล้ในสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หลงใหลนักร้อง; เลอะเลือน, มีสติเฟือน,เช่น คนแก่มักหลงใหล กินแล้วก็ว่าไม่ได้กิน.
  15. หุงขี้ผึ้ง : ก. เอาขี้ผึ้งแท้ผสมกับหัวกะทิหรือน้ำมันมะพร้าวเป็นต้นแล้วเคี่ยว กับใบเตยหรือดอกไม้บางชนิด เช่น ดอกมะลิ ดอกกระดังงา สำหรับใช้สี ปากเพื่อกันน้ำหมากเลอะริมฝีปากหรือเพื่อป้องกันริมฝีปากแตก.
  16. เลอเลิศ : ว. เลิศยิ่ง, เลิศเลอ ก็ว่า.
  17. เลอภพ : (วรรณ) น. ผู้ปกครองภพ.
  18. เลอลบ : (วรรณ) น. ผู้มีอำนาจเหนือผู้อื่น.
  19. เลอสรวง : (วรรณ) น. ผู้ครองสวรรค์.
  20. เลอหล้า : (วรรณ) น. ผู้ครองโลก.
  21. เลออาสน์ : [–อาด] ก. นั่งเหนืออาสน์.
  22. ล่อ ๑ : น. สัตว์พันทางที่เกิดจากการผสมระหว่างลากับม้า ใช้เป็นสัตว์ต่าง.
  23. ล่อ ๒ : ก. ใช้สิ่งใดสิ่งหนึ่งเป็นอุบายชักนํา เช่น เอาน้ำตาลล่อมด เอาเหยื่อ ล่อปลา; ปริ่ม, ใกล้จะไหล, ในคำว่า น้ำตาล่อหน่วย.
  24. ลับล่อ, ลับ ๆ ล่อ ๆ : ว. ผลุบ ๆ โผล่ ๆ, ไม่เห็นถนัด.
  25. ลื่อ : น. ลูกของเหลน.
  26. เล่อ : ว. แสดงอาการมีหน้าตาผิดปรกติเพราะตกใจ ดีใจ หรือแปลกใจ, เซ่อซ่า, เร่อร่า กะเล่อกะล่า หรือ กะเร่อกะร่า ก็ว่า.
  27. เลื่อยลอ : น. เครื่องมือสำหรับตัดไม้ ใบเลื่อยมีลักษณะเป็นปื้นรูป สี่เหลี่ยมผืนผ้า ปลายข้างหนึ่งมีด้ามสำหรับจับ.
  28. กด ๔ : ก. บังคับลง, ข่ม, ใช้กําลังดันให้ลง, โดยปริยายหมายความว่า แกล้ง กักไว้ เช่น กดคดี; ทำให้มีค่าน้อยลงกว่าที่ควรจะเป็น เช่น กดราคา กดคะแนน; (กลอน) สะกด, ขืน, เช่น อย่ากดใจฟั้นย่า นานนัก. (ลอ).
  29. กรกช : [กอระกด] (กลอน) น. ''ดอกบัวคือมือ'' คือ กระพุ่มมือ เช่น ธก็ยอกรกชประนม. (ลอ). ก. ไหว้ เช่น เอกภูธรกรกช ทศนัขสมุชลิต. (ยวนพ่าย). (ดู กช).
  30. กรรชิด : [กัน-] (โบ; กลอน) ก. กระชิด เช่น สองกรกลเกียดเกี้ยว กรรชิด. (ลอ).
  31. กรรหาย : [กัน-] (โบ; กลอน) ก. อยากได้, หิวโหย, เช่น กามกรรหายยั่วข้าง. (ลอ), ให้หยุดพลพักร้อน กรรหายผ่อนเอาทับ. (นิ. พลเสพย์).
  32. กระเกลือก : (โบ; กลอน) ก. เกลือกไปมา เช่น กล่ำตากระเลือก กระเกลือก กลอกตากลม. (ลอ).
  33. กระซาบ : (กลอน) ก. พูดเบา ๆ เช่น ค่อยกระซาบคําเกลี้ยง. (ลอ), นิยมใช้เข้าคู่กับคํา กระซิบ เป็น กระซิบกระซาบ.
  34. กระแบ่ : (โบ) น. กระบิ, ชิ้น, ส่วน, เช่น เราจะให้บั่นให้แล่ ทุกกระแบ่จงหนําใจ. (ลอ), ทุกกระแบ่เนื้อเห็นเปล่าเลย. (ม. คําหลวง กุมาร), กระแบะ ก็ว่า.
  35. กระพอก ๒ : ก. พรอก, พูด, เช่น ฟังเสียงกากระพอก บอกข่าวท้าวเสด็จดล. (ลอ).
  36. กระพุ่ม : น. ลักษณะของสิ่งที่เป็นพุ่มยอดแหลมอย่างดอกบัวตูม, (กลอน) พุ่ม เช่น ดอกพวงเผล็ดช่อ กระพุ่มห่อเกสร สลอนบุษบาบาน. (ลอ), สองถันกระพุ่มกาญจนแมนมาเลขา. (อนิรุทธ์).
  37. กระลึง : (โบ) ก. จับ, ถือ, เช่น ชดกรกระลึงกุมแสง. (ลอ).
  38. กระเวน ๓ : น. ชื่อนกชนิดหนึ่ง เช่น กระเวนวังนัวกระเวนดง ช่างทองลงจับทองยั้ว. (ลอ).
  39. กระสัน : ก. คะนึง, คิดผูกพันอยู่, มีใจจดจ่ออยู่, เช่น ปู่กระสันถึง ไก่ในไพรพฤกษ์. (ลอ); กระวนกระวายในกาม เช่น เดี๋ยวนี้นะ พระองค์ทรงธรรม์ แสนกระสันจันทร์สุดาดวงสมร. (คาวี); ผูกให้แน่น เช่น กระสันเข้าไว้กับหลัก, ผูกพันพระพี่น้องสอง กระสันเข้าให้มั่นกับมือ. (ม. คำหลวง กุมาร), รัด เช่น สายกระสัน; ต่อเนื่อง เช่น มุขกระสัน; (ปาก) อยากมาก เช่น กระสันจะเป็น รัฐมนตรี. ว. แน่น เช่น พระขรรค์เหน็บกระสันอยู่เป็นนิจ.
  40. กระหมั่ง : (กลอน) ว. กระมัง เช่น เครื่องค้าเหลือผู้ซื้อกระหมั่ง. (ลอ).
  41. กระเหลียก : [-เหฺลียก] (โบ) ก. แลดู, เขียนเป็น กรลยก ก็มี เช่น สูวนนเจดีรสสมีกรลยกงามหนกกหนา. (จารึกสยาม หลัก ๒), เหลือบแล เช่น ครั้นเช้าไก่ขันเรียก ไก่กระเหลียกตาดู. (ลอ). (ข. กฺรเฬก ว่า เหลือบดู).
  42. กระแหน่ : (โบ; กลอน) น. เล่ห์กล, แง่งอน, ท่วงที, เช่น ข้ากระไดกระแหน่ แต่งแง่แผ่ตนท่า. (ลอ).
  43. กราย ๓ : [กฺราย] ก. เคลื่อนไหวอย่างมีท่าทาง, เดินอย่างมีท่าที, เช่น ห่มเสื้อกรายดาบง่า. (ลอ), ลอยชายกรายแขนเข้าในห้อง. (คาวี); เดินเฉียดเข้าไปใกล้ ๆ, เดินเฉียดใกล้เข้าไปอย่างไม่มีคารวะ, เช่น เดินกรายศีรษะ, ใช้เข้าคู่กับคํา กรีด กรุย และ กล้ำ เป็น กรีดกราย กรุยกราย และ กล้ำกราย.
  44. กริกกริว : [กฺริกกฺริว] ว. ขี้ริ้ว, เลว, เช่น โฉมใช่โฉมคนค้า หน้าใช่หน้ากริกกริว. (ลอ).
  45. กฤตยา ๒, กฤติยา : [กฺริดตะ-, กฺริดติ-] น. การใช้เวทมนตร์, เสน่ห์, อาถรรพณ์, เช่น มนตร์กฤตยานั้นซั้น เสื่อมสิ้นทุกอัน. (โลกนิติ), หาแม่มดถ้วนหน้า หมู่แก้ กฤติยา. (ลอ).
  46. กลม ๓ : [กฺลม] ลักษณนามเรียกจํานวนเหล้าบางประเภท ที่บรรจุในภาชนะกลม ส่วนมากเป็นขวด เช่น เหล้ากลมหนึ่ง เหล้า ๒ กลม. ว. มีสัณฐานโดยรอบไม่เป็นเหลี่ยม, ถ้าเหมือนลูกหิน เรียกว่า ลูกกลม, ถ้าเหมือนเส้นที่ลาก เป็นวงมาจดกัน โดยมีเส้นรัศมียาวเท่ากัน เรียกว่า วงกลม, ถ้าเหมือนสตางค์ เรียกว่า กลมแบน, ถ้าเหมือนกระบอกไม้ไผ่ เรียกว่า กลมยาว, ถ้าเหมือนลูกไข่ แต่หัวและท้ายเท่ากัน เรียกว่า กลมรี; (ปาก) อ้วน เช่น เขามีสุขภาพดีขึ้นจนดูกลมไปทั้งตัว; (กลอน) โดยปริยายว่า เรียบร้อยดี เช่น ใจพระลออยู่บมิกลม. (ลอ); กลิ้งกลอกเต็มตัว เช่น คนกลมดั่งน้ำกลอกใบบัว.
  47. กลากลาด : [กฺลากฺลาด] (กลอน) ว. มากหลาย, เกลื่อนกล่น, เช่น มากลากลาดกันแดน. (ลอ).
  48. กษัตริยชาติ : [กะสัดตฺริยะชาด] น. ชาติกษัตริย์ เช่น รู้แน่ว่าเป็น กษัตริยชาติ. (ม. ร่ายยาว สักบรรพ). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา). [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ เช่น พินทุทัตกษัตรีย์. (สมุทรโฆษ); เจ้าผู้หญิง เช่น อันว่าพระมหาสัตว์แลกษัตรีย์. (ม. คําหลวง วนปเวสน์). [กะสัดตฺรีสูน] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้เป็นใหญ่ เช่น เจ้าไตรภพโลกเมาลีเป็นกษัตรีศูร. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์). (ส. กฺษตฺร + อีศฺวร). [กะไส, กะไสยะ-] น. การสิ้นไป, การหมดไป, การเสื่อมไป, การน้อยไป; ชื่อโรคตามตำราแพทย์แผนโบราณว่า ทำให้ร่างกาย ทรุดโทรม มีอาการผอมแห้งตัวเหลืองเท้าเย็น, เขียนเป็น กระษัย ก็มี. (ส. กฺษย).
  49. กษัตรี : [กะสัดตฺรี] (กลอน) น. กษัตริย์ผู้หญิง เช่น สมเด็จพระแก้วกษัตรี. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์); เจ้าผู้หญิง เช่น สองกษัตรีเจ้าหล้า แกล้วกว่าแกล้วใจกล้า กว่ากล้ากลัวอาย. (ลอ); สตรี เช่น จักเสื่อมสวัสดิ์กษัตรี. (กฤษณา).
  50. กามินี : น. หญิง เช่น จงกามินีปน รสร่วม กันนา. (ลอ). (ป. ว่า หญิงมีความใคร่).
  51. [1-50] | 51-100 | 101-127

(0.0659 sec)