Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ขึ้น , then ขน, ขึ้น .

Budhism Thai-Thai Dict : ขึ้น, 308 found, display 51-100
  1. เดียรัจฉาน : สัตว์อื่นจากมนุษย์, สัตว์ผู้มีร่างกายเจริญขวางออกไป คือไม่เจริญตั้งขึ้นไปเหมือนคนหรือต้นไม้
  2. เดือน : ดวงจันทร์, ส่วนของปี คือปีหนึ่งมี ๑๒ เดือนบ้าง ๑๓ เดือนบ้าง (อย่างจันทรคติ); การที่นับเวลาเป็นเดือนและเรียกเวลาที่นับนั้นว่าเดือนก็เพราะกำหนดเอาข้างขึ้นข้างแรมของเดือน คือดวงจันทร์เป็นหลักมาตั้งแต่ตั้งเดิม ดูชื่อเดือนที่ มาตรา
  3. ตะเบ็งมาน : เป็นชื่อวิธีห่มผ้าของหญิงอย่างหนึ่ง คือ เอาผ้าโอบหลังสอดรักแร้ ๒ ข้างออกมาข้างหน้า ชักชายไขว้กันขึ้นพาดบ่าปกลงไปเหน็บไว้ที่ผ้าโอบหลัง
  4. ตัชชนียกรรม : กรรมอันสงฆ์พึงทำแก่ภิกษุอันจะพึงขู่, สังฆกรรมประเภทนิคคหกรรมอย่างหนึ่ง ซึ่งสงฆ์ทำการตำหนิโทษภิกษุผู้ก่อความทะเลาะวิวาท ก่ออธิกรณ์ขึ้นในสงฆ์ เป็นผู้มีอาบัติมาก และคลุกคลีกับคฤหัสถ์ในทางที่ไม่สมควร
  5. ติณวัตถารกวินัย : ระเบียบดังกลบไว้ด้วยหญ้า ได้แก่กิริยาที่ให้ประนีประนอมกันทั้ง ๒ ฝ่าย ไม่ต้องชำระสะสางหาความเดิม เป็นวิธีระงับอาปัตตาธิกรณ์ ที่ใช้ในเมื่อจะระงับลหุกาบัติที่เกี่ยวกับภิกษุจำนวนมาก ต่างก็ประพฤติไม่สมควรและซัดทอดกันเป็นเรื่องนุงนังซับซ้อน ชวนให้ทะเลาะวิวาท กล่าวซัดลำเลิกกันไปไม่มีที่สุด จะระงับวิธีอื่นก็จะเป็นเรื่องลุกลามไป เพราะถ้าจะสืบสวนสอบสวนปรับให้กันและกันแสดงอาบัติ ก็มีแต่จะทำให้อธิกรณ์รุนแรงยิ่งขึ้น จึงระงับเสียด้วยติณวัตถารกวิธี คือแบบกลบไว้ด้วยหญ้า ตัดตอนยกเลิกเสีย ไม่สะสางความหลังกันอีก
  6. ไตรวัฏ : วัฏฏะ ๓, วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วนของปฏิจจสมุปบาท หมุนเวียนสืบทอดต่อๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม และวิบาก (เรียกเต็มว่า ๑.กิเลสวัฏ ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ๒.กรรมวัฏ ประกอบด้วย สังขาร ภพ ๓.วิปากวัฏ ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส) คือ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับวิบากคือผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก เช่น เกิดกิเลสอยากได้ของเขา จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบากคือได้ของนั้นมาเสพเสวยเกิดสุข เวทนา ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยากได้รุนแรงและมากยิ่งขึ้นจึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น หรือในทางตรงข้ามถูกขัดขวาง ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิดกิเลส คือโทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรมคือประทุษร้ายเขา เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด
  7. ไตรวัฏฏ์ : วัฏฏะ ๓, วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วนของปฏิจจสมุปบาท หมุนเวียนสืบทอดต่อๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม และวิบาก (เรียกเต็มว่า ๑.กิเลสวัฏ ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ๒.กรรมวัฏ ประกอบด้วย สังขาร ภพ ๓.วิปากวัฏ ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส) คือ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับวิบากคือผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก เช่น เกิดกิเลสอยากได้ของเขา จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบากคือได้ของนั้นมาเสพเสวยเกิดสุข เวทนา ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยากได้รุนแรงและมากยิ่งขึ้นจึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น หรือในทางตรงข้ามถูกขัดขวาง ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิดกิเลส คือโทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรมคือประทุษร้ายเขา เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด
  8. เถรภูมิ : ขั้นหรือชั้นแห่งพระเถระ, ระดับอายุ คุณธรรม ความรู้ ที่นับว่าเป็นพระผู้ใหญ่ คือมีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป และรู้ปาฏิโมกข์ เป็นต้น
  9. เถระ : พระผู้ใหญ่ ตามพระวินัยกำหนดว่ามีพรรษาตั้งแต่ ๑๐ ขึ้นไป
  10. ทมะ : การฝึก, การฝึกฝนปรับปรุงตน, การรู้จักข่มจิตข่มใจ บังคับควบคุมตนเองได้ ไม่พูดไม่ทำเพียงตามที่อยาก แต่พูดและทำตามเหตุผลที่พิจารณาเห็นด้วยปัญญาว่าดีงามสมควรเป็นประโยชน์ รู้จักปรับตัวปรับใจ และแก้ไขปรับปรุงตนด้วยปัญญาไตร่ตรองให้งอกงามดียิ่งขึ้นอยู่เสมอ (ข้อ ๒ ใน ฆราวาสธรรม ๔)
  11. ทักษิโณทก : น้ำที่หลั่งในเวลาทำทาน, น้ำกรวด, คือเอาน้ำหลั่งเป็นเครื่อง หมายของการให้แทนสิ่งของที่ให้ เช่น ที่ดิน ศาลา กุฎี บุญกุศล เป็นต้น ซึ่งใหญ่โตเกินกว่าที่จะยกไหว หรือไม่มีรูปที่จะยกขึ้นได้
  12. ทำร้ายด้วยวิชา : ได้แก่ ร่ายมนต์อาคมต่างๆ ใช้ภูตใช้ผีเพื่อทำผู้อื่นให้เจ็บตาย จัดเป็นดิรัจฉานวิชา เทียบตัวอย่างที่จะเห็นในบัดนี้ เช่น ฆ่าด้วยกำลังไฟฟ้า ซึ่งประกอบขึ้นด้วยอำนาจความรู้
  13. ทิฏฐิปปัตตะ : ผู้ถึงทิฏฐิ คือ บรรลุสัมมาทิฏฐิ, พระอริยบุคคลตั้งแต่โสดาบันขึ้นไป จนถึงผู้ตั้งอยู่ในอรหัตตมรรค ที่เป็นผู้มีปัญญินทรีย์แรงกล้า ไม่ได้สัมผัสวิโมกข์ ๘ (ถ้าบรรลุอรหัตตผล กลายเป็นปัญญาวิมุต) ดู อริยบุคคล
  14. ทุกข์ : 1.สภาพที่ทนอยู่ได้ยาก, สภาพที่คงทนอยู่ไม่ได้ เพราะถูกบีบคั้นด้วยความเกิดขึ้นและความดับสลาย เนื่องจากต้องเป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ไม่ขึ้นต่อตัวมันเอง 2.สภาพที่ทนได้ยาก, ความรู้สึกไม่สบาย ได้แก่ ทุกขเวทนา, ถ้ามาคู่กับโทมนัส (ในเวทนา ๕) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายคือทุกข์กาย (โทมนัสคือไม่สบายใจ) แต่ถ้ามาลำพัง (ในเวทนา ๓) ทุกข์ หมายถึงความไม่สบายกายไม่สบายใจ คือทั้งทุกข์กายและทุกข์ใจ
  15. ทุกขลักษณะ : เครื่องกำหนดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่จัดว่าเป็นทุกข์, ลักษณะที่แสดงให้เห็นว่าเป็นทุกข์คือ ๑.ถูกการเกิดขึ้นและการดับสลายบีบคั้นอยู่ตลอดเวลา ๒.ทนได้ยากหรือคงอยู่ในสภาพเดิมไม่ได้ ๓.เป็นที่ตั้งแห่งความทุกข์ ๔.แย้งต่อสุขหรือเป็นสภาวะที่ปฏิเสธความสุข
  16. เทือกเถา : ต้นวงศ์ที่นับสายตรงลงมา, ญาติโดยตรงตั้งแต่บิดามารดาขึ้นไปถึงทวด
  17. ธรรม : สภาพที่ทรงไว้, ธรรมดา, ธรรมชาติ, สภาวธรรม, สัจจธรรม, ความจริง; เหตุ, ต้นเหตุ; สิ่ง, ปรากฏการณ์, ธรรมารมณ์, สิ่งที่ใจคิด; คุณธรรม, ความดี, ความถูกต้อง, ความประพฤติชอบ; หลักการ, แบบแผน, ธรรมเนียม, หน้าที่; ความชอบ, ความยุติธรรม; พระธรรม, คำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ซึ่งแสดงธรรมให้เปิดเผยปรากฏขึ้น
  18. ธรรมกาย : “ผู้มีธรรมเป็นกาย” เป็นพระนามอย่างหนึ่งของพระพุทธเจ้า (ตามความในอัคคัญญสูตร แห่งทีฆนิกาย ปาฏิกวรรค) หมายความว่า พระองค์ทรงคิดพุทธพจน์คำสอนด้วยพระหทัยแล้วทรงนำออกเผยแพร่ด้วยพระวาจา เป็นเหตุให้พระองค์ก็คือพระธรรม เพราะทรงเป็นแหล่งที่ประมวลหรือที่ประชุมอยู่แห่งธรรมอันปรากฏเปิดเผยออกมาแก่ชาวโลก; อนึ่งธรรมกายคือกองธรรมหรือชุมนุมแห่งธรรมนั้น ย่อมเจริญงอกงามเติบขยายขึ้นได้โดยลำดับจนไพบูลย์ ในบุคคลผู้เมื่อได้สดับคำสอนของพระองค์ แล้วฝึกอบรมตนด้วยไตรสิกขาเจริญมรรคให้บรรลุภูมิแห่งอริยชน ดังตัวอย่างดำรัสของพระมหาปชาบดีโคตมี เมื่อครั้งกราบทูลลาพระพุทธเจ้าเพื่อปรินิพพานตามความในคัมภีร์อปทานตอนหนึ่งว่า “ข้าแต่พระสุคตเจ้า หม่อมฉันเป็นมารดาของพระองค์, ข้าแต่พระธีรเจ้า พระองค์ก็เป็นพระบิดาของหม่อมฉัน..รูปกายของพระองค์นี้ หม่อมฉันได้ทำให้เจริญเติบโต ส่วนธรรมกายอันเป็นที่เอิบสุขของหม่อมฉัน ก็เป็นสิ่งอันพระองค์ได้ทำให้เจริญเติบโต”; สรุปตามนัยอรรถกถาธรรมกายก็คือโลกุตตรธรรม ๙ หรือ อริยสัจ
  19. ธรรมจักษุ : ดวงตาเห็นธรรมคือ ปัญญา รู้เห็นความจริงว่า สิ่งใดก็ตามมีความเกิดขึ้นเป็นธรรมดา สิ่งนั้นทั้งปวง ล้วนมีความดับไปเป็นธรรมดา; ธรรมจักษุโดยทั่วไป เช่น ที่เกิดแก่ท่านโกณฑัญญะเมื่อสดับธรรมจักร ได้แก่ โสดาปัตติมรรคหรือโสดาปัตติมรรคญาณ คือญาณที่ทำให้เป็นโสดาบน
  20. ธรรมาธิษฐาน : มีธรรมเป็นที่ตั้ง คือ เทศนายกธรรมขึ้นแสดง เช่นว่า ศรัทธา ศีล คืออย่างนี้ ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว ย่อมนำสุขมาให้ ดังนี้เป็นต้น คู่กันกับ บุคคลาธิษฐาน
  21. ธรรมุเทศ : ธรรมที่แสดงขึ้นเป็นหัวข้อ, หัวข้อธรรม
  22. ธัมมจักกัปปวัตตนสูตร : “พระสูตรว่าด้วยการยังธรรมจักรให้เป็นไป”, พระสูตรว่าด้วยการหมุนวงล้อธรรมเป็นชื่อของ ปฐมเทศนา คือพระธรรมเทศนาครั้งแรก ซึ่งพระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน แขวงเมืองพาราณสี ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลังจากนั้น ตรัสรู้ ๒ เดือน ว่าด้วยมัชฌิมาปฏิปทา คือทางสายกลาง ซึ่งเว้นที่สุด ๒ อย่าง และว่าด้วยอริยสัจ ๔ ซึ่งพระพุทธเจ้าได้ตรัสรู้ อันทำให้พระองค์สามารถปฏิภาณว่าได้ตรัสรู้อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ (ญาณคือความตรัสรู้เองโดยชอบอันยอดเยี่ยม) ท่านโกณฑัญญะหัวหน้าคณะปัญจวัคคีย์ ฟังพระธรรมเทศนานี้แล้ว ได้ดวงตาเห็นธรรม (ธรรมจักษุ) และขอบวชเป็นพระภิกษุรูปแรก เรียกว่า เป็นปฐมสาวก
  23. ธัมมปทัฏฐกถา : คัมภีร์อรรถกถา อธิบายความในธรรมบทแห่งขุททกนิกาย ในพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์รจนา หรือเป็นหัวหน้าในการรจนาขึ้น เมื่อ พ.ศ.ใกล้จะถึง ๑๐๐๐ (ชื่อเฉพาะว่า ปรมัตถโชติกา)
  24. นวังคสัตถุศาสน์ : คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง, ส่วนประกอบ ๙ อย่างที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ๑.สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส) ๒.เคยยะ (ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด) ๓.เวยยากรณะ (ไวยากรณ์ คือความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถาเป็นต้น).๕.อุทาน (ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร) ๖.อิติวุตตกะ (พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร) ๗.ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง) ๘.อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์ คือพระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ) ๙.เวทัลละ (พระสูตรแบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้ว ซักถามยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น); เขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์ ดู ไตรปิฎก
  25. นิพพิทา : ความหน่าย หมายถึงความหน่ายที่เกิดขึ้นจากปัญญาพิจารณาเห็นความจริง ถ้าหญิงชายอยู่กินกันเกิดหน่ายกัน เพราะความประพฤติไม่ดีต่อกัน หรือหน่ายในมรรยาทของกันและกัน อย่างนี้ไม่จัดเป็นนิพพิทา; ความเบื่อหน่ายในกองทุกข์
  26. นิโรธ : ความดับทุกข์ คือดับตัณหาได้สิ้นเชิง, ภาวะปลอดทุกข์เพราะไม่มีทุกข์ที่จะเกิดขึ้นได้ หมายถึงพระนิพพาน
  27. บอกศักราช : เป็นธรรมเนียมของพระสงฆ์ไทยแต่โบราณ มีการบอกกาลเวลา เรียกว่าบอกศักราช ตอนท้ายสวดมนต์ และก่อนจะแสดงพระธรรมเทศนา (หลังจากให้ศีลจบแล้ว) ว่าทั้งภาษาบาลีและคำแปลภาษาไทย การบอกอย่างเก่า บอกปี ฤดู เดือน วัน ทั้งที่เป็นปัจจุบัน อดีต และอนาคต คือบอกว่าล่วงไปแล้วเท่าใด และยังจะมีมาอีกเท่าใด จึงจะครบจำนวนอายุพระพุทธศาสนา๕พันปี แต่ประมาณ พ.ศ.๒๔๘๔ ที่รัฐบาลประกาศใช้วันที่ ๑ มกราคม เป็นวันขึ้นปีใหม่ เป็นต้นมา ได้มีวิธีบอกศักราชอย่างใหม่ขึ้นใช้แทน บอกเฉพาะปี พ.ศ.เดือน วันที่ และวันในปัจจุบัน ทั้งบาลีและคำแปล บัดนี้ไม่นิยมกันแล้ว คงเป็นเพราะมีปฏิทินและเครื่องบอกเวลาอย่างอื่น ใช้กันดื่นทั่วไป
  28. บัญญัติ : การตั้งขึ้น, ข้อที่ตั้งขึ้น, การกำหนดเรียก, การเรียกชื่อ, การวางเป็นกฎไว้, ข้อบังคับ
  29. บันดาล : ให้เกิดมีขึ้นหรือให้เป็นไปอย่างใดอย่างหนึ่งด้วยฤทธิ์หรือด้วยแรงอำนาจ
  30. บำเพ็ญ : ทำ, ทำด้วยความตั้งใจ, ปฏิบัติ, ทำให้เต็ม, ทำให้มีขึ้น, ทำให้สำเร็จผล (ใช้กับสิ่งที่ดีงามเป็นบุญกุศล)
  31. บุคคล ๔ จำพวก : คือ ๑.อุคฆฏิตัญญู ผู้รู้เข้าใจได้ฉบพลัน แต่พอท่านยกหัวข้อขึ้นแสดง ๒.วิปจิตัญญู ผู้รู้เข้าใจต่อเมื่อท่านขยายความ ๓.เนยยะ ผู้ที่พอจะแนะนำต่อไปได้ ๔.ปทปรมะ ผู้ได้แค่ตัวบทคือถ้อยคำเป็นอย่างยิ่ง ไม่อาจเข้าใจความหมาย
  32. บุคคลาธิษฐาน : มีบุคคลเป็นที่ตั้ง, เทศนายกบุคคลขึ้นอ้าง คู่กับธรรมาธิษฐาน
  33. บุรณมี : วันเพ็ญ, วันกลางเดือน, วันขึ้น ๑๕ ค่ำ
  34. บุรพนิมิตต์ : เครื่องหมายให้รู้ล่วงหน้า, ลางที่บอกเหตุขึ้นก่อน บัดนี้ เขียน บุพนิมิต
  35. ปฏาจารา : พระมหาสาวิกาองค์หนึ่ง เป็นธิดาเศรษฐีในพระนครสาวัตถีได้รับวิปโยคทุกข์อย่างหนักเพราะสามีตาย ลูกตาย พ่อแม่พี่น้องตายหมด ในเหตุการณ์ร้ายที่เกิดขึ้นฉับพลันทันทีและติดต่อกัน ถึงกับเสียติดปล่อยผ้านุ่งผ้าห่มหลุดลุ่ย เดินบ่นเพ้อไปในที่ต่างๆ จนถึงพระเชตวัน พระศาสดาทรงแผ่พระเมตตา เปล่งพระวาจาให้นางกลับได้สติ แล้วแสดงพระธรรมเทศนา นางได้ฟังแล้วบรรลุโสดาปัตติผล บวชเป็นพระภิกษุณี ไม่ช้าได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในทางทรงพระวินัย
  36. ปฏิกัสสนา : กิริยาชักเข้าหาอาบัติเดิม, เป็นชื่อวุฏฐานวิธีสำหรับอันตราบัติคือระเบียบปฏิบัติในการออกจากอาบัติสังฆาทิเสสสำหรับภิกษุผู้ต้องอาบัติสังฆาทิเสสขึ้นใหม่อีก ในเวลาใดเวลาหนึ่งตั้งแต่เริ่มอยู่ปริวาสไปจนถึงก่อนอัพภาน ทำให้เธอต้องกลับอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตตั้งแต่เริ่มต้นไปใหม่ ; สงฆ์จตุวรรคให้ปฏิกัสสนาได้ ดู อันตราบัติ
  37. ปฏิจจสมุปบาท : สภาพอาศัยปัจจัยเกิดขึ้น, การที่สิ่งทั้งหลายอาศัยกันจึงเกิดมีขึ้น, การที่ทุกข์เกิดขึ้นเพราะอาศัยปัจจัยต่อเนื่องกันมา
  38. ปฏิสนธิ : เกิด, เกิดใหม่, แรกเกิดขึ้นในครรภ์
  39. ปฐมเทศนา : เทศนาครั้งแรก หมายถึง ธัมมจักกัปปวัตตนสูตรที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่พระปัญจวัคคีย์ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๘ หลังจากวันตรัสรู้ ๒ เดือน ที่ป่าอิสิปตนมฤคทายวัน เมืองพาราณสี
  40. ปณามคาถา : คาถาน้อมไหว้, คาถาแสดงความเคารพพระรัตนตรัย เรียกกนง่ายๆ ว่า คาถาไหว้ครู ซึ่งตามปกติ พระอาจารย์ผู้แต่งคัมภีร์ภาษาบาลี เช่น อรรถกถา ฎีกา เป็นต้น ถือเป็นธรรมเนียมที่จะเรียบเรียงไว้เป็นเบื้องต้น ก่อนขึ้นเนื้อความของคัมภีร์นั้นๆ ประกอบด้วยคำสรรเสริญคุณพระรัตนตรัย คำบอกความมุ่งหมายในการแต่ง คำอ้างถึงบุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้อาราธนาให้แต่ง และข้อควรทราบอื่นๆ เป็นอย่างคำนำ หรือคำปรารภ
  41. ปธาน : ความเพียร, ความเพียรที่ชอบเป็นสัมมาวายามะ มี ๔ อย่าง คือ ๑.สังวรปธาน เพียรระวังบาปอกุศลที่ยังไม่เกิด มิให้เกิดขึ้น ๒.ปหานปธาน เพียรละบาปอกุศลที่เกิดขึ้นแล้ว ๓.ภาวนาปธาน เพียรเจริญทำกุศลธรรมที่ยังไม่เกิดให้เกิดขึ้น ๔.อนุรักขนาปธาน เพียรรักษากุศลธรรมที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ให้เสื่อมไปและให้เพิ่มไพบูลย์
  42. ปรมัตถโชติกา : ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในขุททกปาฐะ ธรรมบทสุตตนิบาต และชาดก แห่งพระสุตตันตปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์รจนาหรือเป็นหัวหน้าในการจัดเรียบเรียงขึ้น เมื่อ พ.ศ.ใกล้จะถึง ๑๐๐๐
  43. ปรมัตถทีปนี : ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความใน อุทาน อิติวุตตกะ วิมานวัตถุ เปตวัตถุ เถรคาถา และเถรีคาถา พระธรรมบาลรจนาขึ้นในสมัยภายหลังพระพุทธโฆษาจารย์ไม่นาน
  44. ปรมัตถมัญชุสา : ชื่อคัมภีร์ฎีกาที่พระธรรมบาลรจนาขึ้น เพื่ออธิบายความในคัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษาจารย์; นิยมเรียกว่า มหาฎีกา
  45. ประดิษฐ์ : ตั้งขึ้น, จัดทำขึ้น, สร้างขึ้น, คิดทำขึ้น
  46. ประทมอนุฏฐานไสยา : นอนชนิดไม่ลุกขึ้นอีก
  47. ปวารณา : 1. ยอมให้ขอ, เปิดโอกาสให้ข้อ 2.ยอมให้ว่ากล่าวตักเตือน, เปิดโอกาสให้ว่ากล่าวตักเตือน, ชื่อสังฆกรรมที่พระสงฆ์ทำในวันสุดท้ายแห่งการจำพรรษา คือ ในวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๑๑ เรียกว่าวันมหาปวารณา โดยภิกษุทุกรูปจะกล่าวปวารณา คือ เปิดโอกาสให้กันและกันว่ากล่าวตักเตือน ได้ดังนี้ “สงฺฆมฺภนฺเต ปวาเรมิ, ทิฏฺเฐน วา สุเตน วา ปริสงฺกาย วา; วทนฺตุ มํ, อายสฺมนฺโต อนุกมฺปํ อุปาทาย; ปสฺสนฺโต ปฏิกฺกริสฺสามิ. ทุติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ ปวาเรมิ,..... ตติยมฺปิ ภนฺเต สงฺฆํ ปวาเรมิ,.......” แปลวว่า “ข้าพเจ้าขอปวารณกะสงฆ์ ด้วยได้เห็นก็ตาม ด้วยได้ยินก็ตาม ด้วยน่าระแวงสงสัยก็ตาม, ขอท่านผู้มีอายุทั้งหลายจงว่ากล่าวกะข้าพเจ้าด้วยอาศัยความหวังดี, เอ็นดู, เมื่อข้าพเจ้ามองเห็น จักแก้ไขแม้ครั้งที่สอง.........แม้ครั้งที่สาม.......” (ภิกษุผู้มีพรรษาสูงสุดในที่ประชุมว่า อาวุโส แทน ภนฺเต)
  48. ปหานปธาน : เพียรละบาปที่เกิดขึ้นแล้ว (ข้อ ๒ ในปธาน ๔)
  49. ปักษ์ : ปีก, ฝ่าย, ข้าง, กึ่งของเดือนทางจันทรคติ คือ เดือนหนึ่งมี ๒ ปักษ์ ข้างขึ้นเรียก ศุกลปักษ์ (ฝ่ายขาวหมายเอาแสงเดือนสว่าง) ข้างแรมเรียก กาฬปักษ์ (ฝ่ายดำ หมายเอาเดือดมือ); ชุณหปักษ์ และกัณหปักษ์ก็เรียก
  50. ปัจจุปปันนังสญาณ : ญาณหยั่งรู้ส่วนปัจจุบัน, ปรีชากำหนดรู้เหตุปัจจัยของเรื่องที่เป็นไปอยู่ รู้ว่าควรทำอย่างไรในเมื่อมีเหตุหรือผลเกิดขึ้นในปัจจุบัน เป็นต้น (ข้อ ๓ ในญาณ ๓)
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-308

(0.0499 sec)