Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ไตรปิฎก .

Eng-Thai Lexitron Dict : ไตรปิฎก, 1 found, display 1-1

Thai-Eng Lexitron Dict : ไตรปิฎก, 5 found, display 1-5
  1. ไตรปิฎก : (N) ; Tripitaka ; Related:Tripitaka consisting of the teachings of Buddha ; Syn:ตรีปิฎก, พระไตรปิฎก, พระตรีปิฎก ; Def:พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า มี 3 ปิฎก คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก อภิธรรมปิฎก ; Samp:ทั้งสองพระองค์ได้ทรงศึกษาไตรปิฎกอย่างลึกซึ้ง
  2. พระไตรปิฎก : (N) ; Tripitaka ; Related:Buddha's teaching divided into three parts, Buddhist Scriptures ; Def:พระธรรมคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้ามี 3 ปิฎก คือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎกและอภิธรรมปิฎก ; Samp:พระเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้ชำระรวบรวมคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาจัดขึ้นเป็นพระไตรปิฎกจารึกลงบนแผ่นใบลานปิดทองใบปกทั้งหน้าหลัง
  3. อภิธรรม : (N) ; one book of the Tripitaka ; Related:philosophic aspect of the Teaching of the Buddha ; Syn:พระอภิธรรมปิฎก ; Def:ชื่อปิฎกหนึ่งในพระไตรปิฎก ; Samp:แนวความคิดดังกล่าวนี้อยู่ในแนวคำสอนชั้นสูงของพระพุทธเจ้า ที่เรียกกันว่า อภิธรรม
  4. อรรถกถา : (N) ; exegesis ; Related:commentary ; Def:คัมภีร์ที่อธิบายความพระบาลี, คัมภีร์ที่ไขความพระไตรปิฎก ; Samp:เขาชอบอ่านอรรถกถาเหล่านั้นก่อนนอนทุกคืน
  5. ราชธิดา : (N) ; princess ; Related:royal princess, daughter of the king ; Samp:พระเจ้าศรีธรรมไตรปิฎกยกทัพลงมาตีเมืองสวรรคโลก กษัตริย์เมืองสวรรคโลกสู้ ไม่ได้ จึงยอมเป็นไมตรี และยกราชธิดาถวายเป็นมเหสี

Royal Institute Thai-Thai Dict : ไตรปิฎก, more than 5 found, display 1-5
  1. ตรีปิฎก : น. พระธรรมคําสั่งสอนของพระพุทธเจ้าซึ่งมี ๓ หมวดใหญ่ หมวดหนึ่ง เรียกว่า ปิฎกหนึ่ง คือ พระวินัย พระสูตร และพระอภิธรรมซึ่งโดยมากเรียกว่า ปรมัตถ์, ใช้ว่า ไตรปิฎก ก็ได้. (ส. ตฺริปิฏก; ป. ติปิฏก ว่า ตะกร้า ๓).
  2. ปิฎก : น. ตะกร้า; หมวดแห่งคําสอนในพระพุทธศาสนา. (ป., ส. ปิฏก). (ดู ไตรปิฎก ที่ ไตร).
  3. ชำระ : ก. ชะล้างให้สะอาด เช่น ชําระร่างกาย; สะสาง, ปรับปรุง แก้ไขให้ดีขึ้น, เช่น ชําระพระไตรปิฎก ชำระพจนานุกรม; พิจารณาตัดสิน เช่น ชําระความ; ใช้ในคําว่า ชําระหนี้.
  4. ทรง : [ซง] น. รูปร่าง เช่น ทรงกระบอก ทรงปั้นหยา ทรงกระสอบ ทรงกระทาย (ลักษณะชามหรือถ้วยมีรูปคล้ายกระทาย), แบบ เช่น ทรงผม. ก. ตั้งอยู่ได้ เช่น ทรงตัว; จํา เช่น ทรงพระไตรปิฎก; รองรับ เช่น ธรรมย่อมทรงผู้ประพฤติธรรมไม่ให้ตกไปในที่ชั่ว; มี เช่น ทรงคุณวุฒิ; คงอยู่ เช่น ไข้ยังทรงอยู่ นํ้าทรง; ในราชาศัพท์ มีความหมายว่า ขี่ หรือ ถือ เป็นต้น ตามเนื้อความของคําที่ตาม หลัง เช่น ทรงม้า ว่า ขี่ม้า ทรงช้าง ว่า ขี่ช้าง ทรงศร ว่า ถือศร ทรงศีล ว่า รับศีล ทรงธรรม ว่า ฟังเทศน์ ทรงบาตร ว่า ตักบาตร ทรงราชย์ ว่า ครองราชสมบัติ; ถ้าประกอบหน้านามบางคํา เช่น ชัย ภพ ศรี ศักดิ์ ธรรม เป็น พระทรงชัย พระทรงภพ พระทรงศรี พระทรงศักดิ์ พระทรงธรรม หมายถึง กษัตริย์; ถ้าประกอบหน้า นามที่เป็นพาหนะหรืออาวุธเป็นต้นของพระเป็นเจ้า หมายถึง พระเป็นเจ้านั้น ๆ เช่น พระทรงโค หมายถึง พระอิศวร พระทรง ครุฑ พระทรงศร พระทรงสังข์ หมายถึง พระนารายณ์ พระทรงหงส์ หมายถึง พระพรหม; ใช้นําหน้าคํากริยาสามัญให้เป็นราชาศัพท์ เช่น ทรงทราบ ทรงยินดี ทรงขอบใจ; ใช้นําหน้าคํานามราชาศัพท์ ให้เป็นกริยาราชาศัพท์ เช่น ทรงพระสรวล ทรงพระเมตตา ทรงพระ ประชวร, ในลักษณะนี้จะหมายความว่า มี ก็ได้ เช่น ทรงพระปรีชา สามารถ ทรงพระคุณ ทรงพระนาม, เมื่อกริยาเป็นราชาศัพท์อยู่แล้ว ไม่นิยมใช้คําว่า ทรง นําหน้าซ้อนลงไปอีก เช่นไม่ใช้ว่า ทรงตรัส ทรงประทับ ทรงพระราชทาน. (ราชา) ว. เรียกช้าง ม้า ที่ขึ้นระวาง แล้วว่า ช้างทรง ม้าทรง.
  5. ธรรมขันธ์ : น. หมวดธรรม, กองธรรม, ข้อธรรม, (กําหนดข้อธรรมใน พระไตรปิฎกว่ามี ๘๔,๐๐๐ พระธรรมขันธ์). (ส. ธรฺม + ป. ขนฺธ).
  6. Royal Institute Thai-Thai Dict : ไตรปิฎก, more results...

Budhism Thai-Thai Dict : ไตรปิฎก, more than 5 found, display 1-5
  1. ไตรปิฎก : “ปิฎก ๓”; ปิฎก แปลตามศัพท์อย่างพื้นๆ ว่า กระจาดหรือตะกร้า อันเป็นภาชนะสำหรับใส่รวมของต่างๆ เข้าไว้ นำมาใช้ในความหมายว่า เป็นที่รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนาที่จัดเป็นหมวดหมู่แล้ว โดยนัยนี้ ไตรปิฎกจึงแปลว่า คัมภีร์ที่บรรจุพระพุทธพจน์ (และเรื่องราวชั้นเดิมของพระพุทธศาสนา) ๓ ชุด หรือ ประมวลแห่งคัมภีร์ที่รวบรวมพระธรรมวินัย ๓ หมวด กล่าวคือ วินัยปิฎก สุตตันตปิฎก และ และอภิธรรมปิฎก
  2. ขันธกะ : หมวด, พวก, ตอน หมายถึง เรื่องราวเกี่ยวกับพระวินัย และสิกขาบทนอกปาฏิโมกข์ ที่จัดประมวลเข้าเป็นหมวดๆ เรียกว่า ขันธกะ, ขันธกะ หนึ่งๆ ว่าด้วยเรื่องหนึ่งๆ เช่นอุโบสถ ขันธกะ หมวดที่ว่าด้วยการทำอุโบสถ จีวรขันธกะ หมวดที่ว่าด้วยจีวรเป็นต้น รวมทั้งสิ้นมี ๒๒ ขันธกะ (พระวินัยปิฎกเล่ม ๔-๕-๖-๗) ดู ไตรปิฎก
  3. ทีฆนิกาย : นิกายที่หนึ่งแห่งพระสุตตันตปิฎก ดู ไตรปิฎก
  4. นวังคสัตถุศาสน์ : คำสั่งสอนของพระศาสดา มีองค์ ๙, พุทธพจน์มีองค์ประกอบ ๙ อย่าง, ส่วนประกอบ ๙ อย่างที่เป็นคำสอนของพระพุทธเจ้า คือ ๑.สุตตะ (พระสูตรทั้งหลาย รวมทั้งพระวินัยปิฎกและนิทเทส) ๒.เคยยะ (ความที่มีร้อยแก้วและร้อยกรองผสมกัน ได้แก่ พระสูตรที่มีคาถาทั้งหมด) ๓.เวยยากรณะ (ไวยากรณ์ คือความร้อยแก้วล้วน ได้แก่ พระอภิธรรมปิฎกทั้งหมด และพระสูตรที่ไม่มีคาถาเป็นต้น).๕.อุทาน (ได้แก่ พระคาถาพุทธอุทาน ๘๒ สูตร) ๖.อิติวุตตกะ (พระสูตรที่เรียกว่าอิติวุตตกะ ๑๑๐ สูตร) ๗.ชาตกะ (ชาดก ๕๕๐ เรื่อง) ๘.อัพภูตธรรม (เรื่องอัศจรรย์ คือพระสูตรที่กล่าวถึงข้ออัศจรรย์ต่างๆ) ๙.เวทัลละ (พระสูตรแบบถามตอบที่ให้เกิดความรู้และความพอใจแล้ว ซักถามยิ่งๆ ขึ้นไป เช่น จูฬเวทัลลสูตร มหาเวทัลลสูตร เป็นต้น); เขียนอย่างบาลีเป็น นวังคสัตถุสาสน์ ดู ไตรปิฎก
  5. นิกาย : พวก, หมวด, หมู่, ชุมนุม, กอง; 1.หมวดตอนใหญ่แห่งพุทธพจน์ในพระสุตตันตปิฎก ซึ่งแยกเป็นทีฆนิกาย มัชฌิมนิกาย สังยุตตนิกาย ดู ไตรปิฎก 2.คณะนักบวช หรือศาสนิกชนในศาสนาเดียวกันที่แยกเป็นพวกๆ, ในพระพุทธศาสนามีนิกายใหญ่ที่เรียกได้ว่าเป็นนิกายพุทธศาสนาในปัจจุบัน ๒ นิกาย คือ มหายาน หรือนิกายฝ่ายเหนือ (อุตตรนิกาย) พวกหนึ่ง และ เถรวาท หรือนิกายฝ่ายใต้ (ทักษิณนิกาย) ที่บางทีเรียก หีนยาน พวกหนึ่ง, ในประเทศไทยปัจจุบัน พระภิกษุสงฆ์ในพระพุทธศาสนาฝ่ายเถรวาทด้วยกัน แยกออกเป็น ๒ นิกาย แต่เป็นเพียงนิกายสงฆ์ มิใช่ถึงกับเป็นนิกายพุทธศาสนา (คือแยกกันเฉพาะในหมู่นักบวช) ได้แก่ มหานิกาย และธรรมยุติกนิกาย ซึ่งบางทีเรียกเพียงเป็นคณะว่า คณะมหานิกาย และคณะ ธรรมยุต
  6. Budhism Thai-Thai Dict : ไตรปิฎก, more results...

ETipitaka Pali-Thai Dict : ไตรปิฎก, 8 found, display 1-8
  1. ติปิฏกธร : ค. ผู้ทรงพระไตรปิฎก
  2. ปาลิวณฺณนา : อิต. อรรถกถาบาลี, คำอธิบายพระไตรปิฎก
  3. ปิฏก : นป. กระจาด, ตะกร้า, กระบุง, กระเช้า; พระไตรปิฎก, ตำรา, ปริยัติ
  4. ปิฏกตฺตย : นป. พระไตรปิฎก
  5. ปิฏกธร : ค. ผู้ทรงพระไตรปิฎก, ผู้แตกฉานพระไตรปิฎก
  6. สุตุต สุตฺร : (นปุ.) พระพุทธวจนะ (ปาวจนา), พระสูตร ชื่อหมวด ๑ ในพระไตรปิฎก คำเต็มว่า พระสุตตันตะ. วิ.อตฺเถ อภสเวตีติ สุตฺตํ สุตรํ วา (หลั่งอรรถ). สุ อภิสเว, โต, ทวิตฺตํ, ตฺรณฺปจฺจโย วา. อตฺเถ สูเทตีติ วา สุตฺตํ สุตฺรํ. สูทฺ ปคฺฆรเณ, รสโส, ทฺโลโป. อตฺถํ สุฏฐ ตายตีติ วา สุตฺตํ สุตฺรํ (รักษาด้วยดีซึ่งอรรถรักษาอรรถไว้ดี). สุฏฐปุพฺโพ, ตา ปาลเน, อ, ฏฐโลโป. ศัพท์ต้นซ้อน ตฺ. สูตร ชื่อกฎของไวยากรณ์สำหรับใช้สร้างศัพท์ เช่น โยนํ โน การอาเทศเป็น โนแห่งโย ทฺ เป็นต้น.
  7. องฺคชาต : (นปุ.) องค์กำเนิด, องคชาต ชื่อของลับของชายและหญิง, นิมิต เครื่องหมายเพศของชายและหญิง. ส่วนมากใช้เป็นชื่อของลับของชาย แต่ในพระไตรปิฎกใช้เรียกของลับทั้งชายและหญิง. วิ.องฺค สรีเร ชายตีติ องฺคชาต. องฺคปุพฺโพ, ชนฺ ชนเน, โต, ชนสฺส ชาอาเทโส (แปลงชนฺเป็นชา).
  8. อภิธมฺมปิฏก : (นปุ.) พระอภิธรรมปิฎกเป็นปิฎกที่ ๓ ของไตรปิฎกเป็นปรมัตถเทสนา.

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : ไตรปิฎก, 1 found, display 1-1
  1. พระไตรปิฎก : ปิตกตฺตยํ

(0.0182 sec)