Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ครั้ง , then ครง, ครั้ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ครั้ง, 229 found, display 151-200
  1. เมือง : น. แดน เช่น เมืองมนุษย์ เมืองสวรรค์ เมืองบาดาล, ประเทศ เช่น เมืองไทย เมืองจีน เมืองลาว; (โบ) จังหวัด เช่น เมืองเชียงใหม่ เมืองนครศรีธรรมราช เมืองตราด; เขตซึ่งเคยเป็นเมืองสำคัญในระดับจังหวัดต่อมาถูกลดฐานะเป็น อำเภอ เช่น เมืองไชยา เมืองมีนบุรี เมืองขุขัน์; เขตซึ่งเป็นที่ชุมนุมและเป็น ที่ตั้งศาลากลางจังหวัด ซึ่งในครั้งก่อน ถ้าเป็นเมืองใหญ่ หมายถึงเขตภายใน กําแพงเมือง.
  2. เมื่อยปาก : ก. อาการที่พูดซ้ำ ๆ มาหลายครั้งหรือนานจนไม่อยากพูดอีก.
  3. แม่ยั่วเมือง : (โบ) น. คําเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณ, เขียนว่า แม่หยั่วเมือง หรือ แม่อยั่วเมือง ก็มี.
  4. แม่หยั่วเมือง : (โบ) น. คําเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณ, เขียนว่า แม่ยั่วเมือง หรือ แม่อยั่วเมือง ก็มี.
  5. แม่อยั่วเมือง : (โบ) น. คำเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณ, เขียนว่า แม่ยั่วเมือง หรือ แม่หยั่วเมือง ก็มี.
  6. ย่ำ : ก. เหยียบหนัก ๆ ซํ้า ๆ, ถ้าเหยียบในลักษณะเช่นนั้นอยู่กับที่เรียกว่า ยํ่าเท้า, เดินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; ตีกลองหรือฆ้องถี่ ๆ หลายครั้ง เพื่อบอกเวลาสําหรับเปลี่ยนยาม เรียกว่า ยํ่ากลอง ยํ่าฆ้อง, ยํ่ายาม ก็เรียก, ถ้ากระทําในเวลาเช้า เรียกว่า ยํ่ารุ่ง (ราว ๖ น.), ถ้ากระทําในเวลาคํ่า เรียกว่า ยํ่าคํ่า (ราว ๑๘ น.).
  7. ยิงปืนนัดเดียวได้นกสองตัว : (สํา) ก. ทําอย่างเดียวได้ผล ๒ อย่าง, ลงทุน ครั้งเดียวได้ผลกําไร ๒ ทาง.
  8. ยิ่งใหญ่ : ว. มีอำนาจมาก เช่น นักการเมืองผู้ยิ่งใหญ่, มีสติปัญญาความ สามารถสูง เช่น กวีผู้ยิ่งใหญ่, สำคัญ เช่น ลดราคาครั้งยิ่งใหญ่.
  9. ยินลากขากดี : ก. พอใจและภูมิใจมาก เช่น จะยินลากขากดีด้วยนาง. (ดอกสร้อยสวรรค์ครั้งกรุงเก่า).
  10. รวด : ว. ติดต่อกันหลายครั้ง เช่น ชนะ ๕ ครั้งรวด; เสมอเท่ากันหมด เช่น เก็บค่าดู ๒๐ บาทรวด.
  11. รวดเดียว : น. ครั้งเดียวอย่างรีบเร่ง, ครั้งเดียวโดยไม่หยุดพัก, เช่น พิจารณารวดเดียว จบ นอนหลับรวดเดียวตั้งแต่หัวค่ำถึงสว่าง ดื่มรวดเดียวหมด; ครั้งเดียว เช่น เก็บค่าดูรวดเดียวดูได้ตลอด.
  12. ระเบียบวาระ : น. ลําดับรายการที่กําหนดไว้ในการประชุมแต่ละครั้ง.
  13. รักบี้ : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง เล่นครั้งแรกที่โรงเรียนรักบี้ ประเทศอังกฤษ แบ่ง ผู้เล่นเป็น ๒ ฝ่าย โดยปรกติเล่นฝ่ายละ ๑๕ คน แต่ที่เล่นฝ่ายละ ๗ คน ก็มี ผู้เล่นแต่ละฝ่ายพยายามแย่งลูกรักบี้ไปวางพ้นแนวประตูฝ่ายตรงข้าม แล้วนำมาเตะ ณ แนวจุดเตะเพื่อให้เข้าประตูฝ่ายตรงข้ามฝ่ายที่ได้คะแนน มากกว่าจะเป็นฝ่ายชนะ, เรียกเต็มว่า รักบี้ฟุตบอล, เรียกลูกหนังที่มีลักษณะ กลมรีใช้ในการเล่นรักบี้ว่า ลูกรักบี้. (อ. rugby football).
  14. แรก : ว. ก่อนเพื่อน, ก่อนผู้อื่นหรือสิ่งอื่นทั้งหมด, เช่น ครั้งแรกใน ประวัติศาสตร์ มาถึงเป็นคนแรก ลูกคนแรก วันแรกของเดือน, เริ่ม เช่น แรกนา คือ เริ่มลงมือทำนา แรกรุ่น คือ เริ่มย่างเข้าสู่วัยรุ่น, หัวที เช่น แรกเกิด แรกพบ แรกเห็น, เดิมที เช่น แต่แรกเริ่ม, เพิ่งมีเป็นครั้งแรก เช่น มะม่วงแรกออกผล. น. ต้น, เดิมที.
  15. โรคระบบประสาท : น. โรคของสมองและไขสันหลัง มิได้เกี่ยวข้อง กับจิตใจ เช่น เนื้องอกในสมอง เส้นเลือดในสมองตีบตันหรือแตก โรคเหล่านี้ก่อให้เกิดภาวะวิกลจริตได้ในบางครั้งบางคราว.
  16. โรมัน : น. ชื่อชนชาวยุโรปครั้งโบราณพวกหนึ่ง. ว. เนื่องด้วยชาตินั้น เช่น อักษรโรมัน เลขโรมัน. (อ. Roman).
  17. ล้มตะเข็บ : ก. เย็บทับตะเข็บอีกครั้งหนึ่งหรือสอยให้ตะเข็บราบลง.
  18. ลมบ้าหมู ๒ : น. อาการหมดสติเป็นครั้งคราว และมักมีอาการชักเกร็ง นํ้าลายเป็นฟอง มือเท้ากํา เป็นผลเนื่องจากสมองทํางานผิดปรกติ.
  19. ล้างบาป : น. พิธีทางศาสนาคริสต์ซึ่งทำแก่ทารกที่บิดามารดานับถือ ศาสนาคริสต์ หรือแก่บุคคลที่เดิมนับถือศาสนาอื่น แล้วหันมานับถือ ศาสนาคริสต์ โดยจุ่มหัวหรือตัวลงในน้ำศักดิ์สิทธิ์ ๓ ครั้งหรือเทน้ำ ศักดิ์สิทธิ์ลงบนหน้าผาก ซึ่งถือกันว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งการล้างบาป เพื่อรับเข้าเป็นคริสต์ศาสนิกชน เรียกว่า พิธีศีลล้างบาป หรือ พิธีศีลจุ่ม.
  20. ลาโรง : ก. เลิกการแสดงมหรสพ เช่น โขน ละคร ลิเกครั้งหนึ่ง ๆ, (ปาก) เลิกกิจการหรืองานที่เคยทํามา เช่น เขาลาโรงจากการเมืองแล้ว.
  21. ลูกจ้างชั่วคราว : (กฎ) น. ลูกจ้างซึ่งนายจ้างตกลงจ้างไว้ไม่เป็นการ ประจำ เพื่อทำงานอันมีลักษณะเป็นครั้งคราว เป็นการจร หรือเป็น ไปตามฤดูกาล.
  22. ลูกโทน : น. ลูกคนเดียวของพ่อแม่; ลูกตัวเดียวของสัตว์ชนิดที่ตาม ปรกติมีครั้งละหลายตัว เช่น สุนัขตัวนี้ออกลูกโทน.
  23. ลูกประคำ : น. ไม้หรือแก้วเป็นต้นที่ทําเป็นเม็ดกลมมีรูตรงกลางร้อย ด้วยด้ายหรือไหม ส่วนมากมี ๑๐๘ ลูก สําหรับนักบวชมีฤษีเป็นต้น ใช้สวมคอเพื่อกําหนดนับการบริกรรมภาวนา คือเมื่อบริกรรมภาวนา จบครั้งหนึ่ง ๆ ก็รูดไว้เม็ดหนึ่ง, เครื่องประดับที่ทําเช่นนั้น.
  24. ลูกปราย : น. ลูกตะกั่วหรือลูกเหล็กเล็ก ๆ สําหรับยัดใส่ในลํากล้อง ปืนครั้งละหลายลูก เมื่อยิงไปครั้งหนึ่ง ๆ ลูกจะกระจายไป, กระสุน ปืนชนิดที่มีลูกตะกั่วหรือลูกเหล็กเล็ก ๆ หลาย ๆ ลูกผสมปนอยู่กับ ดินปืนในนัดเดียวกัน เวลายิงจะกระจายออก เช่น ปืนลูกซองใช้ กระสุนลูกปราย.
  25. ลูกผีลูกคน : (สํา) ว. หวังเป็นที่แน่นอนยังไม่ได้, มักใช้ในกรณีสำคัญ ๆ เช่น เด็กที่เกิดใหม่จะรอดหรือไม่ ยังเป็นลูกผีลูกคนอยู่ การสอบไล่ ครั้งนี้ ยังเป็นลูกผีลูกคนอยู่.
  26. ลูกหมู่ : (โบ) น. ลูกหลานที่ต้องถูกเกณฑ์รับราชการตามสังกัดของ บิดามารดาในครั้งโบราณ.
  27. โลกายัต : น. ชื่อหนึ่งของลัทธิปรัชญาฝ่ายวัตถุนิยมของอินเดีย ถือว่า โลกนี้เกิดจากการรวมตัวกันเองของวัตถุธาตุ ๔ คือ ดิน นํ้า ไฟ ลม ชีพหรือชีวิตเป็นเพียงผลิตผลของวัตถุธาตุที่รวมตัวกันนั้น คนเรา เกิดครั้งเดียว ตายแล้วขาดสูญ ไม่มีโลกหน้า จึงควรแสวงหากามสุข เสียแต่วันนี้ พรุ่งนี้เราอาจตาย, ลัทธินี้ทางพระพุทธศาสนาจัดเป็น อุจเฉททิฐิ แปลว่า ความเห็นว่าตายแล้วสูญ, จารวาก ก็เรียก. (ป., ส.).
  28. โลดเต้น : ก. อาการที่กระโดดขึ้นลงหลายครั้งหลายหนเพราะความดีอกดีใจ เป็นต้น, มักใช้เข้าคู่กับคำ กระโดด เป็น กระโดดโลดเต้น.
  29. วัง ๒ : (โบ; เลิก) น. ตำแหน่งเจ้ากระทรวงปกครองครั้งโบราณ มีหน้าที่ รักษาพระราชวังจัดการพระราชพิธีและมีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีของราษฎร.
  30. วังหน้า : น. วังซึ่งเป็นที่ประทับของพระมหาอุปราช เรียกใน ราชการว่า พระราชวังบวรสถานมงคล ตั้งอยู่ด้านหน้าพระราชวัง หลวงหรือพระบรมมหาราชวัง มีมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยา, ในรัชกาลที่ ๔ ทรงบัญญัติให้เรียกว่า พระบวรราชวัง, ปัจจุบันเรียก พระราชวงศ์ฝ่ายนี้ว่า ฝ่ายวังหน้า.
  31. วาร ๒, วาระ : [วาระ] น. ครั้ง, คราว, เช่น พิจารณารวดเดียว ๓ วาระ อยู่ใน ตำแหน่งวาระละ ๒ ปี, เวลากำหนด เช่น วาระอันเป็นมงคล วาระสุดท้ายของชีวิต.
  32. ศูนย์หน้า : น. ผู้ที่อยู่ในตำแหน่งกลางของแถวหน้าในการเล่น ฟุตบอลทำหน้าที่ยิงประตูเป็นสำคัญ บางครั้งอาจลงมาช่วย เซนเตอร์ฮาล์ฟซึ่งอยู่ในตำแหน่งกลางของแถวกลางและพาลูก ขึ้นไปในแดนฝ่ายตรงข้ามด้วย.
  33. สกทาคามี, สกิทาคามี : [สะกะ, สะกิ] น. ''ผู้มาสู่กามภพอีกครั้งหนึ่ง'' เป็นชื่อพระอริยบุคคล ชั้นที่ ๒ใน ๔ ชั้น คือ พระโสดาบัน พระสกทาคามี พระอนาคามี และพระอรหันต์, บางทีก็เรียก สั้น ๆ ว่า พระสกทาคา หรือ พระสกิทาคา. (ป.; ส. สกฺฤทาคามินฺ).
  34. ส่งลำ : ก. ร้องเพลงส่งให้ปี่พาทย์รับบรรเลงตามทํานองที่ร้อง (ใช้แก่ การขับเสภาและสักวา); กระทําครั้งสุดท้าย เช่น เตะส่งลำ.
  35. สมุหนายก : น. ตําแหน่งข้าราชการชั้นอัครมหาเสนาบดีฝ่ายพลเรือน ครั้งโบราณ.
  36. สมุห, สมุห์ : [สะหฺมุหะ, สะหฺมุ] น. หมู่, กอง, พวก. (ป.; ส. สมูห); หัวหน้าใน ตําแหน่งหน้าที่ เช่น สมุหพระราชพิธี สมุหราชองครักษ์ สมุห์บัญชี; ตําแหน่งพระฐานานุกรมเหนือใบฎีกา เช่น พระสมุห์ พระครูสมุห์. สมุหกลาโหม, สมุหพระกลาโหม น. ตําแหน่งข้าราชการชั้นอัครมหา เสนาบดีฝ่ายทหารครั้งโบราณ.
  37. สหประชาชาติ : (กฎ) น. องค์การระหว่างประเทศที่จัดตั้งขึ้นเป็น ทางการเมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๘ (ค.ศ. ๑๙๔๕) ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ แทนสันนิบาตชาติตามมติของที่ประชุมผู้แทนประเทศ ๕๐ ประเทศ ในการประชุมใหญ่ที่นครซานฟรานซิสโก สหรัฐอเมริกา โดยมี วัตถุประสงค์สําคัญ คือ การป้องกันสงคราม การยืนยันรับรองสิทธิ มนุษยชนขั้นพื้นฐาน การเคารพและปฏิบัติตามพันธกรณีที่เกิดจาก สนธิสัญญาและกฎหมายระหว่างประเทศ, เรียกชื่อเต็มว่า องค์การ สหประชาชาติ (United Nations Organization).
  38. สอบประวัติส่วนบุคคล : ก. ขอให้เจ้าพนักงานตำรวจท้องที่ที่บุคคลซึ่ง จะบรรจุเข้ารับราชการเป็นต้นอาศัยอยู่ สอบประวัติย่อ ภูมิลำเนาครั้ง สุดท้าย และลายพิมพ์นิ้วมือเป็นต้นของบุคคลนั้น.
  39. สังวร : [วอน] น. ความระวัง, ความเหนี่ยวรั้ง, ความป้องกัน. ก. สํารวม, เหนี่ยวรั้ง, เช่น สังวรศีล สังวรธรรม, ถ้าใช้เป็นส่วนท้ายของสมาส หมายความว่า ความสำรวม, ความระวัง, เช่น อินทรียสังวร จักษุสังวร ญาณสังวร ศีลสังวร, (ปาก) ให้ระวังจงดี (ผู้ใหญ่สั่งสอนเตือนสติผู้น้อย) เช่น เรื่องนี้พึงสังวร ไว้อย่าให้ผิดอีกเป็นครั้งที่ ๒. (ป., ส. สํวร).
  40. สังสรรค์ : ก. พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความสนิทสนม เช่น จัดงาน สังสรรค์กันในหมู่พนักงาน เพื่อน ๆ ได้พบปะสังสรรค์กันในงาน ชุมนุมศิษย์เก่า. ว. ที่พบปะวิสาสะกันเป็นครั้งคราวด้วยความ สนิทสนม เช่น งานสังสรรค์. (ส. สํสรฺค).
  41. สัมพันธมิตร : น. เรียกกลุ่มประเทศอันประกอบด้วยสหรัฐอเมริกา สหภาพโซเวียต อังกฤษ ฝรั่งเศส และจีน ที่รวมเป็นแกนร่วมรบกับ กลุ่มประเทศฝ่ายอักษะในสงครามโลกครั้งที่ ๒ ว่า ฝ่ายสัมพันธมิตร.
  42. หนักใจ : ก. วิตก เช่น เขาหนักใจในการสอบครั้งนี้. ว. ลําบากใจ เช่น เขารู้สึกหนักใจที่ต้องไปค้ำประกันลูกของเพื่อน, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ หนักอก เป็น หนักอกหนักใจ.
  43. หนักหนา, หนักหนาสากรรจ์ : ว. มากยิ่ง, ยิ่งนัก, ร้ายแรง, เช่นความผิด ครั้งนี้หนักหนาทีเดียว อาจจะต้องถูกไล่ออกจากงาน, นักหนา ก็ใช้.
  44. หน้าเฉยตาเฉย, หน้าตาเฉย : ว. อาการที่วางหน้าเป็นปรกติ ทำเป็นไม่รู้ไม่ชี้ ทั้ง ๆ ที่ตนกระทำความผิด หรือบางครั้งกระทำความผิดโดยไม่เจตนา เช่น เขาหยิบฉวยของผู้อื่นไปอย่างหน้าเฉยตาเฉย.
  45. หมดฝีมือ : ว. เต็มความสามารถที่มีอยู่ เช่น งานครั้งนี้เขาทำอย่างหมดฝีมือ เลย แม้แพทย์จะพยายามรักษาคนไข้จนหมดฝีมือแล้ว แต่ก็ช่วยชีวิตไว้ ไม่ได้, หมดความสามารถ, สิ้นฝีมือ ก็ว่า.
  46. หยั่วเมือง : (โบ) ว. คําเรียกพระสนมเอกครั้งโบราณว่า แม่หยั่วเมือง, เขียนว่า อยั่วเมือง หรือ ยั่วเมือง ก็มี.
  47. หยิบ : ก. เอานิ้วมือจับขึ้น. น. ประมาณของเท่า ๒ นิ้วมือหรือ ๓ นิ้วมือหยิบ ขึ้นครั้งหนึ่ง, หยิบมือ ก็เรียก.
  48. หยิบมือ : น. ประมาณของเท่า ๒ นิ้วมือหรือ ๓ นิ้วมือหยิบขึ้นครั้งหนึ่ง, หยิบ ก็เรียก.
  49. หะแรก : ว. ครั้งแรก, คราวแรก, เริ่มลงมือ.
  50. หัวกะทิ : น. กะทิที่คั้นครั้งแรก. ว. ที่ดีเด่นเป็นพิเศษ เช่น นักกีฬาที่เข้า แข่งขันในวันนี้เป็นพวกหัวกะทิทั้งนั้น.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-229

(0.0459 sec)