Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ครั้ง , then ครง, ครั้ง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ครั้ง, 229 found, display 51-100
  1. เงินดาวน์ : (ปาก) น. เงินที่ต้องชำระครั้งแรกเมื่อทำสัญญา โดยมีข้อตกลง ว่าเงินส่วนที่เหลือจะผ่อนส่งเป็นงวด ๆ ตามจำนวนที่กำหนด.
  2. เงินหมุน : น. เงินที่ใช้หมุนเวียนเรื่อยไปหลายครั้งโดยไม่เก็บไว้คงที่.
  3. จิงโจ้ ๔ : น. เรียกทหารผู้หญิงในวังครั้งรัชกาลที่ ๔ ว่า ทหารจิงโจ้.
  4. จี่ ๒ : น. ชื่อแมลงพวกด้วงปีกแข็งในวงศ์ Copridae อาศัยอยู่ตามมูลสัตว์ ส่วนใหญ่ ตัวขนาดกลาง ยาวประมาณ ๒ เซนติเมตร กว้างประมาณ ๑ เซนติเมตร หัวแบน ขาแบน ด้านข้างมีลักษณะเป็นหนามคล้ายฟันเลื่อย สีดําตลอด ปั้น มูลสัตว์ให้เป็นก้อนเพื่อวางไข่ ให้ลูกได้อาศัยอยู่ภายใน เมื่อถูกต้องตัวมักทํา เสียงร้องดังฉู่ฉี่ บางครั้งจึงเรียกตัวฉู่ฉี่ หรือด้วงจู้จี้ ชนิดที่พบบ่อยได้แก่พวก ที่อยู่ในสกุล Onitis เช่น ชนิด O. subopacus พบมากในภาคใต้ ชนิด O. philemon พบมากในภาคอีสาน ส่วนในภาคอื่น ๆ เป็นชนิด O. virens.
  5. จุดประสงค์ : น. ผลที่ประสงค์ให้บรรลุ เช่น การแข่งขันกีฬาครั้งนี้มี จุดประสงค์เพื่อสร้างความสามัคคีในหมู่คณะ, วัตถุประสงค์ ก็ว่า.
  6. จุดหมาย, จุดหมายปลายทาง : น. จุดหรือสภาวะที่ต้องพยายามไปให้ถึง, จุดหรือสภาวะที่ตั้งใจจะให้บรรลุถึง, เช่น การเดินทางครั้งนี้มีจุดหมาย ที่จังหวัดสุโขทัย คนเรามีความสุขเป็นจุดหมายในชีวิต.
  7. จุลจอมเกล้า : [จุนละ-] น. ชื่อเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรกใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.
  8. จูงนางลีลา : น. ชื่อท่ารําชนิดหนึ่งที่ควาญช้างรําเมื่อนําช้างบํารูงาเสร็จ ครั้งแรกแล้ว.
  9. ฉาก : น. เครื่องบังหรือเครื่องกั้น มีหลายชนิด ใช้ตั้ง แขวน หรือพับได้, เครื่อง ประกอบเวทีละครเพื่อให้ดูสมจริงตามเนื้อเรื่อง เช่น ฉากป่า ฉากเมือง; เครื่องสําหรับวัดมุมซึ่งมี ๙๐ องศา, มุมซึ่งกางได้ ๙๐ องศา เรียกว่า มุมฉาก, ลักษณนามเรียกตอนย่อยของละครในองก์หนึ่ง ๆ หรือตอนหนึ่งของละคร ที่เปิดม่านหน้าเวทีครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ละคร ๓ ฉาก.
  10. ฉาบฉวย : ว. ชั่วครั้งชั่วคราว, ขอไปที, ไม่จริงจัง, เช่น ทําอย่างฉาบฉวย.
  11. ฉำเฉง : น. มูลฝิ่นครั้งที่ ๓. (จ. ซำเฉง).
  12. ช ๒ : ในภาษาบาลีและสันสกฤต ถ้าใช้ประกอบท้ายคำบางคำ แปลว่า เกิด เช่น บงกช ว่า เกิดในเปลือกตม หมายถึง บัว, วาริช ว่า เกิด ในน้ำ หมายถึง ปลา, ทวิช ว่า เกิด ๒ ครั้งหมายถึงพราหมณ์, นก.
  13. ชมพูพาดบ่า : น. ท่ารําชนิดหนึ่งแห่งควาญช้าง รําเมื่อนําช้างบํารูงาเสร็จ ครั้งแรกแล้ว.
  14. ช้างเผือก ๒ : น. เครื่องราชอิสริยาภรณ์ตระกูลหนึ่ง สร้างขึ้นครั้งแรก ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว.
  15. ช้ำรั่ว : น. ชื่ออาการของโรคอย่างหนึ่ง เกิดจากความผิดปรกติของ กระเพาะปัสสาวะหรือท่อปัสสาวะเป็นต้น ทําให้ไม่สามารถ กลั้นปัสสาวะได้เหมือนคนปรกติ นํ้าปัสสาวะอาจไหลออก เป็นครั้งคราวหรือตลอดเวลาก็ได้.
  16. ซ้อมพวน : ก. หีบอ้อยครั้งที่ ๒.
  17. เซปักตะกร้อ : น. ชื่อกีฬาชนิดหนึ่ง ใช้ลูกตะกร้อส่งข้ามตาข่ายโต้กันไปมา โดยใช้ขา เท้า เข่า ลําตัว และศีรษะ เพื่อรับส่งลูก มีผู้เล่นฝ่ายละ ๓ คน การเริ่มส่งลูกแต่ละครั้ง ฝ่ายส่งจะต้องยืนอยู่ในตําแหน่ง ที่กําหนดไว้ การเล่นแบ่งเป็น ๓ เซต ฝ่ายที่ชนะ ๒ ใน ๓ เซต คือ ฝ่ายชนะ. (ม. sepak ว่า เตะ).
  18. ตลาด : [ตะหฺลาด] น. ที่ชุมนุมเพื่อซื้อขายของต่าง ๆ; (กฎ) สถานที่ซึ่งปรกติจัดไว้ให้ ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้าประเภทสัตว์ เนื้อสัตว์ ผัก ผลไม้ หรือ อาหารอันมีสภาพเป็นของสด ประกอบหรือปรุงแล้ว หรือของเสียง่าย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะมีการจําหน่ายสินค้าประเภทอื่นด้วยหรือไม่ก็ตาม และหมายความ รวมถึงบริเวณซึ่งจัดไว้สําหรับให้ผู้ค้าใช้เป็นที่ชุมนุมเพื่อจําหน่ายสินค้า ประเภทดังกล่าวเป็นประจําหรือเป็นครั้งคราวหรือตามวันที่กําหนด.
  19. ตะพัก : น. ที่ราบใต้น้ำข้างตลิ่ง มีลักษณะเป็นขั้น ๆ แคบ ๆ ลดต่ำลง เกิดจากแผ่นดิน สูงขึ้นหรือ ต่ำลงเป็นครั้งคราว หรือเกิดจากถูกคลื่นเซาะ อาจสูงหลายเมตร ก็ได้; ตะกอนที่ทับถมในทะเล เป็นรูปขั้นบันได, ผาชันในทะเลที่ถูกคลื่นกัดเซาะ ขยายตัวออกไปจนเป็นลาน ซึ่งเรียกว่า ลานตะพักคลื่นเซาะ; โขดหินหรือ ไหล่เขาที่เป็นขั้น ๆ พอพักได้, ใช้ว่า กระพัก ก็มี, เช่น บ้างก็เป็นกระพัก กระเพิงกระพังพุ. (ม. ร่ายยาว กุมาร).
  20. ถั่ว ๒ : น. ชื่อการพนันอย่างหนึ่ง ใช้ถ้วยครอบเบี้ย โดยมากใช้เบี้ยจั่น เมล็ดมะขาม หรือ เมล็ดละหุ่งเป็นต้น แล้วแจงออกเป็นคะแนน ทีละ ๔ ครั้งสุดท้ายถ้าเหลือ ๑ เรียกว่า ออกหน่วย ถ้าเหลือเศษ ๒, ๓ เรียกว่า ออก ๒ ออก ๓ ถ้าเหลือ ๔ เรียกว่า ออกครบ มีประตู แทง ๔ ประตู คือ หน่วย สอง สาม และครบ ส่วนวิธีแทงได้นำวิธี แทงโปมาใช้ มี เหม็ง กั๊ก เลี่ยม อ๋อ ชั้ว ถ่อ และ อา, โปกํา ก็เรียก.
  21. ถามติง : (กฎ) ก. การที่คู่ความฝ่ายที่อ้างพยานซักถามพยานอีก ครั้งหนึ่ง เมื่อคู่ความอีกฝ่ายหนึ่งถามค้านพยานเสร็จแล้ว.
  22. ไถดะ : ก. ไถตะลุยไปในการไถครั้งแรก.
  23. ไถแปร : ก. ไถขวางรอยที่ไถจากครั้งแรก.
  24. ทบทวน : ก. ย้อนกลับทําซํ้าอีกเพื่อให้แม่นยํา เช่น ทบทวนตํารา, ทวนทบ ก็ว่า; พิจารณาอีกครั้งหนึ่ง เช่น ทบทวนนโยบาย.
  25. ทรงประพาส : น. ชื่อฉลองพระองค์ มีรูปเป็นเสื้อกั๊กมีชาย, คู่กับ พระกรน้อย เป็นเสื้อชั้นใน ที่แขนต่อแถบรัด มีสายรัดกับเสื้อ ทรงประพาส, ชื่อเสื้อยศผู้ว่าราชการเมืองครั้งก่อน; ชื่อหมวก เครื่องยศรูปเป็นกลีบ ๆ มีชายปกข้างและหลัง.
  26. ทวิชชาติ : น. ผู้เกิด ๒ ครั้ง, นก, หมู่นก; พราหมณ์. (ป., ส.).
  27. ทศชาติ : น. ๑๐ ชาติ, ชื่อคัมภีร์ชาดกว่าด้วยเรื่องพระพุทธเจ้าครั้ง ยังเป็นพระโพธิสัตว์อยู่ ๑๐ ชาติ.
  28. ท่องสื่อ : น. ตําแหน่งล่ามจีนครั้งโบราณ เช่น ขุนพจนาพิจิตร ท่องสื่อใหญ่. (พงศ. ร. ๓). (เทียบ จ. ท่อง ว่า ติดต่อ, สื่อ ว่า ธุระ, การงาน).
  29. ทับทาง : น. ชื่องูบกบางชนิด เช่น งูสามเหลี่ยม ซึ่งบางครั้งเรียก งูทับทางเหลือง, งูทับสมิงคลา ซึ่งบางครั้งเรียก งูทับทางขาว.
  30. ทัฬหีกรรม : [ทันฮีกํา] น. การกระทําให้มั่นคงขึ้น ได้แก่การที่ทําซํ้า ลงไปเพื่อให้มั่นคงนกรณีที่การกระทําครั้งแรกไม่สมบูรณ์ มักใช้ใน พิธีสงฆ์ เช่น ทําทัฬหีกรรม สวดทัฬหีกรรม. (ป. ทฬฺหีกมฺม; ส. ทฺฤฒี + กรฺมนฺ).
  31. ทาม ๓ : น. ที่ริมฝั่งลํานํ้า มีนํ้าท่วมเป็นครั้งคราว.
  32. ทิ้งทวน : (ปาก) ก. ทําอย่างไว้ฝีมือ, ทําจนสุดความสามารถ, ไม่ทํา อีกต่อไป; ปล่อยฝีมือฝีปากเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะเลิกไป; ฉวย โอกาสทําเป็นครั้งสุดท้ายก่อนจะหมดอํานาจ.
  33. ทิชากร : น. ''ผู้เกิด ๒ ครั้ง'', นก, หมู่นก; พราหมณ์. (ป.).
  34. ทิชาชาติ : น. ''ผู้เกิด ๒ ครั้ง'', นก, หมู่นก; พราหมณ์. (ป.).
  35. ที ๑ : น. ครั้ง, คราว, หน, เช่น ทีละน้อย ทีละคน; ใช้เป็นลักษณนามบอก จํานวนครั้ง เช่น เฆี่ยน ๓ ที นาฬิกาตี ๕ ที.
  36. ทุกหน : ว. ทุกครั้ง.
  37. ทุติย- : [ทุติยะ-] (แบบ) ว. ที่ ๒, มักใช้นําหน้าศัพท์อื่น เช่น ทุติยดิถี = วัน ๒ คํ่า, ทุติยมาส = เดือนที่ ๒, ทุติยวาร = ครั้งที่ ๒, ทุติยสุรทิน = วันที่ ๒. (ป.).
  38. เทศน์แจง : น. เทศน์สังคายนา ซึ่งต้องอธิบายรายละเอียดเกี่ยวกับ ประวัติความเป็นมาของการทำสังคายนาพระพุทธศาสนา โดย เฉพาะในการสังคายนาครั้งแรก.
  39. เที่ยว ๑ : น. เรียกการไปยังที่ซึ่งกําหนดไว้ครั้งหนึ่ง ๆ หรือไปกลับรอบหนึ่ง ๆ ว่า เที่ยว เช่น เที่ยวขึ้น เที่ยวล่อง เที่ยวไป เที่ยวกลับ, ลักษณนามบอก อาการเช่นนั้น เช่น ไป ๒ เที่ยว มา ๓ เที่ยว.
  40. เทือ, เทื่อ, เทื้อ ๑ : ว. ครั้ง, หน, เตื้อ ก็ใช้.
  41. นฤพาน : [นะรึ] น. ความดับกิเลสและกองทุกข์. (โบ) ก. ตาย (ใช้แก่ พระมหากษัตริย์) เช่น ครั้งนั้นสมเด็จพระรามาธิบดีเจ้าเสด็จ
  42. นักงาน : (กลอน; ตัดมาจาก พนักงาน) น. หน้าที่ เช่น อันการสงครามครั้งนี้ ไว้นักงานพี่จะช่วยหัก. (รามเกียรติ์ ร. ๑).
  43. นัด ๑ : ก. ตกลงกันเพื่อการอย่างใดอย่างหนึ่งตามแต่จะกําหนด. น. การกําหนด ตกลงว่าจะพบปะกันเป็นต้น เช่น มีนัด ผิดนัด; ลักษณนามเรียกการ กําหนดประชุมครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ขาดประชุม ๓ นัด.
  44. นา ๓ : (โบ; เลิก) น. ตำแหน่งเจ้ากระทรวงปกครองครั้งโบราณ มีหน้าที่ดูแล รักษานาหลวงจัดหาและรักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนคร ดูแล ทุกข์สุขของชาวไร่ชาวนา.
  45. นาคาวโลก : [คาวะ] น. ชื่อพระพุทธรูปปางหนึ่ง อยู่ในพระอิริยาบถยืน พระหัตถ์ ซ้ายห้อยเยื้องมาข้างหน้าประทับไว้ที่พระเพลาข้างซ้าย พระหัตถ์ขวา ห้อยลงข้างพระองค์ตามปรกติเอี้ยวพระกายผินพระพักตร์เหลียวไป ข้างหลัง เป็นกิริยาทอดพระเนตรพระนครไพศาลีผิดปรกติคล้ายดูอย่าง ไว้อาลัย ด้วยจะเป็นการเห็นครั้งสุดท้าย จะไม่ได้เสด็จมาเห็นอีกต่อไป.
  46. นางกราย : น. ท่ารําชนิดหนึ่งที่หมอช้างรําเมื่อนําช้างบํารูงาเสร็จครั้งแรก แล้ว.
  47. น้ำนอง ๑ : น. ชื่อปลวกหลายชนิดในหลายวงศ์ สีดําหรือนํ้าตาลแก่ อาศัยอยู่ใต้ดิน เมื่อมีนํ้านองเกิดตะไคร่ขึ้น พอนํ้าลดจะเดินแถวมาเก็บตะไคร่ไปเลี้ยง ลูกซึ่งบางครั้งอาจจะทํางานกันทั้งคืน จึงเห็นตัวเฉพาะในเวลานํ้านอง เช่น ชนิด Hospitalitermes monoceros,H. asahinai, H. birmanicus ในวงศ์ Termitidae.
  48. น้ำสต๊อก : น. น้ำต้มกระดูกไก่ กระดูกหมู หรือเนื้อสัตว์ เป็นต้น ใส่เกลือ เล็กน้อย เคี่ยวไฟอ่อน ๆ จนได้ที่ เคี่ยวครั้งหนึ่งเก็บไว้ได้หลายวัน ใช้ ผสมในการปรุงอาหาร เช่น แกงจืด ซุป สตู หรืออาหารประเภทผัดผัก ต่าง ๆ เพื่อเพิ่มรสชาติให้ดียิ่งขึ้น.
  49. น้ำสั่งฟ้า ปลาสั่งฝน : (สํา) สั่งเสียเป็นครั้งสุดท้าย, ทําการอันใดที่เป็น สิ่งสําคัญเพื่อไว้อาลัยก่อนจากไป, ฝนสั่งฟ้า ปลาสั่งหนอง ก็ว่า. น้ำสาบาน
  50. เนื้อ ๒ : น. ชื่อสัตว์ป่าประเภทกวาง. เนื้อทราย น. ชื่อกวางชนิด Cervus porcinus ในวงศ์ Cervidae เป็น กวางขนาดกลาง ตัวสีนํ้าตาลเข้มแต่ตอนล่างสีจางกว่า ตามลําตัวมีจุด ขาวจาง ๆ อยู่ทั่วไป ลูกที่เกิดใหม่จุดขาวนี้จะชัดเจนมากเช่นเดียวกับ ลูกกวางดาว ตัวผู้มีเขาผลัดเขาปีละครั้ง อยู่เป็นฝูงตามทุ่งหญ้า กินหญ้า ระบัด ใบไม้ และผลไม้ เป็นสัตว์ป่าคุ้มครองของไทย, กวางแขม กวาง ทรายหรือ ตามะแน ก็เรียก. เนื้อสมัน ดู สมัน.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-200 | 201-229

(0.0431 sec)