Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความสนใจ, สนใจ, ความ .

Budhism Thai-Thai Dict : ความสนใจ, 1080 found, display 151-200
  1. ผาสุก : ความสบาย, ความสำราญ
  2. พยาธิ : ความเจ็บไข้
  3. พยาบาท : ความขัดแค้นเคืองใจ, ความเจ็บใจ, ความคิดร้าย, ตรงข้ามกับเมตตา; ในภาษาไทยหมายถึง ผูกใจเจ็บและคิดแก้แค้น
  4. พยาบาทวิตก : ความตริตรึกในทางคิดร้ายต่อผู้อื่น, ความคิดนึกในทางขัดเคืองชิงชัง ไม่ประกอบด้วยเมตตา (ข้อ ๒ ในอกุศลวิตก ๓)
  5. พาหุสัจจะ : ความเป็นผู้ได้ยินได้ฟังมาก, ความเป็นผู้ได้เรียนรู้มาก หรือคงแก่เรียน มีองค์ ๕ คือ ๑.พหุสฺสุตา ได้ยินได้ฟังมาก ๒.ธตา ทรงจำไว้ได้ ๓.วจสา ปริจิตา คล่องปาก ๔.มนสานุเปกฺขิตา เจนใจ ๕.ทิฏฺยา สุปฏิวิทฺธา ขบได้ด้วยทฤษฎี ดู พหูสูต
  6. ไพบูลย์ : ความเต็มเปี่ยม, ความเจริญเต็มที่ มี ๒ คือ ๑.อามิสไพบูลย์ ความไพบูลย์แห่งอามิส ๒.ธรรมไพบูลย์ ความไพบูลย์แห่งธรรม ดู เวปุลละ
  7. ภวตัณหา : ความอยากเป็นนั่นเป็นนี่ หรืออยากเกิดอยากมีอยู่คงอยู่ตลอดไป, ความทะยานอยากที่ประกอบด้วยภวทิฏฐิหรือสัสสตทิฏฐิ (ข้อ ๒ ในตัณหา ๓)
  8. ภวทิฏฐิ : ความเห็นเนื่องด้วยภพ, ความเห็นว่าอัตตาและโลกจักมีอยู่คงอยู่เที่ยงแท้ตลอดไป เป็นพวกสัสสตทิฏฐิ
  9. โภชเนมัตตัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร, รู้จักประมาณในการกิน คือ กินเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายให้ชีวิตเป็นอยู่ได้ผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา (ข้อ ๒ ใน อปัณณกปฏิปทา ๓)
  10. มติ : ความคิด, ความเห็น
  11. มทะ : ความมัวเมา (ข้อ ๑๕ ในอุปกิเลส ๑๖)
  12. มโนทุจริต : ความประพฤติชั่วด้วยใจ, ความทุจริตทางใจมี ๓ อย่าง ๑.อภิชฌา ความเพ่งเล็งอยากได้จ้องจะเอาของเขา ๒.พยาบาท “ความขัดเคืองคิดร้าย ๓.มิจฉาทิฏฐิ ความเห็นผิดจากคลองธรรม (ข้อ ๓ ในทุจริต ๓)
  13. มโนรถ : ความประสงค์, ความหวัง
  14. มโนวิญญาณ : ความรู้ที่เกิดขึ้นเพราะธรรมารมณ์เกิดกับใจ, ธรรมเกิดกับใจ เกิดความรู้ขึ้น, ความรู้อารมณ์ทางใจ ดู วิญญาณ
  15. มโนสัญเจตนาหาร : ความจงใจเป็นอาหาร เพราะปัจจัยให้เกิดกรรม คือ ทำให้พูดให้คิด ให้ทำการต่างๆ (ข้อ ๓ ในอาหาร ๔)
  16. มโนสุจริต : ความประพฤติชอบด้วยใจ, ความสุจริตทางใจ มี ๓ อย่าง คือ ๑.อนภิชฌา ไม่โลภอยากได้ของเขา ๒.อพยาบาท ไม่พยาบาทปองร้ายเขา ๓.สัมมาทิฏฐิ เห็นชอบตามคลองธรรม (ข้อ ๓ ในสุจริต ๓)
  17. มรณะ : ความตาย
  18. มลทิน : ความมัวหมอง, ความไม่บริสุทธิ์ เช่น ผ้าขาวเมื่อเป็นจุดสีต่างๆ ก็เรียกว่า ผ้ามีมลทิน นักบวชผิดศีลก็เรียกได้ว่า นักบวชมีมลทิน ดู มละ
  19. มหากรุณา : ความกรุณายิ่งใหญ่, กรุณามาก
  20. มหาสุบิน : ความฝันอันยิ่งใหญ่, ความฝันครั้งสำคัญ หมายถึงความฝัน ๕ เรื่อง (ปัญจมหาสุบิน) ของพระโพธิสัตว์ก่อนจะได้ตรัสรู้เป็นพระอรหันตสัมมาสัมพุทธเจ้า (พระอรรถกถาจารย์ระบุว่าทรงพระสุบินในคืนก่อนตรัสรู้ คือ ขึ้น ๑๔ ค่ำ เดือน ๖) ดังตรัสไว้ในคัมภีร์อังคุตตรนิกาย ปัญจกนิบาต พระสุตตันตปิฎก
  21. มัคคามัคคญาณทัสสนวิสุทธิ : ความหมดจดแห่งญาณเป็นเครื่องเห็นว่าทางหรือมิใช่ทาง (ข้อ ๕ ในวิสุทธิ ๗)
  22. มัจจุ : ความตาย
  23. มัจจุมาร : ความตายเป็นมาร เพราะตัดโอกาสที่จะทำความดีเสียทั้งหมด (ข้อ ๕ ในมาร ๕)
  24. มัจจุราช : ความตาย
  25. มัจฉริยะ : ความตระหนี่, ความหวง (ข้อ ๔ ใน มละ ๙), มัจฉริยะ ๕ คือ ๑.อาวาสมัจฉริยะ ตระหนี่ที่อยู่ ๒.กุลมัจฉริยะ ตระหนี่สกุล ๓.ลาภมัจฉริยะ ตระหนี่ลาภ ๔.วัณณมัจฉริยะ ตระหนี่วรรณะ ๕.ธัมมมัจฉริยะ ตระหนี่ธรรม
  26. มัตตัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักประมาณ คือความพอเหมาะพอดี เช่น รู้จักประมาณในการแสวงหา รู้จักประมาณในการใช้จ่ายพอเหมาะพอควร เป็นต้น ดู สัปปุริสธรรม
  27. มัททวะ : ความอ่อนโยน, ความนุ่มนวล, ความละมุนละไม (ข้อ ๕ ในราชธรรม ๑๐)
  28. มานะ : ความถือตัว, ความสำคัญตัว ว่าเป็นนั่นเป็นนี่ (ข้อ ๕ ในอนุสัย ๗, ข้อ ๘ ในสังโยชน์ ๑๐, ข้อ ๑๓ ในอุปกิเลส ๑๖)
  29. มิจฉัตตะ : ความเป็นผิด, ภาวะที่ผิดมี ๑๐ อย่าง คือ มิจฉาทิฏฐิ มิจฉาสังกัปปะ มิจฉาวาจา มิจฉากัมมันตะ มิจฉาอาชีวะ มิจฉาวายามะ มิจฉาสติ มิจฉาสมาธิ มิจฉาญาณ มิจฉาวิมุตติ
  30. มิจฉาจริยา : ความประพฤติผิด มิจฉาชีพ การหาเลี้ยงชีพในทางผิด ดู มิจฉาอาชีวะ
  31. มิจฉาจาร : ความประพฤติผิด
  32. มิทธะ : ความท้อแท้, ความเชื่อมซึม, มาคู่กับถีนะ ในนิวรณ์ ๕ ดู ถีนมิทธะ
  33. มุทิตา : ความพลอยยินดีเมื่อผู้อื่นได้ดี, เห็นผู้อื่นอยู่ดีมีสุข ก็แช่มชื่นเบิกบานใจด้วย เห็นเขาประสบความสำเร็จเจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นไป ก็พลอยยินดีบันเทิงใจ พร้อมที่จะส่งเสริมสนับสนุน ไม่กีดกันริษยา; ธรรมตรงข้ามคือ อิสสา (ข้อ ๓ ในพรหมวิหาร ๔)
  34. เมตตา : ความรัก, ความปรารถนาให้เขามีความสุข, แผ่ไมตรีจิตคิดจะให้สัตว์ทั้งปวงเป็นสุขทั่วหน้า (ข้อ ๑ ในพรหมวิหาร ๔, ข้อ ๒ ในอารักขกรรมฐาน ๔) ดู แผ่เมตตา
  35. โมไนย : ความเป็นมุนี, ความเป็นปราชญ์, คุณธรรมของนักปราชญ์, ธรรมที่ทำให้เป็นมุนี
  36. โมหะ : ความหลง, ความไม่รู้ตามเป็นจริง, อวิชชา (ข้อ ๓ ในอกุศลมูล ๓)
  37. ยถาภูตญาณ : ความรู้ความเป็นจริง, รู้ตามที่มันเป็น
  38. ยถาภูตญาณทัสสนะ : ความรู้ความเห็นตามเป็นจริง
  39. ยศ : ความเป็นใหญ่และความยกย่องนับถือ
  40. ยุติธรรม : ความเที่ยงธรรม, ความชอบธรรม, ความชอบด้วยเหตุผล
  41. รติ : ความยินดี
  42. ราคะ : ความกำหนัด, ความยินดีในกาม, ความติดใจหรือความย้อมใจติดอยู่ในอารมณ์
  43. ริษยา : ความไม่อยากให้คนอื่นได้ดี, เห็นเขาได้ดีทนอยู่ไม่ได้, เห็นผู้อื่นได้ดีไม่สบายใจ, คำเดิมเป็น อิสสา (ข้อ ๓ ในมละ ๙, ข้อ ๘ ในสังโยชน์ ๑๐ หมวด ๒, ข้อ ๗ ในอุปกิเลส ๑๖)
  44. รุจิ : ความชอบใจ
  45. รูปตัณหา : ความอยากในรูป
  46. รูปราคะ : ความติดใจในรูปธรรม คือติดใจในอารมณ์แหงรูปฌาน หรือในรูปธรรมอันประณีต (ข้อ ๖ ในสังโยชน์ ๑๐)
  47. รูปวิจาร : ความตรองในรูป เกิดต่อจากรูปวิตก
  48. รูปวิตก : ความตรึกในรูป เกิดต่อจากรูป ตัณหา
  49. รูปสัญเจตนา : ความคิดอ่านในรูปเกิดต่อจากรูปสัญญา
  50. รูปสัญญา : ความหมายรู้ในรูป เกิดต่อจากจักขุสัมผัสสชา เวทนา
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | [151-200] | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1080

(0.0270 sec)