Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความสนใจ, สนใจ, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความสนใจ, 3299 found, display 2851-2900
  1. หัวหกก้นขวิด : (สํา) ว. อาการที่ซนเล่นไปตามความพอใจไม่ต้องเกรงใจ ใคร เช่น เด็กพวกนี้ไปหัวหกก้นขวิดที่ไหนมา, อาการที่เที่ยวไปตาม ความพอใจไม่อยู่ติดบ้าน เช่น พาเที่ยวหัวหกก้นขวิด.
  2. หัวหด : ก. กลัวมาก, ขยาด, เช่น ได้ยินแค่ชื่อก็หัวหดแล้ว. ว. ใช้ประกอบ กับคำ กลัว ในความว่า กลัวจนหัวหด หมายความว่า กลัวมาก.
  3. หัวหลักหัวตอ : (สํา) น. บุคคลที่นึกว่าตนเป็นคนสำคัญแต่คนอื่นมองข้าม ไป เวลาทำงานสำคัญก็ไม่ปรึกษา (มักใช้ในลักษณะแสดงความน้อยอก น้อยใจ), ผู้หลักผู้ใหญ่ที่ถูกผู้น้อยมองข้ามไป เวลาทำงานสำคัญก็ไม่ ปรึกษาหารือก่อน (มักใช้ในลักษณะแสดงความน้อยอกน้อยใจ) เช่น เขาเห็นเราเป็นหัวหลักหัวตอไปได้ จะทำอะไรก็ไม่ปรึกษาหารือ.
  4. หัวหาด : น. ชายฝั่งทะเลที่อยู่ในความครอบครองของข้าศึก ซึ่งถ้ายึดได้แล้ว จะทําให้สะดวกในการยกพลขึ้นบก เรียกว่า ยึดหัวหาด, โดยปริยายหมายถึง จุดสำคัญหรือบุคคลสำคัญเป็นต้นซึ่งถ้ายึดไว้ได้ก็จะสามารถทำให้แผนการ ขั้นต่อไปประสบความสำเร็จ.
  5. หัวเห็ด : น. เรียกตะปูชนิดหนึ่งที่หัวบานเหมือนดอกเห็ดสำหรับตอกสังกะสี เป็นต้น ว่า ตะปูหัวเห็ด.ว. ทรหดอดทน เช่น นักข่าวหัวเห็ด นักสืบหัวเห็ด; (โบ) ดื้อรั้นไม่ยอมเปลี่ยนความคิดง่าย ๆ, หัวเห็ดย้ำ ก็ว่า เช่น มหาชนโดย มากเขาทำกันอย่างไร เราก็ต้องทำอย่างนั้น ที่จะไปหัวเห็ดย้ำให้ผิดกาลเทศะ อย่างจีน ๆ ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วย. (ลักวิทยา).
  6. หัวอ่อน : ว. ว่าง่าย, สอนง่าย, เช่น เขาเป็นคนหัวอ่อน บอกอะไรก็เชื่อ, ตรงข้ามกับ หัวแข็ง. ก. ยอมอ่อนตามง่าย เช่น เด็กคนนี้หัวอ่อนมาก พอชี้แจงให้เข้าใจก็เปลี่ยนความคิดทันที, ตรงข้ามกับ หัวแข็ง.
  7. หัสนิยาย : น. เรื่องชวนหัว, เรื่องราวที่เต็มไปด้วยความตลกขบขัน.
  8. หา ๑ : ก. มุ่งพบ, พบ, เช่น ไปหาหมอ เพื่อนมาหา; เยี่ยม, เยี่ยมเยียน, เช่น เพิ่ง ทราบว่าครูกำลังป่วย ต้องไปหาท่านเสียหน่อย; ฟ้อง, กล่าวโทษ, เช่น เขาหาว่า...; พึ่ง เช่น ไม่รู้จะหันหน้าไปหาใคร; บางทีก็ใช้ควบกับคำอื่น มีความหมายว่า ขวนขวายเพื่อให้ได้มาโดยวิธีต่าง ๆ เช่น ค้นหา สืบหา เที่ยวหา ตามหา เสาะหา แสวงหา. บ. ที่ เช่น เขาอยู่หาไหน ๆ ก็ไม่รู้ จะไปตามตัวเขาได้อย่างไร; สู่ เช่น เด็กว่ายน้ำเข้าหาฝั่ง.
  9. หากินด้วยลำแข้ง : (สำ) ก. หาเลี้ยงชีพด้วยความมานะพยายามของตัวเอง.
  10. หาความ : ก. กล่าวโทษ, ใส่ความ; หาเรื่องไม่จริงมาว่า.
  11. หางแถว : น. คนที่อยู่ท้ายแถว, โดยปริยายหมายถึงผู้น้อย, ผู้ไม่มีความ สำคัญ, ปลายแถว ก็ว่า.
  12. หางเสียง : น. กระแสเสียงที่ลงท้ายซึ่งแสดงนิสัย ความรู้สึก หรืออารมณ์ ของผู้พูดเป็นต้น เช่นโกรธ อ่อนโยน.
  13. ห้างหุ้นส่วนจำกัด : (กฎ) น. ห้างหุ้นส่วนประเภทหนึ่ง ซึ่งมีผู้เป็นหุ้นส่วน ๒ จําพวก คือ (๑) ผู้เป็นหุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งจํากัดความรับผิด เพียงไม่เกินจํานวนเงินที่ตนรับจะลงหุ้นในห้างหุ้นส่วนนั้น และ (๒) ผู้เป็น หุ้นส่วนคนเดียวหรือหลายคนซึ่งต้องรับผิดร่วมกันในบรรดาหนี้ของห้าง หุ้นส่วนโดยไม่มีจํากัดจํานวน ห้างหุ้นส่วนจํากัดนั้นกฎหมายบังคับว่าต้อง จดทะเบียน.
  14. หาเช้ากินค่ำ : ก. หาเลี้ยงชีพด้วยความลำบากยากแค้นพอประทังชีวิตไป วันหนึ่ง ๆ.
  15. หานะ : น. ความเสื่อม, ความทรุดโทรม. (ป.).
  16. หาไม่ ๑ : ก. ใช้ในความปฏิเสธหมายความว่า ไม่, ไม่มี, เช่น เขาจะสำนึกผิด ก็หาไม่ เขาจะมีความเกรงใจสักนิดก็หาไม่; สิ้นสุด เช่น จนกว่าชีวิตจะหาไม่.
  17. หาไม่ ๒, หา...ไม่ : ว. ใช้ในความปฏิเสธ นิยมใช้คร่อมกับคำนามหรือคำ กริยา เช่น หาใช่คนไม่ = ไม่ใช่คน หาพบไม่ = ไม่พบ.
  18. หายนะ ๑ : [หายะนะ, หายยะนะ] น. ความเสื่อม, ความเสียหาย, ความฉิบหาย. (ป.).
  19. หายห่วง : ก. ไม่ต้องเป็นห่วงอีกแล้ว, ไม่ต้องกังวลถึงอีกแล้ว, เช่น คนนี้ มีความสามารถเชื่อถือได้ เมื่อมอบงานให้แล้ว หายห่วงได้เลย; (ปาก) นานมากเช่น ใช้ให้ไปซื้อของตั้งแต่เช้า ไปเสียหายห่วงเลย, มาก เช่น เขาวิ่งทิ้งคู่แข่งหายห่วงเลย.
  20. หารือ : ก. ขอความเห็น, ปรึกษา.
  21. หาเรื่อง : ก. ทําให้เกิดเหตุ เช่น อยู่ดี ๆ ก็ไปหาเรื่อง, เอาความไม่ดีมาให้ เช่น เด็กคนนี้หาเรื่องให้ปวดหัวอยู่เรื่อย; หาสาเหตุเพื่อทำสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น หาเรื่องกินเหล้ากัน; ชวนวิวาท เช่น พวกเรานั่งอยู่ดี ๆ มาหาเรื่อง กันได้.
  22. หาสก, หาสกะ : [-สก, -สะกะ] น. ผู้ให้ความสนุก, คนตลก, คนมีอารมณ์ขัน. (ป., ส.).
  23. หาสยะ : [-สะยะ] น. ความสนุก, ความขบขัน. ว. พึงหัวเราะ, น่าหัวเราะ, ขบขัน; แยบคาย, ตลกคะนอง. (ส.).
  24. หาสะ : น. การหัวเราะ, ความสนุกรื่นเริง. (ป., ส.).
  25. หิงสา : น. ความเบียดเบียน, การทําร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หึงสา ก็ว่า, บางที ก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หิงสาพยาบาท หรือ หึงสาพยาบาท. (ป., ส. หึสา).
  26. หิต, หิต- : [หิด, หิตะ-] น. ความเกื้อกูล, ประโยชน์. (ป., ส.).
  27. หินแปร : น. หินที่แปรสภาพจากหินเดิม โดยการกระทําของความร้อน ความดัน และปฏิกิริยาเคมี.
  28. หิม-, หิมะ : [หิมมะ-] น. ละอองนํ้าในอากาศที่แปรสภาพเป็นของแข็งเพราะอุณหภูมิตํ่า ลักษณะฟูเป็นปุยลอยลงมาจากท้องฟ้า; ความหนาว, ความเยือกเย็น; ฤดูหนาว. (ป., ส.).
  29. หิริ : [หิหฺริ] น. ความละอายใจ, ความละอายบาป. (ป.; ส. หฺรี).
  30. หิริโอตตัปปะ : [หิหฺริโอดตับปะ] น. ความละอายบาปและความเกรงกลัว บาป, ความละอายใจ. (ป.).
  31. หีบชัก : (โบ) น. หีบไม้รูปทรงสี่เหลี่ยม ภายในมีที่ตั้งโถอุจจาระ ด้านหลัง เปิดได้เพื่อชักโถออกทําความสะอาด ตอนบนเป็นที่นั่ง มีร่องเจาะตรงกับ ปากโถตอนล่าง.
  32. หึงส-, หึงสา : [หึงสะ-] น. ความเบียดเบียน, การทําร้าย, การคิดให้เขาทนทุกข์, หิงสา ก็ว่า, บางทีก็ใช้เข้าคู่กับคำ พยาบาท เป็น หึงสาพยาบาท หรือ หิงสา พยาบาท. (ป., ส. หึสา).
  33. หื่น : ก. มีความอยากอย่างแรงกล้า (มักใช้ในทางกามารมณ์).
  34. หื้อ ๑ : อ. คำที่เปล่งออกมาแสดงความรับรู้.
  35. หุง : ก. ทําให้สิ่งใดสิ่งหนึ่งสุกด้วยวิธีต้มหรือเคี่ยวเป็นต้น เช่น หุงข้าว หุงยา, ใช้ความร้อนสูงทําให้สีของผิวสิ่งของบางชนิดเปลี่ยนไป เช่น หุงพลอย.
  36. หุ้นสามัญ : (กฎ) น. หุ้นธรรมดาของบริษัทจำกัด ซึ่งแบ่งทุนออกเป็นหุ้นมี มูลค่าหุ้นละเท่า ๆ กันและผู้ถือหุ้นมีความรับผิดเพียงไม่เกินจำนวนหุ้น ที่ตนส่งใช้ไม่ครบมูลค่าของหุ้นที่ตนถือ.
  37. หุนหันพลันแล่น : น. ด่วนทําสิ่งใดสิ่งหนึ่งลงไปโดยไม่ยั้งคิดด้วยความโกรธ ความโลภ เป็นต้น.
  38. หูตาสว่าง : ว. รู้เหตุการณ์ดีขึ้น, รู้ความจริงมากขึ้น.
  39. หูแตก : น. แก้วหูแตก, เยื่อในหูสำหรับรับเสียงฉีกขาด, โดยปริยายหมาย ความว่า มีเสียงดังมาก แต่ก็ไม่ได้ยินราวกับแก้วหูฉีกขาด เช่น หูแตก หรืออย่างไร ตะโกนเรียกเท่าไร ๆ จึงไม่ได้ยิน.
  40. หูป่าตาเถื่อน : ว. รู้ไม่ทันเหตุการณ์เพราะอยู่ห่างไกลหรือไม่สนใจ เป็นต้น, โดยปริยายหมายความว่า ไม่รู้ขนบธรรมเนียมว่าควรปฏิบัติ อย่างไรเพราะไม่ได้รับการอบรม เช่นคนสามัญเดินบนลาดพระบาท.
  41. เหงื่อกาฬ : น. เหงื่อของคนใกล้จะตาย; โดยปริยายหมายถึงเหงื่อแตกด้วย ความตกใจกลัวเป็นต้น.
  42. เหตุสุดวิสัย : น. ภาวะที่พ้นความสามารถที่ใครจะป้องกันได้.
  43. เห็นจะ : ก. คงจะ เช่น เห็นจะจริง, ถ้าใช้ในความปฏิเสธ เป็น ไม่เห็นจะ.
  44. เห็นใจ : ก. เห็นน้ำใจว่าเป็นอย่างไร เช่นดีหรือชั่ว, ร่วมรู้สึกในความทุกข์ ยากของผู้อื่นเช่น รู้สึกเห็นใจคนจนที่ต้องอดมื้อกินมื้อ; มาทันพบก่อนตาย เช่น เขามาทันเห็นใจก่อนพ่อจะสิ้นลม.
  45. เห็นช้างขี้ ขี้ตามช้าง : (สํา) ก. ทําเลียนแบบคนใหญ่คนโตหรือคนมั่งมีทั้ง ๆ ที่ตนไม่มีกําลังทรัพย์หรือความสามารถพอ, มีความหมายอย่างเดียวกับ เห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือประสานก้น หรือเห็นเขาขึ้นคานหาม เอามือ ประสานรัดก้น.
  46. เห็นดำเห็นแดง : ว. ถึงที่สุดจนรู้ความจริงว่าดีหรือชั่ว ผิดหรือถูก เป็นต้น.
  47. เห็นดีกัน : ก. เห็นว่าใครจะมีฝีมือหรือความสามารถเป็นต้นมากกว่ากัน (มักใช้ในทางท้าทาย) เช่น สักวันหนึ่งจะต้องเห็นดีกัน.
  48. เหนียง : [เหฺนียง] น. เนื้อหรือหนังที่ห้อยอยู่บริเวณคอของสัตว์บางชนิด เช่น ไก่ นก วัว, โดยปริยายหมายถึงเนื้อที่ห้อยอยู่ตรงลำคอใต้คางของคนแก่ ในความว่า แก่จนเหนียงยาน; สายป่านที่ผูกยาวห้อยเป็นบ่วงจากสายซุงว่าวปักเป้า.
  49. เหนียวแน่น : ว. มีความระมัดระวังมากในการใช้จ่าย เช่น เขาเป็นคน เหนียวแน่น; แน่นแฟ้น เช่น มิตรภาพระหว่างประเทศทั้งสองนี้ เหนียวแน่นมาก.
  50. เหนือ : [เหฺนือ] ว. ที่อยู่ในที่หรือฐานะสูงกว่าสิ่งอื่นเมื่อมีการเปรียบเทียบกัน เช่น เขามีอํานาจเหนือฉัน, ที่มีความรู้ความสามารถเป็นต้นสูง เช่น เขามีฝีมือ เหนือชั้นกว่าคู่ต่อสู้, ข้างบน เช่น สวะลอยอยู่เหนือนํ้า, ตรงข้ามกับ ใต้. น. ชื่อทิศตรงข้ามกับทิศใต้, ทิศที่อยู่ทางซ้ายมือเมื่อหันหน้าไปทางทิศ ตะวันออก เรียกว่า ทิศเหนือ, ทิศอุดร ก็ว่า. บ. พ้นขึ้นไป, เลยขึ้นไป, เช่น เมฆลอยอยู่เหนือภูเขา.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | [2851-2900] | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3299

(0.0509 sec)