Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ความสนใจ, สนใจ, ความ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ความสนใจ, 3299 found, display 451-500
  1. ครุกาบัติ : [คะรุกาบัด] น. อาบัติหนัก ได้แก่ อาบัติปาราชิก เมื่อภิกษุ ต้องอาบัติปาราชิก ถือว่าขาดจากความเป็นภิกษุทันที แม้กลับมาบวช ใหม่ก็ไม่เป็นภิกษุ.
  2. ครุศาสตร์ : [คะรุสาด] น. วิชาว่าด้วยการสร้างพื้นฐานและความรู้ของ การเป็นครู ประกอบด้วยวิชาการศึกษาเป็นต้น.
  3. ครู ๑ : [คฺรู] น. ผู้สั่งสอนศิษย์, ผู้ถ่ายทอดความรู้ให้แก่ศิษย์. (ป. ครุ, คุรุ; ส. คุรุ).
  4. คล้อยตาม : ก. สอดคล้องไปในทางเดียวกัน, มีความเห็นอย่างเดียวกัน, เช่น ฉันเห็นคล้อยตามเขา.
  5. คลาดเคลื่อน : [-เคฺลื่อน] ก. ผิดจากความเป็นจริง, ไม่ตรงตามความเป็นจริง, เคลื่อนคลาด ก็ว่า.
  6. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า : น. คลื่นที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงความเข้มของ สนามแม่เหล็กและไฟฟ้าที่เกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน ได้แก่ คลื่นวิทยุ อินฟราเรด แสงที่มองเห็นได้ อัลตราไวโอเลต เอกซเรย์ รังสีแกมมา และ รังสีคอสมิก.
  7. คลื่นยาว : น. คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าที่มีความถี่ตํ่าตั้งแต่ ๓๐ กิโลเฮิรตซ์ ถึง ๓๐๐ กิโลเฮิรตซ์.
  8. ควบแน่น : (เคมี) น. กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในลักษณะซึ่งโมเลกุลของสาร ตั้งแต่ ๒ โมเลกุลขึ้นไปเข้ารวมตัวกันเป็นโมเลกุลใหญ่ขึ้นของสารใหม่ โดยวิธีขจัดโมเลกุลของนํ้าหรือโมเลกุลของสารอื่นออกไป; (ความร้อน) กระบวนการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพของไอเป็นของเหลวโดยวิธีลด อุณหภูมิลง. (อ. condense).
  9. ควร : [ควน] ว. เหมาะ เช่น กินแต่พอควร; ชอบ, ถูกต้อง, เช่น เห็นควรแล้ว; เป็นคําช่วยกริยาในความคล้อยตาม เช่น ควรทํา ควรกิน.
  10. คว้า : [คฺว้า] ก. ยื่นมือไปจับหรือฉวยมาโดยเร็ว, ลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ศัพท์นี้ไปคว้ามาจากไหน; กิริยาชักว่าวกระตุกให้หัวว่าวปักลง แล้วช้อนขึ้นไปทางใดทางหนึ่งตามความต้องการ เช่น ว่าวจุฬากับ ว่าวปักเป้าคว้ากัน.
  11. ความคลาด : (แสง) น. ลักษณะที่แสงหักเหออกจากผิวเลนส์ และลักษณะที่แสงสะท้อน ออกจากผิวโค้งของกระจกแล้วไม่ตัดร่วม ณ จุดเดียวกัน หรือลักษณะที่แสง ขาวผ่านเลนส์แล้วเกิดการกระจายออกเป็นสีต่าง ๆ; (ดารา) ความแตกต่าง ระหว่างตําแหน่งของดาวฤกษ์หรือเทห์ฟากฟ้าที่สังเกตเห็นกับตําแหน่งจริง ของมันในขณะนั้น. (อ. aberration).
  12. ความเครียด : น. (ฟิสิกส์) อัตราส่วนระหว่างขนาดที่เปลี่ยนไปเนื่องจากความเค้นกับ ขนาดเดิมของเทหวัตถุ. (อ. strain); ลักษณะอาการที่สมองไม่ได้ผ่อนคลาย เพราะคร่ำเคร่งอยู่กับงานจนเกินไป, ลักษณะอาการที่จิตใจมีอารมณ์ บางอย่างมากดดันความรู้สึกอย่างรุนแรง.
  13. ความยาวคลื่น : น. ความยาวระหว่างจุดใดจุดหนึ่งบนคลื่นลูกหนึ่งไปยังจุดในตําแหน่ง เดียวกันบนคลื่นลูกถัดไป.
  14. ความรู้สึกเขื่อง, ความรู้สึกเด่น : (จิตวิทยา) น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถเหนือกว่าหรือดีเด่น กว่าผู้อื่น ความรู้สึกนี้ไม่จําเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สํานึก แต่ถ้าเกิดขึ้น เสมอ ๆ และมิได้แก้ไขหรือได้รับการสนับสนุน เช่นในการอบรม เลี้ยงดูเด็ก ก็อาจเก็บสะสมไว้เกิดเป็นนิสัยของบุคคลนั้นได้. (อ. superiority feeling); ความเชื่อหรือความมั่นใจว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถ เหนือกว่าผู้อื่น.
  15. ความรู้สึกด้อย : (จิตวิทยา) น. ความรู้สึกว่าตนเองมีความสามารถไม่เท่าเทียมบุคคลทั่วไป ความรู้สึกนี้ไม่จําเป็นจะต้องอยู่ในจิตใต้สํานึกและผู้นั้นไม่จําเป็นต้องมี ปมด้อย อาจเกิดขึ้นในสิ่งแวดล้อมหรือในบางขณะเท่านั้น แต่ถ้าเกิดขึ้น เสมอ ๆ และมิได้แก้ไข ก็อาจเก็บกดไว้จนเกิดเป็นปมด้อยได้; ความไม่เชื่อ มั่นว่าตนเองมีฐานะหรือความสามารถเท่าเทียมผู้อื่น. (อ. inferiority feeling).
  16. คหกรรมศาสตร์ : [คะหะกํามะสาด] น. วิชาที่เกี่ยวข้องกับความรู้ทาง วิทยาศาสตร์ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ โดยมุ่งพัฒนาครอบครัว ด้วยการจัดการทรัพยากรบุคคล วัสดุและสิ่งแวดล้อม เพื่อพัฒนาอาชีพ และเสริมสร้างคุณภาพชีวิต ความมั่นคงของสถาบันครอบครัวและสังคม.
  17. คอ : น. ส่วนของร่างกายที่ต่อศีรษะกับตัว, ราชาศัพท์ว่า พระศอ; ส่วนของ ภาชนะที่คอดอยู่ระหว่างตัวกับปาก เช่น คอหม้อ; เรียกส่วนลําต้นของ พรรณไม้วงศ์ปาล์มที่อยู่ระหว่างใบล่างสุดกับยอด เช่น คอมะพร้าว คอตาล; โดยปริยายหมายความว่า ความมีใจชอบเสพสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เป็นอาจิณ เช่น คอเหล้า คอเบียร์ คอหนัง คอละคร.
  18. ค่องอ้อย : น. ชื่อการพนันด้วยการทายความสั้นยาวของท่อนอ้อย โดยเอามีดสับ คาไว้ที่ประมาณส่วนกลางลำอ้อย แล้วตั้งพิงไว้ให้ผู้เล่นทายว่าส่วนของ ท่อนอ้อยด้านบนกับด้านล่างของมีดยาวเท่ากันหรือสั้นยาวกว่ากันเท่าใด ผู้ใดทายได้ถูกต้องหรือใกล้เคียงที่สุดเป็นผู้ชนะ.
  19. ค้อน ๒ : ก. แสดงความไม่พอใจด้วยการตวัดสายตา.
  20. คอนกรีตเสริมเหล็ก : น. คอนกรีตที่ใช้เหล็กเส้นหรือตะแกรงเหล็ก เสริมภายในเพื่อเพิ่มความแข็งแรง.
  21. ค่อนขอด : ก. ค่อนว่า, พูดแคะไค้ในเรื่องที่ไม่ดี, พูดให้เขาอายหรือเจ็บใจ, ยกความชั่วขึ้นมาว่าให้เจ็บใจ, ขอดค่อน ก็ว่า.
  22. ค้อนติง : (โบ) ก. ทักท้วงแสดงความไม่เห็นด้วย.
  23. คอมมิวนิสต์ : น. ระบบเศรษฐกิจการเมืองและสังคมแบบหนึ่งของลัทธิสังคมนิยม ที่มีอุดมการณ์ให้รวมทรัพย์สินทั้งปวงเป็นสมบัติส่วนกลางของชุมชน ไม่ให้มีกรรมสิทธิ์ส่วนบุคคล และให้จัดสรรรายได้แก่บุคคลอย่าง เสมอภาคกัน ทั้งนี้เพื่อแก้ปัญหาความทุกข์ยากของคนในสังคมอันเป็น ผลจากความไม่เสมอภาคในทรัพย์สิน, ผู้ที่นิยมระบบคอมมิวนิสต์. ว. เกี่ยวกับระบบคอมมิวนิสต์. (อ. communism, communist).
  24. ค่อย ๓ : ว. คํานําหน้าความข้างท้ายให้ติดต่อกับความข้างหน้า แสดงกิริยาที่ กระทําภายหลัง เช่น กินข้าวแล้วค่อยไป, ถ้าใช้ในความปฏิเสธว่า ไม่ค่อย หมายความว่า น้อย, บ้าง, (ตามส่วนของสิ่งที่พูดถึง) เช่น ไม่ค่อยมี ไม่ค่อยพูด, ไม่ใคร่ ก็ว่า.
  25. คอหยัก ๆ สักแต่ว่าคน : (สำ) น. คนที่ประพฤติตัวไม่สมศักดิ์ศรี ของความเป็นคน.
  26. คะ ๑ : คำกร่อนของคำหน้าซึ่งซ้ำกับคำหลังในคำที่มี ค เป็นพยัญชนะต้น ในบทกลอน เช่น ครื้นครื้น กร่อนเป็น คะครื้น โครมโครม กร่อนเป็น คะโครม มีคำแปลอย่างเดียวกับคำเดิมนั้น และมีความหมายในทางย้ำเน้นคำ.
  27. คะ ๒ : ว. คําลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ต่อจากคำถามหรือคำแสดงความสงสัยเพื่อ แสดงความสุภาพ เช่น อะไรคะ กระมังคะ, คำลงท้ายที่ผู้หญิงใช้ต่อ จากคำ ซิ นะ เพื่อแสดงความสุภาพ เช่น เชิญซิคะ ไปนะคะ.
  28. คะแนนนิยม : น. ความนิยมที่แสดงออกว่ามีมากน้อยเพียงใด.
  29. คับแค้น : ว. ลําบาก, ยากไร้, ฝืดเคือง, ลําบากเพราะถูกบีบคั้นทางใจ หรือความเป็นอยู่.
  30. คัมภีรภาพ : น. ความลึกซึ้ง.
  31. คาดคั้น : ก. แสดงกิริยาวาจาเป็นเชิงบังคับให้เป็นไปตามความประสงค์.
  32. ค่าตัว : น. ราคาที่กําหนดขึ้นเพื่อซื้อขายทาสในสมัยโบราณ, ต่อมา หมายถึงราคาที่กําหนดขึ้นตามความสําคัญหรือความสามารถของบุคคล.
  33. ค้าประเวณี : ก. กระทำการใด ๆ เพื่อสำเร็จความใคร่ในทางกามารมณ์ ของผู้อื่นอันเป็นการสำส่อนเพื่อสินจ้างหรือประโยชน์อื่นใด.
  34. ค่าย : น. (โบ) ที่ตั้งกองทหาร มีรั้วล้อมรอบ; ที่ตั้งกองทหาร, ที่พักกองทัพ; ที่พักแรมชั่วคราวของคนเป็นจํานวนมาก เช่น ค่ายลูกเสือ ค่ายผู้อพยพ; ฝ่ายที่มีความคิดเห็นแนวเดียวกัน เช่น ค่ายโลกเสรี. (อะหมว่า ล้อม).
  35. คาย ๑ : ก. ปล่อยของที่ไม่ต้องการจะกลืนหรือกลืนไม่ได้ออกจากปาก เช่น คายชานอ้อย; ปล่อยออกมา เช่น คายความร้อน; โดยปริยายใช้หมายถึง อาการของสิ่งที่ติดแน่นเลื่อนออกจากที่เดิม เช่น เรือคายหมัน ลูกประสัก คายตัว, เปิดเผย, แสดงออก, เช่น คายความลับ.
  36. ค่ายอาสาพัฒนา : น. ค่ายเยาวชนที่จัดตั้งขึ้นโดยมีความมุ่งหมายเพื่อ ส่งเสริมหรือฝึกฝนให้เยาวชนได้ร่วมมือร่วมใจกันบําเพ็ญประโยชน์ ต่าง ๆ ให้แก่ชุมชน.
  37. คาร์บอนไดออกไซด์ : น. ชื่อแก๊สชนิดหนึ่ง ไม่มีสี สูตรเคมี CO2 มีปรากฏในบรรยากาศ เกิดจากการเผาไหม้โดยสมบูรณ์องธาตุคาร์บอนหรือสารอินทรีย์ เป็นแก๊สหนักกว่าอากาศและไม่ช่วยการเผาไหม้ จึงใช้ประโยชน์ ในการดับเพลิง ใช้ในอุตสาหกรรมเครื่องดื่มอัดลม เช่น นํ้าโซดา นํ้าหวาน ใช้ทํานํ้าแข็งแห้ง ซึ่งเป็นตัวทําความเย็น. (อ. carbon dioxide).
  38. คารพ : [-รบ] น. ความเคารพ, ความนับถือ. (ป. คารว).
  39. คารวะ : [คาระ-] น. ความเคารพ, ความนับถือ. ก. แสดงความเคารพ. (ป.).
  40. คาว : น. กลิ่นเหม็นอย่างหนึ่งอย่างกลิ่นปลาสดเนื้อสด; โดยปริยายหมายถึง ความเสื่อมเสีย ความมัวหมอง มลทิน เช่น ราคีคาว คนนั้นยังมีคาว; เรียกกับข้าวว่า ของคาว, คู่กับ ขนม ว่า ของหวาน.
  41. ค่าว : (ถิ่น-พายัพ) น. กลอนหรือกวีนิพนธ์แบบหนึ่ง มักใช้แต่งรําพันความรัก หรือแต่งเป็นเรื่อง เช่น ค่าวเรื่องจําปาสี่ต้น หมายถึง คํากลอนเรื่องจําปาสี่ต้น.
  42. ค่าสินไหมทดแทน : (กฎ) น. เงินที่ต้องชดใช้เพื่อทดแทนความเสียหาย ที่เกิดขึ้นแก่ทรัพย์สินหรือแก่บุคคลอันเนื่องมาจากการละเมิด หรือการ ผิดสัญญา รวมทั้งทรัพย์สินที่ต้องคืนให้แก่ผู้เสียหายด้วย เช่น ค่า สินไหมทดแทนเพื่อละเมิด ค่าสินไหมทดแทนในการไม่ชำระหนี้ให้ต้อง ตามความประสงค์อันแท้จริงแห่งมูลหนี้.
  43. ค่าเสียหาย : (กฎ) น. เงินที่ชดใช้ให้แก่ผู้เสียหายเพื่อความเสียหายอันได้ก่อขึ้น.
  44. คำ ๒ : น. เสียงพูด, เสียงที่เปล่งออกมาครั้งหนึ่ง ๆ, เสียงพูดหรือลายลักษณ์อักษร ที่เขียนหรือพิมพ์ขึ้นเพื่อแสดงความคิด โดยปรกติถือว่าเป็นหน่วยที่เล็ก ที่สุดซึ่งมีความหมายในตัว, ใช้ประกอบหน้าคําอื่นมีความหมายเช่นนั้น เช่น คํานาม คํากริยา คําบุรพบท; พยางค์ซึ่งเป็นส่วนย่อยของวรรคหรือ บาทในฉันท์ แต่ละพยางค์ถือว่าเป็นคำหนึ่ง, ๒ วรรคของคำกลอน; ลักษณนามของเสียงพูด เช่น พูดคําหนึ่ง, ลักษณนามบอกจําพวกของเคี้ยว ของกิน เช่น ข้าวคําหนึ่ง, ลักษณนามเรียก ๒ วรรคของคํากลอนว่า คําหนึ่ง.
  45. คำขอ : (กฎ) น. คําซึ่งคู่ความหรือบุคคลภายนอกผู้มีส่วนได้เสียขอ ให้ศาลมีคําสั่งอย่างใดอย่างหนึ่ง; หนังสือที่ยื่นต่อทางราชการเพื่อ ขอให้ทําการอย่างใดอย่างหนึ่งให้แก่ผู้ยื่น.
  46. คำตั้ง : น. คําที่ยกขึ้นตั้งเพื่อนิยามความหมายในการทําพจนานุกรม; คําที่เป็นหลักให้คําอื่นที่เติมเข้ามาต่อ จะเติมข้างหน้า ตรงกลาง หรือ ข้างหลังก็ได้ ในภาษาคําติดต่อ.
  47. คำแถลงการณ์ : (กฎ) น. คําแถลงด้วยวาจาหรือเป็นหนังสือ ซึ่งคู่ความ ฝ่ายหนึ่งกระทําหรือยื่นต่อศาลด้วยมุ่งหมายที่จะเสนอความเห็นต่อศาล ในข้อความในประเด็นที่ได้ยกขึ้นอ้างในคําคู่ความหรือในปัญหาข้อใด ที่ศาลจะพึงมีคําสั่งหรือคําพิพากษา ซึ่งในข้อเหล่านี้คู่ความฝ่ายนั้นเพียงแต่ แสดง หรือกล่าวทบทวนหรือยืนยันหรืออธิบายข้อความแห่งคำพยาน หลักฐานและปัญหาข้อกฎหมายและข้อเท็จจริงทั้งปวง.
  48. คำนับ ๑ : ก. ทําความเคารพ, ทําความเคารพโดยก้มศีรษะให้. (โบ) น. คําที่ต้อง นับถือ, หลักฐาน, เช่น ธก็ให้โกษาธิบดีลําดับคํานับนี้ไว้. (ม. คําหลวง นครกัณฑ์).
  49. คำบังคับ : (กฎ) น. คําสั่งของศาลซึ่งออกเพื่อสั่งให้คู่ความหรือบุคคล ซึ่งเป็นฝ่ายแพ้คดีปฏิบัติตามคําพิพากษาหรือคําสั่ง.
  50. คำประสม : น. คําที่เกิดจากการนําคํามูลที่เกิดอิสระได้ตั้งแต่ ๒ คํา ขึ้นไปมาประสมกันแล้วกลายเป็นคําใหม่ที่มีความหมายใหม่ขึ้นมา อีกคําหนึ่ง เช่น ลูกเสือ ลูกน้ำ แขกยาม เครื่องใน ไฟฟ้า.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-1000 | 1001-1050 | 1051-1100 | 1101-1150 | 1151-1200 | 1201-1250 | 1251-1300 | 1301-1350 | 1351-1400 | 1401-1450 | 1451-1500 | 1501-1550 | 1551-1600 | 1601-1650 | 1651-1700 | 1701-1750 | 1751-1800 | 1801-1850 | 1851-1900 | 1901-1950 | 1951-2000 | 2001-2050 | 2051-2100 | 2101-2150 | 2151-2200 | 2201-2250 | 2251-2300 | 2301-2350 | 2351-2400 | 2401-2450 | 2451-2500 | 2501-2550 | 2551-2600 | 2601-2650 | 2651-2700 | 2701-2750 | 2751-2800 | 2801-2850 | 2851-2900 | 2901-2950 | 2951-3000 | 3001-3050 | 3051-3100 | 3101-3150 | 3151-3200 | 3201-3250 | 3251-3299

(0.0976 sec)