Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ค่ำ , then คำ, ค่ำ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ค่ำ, 711 found, display 101-150
  1. วังชา : คำประกอบท้ายคำ กำลัง เป็น กำลังวังชา มีความหมายเท่าเดิม.
  2. เอย ๑ : คำกล่าวประกอบหลังคำจำแนกรายละเอียด เช่น ค่าใช้จ่ายต่าง ๆ มีค่าน้ำเอย ค่าไฟเอย.
  3. กก ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ก ข ค ฆ สะกดว่า แม่กก หรือ มาตรากก.
  4. กง ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ง สะกด ว่า แม่กง หรือ มาตรากง.
  5. กด ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว จ ฉ ช ซ ฌ ฎ ฏ ฐ ฑ ฒ ด ต ถ ท ธ ศ ษ ส สะกด ว่า แม่กด หรือ มาตรากด.
  6. กดขี่ : ก. ข่มให้อยู่ในอํานาจตน, ใช้บังคับเอา, ทําอํานาจเอา, บางทีใช้เข้าคู่กับคำ ข่มเหง เป็น กดขี่ข่มเหง.
  7. กน ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ญ ณ น ร ล ฬ สะกด ว่า แม่กน หรือ มาตรากน.
  8. ก้นตะกรน : น. ก้นที่มีขี้ตะกอน. ว. เดนคัด, เดนเลือก, ขนาดเล็กมาก, ในคำว่า มะม่วงก้นตะกรน.
  9. กบ ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว บ ป พ ฟ ภ สะกด ว่า แม่กบ หรือ มาตรากบ.
  10. กม ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ม สะกด ว่า แม่กม หรือ มาตรากม.
  11. กรพินธุ์ : [กอระ-] น. ทับทิม เช่น จงแต่งเขนแต่งขันธ์ ผ้าเกราะพรรณรายแพร้ว ดยรดาษแก้วกรพินธุ์. (ม. คําหลวง มหาราช). (บางทีจะเพี้ยนมาจาก กุรุพินท์ ซึ่งตรงกับคำสันสกฤตว่า กุรุวินฺท = ทับทิม).
  12. กรมการนอกทำเนียบ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็นตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการเมือง ในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจากบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ หรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็น กรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการพิเศษ ก็ว่า.
  13. กรมการพิเศษ : (กฎ; โบ) น. กรมการเมืองพวกหนึ่ง เป็น ตำแหน่งกิตติมศักดิ์ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาแก่ผู้ว่าราชการ เมืองในการบริหารราชการในเมืองนั้น ๆ แต่งตั้งจาก บุคคลผู้ทรงคุณวุฒิหรือคหบดีในเมืองนั้น ๆ โดยไม่จำกัดจำนวน และถือว่าเป็นกรมการชั้นผู้ใหญ่, กรมการนอกทำเนียบ ก็ว่า.
  14. กรมธรรม์ : [กฺรมมะทัน] (กฎ; โบ) น. เอกสารซึ่งทาส ลูกหนี้ยินยอม ให้กรมการอำเภอทำให้ไว้แก่เจ้าหนี้นายเงิน, คำนี้เรียกเต็มว่า สารกรมธรรม์ หรือย่อว่า สารกรม, บางทีเรียกเพียงคำเดียวว่า กรม ก็มี เช่น กู้หนี้ถือสีนกันเข้าชื่อในกรมหลายคน. (สามดวง); กรมธรรม์ประกันภัย. (ส. กรฺม + ธรฺม).
  15. กรรม ๑, กรรม- ๑ : [กำ, กำมะ-] น. (๑) การ, การกระทำ, การงาน, กิจ, เช่น พลีกรรม ต่างกรรมต่างวาระ, เป็นการดีก็ได้ ชั่วก็ได้ เช่น กุศลกรรม อกุศลกรรม. (๒) การกระทำที่ส่งผลร้ายมา ยังปัจจุบัน หรือซึ่งจะส่งผลร้ายต่อไปในอนาคต เช่น บัดนี้ กรรมตามทันแล้ว ระวังกรรมจะตามทันนะ. (๓) บาป, เคราะห์, เช่น คนมีกรรม กรรมของฉันแท้ ๆ. (๔) ความตาย ในคำว่า ถึงแก่กรรม.
  16. กรรมวาจา : [กำมะ-] น. คำประกาศกิจการในท่ามกลางสงฆ์. (สฺ กรฺม + วาจา = คำ; ป. กมฺม + วาจา).
  17. กรรมเวร : [กําเวน] น. การกระทําที่สนองผลร้ายซึ่งทําไว้แต่ปาง ก่อน; คำแสดงความรู้สึกเดือดร้อนเพราะกรรมหรือชะตากรรมใน อดีต เช่น อายุตั้ง ๗๐ ปีแล้วยังต้องมาหาบขนมขายอีก กรรมเวร แท้ ๆ, เวร หรือ เวรกรรม ก็ว่า.
  18. กรอ ๔ : ว. ยากจน, เข็ญใจ, ฝืดเคือง, ในคำว่า เบียดกรอ. (ข. กฺร ว่า ยาก, ลำบาก).
  19. -กระเกรียบ : ใช้เข้าคู่กับคำ กระกรับ เป็น กระกรับกระเกรียบ.
  20. -กระงอด : ใช้เข้าคู่กับคำ กระเง้า เป็น กระเง้ากระงอด.
  21. -กระจาม : ใช้เข้าคู่กับคำ กระโจม เป็น กระโจมกระจาม.
  22. กระโจม ๑ : น. สิ่งที่ตามปรกติมียอดเป็นลอมอย่างซุ้ม ใช้เป็นเครื่องกําบังแดดลม เป็นต้น, โดยปริยายหมายถึง (๑) สิ่งที่รวมกันเข้าเป็นลอม เช่น กระโจมปืน. (๒) สิ่งที่ผูกรวบยอดให้รวมกัน เช่น ปากผูกกระโจม. (๓) ผ้าที่ทําเป็นลอมเพื่อเข้าไปอยู่ให้เหงื่อออก เช่น เข้ากระโจม; กูบที่มีด้านเปิดโล่ง ๔ ด้าน, โจม ก็ว่า; (ถิ่น) เครื่องสวมศีรษะอย่างหนึ่ง เช่น กระจอนหูแปงประดับแก้วเครื่องเลิศอุดมกระโจมคำสุบเก้าเกษ. (ม. ภาคอีสาน นครกัณฑ์).
  23. กระเฉด : น. ชื่อไม้น้ำชนิด Neptunia oleracea Lour. ในวงศ์ Leguminosae ขึ้นลอยอยู่ในน้ำ ลําต้นอ่อนอุ้มน้ำ มีปลอกเป็นปุยขาว ๆ เป็นทุ่น เรียกว่า นม ใบย่อยเล็กเมื่อถูกสัมผัสก็หุบราบไป ดอกเหลืองเล็กออก ชิดกันเป็นก้อนกลม ลําต้นและใบใช้เป็นอาหารได้, คำสุภาพเรียกว่า ผักรู้นอน, พายัพ เรียก ผักหนอง.
  24. กระฎุมพี : น. ชนชั้นต่ำ, นิยมใช้เข้าคู่กับคำ ไพร่ เป็น ไพร่กระฎุมพี. (ป. กุฏุมฺพิก ว่า คนมั่งมี).
  25. -กระทวย : ใช้เข้าคู่กับคำ กระทด เป็น กระทดกระทวย หรือใช้เข้าคู่กับคำ กระทิก เป็น กระทิกกระทวย.
  26. กระบาล : [-บาน] น. ส่วนกลางของกะโหลกศีรษะ, หัว, (คำไม่สุภาพ) เช่น ตีกระบาล เขกกระบาล, (โบ) เขียนเป็น กระบาน ก็มี เช่น เพิกหนังทังผมนั้นออกเสียแล้วเอากรวดทรายขัดกระบาน ศีศะชำระให้ขาวเหมือนพรรณศรีสังข์. (สามดวง); แผ่นกระเบื้อง; ลานกลางหมู่บ้าน เรียกว่า กระบาลบ้าน. (แผลงมาจาก กบาล).
  27. กระยาง ๑ : น. ขาหยั่ง เช่น อ้ายเหล่าเที่ยววิด พบหนองป้องปิด ทำเปนเชิงราง เอาไม้สามอัน ปักไว้เปนกระยาง แขวนโพงตรงกลาง สาดน้ำเอาปลา. (คำพากย์เรื่องสุบิน), เขียนเป็น กระหยาง ก็มี เช่น ปักไว้เปนกระหยาง. (สุบินคำพากย์).
  28. กระสาย : น. เครื่องแทรกยา เช่น น้ำเหล้า. (ส. กษาย ว่า ยาที่เคี่ยวเอาแต่ ๑ ใน ๔ ส่วน; ในทมิฬใช้ในความหมายว่า เป็นเครื่องแทรกยา ทุกชนิด ตามปรกติเป็นน้ำ). ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเส็น เป็น กระเส็นกระสาย.
  29. -กระเสียน : (โบ) ว. ใช้เข้าคู่กับคำ กระเบียด เป็น กระเบียดกระเสียน หมายความว่า อาการที่คนพูดจาเสียดสีด้วยถ้อยคำต่าง ๆ หรือกดขี่เบียดเบียน. (ปรัดเล).
  30. กระหม่อม : น. ส่วนของกะโหลกอยู่ตรงแนวศีรษะแต่ต่ำกว่าส่วนสูงสุด ลงมาใกล้หน้าผาก ในเด็กแรกเกิดจนถึง ๒ ขวบส่วนนี้จะมี เนื้อเยื่ออ่อนปิดรอยประสานกะโหลกที่ยังเปิดอยู่ หลังจากนั้น เนื้อเยื่ออ่อนนี้จะกลายเป็นกระดูก, โดยปริยายหมายรวม ๆ ว่า หัว เช่น เป่ากระหม่อม ลงกระหม่อม, ขม่อม ก็ว่า; คําสําหรับใช้ควบ กับคําที่ขึ้นต้น ว่า ``เกล้า'' เช่น ทราบเกล้าทราบกระหม่อม ทูลเกล้าทูลกระหม่อม ในการเขียนหนังสือใช้ไปยาลน้อยแทน เช่น ทราบเกล้าฯ ทูลเกล้าฯ. ส. คําใช้แทนตัวผู้พูด เพศชาย เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า และพระวรวงศ์เธอที่มิได้ทรงกรม, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๑. (ราชา) ว. คำรับหรือคำลงท้ายที่ผู้ชาย ใช้เพ็ดทูลเจ้านายชั้นหม่อมเจ้า. (ย่อมาจาก ขอรับกระหม่อม). (แผลงมาจาก ขม่อม).
  31. กระหยิ่ม : ก. กริ่ม คือ ครึ้มใจ, ภูมิใจ, อิ่มใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ ยิ้มย่อง เป็น กระหยิ่มยิ้มย่อง. (แผลงมาจาก ขยิ่ม).
  32. กรีดน้ำตา : ว. เช็ดน้ำตาด้วยนิ้วอย่างละครรำ, โดยปริยาย เป็นคำแสดงความหมั่นไส้ว่าแสร้งร้องไห้ทำให้ดูน่าสงสาร เช่น เรื่องแค่นี้มานั่งกรีดน้ำตาอยู่ได้.
  33. กรีส : [กะหฺรีด] น. อาหารเก่า, คูถ, อุจจาระ, ขี้, เช่น หนึ่งน้ำมูตรกรีส ฤๅเกียจฤๅกีด คำคนติฉิน. (สรรพสิทธิ์). (ป.; ส. กรีษ); (แบบ) มาตราวัดความยาวเท่ากับ ๑ เส้น ๑๑ วา ๑ ศอก หรือ ๑๒๕ ศอก, ความจุเท่ากับ ๔ อัมพณะ คือ ประมาณ ๔๔ ทะนาน. (ลิปิ). (ป. กรีส; ส. กรฺษ).
  34. กรุณา : [กะรุนา] น. ความสงสารคิดจะช่วยให้พ้นทุกข์ เป็น ๑ ในพรหมวิหาร ๔ คือ เมตตา กรุณามุทิตา อุเบกขา; ใช้ประกอบหน้ากริยาแสดงความขอร้องอย่างสุภาพ เช่น กรุณาส่ง; ใช้ร่วมกับคำ พระ เป็นสรรพนามสําหรับพระเจ้าแผ่นดิน เช่น กราบบังคมทูลพระกรุณา. (ป.).
  35. กลอน ๒ : [กฺลอน] น. คําประพันธ์ซึ่งแต่เดิมเรียกคําเรียงที่มีสัมผัสทั่วไป จะเป็นโคลง ฉันท์ กาพย์ หรือร่ายก็ตาม เช่นในคำว่า ชุมนุมตํารากลอน, ครั้นเรียกเฉพาะคําประพันธ์เฉพาะอย่างเป็น โคลง ฉันท์ กาพย์ ร่าย แล้ว คําประพันธ์นอกนี้อีกอย่างหนึ่งจึง เรียกว่ากลอน เป็นลํานําสําหรับขับร้องบ้าง คือ บทละคร สักวา เสภา บทดอกสร้อย, เป็นเพลงสําหรับอ่านบ้าง คือ กลอนเพลงยาว หรือ กลอนตลาด.
  36. กลอนตลาด : น. คํากลอนสามัญ โดยมากเป็นกลอน ๘ เช่น กลอนนิราศ นิทานคำกลอน.
  37. กวัด : [กฺวัด] ก. จับด้ามวัตถุให้ปลายตั้งขึ้นแล้วปัดไปมา, ใช้เข้าคู่กับคํา แกว่ง เป็น กวัดแกว่ง หรือ แกว่งกวัด หรือใช้เข้าคู่กับคำ ไกว เป็น กวัดไกว.
  38. ก่อ ๔ : ว. งอ ในคำว่า งอก่อ หรือ งอก่องอขิง. (ไทลื้อ ก่อ ว่า งอ).
  39. ก้อง ๒ : น. บรรณาการ ในคำว่า จิ้มก้อง. (จ.).
  40. กองหนุน : น. ทหารที่ปลดออกจากประจําการหรือที่ปลดจาก กองเกินเมื่ออายุครบกําหนด, ทหารที่จัดไว้เพื่อเพิ่มเติมหรือ สับเปลี่ยนแนวหน้า. ดู รกฟ้า.(ถิ่น-พายัพ) น. ถนน, ทางเดิน, เช่น กางกอง ว่า กลางถนน. น. เครื่องประดับหน้าอก, ชื่อแผ่นผ้าที่ปิดอกหญิงคล้ายเต่า ที่หญิงรุ่นสาวใช้. ว. สุกใส, สว่าง, งาม. น. เครื่องมือจับสัตว์น้ำชนิดหนึ่ง ใช้ในจังหวัดหนองคาย ทําด้วยตาข่าย ซึ่งด้านหนึ่งติดกับลําไม้ไผ่คล้ายธง ทิ้งชายด้านหนึ่งลงไปในน้ำ มุมหนึ่งถ่วงด้วยหิน และ อีกมุมหนึ่งมีเชือกโยงมาบนเรือ ลากติดไปกับเรือ พอรู้ว่าปลาติดตาข่ายก็สาวเชือกขึ้นมา. น. ไม้ชนิดหนึ่ง ผลคล้ายลางสาด แต่เปลือกหนา. (พจน. ๒๔๙๓). ว. ดังมากอย่างเสียงในที่จํากัดเช่นในโบสถ์, ดังไปได้ไกล เช่น เขาตะโกนก้องมาจากที่สูง. น. บรรณาการ ในคำว่า จิ้มก้อง. (จ.). น. ผีชนิดหนึ่ง เชื่อกันว่ามีตีนเดียว ไม่มีสะบ้าหัวเข่า จึงต้องเดินเขย่งเกงกอย ชอบออกมาดูดเลือดที่หัวแม่เท้า ของคนที่นอนหลับพักแรมในป่า. น. เรียกผ้าบาง โปร่ง ที่ใช้ปิดแผลหรือพันแผลว่า ผ้าก๊อซ. (อ. gauze). ก. โอบไว้ในวงแขน, โดยปริยายหมายถึงอาการที่มีลักษณะ คล้ายคลึงเช่นนั้น.
  41. ก่อหวอด : ก. เริ่มจับกลุ่มเพื่อทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง. น. ชื่อไม้ต้นหลายชนิดหลายสกุลในวงศ์ Fagaceae บางชนิดผลมี เนื้อในกินได้ รสมัน, ปักษ์ใต้เรียก กอ. (ถิ่น-พายัพ) น. ปลาช่อน. (ดู ช่อน). ว. งอ ในคำว่า งอก่อ หรือ งอก่องอขิง. (ไทลื้อ ก่อ ว่า งอ). ว. แสดงอาการเจ้าชู้ เช่น ไก่ก้อ.
  42. กะลาสี : น. ลูกเรือ. ว. อย่างเครื่องแต่งกายกะลาสีสมัยโบราณหรือ พลทหารเรือปัจจุบัน เช่น หมวกกะลาสี เงื่อนกะลาสี คอเสื้อกะลาสี. (มลายู กะลาสิ จากคำอิหร่าน ขะลาสิ).
  43. กะอูบ : (ถิ่น-พายัพ) น. ผอบ เช่น จึงแก้เอาเสื้อและผ้าคาดศีรษะ ใส่ในกระอูบคำ. (ประชุมพงศ. ๑๐).
  44. การ์ตูน ๑ : น. ภาพล้อ, ภาพตลก, บางทีเขียนเป็นภาพบุคคล บางทีเขียนเป็นภาพแสดงเหตุการณ์ที่ผู้เขียนตั้งใจ ล้อเลียนจะให้ดูรู้สึกขบขัน, หนังสือเล่าเรื่องด้วยภาพเขียน ซึ่งแบ่งหน้ากระดาษเป็นช่อง ๆมีคำบรรยายสั้น ๆ อ่านง่าย เนื้อเรื่องมักเป็นนิทานหรือนวนิยาย.
  45. กินแหนง : ก. สงสัย, ระแวง, ไม่แน่ใจ, มักใช้เข้าคู่กับคำ แคลงใจ เป็น กินแหนงแคลงใจ.
  46. กิโล, กิโล- : เป็นคําประกอบข้างหน้าหน่วยมาตราเมตริก หมายความว่า พัน เช่น กิโลเมตร กิโลกรัม. (ปาก) น. เครื่องชั่ง เช่น กิโลนี้ไม่เที่ยง; คำเรียกสั้น ๆ ของกิโลกรัมและกิโลเมตร.
  47. เก็บข้าว : ก. เอาข้าวมาจากลูกหนี้แทนเงินที่ยืมไปใช้ก่อน, ใช้คู่กับคำ ตกข้าว.
  48. เกย ๑ : น. เรียกคำหรือพยางค์ที่มีตัว ย สะกด ว่า แม่เกย หรือ มาตราเกย.
  49. เกียรติ, เกียรติ-, เกียรติ์ : [เกียด, เกียดติ-, เกียน] น. ชื่อเสียง, ความยกย่องนับถือ, ความมีหน้ามีตา. (ส. กีรฺติ; ป. กิตฺติ ว่า คำเล่าลือ, คำสรรเสริญ).
  50. แก้ฟ้อง : (กฎ) ก. แก้ไขคำฟ้องตามที่ศาลสั่งในกรณีที่ คำฟ้องไม่ถูกต้องตามกฎหมาย; ยื่นคำให้การเป็นข้อ ต่อสู้คดีเพื่อแก้คำฟ้อง.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-711

(0.0499 sec)