Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ค้าง , then คาง, ค้าง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ค้าง, 129 found, display 51-100
  1. ประทับแรม : (ราชา) ก. พักค้างคืนในที่อื่น.
  2. ปริวาส : [ปะริวาด] น. การอยู่ค้างคืน, การอยู่แรมคืน; ชื่อกรรมที่ภิกษุต้อง อาบัติสังฆาทิเสสต้องประพฤติ. (ป.).
  3. เป็นหนี้, เป็นหนี้เป็นสิน : ก. ติดค้างเงินผู้อื่น.
  4. เปี้ยว ๒ : น. ไม้ค้างพลูเล็ก ๆ.
  5. พักแรม : ก. พักค้างคืน (มักไปกันเป็นหมู่คณะ) เช่น ลูกเสือไปพักแรม.
  6. ยกยอด : ก. ทําพิธีเอายอดเมรุยอดปราสาทขึ้น; เก็บเอาสิ่งที่ทําค้างไว้ ไปทําให้เสร็จในคราวเดียวกัน; เก็บเอาความเจ็บแค้นไว้แก้แค้นใน คราวเดียว; โอนจํานวนเงินจากหน้าหนึ่งไปอีกหน้าหนึ่ง.
  7. รอนแรม : ก. เดินทางค้างคืนเป็นระยะ ๆ.
  8. รับช่วง : ก. รับทอดต่อเนื่องกันไป เช่น รับช่วงงานที่คนเก่าทำค้างไว้ น้องรับช่วงหนังสือเรียนจากพี่.
  9. แรม : น. ส่วนของเดือนจันทรคติที่พระจันทร์เริ่มมืดจนถึงมืด คือ ตั้งแต่แรม ค่ำหนึ่งไปถึงแรม ๑๔ ค่ำในเดือนขาด หรือถึงแรม ๑๕ ค่ำในเดือนเต็ม เรียกว่า ข้างแรม; ช่วงระยะเวลานานนับเดือนนับปี ในคำว่า แรมเดือน แรมปี. ก. ค้างคืน เช่น พักแรม.
  10. โรยฝอยทอง : ก. กิริยาที่เอาไข่แดงซึ่งผสมไข่น้ำค้างเล็กน้อย ใส่กรวย แล้วปล่อยให้ไหลเป็นสายเล็ก ๆ วนไปวนมาในน้ำเชื่อมเดือด ๆ.
  11. ลง : ก. ไปสู่เบื้องตํ่าหรือไปสู่เบื้องที่ถือว่าตรงข้ามกับขึ้น เช่น นํ้าลง เครื่องบินลง, ไปสู่พื้นดินและพื้นอื่น ๆ เช่น ลงดิน ลงบันได ลงเรือ; เอาเครื่องมือจับสัตว์นํ้าวางขึง หรือปัก เพื่อจับสัตว์นํ้า เช่น ลงข่าย ลงลอบ ลงอวน ลงเบ็ด; จด เช่น ลงบัญชี; ทําพิธี จารึกมนตร์หรือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เช่น ลงเลขลงยันต์ ลงนะหน้าทอง ลงกระหม่อม; ยอม เช่น ผู้น้อยต้องลงผู้ใหญ่; ตีพิมพ์ออกเผยแพร่ เช่น เอาข่าวไปให้หนังสือพิมพ์ลง ลงแจ้งความ; ตกลงปลงใจ แล้วก็ปักใจถือเอาเป็นแน่ เช่น ลงได้ทําเป็นไม่ทิ้ง ลงสู้แล้วไม่ถอย; ปลูก เช่น ลงมะพร้าว ลงลิ้นจี่; ลด เช่น ราคาทองลง ค่าเงินดอลลาร์ลง; ตก เช่น นํ้าค้างลง ฝนลง หมอกลง; เฆี่ยน เช่น ลงไม้ เอาหวายลงหลัง; ท้องเดิน เช่น ทั้งลงทั้งราก. ว. อาการที่ไปสู่เบื้องตํ่า เช่น ไหลลง เลื่อนลง ถอยลง; มากกว่าเดิม เช่น เลวลง ผอมลง ถูกลง สั้นลง.
  12. ลูกหลง : น. ลูกที่เกิดทีหลังห่างจากพี่เป็นเวลานานปี; ลูกปืนที่ค้าง อยู่ในกระบอกปืนโดยหลงลืม, ลูกปืนหรือสิ่งอื่นที่พลาดไปถูกผู้อื่น ซึ่งมิได้หมายไว้, โดยปริยายหมายถึงการที่ผู้ใดผู้หนึ่งพลอยได้รับ เคราะห์หรืออันตรายจากการกระทำของผู้อื่นโดยผู้กระทำมิได้มี เจตนาเช่นนั้น เช่น กรรมการห้ามมวยถูกลูกหลงของนักมวยลงไป หมอบกับพื้นเวที.
  13. สะสาง : ก. ทําเรื่องที่มีปัญหาหรือสิ่งที่สะสมหมักหมมอยู่ให้เสร็จสิ้นไป เช่น สะสางงานที่คั่งค้าง สะสางคดี.
  14. หนี้ : น. เงินที่ผู้หนึ่งติดค้างอยู่จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่ง, หนี้สิน ก็ว่า; (กฎ) นิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลตั้งแต่ ๒ ฝ่ายขึ้นไป ซึ่งฝ่ายหนึ่งเรียกว่า เจ้าหนี้ มีสิทธิที่จะบังคับบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า ลูกหนี้ ให้กระทําการหรือ งดเว้นกระทําการอย่างใดอย่างหนึ่ง. (อ. obligation); โดยปริยายหมายถึง การที่จะต้องตอบแทนบุญคุณเขา.
  15. หนี้สิน : น. เงินที่ผู้หนึ่งติดค้างอยู่จะต้องใช้ให้แก่อีกผู้หนึ่ง.
  16. หมักหมม : ก. ทิ้งไว้ให้คั่งค้างอยู่มาก ๆ เช่น เขาชอบหมักหมมงานไว้ เสมอ. ว. ที่ทิ้งไว้ให้คั่งค้างอยู่มาก ๆ เช่น เสื้อผ้าใช้แล้วก็ทิ้งหมักหมมไว้ ไม่รู้จักเก็บไปซักเสียที.
  17. หยากไย่ : น. ใยแมงมุมที่ติดค้างอยู่ในที่ต่าง ๆ, หยักไย่ ก็ว่า.
  18. หยาด : ก. หยดลง. น. เม็ดฝนหรือนํ้าค้างเป็นต้นที่ไหลยืดหยดลง เช่น หยาดฝน หยาดน้ำค้าง หยาดเหงื่อ.
  19. หัวเสีย : ว. หงุดหงิด, มีอารมณ์โกรธค้างอยู่.
  20. เหลือ : [เหฺลือ] ก. เกิน, เกินต้องการ, มาก, มากเกิน; ยังอยู่, ค้างอยู่, ยังไม่หมด.
  21. แหง ๑ : [แหฺง] ว. อาการของหน้าที่แสดงความเก้อหรือจนปัญญา ในคำว่า หน้าแหง; ค้างอยู่ เช่น ยิงฟันแหง คอยแหง.
  22. แหงนเต่อ, แหงนเถ่อ : ว. ค้างอยู่; โดยปริยายหมายความว่า เก้อ, ไม่สม ปรารถนา.
  23. อนากูล : ว. ไม่อากูล, ไม่คั่งค้าง, เช่น การงานอนากูลเป็นมงคลอันสูงสุด. (ป., ส. น + อากุล).
  24. อากูล : [กูน] ว. คั่งค้าง เช่น การงานไม่อากูลเป็นมงคลอันสูงสุด. (ป., ส. อากุล).
  25. อารมณ์ : น. สิ่งที่ยึดหน่วงจิตโดยผ่านทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ เช่น รูปเป็นอารมณ์ของตา เสียงเป็นอารมณ์ของหู, เครื่องยึดถือเป็นจริง เป็นจัง เช่น เรื่องนี้อย่าเอามาเป็นอารมณ์เลย; ความรู้สึกทางใจที่ เปลี่ยนแปลงไปตามสิ่งเร้า เช่น อารมณ์รัก อารมณ์โกรธ อารมณ์ดี อารมณ์ร้าย; อัธยาศัย, ปรกตินิสัย, เช่น อารมณ์ขัน อารมณ์เยือกเย็น อารมณ์ร้อน; ความรู้สึก เช่น อารมณ์ค้าง ใส่อารมณ์, ความรู้สึกซึ่ง มักใช้ไปในทางกามารมณ์ เช่น อารมณ์เปลี่ยว เกิดอารมณ์. ว. มี อัธยาศัย, มีปรกตินิสัย, เช่น เขาเป็นคนอารมณ์เยือกเย็น เขาเป็นคน อารมณ์ร้อน. (ป. อารมฺมณ).
  26. คาง ๑ : น. ส่วนของร่างกายที่สุดขากรรไตร อยู่ใต้ปาก, ราชาศัพท์ว่า พระหนุ.
  27. คาง ๒ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Albizia lebbeckoides Benth. ในวงศ์ Leguminosae ใบคล้ายใบกระถิน เนื้อไม้สีนํ้าตาลแก่ แข็ง, พายัพเรียก กาง.
  28. คางเหลือง : (สํา) ว. ป่วยหรือบาดเจ็บมากจนแทบเสียชีวิต, มักใช้ว่า ไม่ตายก็คางเหลือง.
  29. คางเบือน : น. ชื่อปลานํ้าจืดไม่มีเกล็ดชนิด Belodontichthys dinema ในวงศ์ Siluridae รูปร่างคล้ายปลาค้าว เว้นแต่มีขนาดเล็กกว่า คือ ยาวประมาณ ๗๐ เซนติเมตร ปากเชิดขึ้น จะงอยปากสั้น ครีบหลังเล็ก ครีบอกใหญ่ ลําตัวแบนข้างมาก หลังกว้าง ลําตัวโดยเฉพาะด้านหลังสีเทาอมเขียว ข้างท้องสีเงิน มีชุกชุมตามแหล่งนํ้าใหญ่ทั่วไป, เบี้ยว อ้ายเบี้ยว หรือ ขบ ก็เรียก.
  30. กระโดงคาง : น. ปลายคาง.
  31. ลิ้นกระด้างคางแข็ง : ก. อาการลิ้นแข็งขยับขากรรไกรไม่ได้. (สำ) ว. ก้าวร้าวโต้เถียงไม่ลดละ เช่น ลิ้นกระด้างคางแข็งแกล้งว่าขาน. (ขุนช้างขุนแผน); มึนตึงไม่ยอมพูดจาโต้ตอบ.
  32. ค่าง : น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมในวงศ์ Cercopithecidae ลักษณะคล้ายลิง ขนสีเทาหรือดํา ลําตัว แขน ขา และหางยาวกว่าลิงทั่ว ๆ ไป กินใบไม้ และผลไม้ ในประเทศไทยมี ๔ ชนิด คือ ค่างดํา (Presbytis melalophos) ค่างแว่นถิ่นใต้ (P. obscura) ค่างหงอก หรือ ค่างเทา (P. cristata) และ ค่างแว่นถิ่นเหนือ (P. phayrei).
  33. กาง ๒ : (ถิ่น-พายัพ) น. ต้นคาง. (ดู คาง๒).
  34. หนุ : [หะนุ] น. คาง. (ป., ส.).
  35. กระจับ ๑ : น. ชื่อไม้น้ำชนิด Trapa bicornis Osbeck ในวงศ์ Trapaceae ขึ้นลอยอยู่ในน้ำโดยอาศัยก้านใบเป็นทุ่น ฝักแก่สีดําแข็ง มี ๒ เขา คล้ายเขาควาย เนื้อในขาว รสหวานมัน; ชื่อขวากมีรูปคล้ายกระจับ; เรียกพานขนาดเล็ก ปากเป็นรูปวงรี ทําเป็นรูปกลีบบัวคลี่ออกคล้ายฝัก กระจับ ว่า พานปากกระจับ; วัตถุที่มีรูปอย่างฝักกระจับสําหรับยันคาง ศพที่บรรจุโกศ; นวมหรือวัตถุรูปร่างคล้ายฝักกระจับใช้ใส่ป้องกัน อวัยวะที่หว่างขาเวลาชกมวยไทย.
  36. กรามช้าง ๑ : น. ตําราแพทย์แผนโบราณว่าเป็นโรคมะเร็งชนิดหนึ่ง ขึ้นที่แถวกราม มีอาการเป็นเนื้อร้ายงอกขึ้นที่ต่อมแถวก้านคาง ทําให้ขากรรไตรพองโตใหญ่ออกมา เรียกว่า มะเร็งกรามช้าง.
  37. กะก่อง : (กลอน) ว. งดงาม เช่น คางเพลาคือกลวิมลกัณฐกะก่องคือแสงสรวล. (สมุทรโฆษ).
  38. กัณฐกะ : [-ถะกะ] น. เครื่องประดับคอ เช่น คางเพลาคือ กลวิมลกัณ- ฐกก่องคือแสงสรวล. (สมุทรโฆษ). (ป., ส.).
  39. กาจับหลัก ๑ : น. ไม้แป้นวงกลม มีหลักปักอยู่ที่ริมแป้น ที่ปลายหลัก มีวัตถุรูปกระจับสําหรับรับคางศพที่บรรจุโกศ; เครื่องดักทําร้าย ของโบราณ มีของแหลมอยู่ข้างล่าง เมื่อคนนั่งกระทบไกเข้าก็ลัดขึ้น เสียบทวาร; ท่าถือขอช้างอย่างหนึ่ง. (ตําราขี่ช้าง).
  40. เกียรติมุข : [เกียดมุก] น. อมนุษย์บริวารพระศิวะ ทำเป็นรูปหน้ายักษ์ปนหน้าสิงห์ ตากลมถลน ไม่มีคาง ปากแสยะ ไม่มีขากรรไกรล่าง ไม่มีร่างกาย ไม่มีแขนขา เชื่อกันว่าเป็นเทพเจ้ารักษาธรณีประตู เป็นเครื่องป้องกัน บ้านเรือน ขับไล่เสนียดจัญไร และคอยคุ้มครองนับถือพระศิวะ มักทำเป็นลวดลายแกะสลักหรือปูนปั้น เช่นที่ทับหลังปราสาทหิน บางแห่ง ตามซุ้มปรางค์หรือเจดีย์ และที่ฐานพระพุทธรูป, กาฬมุข หรือ หน้ากาฬ ก็เรียก.
  41. แก้วมรกต : น. ชื่อโรคซางละอองเป็นฝ้าบาง ๆ ที่ขึ้นตามลิ้น และในปาก มีสีเขียวดังสีใบไม้ กระทําให้หน้าเขียว บางทีก็เหลือง หรือดํา ลิ้นกระด้าง คางแข็ง มือกํา เท้างอ. (แพทย์).
  42. ขบ ๒ : ดู คางเบือน.
  43. ขากรรไกร : [-กันไกฺร] น. กระดูกต้นคางที่อ้าขึ้นอ้าลง มีลักษณะอย่าง กรรไกร, ขากรรไตร หรือ ขาตะไกร ก็ว่า.
  44. ข้างตะเภา : น. (๑) ชื่อปลาทะเลหลายชนิดในสกุล Plectorhynchus และ Diagramma วงศ์ Haemulidae ลำตัวป้อม แบนข้าง สันหัวโค้งลาดลง รอบปากมีเนื้อนุ่ม ใต้คางมีรู ๑-๓ คู่ เกล็ดเล็กสากมือพื้นลำตัวและอกมักมีสีฉูดฉาด ในปลา ขนาดเล็กมักมีลายสีทึบพาดตามยาวหลายเส้นและมักแตกเป็นจุดเมื่อตัว โตขึ้น ขอบแผ่นปิดเหงือกและในโพรงปากมักมีสีแดงส้ม ส่วนใหญ่พบ อาศัยอยู่ตามแนวปะการัง ขนาดตั้งแต่ ๓๐-๘๐ เซนติเมตร, สร้อยนกเขา ก็เรียก. (๒) ดู ข้างลาย.
  45. ครุคระ : [คฺรุคฺระ] ว. ขรุขระ, ไม่เรียบเป็นตะปุ่มตะป่ำ, เช่น ทั้งคางเคราก็ครุคระ ขึ้นรำไรอกย่นขนเขียวขดแข็ง. (ม. ร่ายยาว ชูชก).
  46. ควาย : [คฺวาย] น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิด Bubalus bubalis ในวงศ์ Bovidae เป็นสัตว์กีบคู่ รูปร่างใหญ่ สีดําหรือเทา เขาโค้งยาว ที่ใต้คางและหน้าอก มีขนขาวเป็นรูปง่าม; (ปาก) โดยปริยายมักหมายความว่า คนโง่ คนเซ่อ หรือคนตัวใหญ่ แต่ไม่ฉลาด.
  47. ค้าว : น. ชื่อปลานํ้าจืดในวงศ์ Siluridae ไม่มีเกล็ด รูปร่างคล้ายปลาคางเบือน ซึ่งอยู่ในวงศ์เดียวกัน แต่มีขนาดใหญ่กว่า คือ ยาวได้ถึง ๑-๑.๕ เมตร หัวแหลม ปากกว้าง ฟันแหลมคม ครีบหลังตั้งเด่น ตัวยาวเรียวไปทาง หาง แบนข้าง ในประเทศไทยมี ๒ ชนิด คือ ค้าวขาว (Wallagonia attu) และ ค้าวดํา คูน ทุกอีชุก อีทุก หรือ อีทุบ (W. miostoma) ซึ่งมีหนวดยาว กว่าชนิดแรก ลำตัวและครีบสีดำคล้ำ, ทั้ง ๒ ชนิด เค้า ก็เรียก.
  48. เคราแพะ : น. เคราใต้คางที่ไว้ยาวเรียวแหลมคล้ายขนใต้คางของแพะ, เรียกคางที่ไว้เคราเช่นนั้นว่า คางแพะ.
  49. ง่อง : น. เรียกสายโยงคางม้าไม่ให้เงยว่า สายง่อง.
  50. จตุรงคนายก : [จะตุรงคะ-] น. ชื่อกลอนกลบทโบราณ มีบังคับพิเศษคือ กลอนแต่ละวรรค แบ่งออกเป็น ๔ จังหวะ จังหวะละ ๒ คำ คำเริ่มต้นของ ทุกจังหวะใช้คำเดียวกันซ้ำตลอด คำที่ ๒ กับคำที่ ๔ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน และคำที่ ๖ กับคำที่ ๘ ใช้เสียงพยัญชนะเดียวกัน ตัวอย่างว่า จักกรีดจักกราย จักย้ายจักย่อง ไม่เมินไม่มองไม่หมองไม่หมาง งามเนื้องามนิ่มงามยิ้มงามย่าง ดูคิ้วดูคางดูปรางดูปรุง. (ชุมนุมตำรากลอน).
  51. 1-50 | [51-100] | 101-129

(0.0424 sec)