Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ชายา , then ชะยะ, ชาย, ชายา .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ชายา, 394 found, display 301-350
  1. เยาวพาน : [วะพาน] น. ชายหนุ่ม. ว. หนุ่ม, รุ่น. (แผลงมาจาก ยุวาน).
  2. รองเง็ง : น. ศิลปะการแสดงแบบหนึ่งของชาวไทยมุสลิมภาคใต้ เป็นการเต้นรําคู่ ชายหญิง และร้องเพลงคลอไปด้วย. (เทียบ ม. ronggeng).
  3. รัก ๒ : ก. มีใจผูกพันด้วยความห่วงใย เช่น พ่อแม่รักลูก รักชาติ รักชื่อเสียง, มีใจผูกพันด้วยความเสน่หา, มีใจผูกพันฉันชู้สาว, เช่น ชายรักหญิง, ชอบ เช่น รักสนุก รักสงบ.
  4. รักสามเส้า : น. ความรักที่ชาย ๒ คนรักหญิงคนเดียวกัน หรือหญิง ๒ คน รักชายคนเดียวกัน.
  5. รัชชูปการ : น. เงินช่วยราชการตามที่กําหนดเรียกเก็บจากราษฎรชายที่ มิได้รับราชการทหารเป็นรายบุคคล.
  6. รัดช้อง : น. เครื่องประดับสําหรับรัดชายผมที่ปล่อยยาวลงทางท้ายทอย ใช้ประกอบกับรัดเกล้า.
  7. รับหมั้น : ก. รับสิ่งของที่ฝ่ายชายนำมามอบให้ฝ่ายหญิงเพื่อแสดงความ มั่นหมายว่าจะแต่งงานด้วย.
  8. รายตีนตอง : น. เรียกพนักงานชายที่เดินขนาบพระราชยานในกระบวนแห่ ว่าพนักงานรายตีนตอง.
  9. ราวป่า : น. แนวป่า, ชายป่า, ขอบป่า.
  10. รำลาวแพน : น. การจับระบำชนิดหนึ่ง ใช้ผู้แสดงชายหญิงคู่หนึ่งหรือ มากกว่าแต่งกายอย่างไทยภาคเหนือ รำออกท่าหยอกเอินประกอบคำร้อง และดนตรี, ฟ้อนแพน หรือ ฟ้อนลาวแพน ก็เรียก.
  11. ริม : น. ชาย, ขอบ, เช่น ริมคลอง ริมผ้า ริมโต๊ะ. บ. ใกล้, ชิด, เช่น นั่งริม หน้าต่าง. ว. ด้านนอก เช่น น้องนอนกลาง พี่นอนริม; (ปาก) เกือบ, จวน, เช่น ริมตาย.
  12. รุน : ก. ดุนไปเรื่อย, ไสไปเรื่อย, เช่น รุนหลังให้รีบเดินไปข้างหน้า; ระบาย ท้อง. น. เครื่องช้อนกุ้งชนิดหนึ่งทำด้วยไม้ไผ่สานเป็นรูปสามเหลี่ยม คล้ายชนาง แต่เล็กกว่า มีด้ามยาว ใช้ช้อนกุ้งหรือปลาเล็กปลาน้อยตาม ชายเฟือย.
  13. รุ่ย ๑ : น. ชื่อไม้ต้นชนิด Bruguiera cylindrica (L.) Blume ในวงศ์ Rhizophoraceae ขึ้นตามป่าชายเลน โคนต้นมีรากหายใจโค้งคล้ายรูปหัวเข่า ผลยาวเหมือน ฝักถั่ว, ถั่วขาว ก็เรียก.
  14. รุ่ย ๒ : ว. หลุดออกจากที่เดิมทีละเล็กละน้อย เช่น ด้ายชายผ้ารุ่ยไปทีละเส้น สองเส้น.
  15. ลมโชย : น. ลมที่พัดอ่อน ๆ, ลมชาย ก็ว่า.
  16. ล่องแก่ง : ก. ไปด้วยเรือหรือแพฝ่าแก่งลงมา. ล่องจวน น. ผ้ายกมีลายที่ชาย ท้องพื้นปูม เรียกว่า ล่องจวน, ถ้ามีริ้ว เรียกว่า ล่องจวนริ้ว.
  17. ลอยชาย : ว. ปล่อยชายผ้านุ่ง (คือ ไม่โจงกระเบน) ในคำว่า นุ่งผ้า ลอยชาย; กรีดกราย เช่น เดินลอยชายไม่ทำอะไรเลย, โดยปริยาย หมายความว่า ไม่มีผู้ขัดขวาง เช่น ข้าศึกเดินลอยชายเข้าเมือง.
  18. ละครชาตรี : น. ละครต้นแบบของละครรำ เล่นกันเป็นพื้นบ้าน ทั่วไป มีตัวละครน้อย เดิมเป็นชายล้วน ตัวละครที่ไม่สำคัญมัก ไม่แต่งตัวยืนเครื่อง กระบวนรำไม่สู้งดงามประณีตนัก.
  19. ละครนอก : น. ละครรำแบบหนึ่ง ปรับปรุงให้ดีขึ้นจากละครชาตรี ในชั้นต้นตัวละครเป็นชายล้วน ภายหลังหญิงชายแสดงปนกัน มีบทเจรจา การแสดงพลิกแพลงนอกเรื่องได้ไม่ต้องรักษาระเบียบ แบบแผนนัก แสดงได้ทุกเรื่อง ยกเว้นเรื่องที่ละครในใช้แสดง.
  20. ละมุ ๒ : (ถิ่น–อีสาน) น. กลุ่มต้นไม้เล็ก ๆ ตามชายห้วย หนอง บึง.
  21. ลัดเลาะ : ก. อาการที่เลียบทางไป เช่น เดินลัดเลาะไปตามตลิ่ง ขี่ม้า ลัดเลาะไปตามชายป่า, หลบเลี่ยงเพื่อไม่ต้องเผชิญกับสิ่งกีดขวาง หรืออันตราย เช่น เดินทางลัดเลาะหลบข้าศึก, เลาะลัด ก็ว่า.
  22. ลาดเขา : น. ภูมิประเทศชายเขาที่ไม่ถึงกับราบ แต่ก็ไม่ชัน.
  23. ลำตัด : น. การละเล่นที่มีผู้แสดงเป็นชายและหญิงว่าเพลงร้องแก้กัน มีลูกคู่และกลองรํามะนาประกอบ.
  24. ลำแพน ๑ : น. ชื่อไม้ต้น ๓ ชนิดในสกุล Sonneratia วงศ์ Sonneratiaceae คือ ชนิด S. alba Smith ขึ้นตามชายทะเล, ชนิด S. griffithii Kurz และ S. ovata Backer ขึ้นอยู่ตอนในของป่าชายเลน.
  25. ลิงค์ : น. เครื่องหมายเพศ; ประเภทคําในไวยากรณ์ที่บอกให้รู้ว่าคํานั้น เป็นเพศอะไร เช่น ปุงลิงค์ คือ เพศชาย อิตถีลิงค์ คือ เพศหญิง; ลึงค์ ก็ว่า. (ป., ส.).
  26. ลึงค์ : น. อวัยวะเพศชาย, อวัยวะเพศ; ประเภทคําในไวยากรณ์ที่บอกให้รู้ว่า คํานั้นเป็นเพศอะไร เช่น ปุลลึงค์ คือ เพศชาย สตรีลึงค์ คือ เพศหญิง; ลิงค์ ก็ว่า. (ป., ส. ลิงฺค).
  27. ลื้อ ๒ : (ปาก) ส. คำใช้แทนผู้ที่เราพูดด้วย เพศชาย ใช้พูดกับผู้ที่เสมอกัน หรือผู้น้อยในทำนองเป็นกันเอง, เป็นสรรพนามบุรุษที่ ๒. (จ. ลื่อ ว่า คำใช้เรียกบุรุษที่ ๒).
  28. ลุง ๑ : น. พี่ชายของพ่อหรือแม่ หรือชายที่มีวัยไล่เลี่ยแต่แก่กว่าพ่อหรือแม่, คําเรียกชายที่ไม่รู้จักแต่มักจะมีอายุแก่กว่าพ่อหรือแม่.
  29. ลุ่ย : ก. เลื่อนหลุดจากที่เพราะคลายตัวไม่แน่นเหมือนเดิม เช่น ผ้านุ่ง ที่เหน็บไว้ลุ่ยหลุดออก มวยผมลุ่ยออกมา, คลายออกเป็นเส้น ๆ เช่น ชายผ้าลุ่ย ด้ายที่เย็บไว้ลุ่ย. ว. ไม่มีทางสู้ ในคำว่า แพ้ลุ่ย.
  30. ลูกเขย : น. ชายซึ่งเป็นผัวของลูกสาว.
  31. ลูกบวบ : น. ชื่อไม้ไผ่ที่มัดรวมกันกลม ๆ แล้วทําเป็นแพ เรียกว่า แพลูกบวบ; ชายจีวรภิกษุที่ม้วนให้กลมแล้วพาดบ่าหรือหนีบ รักแร้เมื่อเวลาครองผ้า เช่น พาดลูกบวบ หนีบลูกบวบ.
  32. ลูกรุ่ย : น. แก้วเป็นต้นที่ทําเป็นแท่งยาว ๆ คล้ายผลต้นรุ่ยสําหรับ ห้อยเป็นระย้า, โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น ลูกรุ่ยชายผ้าม่าน.
  33. ลูกสวาท : น. ชายที่ประพฤติตนอย่างนางบําเรอ.
  34. ลูกเสือ : น. สมาชิกแห่งองค์การที่มีวัตถุประสงค์ในการฝึกหัดอบรม บ่มนิสัยเด็กชายให้เป็นพลเมืองดีตามจารีตประเพณี มีอุดมคติและ ความรับผิดชอบตัวเองและต่อผู้อื่นเป็นต้น.
  35. ลูกหมาก ๑ : น. ชื่อต่อมในเพศชาย รูปร่างคล้ายเนื้อในของผลหมาก อยู่รอบท่อปัสสาวะส่วนต้นใต้กระเพาะปัสสาวะ ทําหน้าที่ผลิต นํ้าเลี้ยงเชื้ออสุจิบางส่วน; ส่วนใกล้โคนลึงค์สุนัขตัวผู้ที่พองขึ้นได้ เพื่อให้ยึดติดกับอวัยวะเพศของตัวเมียในขณะผสมพันธุ์ ซึ่งเรียกว่า ติดเก้ง.
  36. เลก : (โบ) น. ชายฉกรรจ์, พลเมืองชั้นสามัญ, เขียนเป็น เลข ก็มี.
  37. เลกวัด : (โบ) น. ชายฉกรรจ์ที่มีผู้อุทิศถวายให้แก่วัด.
  38. เล่นสวาท : ก. เลี้ยงเด็กชายเป็นลูกสวาท.
  39. เล็ม : ก. เย็บริมชายผ้า เช่น เล็มผ้า; ตัดแต่ริมหรือปลายทีละน้อย เช่น เล็มผม, เลือกเก็บหรือเด็ดทีละน้อย เช่น เล็มยอดกระถิน, เลือกเก็บ แต่ผลที่เห็นว่าสุกหรือใช้ได้ เช่น เล็มมะม่วง, กัดกินทีละน้อย เช่น เด็กเล็มขนม แกะเล็มหญ้า, และเล็ม ก็ว่า.
  40. เลาะลัด : ก. อาการที่เลียบทางไป เช่น เดินเลาะลัดไปตามตลิ่ง ขี่ม้า เลาะลัดไปตามชายป่า, หลบเลี่ยงเพื่อไม่ต้องเผชิญกับสิ่งกีดขวาง หรืออันตราย เช่น เดินทางเลาะลัดหลบข้าศึก, ลัดเลาะ ก็ว่า.
  41. และเลียม : ก. พูดเกี้ยวผู้หญิงทีเล่นทีจริง เช่น ชายเจ้าชู้และเลียมผู้หญิง; เลียบเคียงเข้าไปทีละน้อย เช่น เด็กและเลียมเข้ามาขอขนมกิน.
  42. วนานต์ : น. ชายป่า. (ป., ส.).
  43. วัยหนุ่ม : น. วัยที่มีอายุพ้นวัยเด็ก นับตามความนิยมตั้งแต่ ๑๕๓๐ ปี, ใช้แก่ชาย.
  44. วัวพันหลัก : (สํา) ว. อาการที่วกหรือย้อนกลับไปหาจุดเริ่มต้น เช่น ให้การเป็นวัวพันหลัก, ลักษณะที่วกหรือย้อนกลับไปหาบุคคลที่ เป็นต้นตอผู้รับผิดชอบ (มักใช้ในทางชู้สาว) มาจากสำนวนเต็มว่า แม่สื่อแม่ชัก ไม่ได้เจ้าตัว เอาวัวพันหลัก หมายความว่า ชายที่ใช้แม่ สื่อไปติดต่อหญิงที่ตนชอบ แล้วไม่ได้ตัวหญิงคนนั้น เลยเอาแม่สื่อ นั้นเองเป็นภรรยา หรือผู้หญิงทำทีรับอาสาไปติดต่อหญิงคนใด คนหนึ่งให้แก่ชาย แต่ในที่สุดก็เอาตัวเองเข้าพัวพันจนได้ชายคน นั้นเป็นสามี.
  45. วิวาห, วิวาห์, วิวาหะ : [วิวาหะ] น. ''การพาออกไป'' หมายถึง การแต่งงานแบบหนึ่งที่ ฝ่ายชายจะต้องถูกนําไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง เรียกว่า วิวาหมงคล, เป็นประเพณีแต่งงานที่นิยมปฏิบัติกันในประเทศอินเดียฝ่ายใต้, การแต่งงานตามประเพณีไทย ไม่ว่าฝ่ายหญิงจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายชาย หรือฝ่ายชายจะไปอยู่ที่บ้านฝ่ายหญิง หรือจะแยกไปอยู่ตามลําพัง ก็เรียกว่า วิวาหะ หรือ วิวาหมงคล ทั้งสิ้น. (ป., ส.).
  46. วีรบุรุษ : [วีระบุหฺรุด] น. ชายที่ได้รับยกย่องว่ามีความกล้าหาญ. (ส. วีรปุรุษ). วีรสตรี [วีระสัดตฺรี] น. หญิงที่ได้รับยกย่องว่ามีความกล้าหาญ.
  47. แว่ว : ก. ได้ยินแต่ไม่ชัดแจ้ง เช่น มีข่าวแว่วมาว่าปีนี้จะได้เงินเดือนขึ้น, ได้ยินมาจากที่ไกล เช่น แว่วเสียงขลุ่ยมาจากชายป่า.
  48. ไว้ชื่อ : ก. แสดงความรู้ความสามารถเป็นการฝากชื่อเสียงไว้ให้ปรากฏ เช่น ชาติชายต้องไว้ชื่อ.
  49. ศิวลึงค์ : น. รูปนิมิตแทนองค์พระศิวะหรือพระอิศวร ทําเป็นรูป อวัยวะเพศชาย ถือว่าเป็นวัตถุบูชาอันศักดิ์สิทธิ์ของพวกไศวะ.
  50. ษมา : [สะมา] ก. กล่าวคําขอโทษ. น. การยกโทษให้เมื่ออีกฝ่ายหนึ่งยอม รับผิด, ขมา ก็ว่า. (ส. กษมา; ป. ขมา). ษมายุมแปลง น. เครื่องขมาโทษที่ชายนําไปคํานับพ่อแม่หญิงเพื่อ ขอโทษในการที่ลักพาลูกสาวท่านไป.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | [301-350] | 351-394

(0.0364 sec)