Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ตะ , then , ตะ, ตา .

Budhism Thai-Thai Dict : ตะ, 427 found, display 101-150
  1. จิตตุชุกตา : ความซื่อตรงแห่งจิต, ธรรมชาติที่ทำให้จิตซื่อตรงต่อหน้าที่การงานของมัน (ข้อ ๑๙ ในโสภณจิต ๒๕)
  2. ตัตรมัชฌัตตตา : ความเป็นกลางในอารมณ์นั้นๆ, ภาวะที่จิตและเจตสิกตั้งอยู่ในความเป็นกลาง บางทีเรียก อุเบกขา (ข้อ ๗ ในโสภณเจตสิก ๒๕)
  3. ตู่ : กล่าวอ้างหรือทึกทักเอาของผู้อื่นว่าเป็นของตัว, กล่าวอ้างผิดตัว ผิดสิ่ง ผิดเรื่อง, ในคำว่า กล่าวตู่พระพุทธเจ้า หรือตู่พุทธพจน์ หมายความว่า อ้างผิดๆ ถูกๆ, กล่าวสิ่งที่ตรัสว่ามิได้ตรัส กล่าวสิ่งที่มิได้ตรัสว่าได้ตรัสไว้, พูดให้เคลื่อนคลาดหรือไขว้เขวไปจากพุทธดำรัส, พูดใส่โทษ, กล่าวข่มขี่, พูดกด เช่น คัดค้านให้เห็นว่า ไม่จริงหรือไม่สำคัญ
  4. ทิฏฐิสามัญญตา : ความเป็นผู้มีความเสมอกันโดยทิฐิ, มีความเห็นร่วมกัน, มีความคิดเห็นลงกันได้ (ข้อ ๖ ในสารณียธรรม ๖)
  5. ทุกขตา : ความเป็นทุกข์, ภาวะที่คงทนอยู่ไม่ได้ ดู ทุกขลักษณะ
  6. เทวตานุสติ : ระลึกถึงเทวดา คือระลึกถึงคุณธรรมที่ทำบุคคลให้เป็นเทวดา ตามที่มีอยู่ในตน (ข้อ ๖ ในอนุสติ ๑๐)
  7. เทวตาพลี : ทำบุญอุทิศให้เทวดา (ข้อ ๕ แห่งพลี ๕ ในโภคอาทิยะ ๕)
  8. เทวปุตตมาร : มารคือเทพบุตร, เทวบุตรเป็นมาร เพราะเทวบุตรบางตนที่มุ่งร้าย คอยขัดขวางเหนี่ยวรั้งบุคคลไว้ไม่ให้สละความสุขออกไปบำเพ็ญคุณธรรมที่ยิ่งใหญ่ ทำให้บุคคลนั้นพินาศจากความดี, คัมภีร์สมัยหลังๆ ออกชื่อว่า พญาวสวัตตีมาร (ข้อ ๕ ในมาร ๕)
  9. ธมฺมสมฺมุขตา : ความเป็นต่อหน้าธรรม, พร้อมหน้าธรรม ในวิวาทาธิกรณ์ หมายความว่า ปฏิบัติถูกต้องตามธรรมวินัยและสัตถุศาสน์อันเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์นั้น จึงเท่ากับว่าธรรมมาอยู่ที่นั้นด้วย
  10. ธัมมกามตา : ความเป็นผู้ใคร่ธรรม, ความพอใจและในใจในธรรม, ความใฝ่รู้ใฝ่ศึกษาธรรม และใฝ่ในความดี ดู นาถกรณธรรม
  11. ธัมมคารวตา : ดู คารวะ
  12. ปกฺขหตตา : ความเป็นผู้ชาไปซีกหนึ่ง ได้แก่ โรคอัมพาต
  13. ปฏิสันถารคารวตา : ดู คารวะ
  14. ปรมัตถมัญชุสา : ชื่อคัมภีร์ฎีกาที่พระธรรมบาลรจนาขึ้น เพื่ออธิบายความในคัมภีร์วิสุทธิมรรคของพระพุทธโฆษาจารย์; นิยมเรียกว่า มหาฎีกา
  15. ปริสัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักประชุมชน และกิริยาที่จะต้องปฏิบัติต่อประชุมชนนั้นๆ เช่นรู้จักว่า ประชุมชนนี้ เมื่อเข้าไป จะต้องทำกิริยาอย่างนี้จะต้องพูดอย่างนี้ เป็นต้น (ข้อ ๖ ในสัปปุริสธรรม ๗)
  16. ปัตตานุโมทนามัย : บุญสำเร็จด้วยการอนุโมทนาส่วนบุญ, ทำบุญด้วยการยินดีในการทำดีของผู้อื่น (ข้อ ๗ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)
  17. ปาณาติปาตา เวรณมี : เว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วง, เว้นจากการฆ่าสัตว์ (ข้อ ๑ ในศีล ๕ ฯลฯ)
  18. ปาตาละ : นรก, บาดาล (เป็นคำที่พวกพราหมณ์ใช้เรียกนรก)
  19. ปุคคลสัมมุขตา : ความเป็นต่อหน้าบุคคล, ในวิวาทาธิกรณ์ หมายความว่าคู่วิวาทอยู่พร้อมหน้ากัน
  20. ปุคคลัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักบุคคล คือ รู้ความแตกต่างแห่งบุคคล ว่าโดยอัธยาศัย ความสามารถ และคุณธรรม เป็นต้น เป็นอย่างไร ควรคบควรใช้ควรสอนอย่างไร (ข้อ ๗ ในสัปปุริสธรรม ๗)
  21. ปุพเพกตปุญญตา : ความเป็นผู้ได้ทำความดีไว้ในก่อน, ทำความดีให้พร้อมไว้ก่อนแล้ว (ข้อ ๔ ในจักร ๔)
  22. พุทธคารวตา : ดู คารวะ
  23. โภชเนมัตตัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักประมาณในการบริโภคอาหาร, รู้จักประมาณในการกิน คือ กินเพื่อหล่อเลี้ยงร่างกายให้ชีวิตเป็นอยู่ได้ผาสุก มิใช่เพื่อสนุกสนานมัวเมา (ข้อ ๒ ใน อปัณณกปฏิปทา ๓)
  24. มัตตัญญุตา : ความเป็นผู้รู้จักประมาณ คือความพอเหมาะพอดี เช่น รู้จักประมาณในการแสวงหา รู้จักประมาณในการใช้จ่ายพอเหมาะพอควร เป็นต้น ดู สัปปุริสธรรม
  25. มานัตตจาริกภิกษุ : ภิกษุผู้ประพฤติมานัต
  26. มิตตปฏิรูป : คนเทียมมิตร, มิตรเทียม ไม่ใช่มิตรแท้ มี ๔ พวก ได้แก่ ๑.คนปอกลอก มีลักษณะ ๔ คือ ๑.คิดเอาแต่ได้ฝ่ายเดียว ๒.ยอมเสียน้อยโดยหวังจะเอาให้มาก ๓.ตัวมีภัย จึงมาช่วยทำกิจของเพื่อน ๔.คบเพื่อนเพราะเห็นแก่ประโยชน์ของตัว ๒.คนดีแต่พูด มีลักษณะ ๔ คือ ๑.ดีแต่ยกของหมดแล้วมาปราศรัย ๒.ดีแต่อ้างของยังไม่มีมาปราศรัย ๓.สงเคราะห์ด้วยสิ่งหาประโยชน์มิได้ ๔.เมื่อเพื่อนมีกิจ อ้างแต่เหตุขัดข้อง ๓.คนหัวประจบ มีลักษณะ ๔ คือ ๑.จะทำชั่วก็เออออ ๒.จะทำดีก็เออออ ๓.ต่อหน้าสรรเสริญ ๔.ลับหลังนินทา ๔.คนชวนฉิบหาย มีลักษณะ ๔ คือ ๑.คอยเป็นเพื่อนดื่มน้ำเมา ๒.คอยเป็นเพื่อนเที่ยวกลางคืน ๓.คอยเป็นเพื่อนเที่ยวดูการเล่น ๔.คอยเป็นเพื่อนไปเล่นการพนัน
  27. มุญจิตุกัมยตาญาณ : ญาณอันคำนึงด้วยใคร่จะพ้นไปเสีย, ความหยั่งรู้ที่ทำให้ต้องการจะพ้นไปเสีย คือ ต้องการจะพ้นไปเสียจากสังขารที่เบื่อหน่ายแล้ว ด้วยนิพพิทานุปัสสนาญาณ (ข้อ ๖ ในวิปัสสนาญาณ ๙)
  28. โลกุตตมาจารย์ : อาจารย์ผู้สูงสุดของโลก, อาจารย์ยอดเยี่ยมของโลก หมายถึงพระพุทธเจ้า
  29. โลกุตตระ : พ้นจากโลก, เหนือโลก, พ้นวิสัยของโลก, ไม่เนื่องในภพทั้ง ๓ (พจนานุกรม เขียน โลกุตตร) คู่กับ โลกิยะ
  30. โลกุตตราริยมรรคผล : อริยมรรคและอริยผลที่พ้นวิสัยของโลก
  31. วรฺคานฺต : สวนป่า เช่น สาลวโนทยาน คือ สวนป่าไม้สาละ
  32. วัตตขันธกะ : ชื่อขันธกะที่ ๘ แห่งคัมภีร์จุลวรรค วินัยปิฎก ว่าด้วยวัตรประเภทต่างๆ
  33. วัตตปฏิบัติ : ดู วัตรปฏิบัติ
  34. วัตตเภท : ความแตกแห่งวัตรหมายความว่าละเลยวัตร, ละเลยหน้าที่ คือไม่ทำตามข้อปฏิบัติที่กำหนดไว้ เช่น ภิกษุผู้กำลังประพฤติมานัต หรือกำลังอยู่ปริวาส ละเลยวัตรของตน พระอรรถกถาจารย์ปรับอาบัติทุกกฏ
  35. วินยสมฺมุขตา : ความเป็นต่อหน้าวินัย ในวิวาทาธิกรณ์ หมายถความว่าปฏิบัติตามธรรมวินัยและสัตถุศาสน์อันเป็นเครื่องระงับอธิกรณ์นั้น
  36. วินีตวัตถุ : เรื่องที่ท่านวินิจฉัยแล้ว, เรื่องที่ตัดสินแล้ว ท่านแสดงไว้เป็นตัวอย่างสำหรับเทียบเคียงตัดสิน ในการปรับอาบัติ (ทำนองคำพิพากษาของศาลสูงสุดที่นำมาศึกษากัน)
  37. สมชีวิตา : มีความเป็นอยู่พอเหมาะพอดี คือเลี้ยงชีวิตตามสมควรแก่กำลังทรัพย์ที่หาได้ ไม่ฝืดเคืองนัก ไม่ฟูมฟายนัก (ข้อ ๔ ในทิฏฐธัมมิกัตถะ)
  38. สมันตปาสาทิกา : ชื่อคัมภีร์อรรถกถาอธิบายความในพระวินัยปิฎก พระพุทธโฆษาจารย์เรียบเรียงขึ้น เมื่อ พ.ศ.ใกล้จะถึง ๑๐๐๐ โดยปรึกษาอรรถกถาภาษาสิงหฬที่มีอยู่ก่อน ชื่อ มหาปัจจริย และกุรุนที
  39. สมานัตตตา : ความเป็นผู้มีตนเสมอ หมายถึง การทำตนให้เข้ากันได้ ด้วยการร่วมสุขร่วมทุกข์ ไม่ถือตัว มีความเสมอภาค และวางตัวเหมาะสม (ข้อ ๔ ในสังคหวัตถุ ๔)
  40. สังฆคารวตา : ดู คารวะ
  41. สังฆมิตตา : พระราชบุตรีของพระเจ้าอโศกมหาราช ทรงผนวชเป็นภิกษุณี และไปประดิษฐานภิกษุณีสงฆ์ที่ลังกาทวีป พร้อมทั้งนำกิ่งพระศรีมหาโพธิไปถวายแก่พระเจ้าเทวานัมปิยติสสะด้วย
  42. สังฆสัมมุขตา : ความเป็นต่อหน้าสงฆ์ หมายความว่า การระงับอธิกรณ์นั้นกระทำในที่พร้อมหน้าสงฆ์ ซึ่งภิกษุผู้เข้าประชุมมีจำนวนครบองค์เป็นสงฆ์ ได้นำฉันทะของผู้ควรแก่ฉันทะมาแล้ว และผู้อยู่พร้อมหน้ากันนั้นไม่คัดค้าน
  43. สัตตถะ : เกวียน, ต่าง, หมู่เกวียน, หมู่พ่อค้าเกวียน
  44. สัตตสติกขันธกะ : ชื่อขันกะที่ ๑๒ แห่งจุลวรรคในพระวินัยปิฏก ว่าด้วยการสังคายนาครั้งที่ ๒
  45. สัตตาวาส : ภพเป็นที่อยู่ของสัตว์ มี ๙ เหมือนกับ วิญญาณัฏฐิติ ๗ ต่างแต่เพิ่มข้อ ๕ เข้ามาเป็น ๕.สัตว์เหล่าหนึ่งไม่มีสัญญา ไม่มีการเสวยเวทนา เช่นพวกเทพผู้เป็นอสัญญีสัตว์, เลื่อนข้อ ๕-๖-๗ ออกไปเป็นข้อ ๖-๗-๘ แล้วเติมข้อ ๙.สัตว์เหล่าหนึ่ง ผู้เข้าถึง เนวสัญญานาสัญญายตนะ
  46. สัตตาหะ : สัปดาห์, ๗ วัน; มักใช้เป็นคำเรียกย่อ หมายถึง สัตตาหกรณียะ
  47. สันตาปทุกข์ : ทุกข์ คือความร้อนรุ่ม, ทุกข์ร้อน ได้แก่ความกระวนกระวายใจ เพราะถูกไฟกิเลสคือ ราคะ โทสะ และโมหะแผดเผา
  48. สาณัตติกะ : อาบัติที่ต้องเพราะสั่ง คือสั่งผู้อื่นทำ ตัวเองไม่ได้ทำ ก็ต้องอาบัติ เช่น สั่งให้ผู้อื่นลักทรัพย์ เป็นต้น
  49. สิกขาคารวตา : ดู คารวะ
  50. สุกรขาตา : ชื่อถ้ำ อยู่ที่ภูเขาคิชฌกูฏ พระนครราชคฤห์ ณ ที่นี้พระสารีบุตรได้สำเร็จพระอรหัต เพราะได้ฟังพระธรรมเทศนาที่พระพุทธเจ้าทรงแสดงแก่ปริพาชกชื่อทีฆนขะ ดู ทีฆนขะ
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-427

(0.0228 sec)