น้ำค้าง : น. ไอนํ้าในอากาศที่ถูกความเย็นแล้วหยาดลงมาค้างบนใบไม้ ใบหญ้าเป็นต้นในเวลากลางคืนหรือเช้ามืด; ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง.
เม็ดน้ำค้าง : น. ส่วนที่มีลักษณะกลม ๆ คล้ายเม็ดน้ำค้างอยู่ตรงปลายยอดเจดีย์ ยอดปราสาท เป็นต้น, หยาดน้ำค้าง ก็เรียก.
หยาดน้ำค้าง :
น. ชื่อเครื่องหมายรูปดังนี้ ?, นิคหิต หรือ นฤคหิต ก็เรียก. (ดู นิคหิต)ส่วนที่มีลักษณะกลม ๆ คล้ายเม็ดน้ำค้างอยู่ตรงปลายยอดเจดีย์ ยอดปราสาท เป็นต้น, เม็ดน้ำค้าง ก็เรียก.
เพชรน้ำค้าง : น. แก้วสีขาว.
กระหม่อมบาง : (สํา) ว. เจ็บป่วยง่าย เช่น เขาเป็นคนกระหม่อมบาง ถูกน้ำค้างหน่อยก็เป็นหวัด, ขม่อมบาง ก็ว่า.
เย็นเยือก : ว. อาการที่รู้สึกหนาวสะท้านถึงขั้วหัวใจ เช่น บนยอดดอย น้ำค้างตกเย็นเยือก หน้าหนาวอากาศบนภูเขาเย็นเยือก, เย็นยะเยือก หรือ เยือก ก็ว่า.
หน : น. ทาง, ทิศ, เช่น หนเหนือ หนใต้; ครั้ง, คราว, เช่น กี่หน; ที่, สถานที่, เช่น ถึงยามค่ำน้ำค้างลงพร่างพร้อย น้องจะลอยลมบนไปหนใด. (นิราศอิเหนา), มักใช้เข้าคู่กับคำ แห่ง เป็น แห่งหน เช่น ไม่รู้ว่าเวลานี้ เขาอยู่แห่งหนตำบลใด.
หนาวดอกงิ้ว : น. ระยะเวลาที่ต้นงิ้วออกดอก ประมาณเดือนยี่ อากาศเย็น กว่าธรรมดา เช่น น้ำค้างพรมลงเฉื่อยเรื่อยเรื่อยริ้ว หนาวดอกงิ้วงิ้วออก ดอกไสว. (นิ. ประธม).
หยาด : ก. หยดลง. น. เม็ดฝนหรือนํ้าค้างเป็นต้นที่ไหลยืดหยดลง เช่น หยาดฝน หยาดน้ำค้าง หยาดเหงื่อ.
หิม : (นปุ.) ความหนาว, ความเย็น, ฤดูหนาว, น้ำค้าง, หิมะ ชื่อละอองน้ำที่แข็งรัดตัว มีลักษณะเหมือนปุย. วิ. หึสตีติ หิมํ. หึสฺ หึสายํ, อ, สสฺส โม, นิคฺคหิตโลโป. อตฺตโน สีตลภาเวน สตฺเต หิโนตีติ หิมํ. หิ หึลายํ, อิโม. หิโนตีติ หิมํ. หิ คติยํ. อภิฯ ปถวีปพฺพตาทีสุ หิโนติ ปตตีติ หิโม. หิ คติยํ, โม. กัจฯ และ รูปฯ ลง ม ปัจ. และเป็น ปุ.
ตุหน, ตุหิน : นป. น้ำค้าง
อุสฺสาว : (ปุ.) น้ำค้าง. วิ. อุปริโต สวตีติ อุสฺ สาโว. อุปุพฺโพ, สุ อภิสเว, โณ.
ตุสาร : (ปุ. นปุ.) ฤดูหนาว, ฤดูน้ำค้าง. ส. ตุษาร.
ตุหิน : (นปุ.) น้ำค้าง,วิ. โตหติ หึสตีติ ตุหินํ. ตุหฺ อทฺทเน, อิโน. โมคคัลลายนพฤติ วิ. ตุฑติ สตฺเต ปีเฬตีติ ตุหินํ. ตุทฺ วฺยถเน, อิโน, ทสฺส โห.
มหิกา : (อิต.) น้ำค้าง, วิ. มหียเต ราคีหีติ มหิกา. มหฺ ปูชายํ, ณฺวุ, อิตฺถิยํ อา.
เหมนฺต : (ปุ.) ฤดูน้ำค้าง, ฤดูหนาว, ฤดูหิมะ. วิ. หิมานิ เอตฺถ สนฺตีติ เหโม. โส เอว เห มนฺโต. อนฺต ปัจ. สกัด. อีกอย่างหนี่งสำเร็จรูปมาจาก หิม+อนฺต (ฤดู) เอา อิ เป็น เอ. ในฎีกาสัคคกัณฑ์ วิ. หิโนติ หหานึ คจฺฉติ สพฺพกมฺม เมตฺถาติ เหมนฺโต. หิ คติยํ, อนฺโต.
อุสฺสาวพินฺทุ : นป. หยาดน้ำค้าง