Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: น้ำ , then นำ, น้ำ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : น้ำ, 974 found, display 451-500
  1. ข้ามเรือ : ก. ลงเรือข้ามน้ำไปยังอีกฝั่งหนึ่ง.
  2. ข้าวกระยาทิพย์ : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ปรุงด้วยเครื่องกวนมี น้ำผึ้ง น้ำอ้อย น้ำนม ถั่ว งา เป็นต้น นิยมใช้หญิงพรหมจารีเป็นผู้กวน มักทำในพิธีสารท, ข้าวทิพย์ ก็เรียก.
  3. ข้าวเกรียบปากหม้อ : น. ชื่อของว่างชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า ละเลงบนผ้าที่ขึงปากหม้อน้ำเดือด มีไส้ทําด้วยกุ้งหรือหมูเป็นต้น. ข้าวเกรียบอ่อน น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้า ประสม กับนํ้าตาลโตนดหรือนํ้าตาลมะพร้าว ละเลงบนผ้าที่ขึงปากหม้อน้ำ เดือด มีไส้ทําด้วยถั่วและมะพร้าว กินกับนํ้าตาลคลุกงา.
  4. ข้าวจี่ ๑ : (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) น. ข้าวเหนียวนึ่งนวดกับเกลือปั้นเป็นก้อน เสียบไม้ปิ้งไฟ บางทีใส่น้ำอ้อยงบข้างใน ทาไข่แล้วปิ้งไฟ.
  5. ข้าวนึ่ง : น. ข้าวที่ได้จากการสีข้าวเปลือกซึ่งผ่านการแช่น้ำและอบ ด้วยความร้อนแล้ว; (ถิ่น-พายัพ, อีสาน) ข้าวเหนียวนึ่ง.
  6. ข้าวบาตร : น. ข้าวสารเก่าหุงในน้ำเดือดเพื่อให้สวยเป็นตัวสำหรับ ตักบาตร, เรียกขันเชิงสําหรับใส่ข้าวตักบาตรว่า ขันข้าวบาตร.
  7. ข้าวเบา : น. กลุ่มพันธุ์ข้าวที่ได้ผลเร็วกว่ากลุ่มพันธุ์ข้าวอื่น ออกรวง ในช่วงปลายเดือนกันยายนถึงกลางเดือนตุลาคมและเก็บเกี่ยวได้ใน ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนถึงกลางเดือนพฤศจิกายน เช่น พันธุ์ข้าวเหนียว หางยี ๗๑ พันธุ์ข้าวน้ำสะกุย ๑๙, พายัพและอีสานว่า ข้าวดอ.
  8. ข้าวมัน : น. ข้าวเจ้าที่หุงด้วยกะทิให้สุก มักกินกับส้มตำ, ข้าวเจ้า ผัดกับมันไก่ แล้วหุงแบบไม่เช็ดน้ำ; (ถิ่น-พายัพ) ข้าวเหนียวหุง แล้วมูนด้วยกะทิ.
  9. ข้าวยาคู : น. ชื่อขนมอย่างหนึ่ง ทําด้วยเมล็ดข้าวอ่อนตําแล้วคั้น เอานํ้าตั้งไฟจนสุก ใส่น้ำตาล เรียกว่า ข้าวยาคูน้ำ, ถ้าเคี่ยวให้แห้ง เรียกว่า ข้าวยาคูแห้ง.
  10. ขีด : ก. ใช้ของแหลมหรือมีดเป็นต้นทําให้เป็นเส้นหรือรอยยาว. น. แนวเส้น; ระดับ เช่น เกินขีด, ขีดขั้น ก็ว่า; ลักษณนามเรียกสิ่งที่เป็นเส้นหรือรอยยาว ปรากฏอยู่บนพื้นสิ่งใดสิ่งหนึ่ง เช่น มีรอย ๓ ขีด; (ปาก) เรียกเครื่องหมาย แสดงระดับชั้นของข้าราชการพลเรือน เช่น ข้าราชการชั้นตรีที่บ่ามีขีดใหญ่ ๑ ขีด; เรียกน้ำหนัก ๑ ใน ๑๐ ของกิโลกรัมว่า ขีดหนึ่ง.
  11. ขี้หนู ๒ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทำจากแป้งข้าวเจ้าโม่ทับน้ำ ยีให้ร่วนแล้วนึ่งให้สุก ใส่น้ำเชื่อม เคล้าให้ฟูเป็นเม็ดเล็ก ๆ คล้ายเม็ดทราย โรยด้วยมะพร้าว ทึนทึกขูด, (ราชา) ขนมทราย.
  12. เขยตาย : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Glycosmis pentaphylla (Retz.) Correa ในวงศ์ Rutaceae ชอบขึ้นในที่ชื้นตามชายป่าและริมหมู่บ้าน สูงประมาณ ๒ เมตร ผลกลม ขนาดราวปลายนิ้วก้อย สุกสีชมพูเรื่อ ๆ รสหวาน กินได้ รากใช้ทํายา, กระรอกน้ำข้าว กระโรกนํ้าข้าว หรือ นํ้าข้าว ก็เรียก, พายัพและอีสาน เรียก ส้มชื่น.
  13. เขื่อน : น. เครื่องป้องกันไม่ให้ดินริมนํ้าพัง, สิ่งที่สร้างขึ้นขวางกั้นลํานํ้า เพื่อกัก เก็บน้ำไว้ใช้ประโยชน์ในทางชลประทานเป็นต้น เช่น เขื่อนเจ้าพระยา, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งอื่นที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น กำแพงดิน หรืออิฐที่ล้อมรอบต้นโพธิ์; (โบ) รั้ว, กำแพง, คันดินกันตลิ่งพัง, เช่น ปิดประตูเมืองลง เขื่อนขว้าง. (ยวนพ่าย).
  14. ไขมัน : น. สารประกอบอินทรีย์จำพวกหนึ่งมีทั้งในสัตว์และพืช ไม่ ละลายน้ำ, ถ้าเป็นของเหลวในอุณหภูมิปรกติเรียก น้ำมัน, ถ้าเป็น ของแข็งในอุณหภูมิปรกติเรียก ไข. (อ. fat); (ปาก) เรียกเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน ชนิดหนึ่งในคนและสัตว์บางชนิดซึ่งสะสมสารประกอบอินทรีย์ดังกล่าว ไว้มากโดยเฉพาะบริเวณหน้าท้องหรือในผนังหน้าท้อง มีลักษณะนุ่ม ๆ หยุ่น ๆ, มัน ก็ว่า.
  15. ครอบ ๑ : [คฺรอบ] ก. เอาของที่มีลักษณะคลุ่ม ๆ คล้ายขันควํ่าเป็นต้นปิดงําไว้ เช่น เอาฝาชีครอบ เอากะลาครอบ. น. แก้วรูปลูกฟักตัดสําหรับครอบ พระพุทธรูปหรือเครื่องบูชาเป็นต้น; ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยโลหะ รูปทรงคล้ายลูกฟักหรือคล้ายน้ำเต้า มีเชิง ฝาครอบเป็นรูปทรงหัวเม็ด ทรงมัณฑ์เป็นต้น สำหรับใส่น้ำมนต์.
  16. ครำ : [คฺรํา] น. เรียกน้ำเสียที่ขังอยู่ในพื้นดินที่เป็นแอ่งเช่นใต้ถุนครัว ในท่อ ระบายน้ำเสีย ว่า นํ้าครํา, ไขเสนียด ก็เรียก.
  17. คร่ำ ๑ : [คฺรํ่า] ว. เรียกของเหลวในถุงเยื่อหุ้มลูกในมดลูกของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม ทําหน้าที่ลดผลการกระทบกระแทก และช่วยหล่อลื่นในตอนคลอดเป็นต้น ว่า นํ้าครํ่า เรียกถุงเยื่อหุ้มที่บรรจุน้ำคร่ำว่า ถุงน้ำคร่ำ.
  18. ครุ ๑ : [คฺรุ] น. ภาชนะสานชนิดหนึ่ง รูปกลม ๆ เหมือนกะลาตัด ยาชัน มีหูหิ้ว ใช้ตักน้ำ.
  19. คลัก ๒ : [คฺลัก] น. ตาที่จะสุก (ใช้แก่การเล่นดวด); (ถิ่น-ปักษ์ใต้) ที่ที่ไก่หรือ นกเขี่ยเป็นหลุม แล้วนอนในหลุมนั้น, ที่ที่ปลามารวมกันอยู่ในบ่อ หรือหนองที่น้ำงวด.
  20. ควั่งคว้าง : [คฺวั่งคฺว้าง] (กลอน) ว. แกว่งไปมา, กวัดแกว่ง, ไหลวน, โบราณเขียนเป็น คว่งงคว้งง ก็มี เช่น สระเหนาะน้ำคว่งงคว้งง ควิวแด. (กำสรวล).
  21. ค็อกเทล : น. เครื่องดื่มชนิดหนึ่ง ใช้เหล้าชนิดต่าง ๆ ผสมกัน ใส่นํ้าแข็ง แล้วเขย่า และอาจใส่นํ้าผลไม้หรือชิ้นผลไม้ เพื่อเพิ่มสีหรือรสให้แปลก ๆ ออกไป นิยมดื่มก่อนอาหาร; อาหารเรียกน้ำย่อยที่กินก่อนอาหารจานหลัก; เรียก งานเลี้ยงแบบหนึ่งที่ไม่นั่งโต๊ะกินอาหารเสิร์ฟเฉพาะเครื่องดื่มและอาหาร ว่าง ว่า งานเลี้ยงค็อกเทล. (อ. cocktail; cocktail party).
  22. คอคอด : น. แผ่นดินที่กิ่วคอดและมีน้ำล้อมรอบอยู่ทั้ง ๒ ด้าน ตรงที่ กิ่วคอดจะเชื่อมต่อระหว่างแผ่นดินใหญ่ ๒ แห่ง หรือเชื่อมต่อระหว่าง แผ่นดินใหญ่กับแหลมให้ติดต่อถึงกันได้ เช่น คอคอดกระ.
  23. คอแห้ง ๑ : ว. อาการที่คอไม่ชุ่มจนผากด้วยอยากดื่มน้ำเพราะต้องออกเสียงมาก หรือเพราะกระหายน้ำเนื่องจากเดินหรือวิ่งมาเป็นระยะเวลาอันยาวนาน.
  24. คะนน : (ปาก) น. เรียกหม้อดินขนาดใหญ่ชนิดหนึ่ง มีขีดเป็นรอยโดยรอบ สำหรับใส่น้ำ น้ำตาลโตนด เป็นต้น ว่า หม้อคะนน, หม้อทะนน ก็ว่า.
  25. คันนา : น. ดินที่พูนขึ้นเป็นคันตามท้องนาสำหรับขังน้ำไว้, ลูกคัน หรือ หัวคันนา ก็เรียก.
  26. คันโพง : น. เครื่องสําหรับตักนํ้าหรือโพงนํ้า มีคันยาว ที่ปลายมีเชือกผูกโพง เพื่อช่วยผ่อนแรง; คันไม้ยาวใช้ผูกโพงสำหรับตักน้ำหรือโพงน้ำ.
  27. คาบสมุทร : น. ส่วนของแผ่นดินที่มีน้ำล้อมเกือบรอบ ตามปรกติมัก ต่อเนื่องกับผืนแผ่นดินใหญ่เป็นคอคอด หรือยื่นยาวออกไปในทะเล.
  28. คู ๑ : น. ร่องนํ้าที่ขุดขึ้นเพื่อชักน้ำหรือเก็บนํ้าไว้ใช้เป็นต้น เช่น คูสวน, ร่องน้ำที่ขุดขึ้นเพื่อเป็นเครื่องกีดขวางป้องกันที่นอกกำแพงเมือง เช่น คูเมือง.
  29. คู่ชัก : น. เรือรูปสัตว์คู่หนึ่งซึ่งทำหน้าที่ชักลากเรือพระที่นั่งเมื่อแล่นทวนน้ำ หรือเมื่อไม่ประสงค์ให้เรือพระที่นั่งไหวขณะที่ทรงพระบรรทม เรียกว่า เรือคู่.
  30. เคลื่อนไหว : ก. ไม่อยู่นิ่ง, ไม่คงที่, เช่น น้ำในสระเคลื่อนไหวอยู่ตลอด เวลาเพราะกระแสลม; แสดงกิริยาหรือปฏิกิริยาอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น พรรคการเมืองเคลื่อนไหว.
  31. ไคล ๑ : [ไคฺล] น. เหงื่อที่ปนกับฝุ่นละอองติดกรังอยู่กับหนังกําพร้า, (ปาก) ขี้ไคล, ราชาศัพท์ว่า พระเมโท; ตะไคร่น้ำ เช่น ปูกินไคล.
  32. งด : ก. หยุดหรือเว้น คือ ไม่กระทําหรือไม่ดําเนินการตามปรกติ เช่น ผู้ป่วย ต้องงดอาหารและน้ำตามที่แพทย์สั่ง.
  33. งวด : น. คราวที่กำหนด เช่น การออกรางวัลสลากกินแบ่งออกเป็นงวด, ลักษณนามเรียกจำนวนนับของคราวที่กำหนด เช่น แบ่งการชำระหนี้ ออกเป็น ๕ งวด. ก. ลดลงไป, พร่องลงไป, แห้งลงไป, เช่น น้ำงวดลง.
  34. จรวจ : [จฺรวด] (แบบ) ก. กรวด, หลั่งน้ำ. (เทียบ ข. จฺรวจทึก ว่า กรวดนํ้า).
  35. จับมือ : ก. ทักทายตามธรรมเนียมตะวันตกโดยบุคคล ๒ คน ประสานมือขวา ของกันและกันแล้วเขย่า, เรียกอาการที่ครูสอนโดยจับมือผู้เริ่มเรียนให้ทำตาม ในการสอนบางวิชาเช่น ฟ้อนรำ ดนตรี หรืองานฝีมือบางอย่าง เช่น จับมือรำ, จับมือตีระนาด, โดยปริยายหมายถึงร่วมมือกัน เช่น ชาวบ้านจับมือกันพัฒนา แหล่งน้ำ.
  36. จาก ๓ : น. ชื่อปูชนิด Varuna litterata ในวงศ์ Grapsidae ตัวเล็ก อาศัยอยู่ตามป่า จากในเขตน้ำกร่อยหรือน้ำเค็ม.
  37. จาน ๒ : ก. เจือหรือปนด้วยน้ำ เช่น ข้าวจานนํ้า.
  38. จามร : [-มอน] น. แส้ขนจามรี ด้ามยาว ปรกติสอดอยู่ในฝักแบนรูปคล้ายน้ำเต้า จัดเป็นเครื่องสูงชนิดหนึ่ง.
  39. จาว ๒ : น. เจ้า, ผู้เป็นใหญ่, หมายถึงเทวดาในชั้นอาภัสรพรหม. ก. โผลงมา, โฉบ, เช่น จาวชิมดินแสงหล่น. (แช่งน้ำ). (ไทยใหญ่ จาว ว่า โผลงมา).
  40. จุ ๑ : ก. มีขนาด ปริมาณ หรือจํานวนบรรจุ เช่น ขวดใบนี้จุน้ำได้ ๑ ลิตร ลิฟต์นี้จุคนได้ ๑๐ คน. ว. มาก เช่น กินจุ.
  41. จุมพรวด : น. ชื่อปลาน้ำกร่อยหลายชนิดและหลายสกุลในวงศ์ Periophthalmidae เช่น สกุล Boleophthalmus, Pseudapocryptes, Parapocryptes ชนิด B. boddarti พบตามหาดเลนหรือชายฝั่งทะเล รูปร่างและพฤติกรรม ในการเคลื่อนไหวคล้ายปลากระจัง, กำพวด กำพุด ตีน หรือ ตุมพรวด ก็เรียก.
  42. จุมโพล่ : [-โพฺล่] น. ฝาปิดช่องบันไดหรือช่องทางขึ้นลงเรือดำน้ำหรือที่ดาดฟ้าเรือ.
  43. เจ้าฟ้า ๒ : น. ชื่อปูน้ำจืดชนิด Phricotelphusa sirindhorn ในวงศ์ Potamidae กระดองและขาก้ามสีขาว เบ้าตาและขาสีม่วงอมดำ อาศัยอยู่บริเวณ น้ำตกตามซอกหินบนภูเขาระดับสูง พบในจังหวัดระนอง ราชบุรี และเพชรบุรี.
  44. โจ๊ก ๒ : ว. มีนํ้ามากเกินส่วน (ใช้แก่นํ้าแกง) เช่น น้ำแกงใสโจ๊ก; เสียงดัง อย่างเสียงนํ้าไหล.
  45. โจ๋งเจ๋ง : ว. ใสมีแต่นํ้า เช่น น้ำแกงใสโจ๋งเจ๋ง.
  46. ฉลาม : [ฉะหฺลาม] น. ชื่อปลาทะเลหลายวงศ์ในอันดับ Lamniformes เป็นปลา กระดูกอ่อน เหงือกส่วนใหญ่มี ๕ คู่อยู่ข้างส่วนหัว แฉกบนของหางยก สูงขึ้นและยาวมาก ตัวผู้ขอบในของครีบท้องขยายใหญ่มีแท่งอวัยวะ สืบพันธุ์ เรียกว่า เดือย บางชนิดเป็นปลาผิวน้า เช่น ฉลามหนู (Scoliodon sorrakowvah), ฉลามเสือเสือทะเล พิมพา หรือตะเพียนทอง (Galeocerdo cuvieri) บางชนิดอยู่สงบตามพื้นท้องทะเล เช่น ฉลามกบ หรือ ฉลามหิน (Chiloscyllium griseum) บางชนิดอยู่ในน้ำลึกมาก เช่น ฉลามน้ำลึก (Squalus fernandinus) บางชนิดขนาดใหญ่มาก เช่น ฉลามวาฬ (Rhincodon typus) บางชนิดหัวแผ่แบน เรียก ฉลามหัวค้อน หรือ อ้ายแบ้ เช่น ชนิด Sphyrna leweni.
  47. ฉ่า : ว. เสียงน้ำมันเดือดเมื่อเวลาทอดของ; เสียงลูกคู่เพลงร้องรับจังหวะพ่อเพลง แม่เพลง; เสียงอื้ออึง เช่น จะชุมฉ่าชายจะมาก. (ม. ร่ายยาว ชูชก); เสียงน้ำดัง เช่นนั้น เช่น พรายสายชลฉ่าเพียง สินธุ์สวรรค์. (เฉลิมพระเกียรติพระนารายณ์).
  48. ฉ่ำ : ว. ชุ่มชื้น, ชุ่มน้ำในตัว.
  49. ฉีด : ก. ใช้กําลังอัดหรือดันให้ของเหลวอย่างน้ำพุ่งออกจากช่องเล็ก ๆ.
  50. ฉู่ฉี่ ๑ : น. ชื่อแกงอย่างหนึ่ง คล้ายแกงคั่ว มีน้ำแกงข้น, ถ้าไม่มีน้ำแกง เรียกว่า ฉู่ฉี่แห้ง.
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | [451-500] | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | 801-850 | 851-900 | 901-950 | 951-974

(0.1129 sec)