Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: น้ำ , then นำ, น้ำ .

Royal Institute Thai-Thai Dict : น้ำ, 974 found, display 801-850
  1. ห่า ๒ : (โบ) น. หน่วยวัดปริมาณน้ำฝนโดยกำหนดว่า ถ้าตกลงมาเต็มบาตรขนาด กลางที่ตั้งรองไว้กลางแจ้ง เรียกว่า น้ำฝนห่าหนึ่ง; โดยปริยายใช้กับสิ่งที่มา หรือตกลงมาเป็นจำนวนมาก เช่น ฝนตกลงมาห่าใหญ่, บางทีก็ใช้ว่า ห่าฝน เช่น ฝูงเครื่องบินทิ้งระเบิดถล่มข้าศึกเป็นห่าฝน.
  2. หางแข็ง : น. ชื่อปลาทะเลชนิด Megalaspis cordyla ในวงศ์ Carangidae ลำตัวเพรียว แบนข้างเล็กน้อย คอดหางแคบมาก เป็นเหลี่ยมแข็งดูคล้ายขาไก่ เกล็ดเล็ก แต่เฉพาะที่อยู่ในแนวเส้นข้างตัวจนถึงข้างหางขยายกว้าง ที่ขอบแผ่นปิด เหงือกมีจุดดำใหญ่ ว่ายน้ำเร็ว อยู่เป็นฝูงใกล้ผิวน้ำ, ขาไก่ แข้งไก่ อีลอง หรือ อีโลง ก็เรียก.
  3. หินโสโครก : น. แนวพืดหินหรือโขดหินใต้น้ำใกล้ ๆ ผิวพื้นน้ำทะเล อาจมี บางส่วนโผล่พ้นน้ำหรือปริ่มน้ำก็ได้ เป็นอันตรายแก่การเดินเรือ.
  4. หุงข้าว : ก. เอาข้าวสารและน้ำใส่หม้อตั้งบนเตาไฟให้ร้อนจนเดือดแล้ว ปลงลงเช็ดน้ำ จากนั้นยกขึ้นดงบนเตาไฟจนสุก เรียกว่า หุงเช็ดน้ำ ถ้าเคี่ยว จนน้ำแห้งไปเองโดยไม่ต้องเช็ดน้ำ เรียกว่า หุงไม่ต้องเช็ดน้ำ, โดยปริยาย หมายถึงลักษณะที่คล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น หุงข้าวด้วยหม้อไฟฟ้า.
  5. หุงขี้ผึ้ง : ก. เอาขี้ผึ้งแท้ผสมกับหัวกะทิหรือน้ำมันมะพร้าวเป็นต้นแล้วเคี่ยว กับใบเตยหรือดอกไม้บางชนิด เช่น ดอกมะลิ ดอกกระดังงา สำหรับใช้สี ปากเพื่อกันน้ำหมากเลอะริมฝีปากหรือเพื่อป้องกันริมฝีปากแตก.
  6. หุบผาชัน : น. หุบผาลึกเกิดเพราะน้ำกัดเซาะอย่างรวดเร็วจนเกิดเป็นร่องลึก ลงไป เหลือหน้าผาสองด้านสูงชัน.
  7. หุบห้วย : น. หุบเขาที่มีแอ่งน้ำขังอยู่.
  8. เหนียว : [เหฺนียว] ว. ดึงขาดยาก, ทนทานไม่หักไม่ขาดง่าย, แกะออกยาก, ไม่ยุ่ย, ไม่เปื่อย, เช่น กิ่งมะขามเหนียวมาก ด้ายหลอดเหนียวมาก มือเหนียว ตีนเหนียว; มีลักษณะคล้ายยางใช้ติดสิ่งอื่นได้ เช่น เอาแป้งมันผสมน้ำ ตั้งไฟแล้วกวนจนเหนียว, อาการที่ทำให้รู้สึกเหนอะหนะ เช่น เหงื่อ ออกจนเนื้อตัวเหนียวไปหมด; (ปาก) คงกระพัน, ทนทานต่อศาสตราวุธ, ฟัน แทง หรือยิงไม่เข้า, เช่น เขาเป็นคนหนังเหนียว; ตระหนี่ เช่น เขา เป็นคนเหนียวมาก, มักใช้ว่า ขี้เหนียว. น. ชื่อดินที่มีลักษณะเหนียวใช้ ปั้นได้ เรียกว่า ดินเหนียว; ชื่อข้าวที่มีลักษณะเหนียวมาก ใช้นึ่งเป็น อาหาร เรียกว่า ข้าวเหนียว; ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเหนียว คลุกมะพร้าวขูด โรยน้ำตาลเคี่ยวและข้าวตากคั่ว เรียกว่า ขนมเหนียว.
  9. เห็บ ๒ : น. เม็ดนํ้าแข็งที่เกิดจากการกลั่นตัวของไอน้ำในอากาศแล้วตกลงมา เรียกว่า ลูกเห็บ.
  10. เหมือง : [เหฺมือง] น. บ่อ เช่น เหมืองถ่านหิน เหมืองแร่; ลําราง, ร่องนํ้าสําหรับชักนํ้า เข้าไปหล่อเลี้ยงพืชที่เพาะปลูก, เช่น ชักน้ำจากเหมืองเข้านา.
  11. เหยือก : [เหฺยือก] น. ภาชนะใส่น้ำเป็นต้น มีขนาดใหญ่และสูงกว่าถ้วย มีหูอยู่ข้าง ๆ ข้างเดียว.
  12. เหี่ยว : ว. ไม่สดชื่นเพราะขาดน้ำ เช่น ดอกไม้เหี่ยว, ค่อยแห้งไป เช่น ส้มโอเหี่ยว, ไม่เต่งตึง เช่น หนังเหี่ยว; สลด เช่น ใจเหี่ยว.
  13. แหมะ ๒, แหมะ ๆ : [แหฺมะ] ว. เสียงดังอย่างเสียงน้ำหยด.
  14. แหวกว่าย : ก. เคลื่อนไปโดยอาศัยกำลังแขน ขาหรือครีบ หาง แหวกไป ในน้ำหรือในอากาศ, โดยปริยายหมายถึงเวียนว่ายตายเกิด ในความว่า แหวกว่ายตายเกิดในวัฏสงสาร.
  15. อมฤตรส : [อะมะรึดตะ] น. น้ำทิพย์; พระธรรม (ในพระพุทธศาสนา).
  16. อยาก : [หฺยาก] ก. ปรารถนา, ประสงค์, ต้องการ, ใคร่, เช่น อยากเป็นใหญ่ เป็นโต อยากมีเงิน; หิว, กระหาย, (ใช้แก่อาหาร) เช่น อยากข้าว อยากน้ำ.
  17. อวนรุน : น. อวนที่มีลักษณะคล้ายถุง ปากอวนประกอบกับคันรุน ติดตั้งบริเวณหัวเรือ รุนเคลื่อนที่ไปพร้อมกับเรืออย่างต่อเนื่อง เพื่อ ให้สัตว์น้ำที่อยู่ด้านหน้าปากอวนเข้ามาติดอยู่ที่ก้นถุงอวน ใช้ทำการ ประมงในระดับน้ำลึกไม่เกิน ๑๕ เมตร.
  18. อัฏฐบาน : [บาน] น. น้ำที่คั้นจากผลไม้ มี ๘ อย่าง คือ น้ำมะม่วง น้ำชมพู่หรือน้ำหว้า น้ำกล้วยมีเม็ด น้ำกล้วยไม่มีเม็ด น้ำมะซาง น้ำลูกจันทน์หรือน้ำองุ่น น้ำเหง้าอุบล น้ำมะปรางหรือน้ำลิ้นจี่, เขียนว่า อัฐบาน ก็มี.
  19. อัฐบาน : น. นํ้าที่คั้นจากผลไม้ มี ๘ อย่าง คือ นํ้ามะม่วง นํ้าชมพู่หรือ นํ้าหว้า นํ้ากล้วยมีเม็ด นํ้ากล้วยไม่มีเม็ด นํ้ามะซาง นํ้าลูกจันทน์หรือ น้ำองุ่น นํ้าเหง้าอุบล นํ้ามะปรางหรือน้ำลิ้นจี่, เขียนว่า อัฏฐบาน ก็มี.
  20. อัตคัด : [อัดตะ] ว. ขัดสน, ฝืดเคือง, ยากจน, เช่น เขาเป็นคนอัตคัด. ก. มีน้อย, ขาดแคลน, เช่น อัตคัดผม อัตคัดน้ำ.
  21. อั้น : ก. ยั้ง เช่น พูดไม่อั้น, กลั้น เช่น อั้นปัสสาวะ อั้นลมหายใจ, อัดไว้ เช่น อั้นไว้ในใจ; กําหนด เช่น จ่ายไม่อั้น; กําหนดจํานวนสูงสุด เช่น อั้น ๕ บาท แทงไม่อั้น (ใช้แก่การพนัน); (โบ) กั้น เช่น อั้น ทางน้ำไว้ไม่ให้ไหล. ว. อาการที่นิ่งอึ้ง พูดไม่ออก, มักใช้เข้าคู่ กับคำ นิ่ง เป็น นิ่งอั้น.
  22. อ่าง ๑ : น. ภาชนะสำหรับใส่น้ำเป็นต้น มักมีลักษณะกลม ปากผายก้นตื้น, โดยปริยายใช้เรียกสิ่งที่มีลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น เช่น อ่างอาบนํ้า.
  23. อ้ายแอ้ด : น. ชื่อจิ้งหรีดขนาดเล็กหลายชนิดในวงศ์ Gryllidae, จิ้งหรีดผี ก็เรียก. (ดู แอ้ด๑), โดยปริยายเรียกสิ่งที่มีขนาดเล็กหรือน้ำหนัก น้อยกว่าปรกติ เช่น รถถังอ้ายแอ้ด มวยรุ่นอ้ายแอ้ด.
  24. อำมฤต : [มะริด, มะรึด] น. น้ำทิพย์ เรียกว่า น้ำอำมฤต; เครื่องทิพย์; แผลงมาจาก อมฤต. (ส. อมฺฤต; ป. อมต).
  25. อีลุ้ม ๑ : น. ชื่อนกชนิด Gallicrex cinerea ในวงศ์ Rallidae ตัวขนาดเดียวกับ นกอีโก้ง ขายาว นิ้วยาว ตัวผู้ขนสีดํา หงอนแดง ตัวเมียขนสีนํ้าตาล ไม่มีหงอน นอกฤดูผสมพันธุ์ตัวผู้และตัวเมียมีสีขนคล้ายกัน อาศัย หากินตามแหล่งน้ำและทุ่งนา พบทั่วทุกภาค กินพืชและสัตว์เล็ก ๆ.
  26. อึก ๑, อึ้ก, อึ้ก ๆ : ว. เสียงดังเช่นนั้นอย่างเสียงทุบแผ่นหลังด้วยกำปั้นหรือเสียงดื่มน้ำ อย่างเร็วเป็นต้น.
  27. อึก ๒ : น. ลักษณนามเรียกอาการกลืนของเหลวหรือเสียงทุบแผ่นหลังด้วย กำปั้นครั้งหนึ่ง ๆ เช่น ดื่มน้ำ ๓ อึก เขาถูกทุบไป ๓ อึก.
  28. อุทบาน : [บาน] น. บ่อนํ้า, สระน้ำ. (ป., ส. อุท + ปาน).
  29. อุโบสถ ๒, อุโบสถหัตถี : [อุโบสด, อุโบสดถะ] น. ชื่อช้าง ๑ ใน ๑๐ ตระกูล กายสีทองคำ, ช้าง ๑๐ ตระกูล คือ ๑. กาฬาวกหัตถี สีดำ ๒. คังไคยหัตถี สีเหมือน น้ำไหล ๓. ปัณฑรหัตถี สีขาวดังเขาไกรลาส ๔. ตามพหัตถี สี ทองแดง ๕. ปิงคลหัตถี สีทองอ่อนดั่งสีตาแมว ๖. คันธหัตถี สีไม้กฤษณา มีกลิ่นตัวหอม ๗. มงคลหัตถี สีนิลอัญชัน มีกิริยา ท่าทางเดินงดงาม ๘. เหมหัตถี สีเหลืองดั่งทอง ๙. อุโบสถหัตถี สีทองคำ ๑๐. ฉัททันตหัตถี กายสีขาวบริสุทธิ์ดั่งเงินยวง แต่ปาก และเท้าสีแดง.
  30. เอื๊อก : ว. เสียงดังในคออย่างเสียงดื่มน้ำแรง ๆ เช่น กลืนน้ำลายดังเอื๊อก.
  31. โองการ : น. คําศักดิ์สิทธิ์ เช่น โองการแช่งน้ำ, ถ้าเป็นคําศักดิ์สิทธิ์มาจาก พระดํารัสสั่งของพระเจ้าแผ่นดิน เรียกว่า พระราชโองการ หรือ พระบรมราชโองการ. (ป.; ส. โอํการ = อักษรโอม หมายถึง พระเป็นเจ้าทั้ง ๓ คือ พระพรหม พระวิษณุ และพระศิวะ).
  32. นำเที่ยว : ก. พาเที่ยวชมบ้านชมเมือง.
  33. ถามนำ : (กฎ) ก. การถามพยานโดยแนะคําตอบไว้ในคําถามนั้นด้วย.
  34. ธงนำริ้ว : น. ธงรูปสามเหลี่ยม ใช้นําริ้วกระบวนต่าง ๆ; ชื่อกลบทอย่างหนึ่ง มีตัวอย่างว่า กุ๋ยกุ๋ยหน้าไม่เก้อละเมอหึง ฟังฟังก็เหมือนแกล้งแพร่งความอึง คิดคิดและให้ขึ้งขุ่นเคืองใจ.
  35. เหนี่ยวนำแม่เหล็กไฟฟ้า : น. ปรากฏการณ์ซึ่งมีกระแสไฟฟ้าเกิดขึ้นเนื่อง จากอํานาจแม่เหล็ก, เรียกกระแสไฟฟ้าที่เกิดขึ้นเนื่องจากอํานาจแม่เหล็ก ว่า กระแสไฟฟ้าเหนี่ยวนํา,เรียกเครื่องมือสําเร็จที่ใช้สําหรับเปลี่ยนศักย์ ไฟฟ้าให้มีค่าสูงขึ้นมาก ๆ โดยอาศัยอํานาจแม่เหล็กว่า ขดลวดเหนี่ยวนํา.
  36. ออก ๓ : ก. อาการที่เคลื่อนไปข้างนอกหรือพ้นจากที่ปิดบัง เช่น เลือดออก แดดออก, เคลื่อนจากที่ เช่น รถออก; ทําให้ปรากฏ เช่น ออกภาพ ทางโทรทัศน์; ทําให้เกิดขึ้นมีขึ้น เช่น ออกกฎหมาย; พ้นภาวะ เช่น ออกจากงาน; แตก, ผลิ, งอก, เช่น ออกกิ่ง ออกใบอ่อน ออกราก; ผุดขึ้น เช่น ออกหัด; จ่าย เช่น ออกเงิน; แสดง เช่น ออกท่า; นำ เช่น ออกหน้า; เปลี่ยนการบรรเลงจากเพลงหนึ่งไปเป็นอีกเพลงหนึ่ง เช่น ออกเพลงเรือ ออกลูกหมด; เป็นกริยาช่วยหมายความว่า รู้สึกว่า เช่น ใจออกจะโกรธ ออกฉุน. ว. ตรงข้ามกับ เข้า เช่น ทางออก; ขยาย, แยกเป็นคนละส่วน, เช่น คลี่ออก แบ่งออก; หลุดไปได้, สําเร็จไปได้, เช่น ร้องออก ถอนออก; ได้, ทำได้, เช่น อ่านออก นึกออก คิดออก; คําประกอบหลังคําอื่นเพื่อเน้นให้ความเด่นขึ้น เช่น ดําออกอย่างนี้.
  37. กรรมวาจก : [กํามะ-] (ไว) ก. กริยาที่บอกว่าประธานเป็นกรรมการก หรือผู้ถูกทํา, กริยาของประโยคที่แสดงว่าประธานทําหน้าที่เป็น กรรมการก คือ ผู้ถูกทํา, กริยาของประโยคกรรมวาจกต้องใช้ สกรรมกริยา คือ กริยาที่ต้องมีกรรมรับ บางทีก็มีกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' นำ และใช้หมายไปในทางไม่ดี เช่น เด็กถูกตี ผู้ทำความผิด ถูกลงโทษ, แต่บางทีก็ไม่ปรากฏกริยานุเคราะห์ ''ถูก'' เช่น หนังสือ เล่มนี้แต่งดีมาก.
  38. ยกครู : ก. ทําพิธีบูชาครูเป็นประจําปี กล่าวคือ นําขันล้างหน้า ผ้าขาว เงิน ไปบูชาครูเป็นการคํานับ, ทำพิธีมอบตัวให้เป็นศิษย์ของครู กล่าวคือ นำ ดอกไม้ ธูป เทียน หญ้าแพรก ดอกมะเขือ ไปบูชาครู.
  39. กฐิน, กฐิน- : [กะถิน, กะถินนะ-] น. ผ้าพิเศษที่พระพุทธเจ้าทรงอนุญาตแก่ ภิกษุสงฆ์เฉพาะกฐินกาล, ตามศัพท์แปลว่า ไม้สะดึง คือ กรอบไม้สำหรับขึงผ้าที่จะเย็บเป็นจีวร; คํา กฐิน นี้ ใช้ประกอบ กับคําอื่นอันเนื่องด้วยพิธีกฐิน ผ้าที่ถวายแก่ภิกษุสงฆ์ในพิธีนี้ เรียกว่า ผ้ากฐิน ในฤดูกาลเรียกว่า กฐินกาล [กะถินนะกาน] คือระยะเวลาตั้งแต่แรมค่าหนึ่ง เดือน ๑๑ ถึงกลางเดือน ๑๒ ระยะเวลานี้เรียกเป็นสามัญว่า เทศกาลกฐิน [เทดสะกานกะถิน] ฤดูกฐิน หรือ หน้ากฐิน ก็มี ก่อนจะถึงกฐินกาลผู้ประสงค์จะถวาย ผ้ากฐินแก่ภิกษุสงฆ์วัดใดจะต้องไปแจ้งความจํานงว่าจะนำผ้ากฐิน ไปทอดที่วัดนั้นเป็นการล่วงหน้า การแสดงความจํานงล่วงหน้านี้ เรียกว่า จองกฐิน การทําพิธีถวายผ้ากฐิน เรียกว่า ทอดกฐิน พระภิกษุผู้ได้รับมอบผ้ากฐินจากสงฆ์โดยวิธีที่กําหนดไว้ใน พระวินัย เรียกว่า ผู้กรานกฐิน ผู้ครองกฐิน หรือ องค์ครองกฐิน เฉพาะผ้ากฐิน บางทีก็เรียกว่า องค์กฐิน ถ้าพร้อมกับของอื่นอัน เป็นบริวารสําหรับถวายภิกษุสงฆ์ เรียกว่า เครื่องกฐิน หรือ บริวารกฐิน [บอริวานกะถิน] เมื่อนําผ้ากฐินไปทอดโดยมีขบวน แห่ เรียกว่า แห่กฐิน ถ้ามีพิธีฉลอง เรียกว่า ฉลองกฐิน การที่ภิกษุสงฆ์ผู้ร่วมอยู่ในพิธีอนุโมทนาต่อองค์ครองกฐิน ตามพระวินัย หรือการที่บุคคลแสดงความยินดีในการที่เขาทอดกฐิน เรียกว่า อนุโมทนากฐิน [อะนุโมทะนากะถิน] ภิกษุสงฆ์ผู้ได้ อนุโมทนากฐินแล้วนั้น ย่อมได้ชื่อว่าเป็น ผู้กรานกฐิน ด้วย ผลของ การทอดกฐิน เรียกว่า อานิสงส์กฐิน, ในทางวินัยสิทธิพิเศษ ๕ ประการซึ่งมีแก่ภิกษุผู้ได้กรานกฐินแล้ว ก็เรียกว่า อานิสงส์กฐิน เช่นกัน. (ดู กรานกฐิน และ จุลกฐิน).
  40. กบนา : น. ชื่อกบชนิด Rana tigerina ในวงศ์ Ranidae ตัวสีเขียว มีลาย สีเข้ม มักอาศัยในรูตามคันนา นิยมนำมาทำเป็นอาหาร.
  41. กระบม : (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่งทําด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรอง ถ้วยชามอย่างสำรับ, กระโบม ก็เรียก. (รูปภาพ กระบม)
  42. กระบวนจีน : น. วิธีการที่นำแบบอย่างศิลปะของจีนมา ดัดแปลงหรือประกอบในงานจิตรกรรม ประติมากรรม สถาปัตยกรรม และมัณฑนศิลป์ของไทย, เรียกลวดลายผ้าแพร โดยมากเป็นรูปประแจ กะแปะ มังกร ว่า ลายกระบวนจีน.
  43. กระบี่ธุช : น. ชื่อธงมีลักษณะเป็นธงสามชาย ๓ ผืน ผืนธงทำด้วย ผ้าปักไหมทองเป็นลวดลายเครือกระหนก สอดร่วมอยู่ในคันธง เดียวกันซึ่งเป็นเหล็ก และทำเป็นกิ่งแยกจากคันกลางทางด้านซ้าย และด้านขวา ปลายคันธงเป็นรูปใบหอก ที่โคนคันธงบริเวณที่สวม ต่อคันธงท่อนล่างติดรูปพระกระบี่ คือหนุมานในท่ายืนยกขาหน้า และขาหลังข้างขวาเตรียมเหาะ เรียกเต็มว่า ธงชัยราชกระบี่ธุช หรือ ธงชัยราชกระบี่ธุชใหญ่ ใช้เชิญนำหน้าพระราชยานในกระบวน พยุหยาตรา และอัญเชิญประดิษฐานในพิธีมณฑลในการพระราช พิธีต่าง ๆ เข้าคู่กับธงพระครุฑพ่าห์ โดยธงกระบี่ธุชอยู่ทางด้านซ้าย และธงพระครุฑพ่าห์อยู่ทางด้านขวา.
  44. กระโบม ๒ : (ถิ่น-อีสาน) น. ภาชนะชนิดหนึ่ง ทำด้วยไม้ขุดรูปวงกลมมีขอบ ด้ามสั้น สำหรับสงข้าวเหนียวที่นึ่งสุกใหม่ ๆ หรือคนข้าวเหนียวนึ่ง ให้ลดความร้อนก่อนนำไปใส่ในกล่องข้าว หรือใช้เป็นภาชนะรอง ถ้วยชามอย่างสำรับ, กระบม ก็เรียก.
  45. กวางชะมด : น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี ๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า.
  46. กว้างใหญ่ : ก. แผ่ออกไปไกล. [กฺวาง-] (โบ) น. นกกางเขน เช่น บ่าวขุนกวางเขนเขจร. (สมุทรโฆษ). [กฺวาง-] น. ชื่อไม้เถาเนื้อแข็ง ผลกลมรีป้อมขนาดหัวแม่มือ เปลือกคาย เมื่อสุกสีแดงชาด ออกเป็นพวงกระจุก เนื้อบางสีขาว คล้ายสาคู รสเปรี้ยว กินได้ กวางชอบกิน มีตามป่าดอนทั่วไป. ดู กว่าง. น. ชื่อสัตว์เคี้ยวเอื้องขนาดเล็กในสกุล Moschus วงศ์ Moschidae ลำตัวป้อม หัวเล็กไม่มีเขา ขนหยาบมีสีแตกต่างกัน ตัวเมียเขี้ยวสั้นมาก ตัวผู้มีเขี้ยวยาวคล้ายใบมีดยื่นพ้นริมฝีปาก และมีต่อมกลิ่นอยู่ระหว่างสะดือกับอวัยวะเพศ ขับสารคล้ายขี้ผึ้ง ออกมา เรียกว่า ชะมดเชียง ใช้แต่งกลิ่นเครื่องหอมและทำยาได้ มักอาศัยอยู่ตามป่าสนและป่าผลัดใบรกทึบบนภูเขา มี๔ ชนิด ได้แก่ กวางชะมดไซบีเรีย (M. moschiferus) กวางชะมดเขาสูง (M. chrysogaster) กวางชะมดดำ (M. fuscus) และกวางชะมดป่า (M. berezovskii) ไม่พบในประเทศไทย แต่ที่นำมาเลี้ยงในประเทศไทย ได้แก่ กวางชะมดป่า. ดู กว่าง.[กฺวาง-] น. ชาวจีนในมณฑลกวางตุ้งของประเทศจีน, เรียกภาษาของชาวจีนในมณฑลนี้ ว่า ภาษากวางตุ้ง. [กฺวาง-] น. ชื่อผักกาดชนิดหนึ่ง เรียกว่า ผักกาดกวางตุ้ง. (ดู กาด๑). น. ชื่อเพลงไทยทํานองหนึ่ง. น. ชื่อกวางชนิด Cervus unicolor ในวงศ์ Cervidae เป็นชนิดที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย ขนยาวหยาบสีน้ำตาล ตัวผู้มีเขาเป็นแขนง ผลัดเขาปีละครั้ง มักอยู่ลำพังตัวเดียวยกเว้น ฤดูผสมพันธุ์, กวางม้า ก็เรียก. [กฺวาง-] น. ชื่อสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิด Naemorhedus goral ในวงศ์ Bovidae ลักษณะคล้ายแพะและเลียงผา แต่มีขนาดเล็กกว่า ขนสีเทาหรือน้ำตาลปนเทา มีแถบขนสีดำตลอดแนวสันหลัง ตัวผู้เขายาวกว่าตัวเมีย อาศัยอยู่บนภูเขาสูงชัน กินพืช เป็นสัตว์ป่าสงวนของไทย. ดู กวางป่า.[กฺวาด] ก. ทําให้เตียนหรือหมดฝุ่นละอองด้วยไม้กวาดเป็นต้น, ทำให้ของเคลื่อนไปในทางเดียวกัน เช่น กวาดของลงจากโต๊ะ, โดยปริยายหมายความว่า เอาไปให้หมดสิ้นเหมือนอย่างกวาด เช่น กวาดครัวเชลย โจรกวาดทรัพย์สิน, เอายาป้ายในลําคอ เรียกว่า กวาดยา. น. สิ่งที่ใช้กวาด ทําด้วยดอกอ่อนของต้นเลาเป็นต้น มัดเป็นกำ ๆ เรียกว่า ไม้กวาด, ถ้าทำด้วยทางมะพร้าวเรียกว่า ไม้กวาดทางมะพร้าว.
  47. กะสมอ : ก. นำสมอเรือไปทอดไว้ในที่ที่เรือใหญ่ต้องการเข้าจอด หรือเทียบเรือ ซึ่งเป็นที่เข้าจอดหรือเข้าเทียบแล้วค่อย ๆ กว้านสมอนำเรือเข้าไป.
  48. ก่าน : ว. ด่าง, ผ่าน, มีลายพาด, เช่น พนคณนกหค ก่านแกม ปีกหางนวยแนม นนวยนเนียร้องริน. (ม. คำหลวง มหาพน); เก่ง, กล้า, กั่น, เช่น ปางเมื่อเจ้าเข้าดงด่าน ตววก่านกาจชาติชัฏขน สัตวตนสื่อชื่อมนนหมี ได้ทีทำนำความเข็ญ. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์).
  49. ไก่ต่อ : น. ไก่ตัวเมียที่เลี้ยงไว้เพื่อนำไปต่อไก่ป่า.
  50. ขอประทาน : ก. ขอสิ่งของ, ขออนุญาต, (มักใช้นำหน้าคำที่พูดกับผู้ใหญ่).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | 201-250 | 251-300 | 301-350 | 351-400 | 401-450 | 451-500 | 501-550 | 551-600 | 601-650 | 651-700 | 701-750 | 751-800 | [801-850] | 851-900 | 901-950 | 951-974

(0.1217 sec)