Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: บอก , then บอก, ปอก .

Royal Institute Thai-Thai Dict : บอก, 326 found, display 201-250
  1. มา ๒ : ก. เคลื่อนออกจากที่เข้าหาตัวผู้พูด เช่น มานี่ มาหาฉันหน่อย, ตรงกันข้ามกับ ไป. ว. ใช้ประกอบคํากริยาแสดงอดีต เช่น นาน มาแล้ว ดังกล่าวมาแล้ว ไปมาแล้ว หรือ แสดงทิศทางเข้าหาตัวผู้พูด เช่น หันมาทางนี้ เอามานี่ หรือแสดงอาการที่ต่อเนื่องเรื่อยมาถึง ปัจจุบัน เช่น ความเป็นมา อยู่มาวันหนึ่ง ส่งจดหมายบอกข่าวมา.
  2. มือ ๑ : น. อวัยวะส่วนหนึ่งของร่างกายอยู่ต่อจากปลายแขนประกอบด้วย ฝ่ามือและนิ้วมือ สําหรับจับเป็นต้น, เรียกสิ่งหรืออุปกรณ์บางชนิด ที่มีรูปร่างอย่างมือและใช้จับแทนมือได้ เช่น มือกล มือหุ่นยนต์; เรียกผู้ร่วมเล่นการพนันบางอย่างหรือแชร์เป็นต้นว่า มือ เช่น คนหนึ่งจะเล่นกี่มือก็ได้; หนวดของไม้เลื้อยบางชนิดใช้เกาะ สิ่งอื่นอย่างมือ เช่น มือตําลึง มือบวบ; ลักษณนามบอกจำนวน นับ ๕ ลูก เป็น ๑ มือ (ใช้ในเวลานับผลไม้บางชนิด เช่น มะปราง มังคุด เงาะ).
  3. มุขบาฐ, มุขปาฐะ : [มุกขะบาด, มุกขะ-] น. การต่อปากกันมา, การบอกเล่าต่อ ๆ กันมาโดยมิได้เขียนเป็นลายลักษณ์อักษร, เช่น เรื่องนี้สืบมาโดยมุขบาฐ เรื่องนี้เป็นมุขปาฐะ.
  4. เมีย : น. ภรรยา, หญิงที่เป็นคู่ครองของชาย, คู่กับ ผัว. ว. คําบอกเพศ หมายความว่า ตัวเมีย เช่น ไก่เมีย ม้าเมีย.
  5. เมื่อ : น. ครั้ง, คราว, เช่น เรื่องนี้เกิดเมื่อเขาไปต่างจังหวัด, โอกาส เช่น พบได้ทุกเมื่อ, ขณะที่ เช่น เมื่อเขาออกจากบ้าน ฝนก็ตก, คำนำหน้าคำบอกเวลาที่ล่วงไปแล้ว เช่น เมื่อคืนนี้ เมื่อเช้านี้ เมื่อวานซืน. สัน. ในขณะที่ เช่น เขามาเมื่อฉันเห็น.
  6. โมฆียกรรม : (กฎ) น. นิติกรรมซึ่งอาจบอกล้าง เพิกถอน หรือให้สัตยาบันได้ ถ้าบอกล้างก็เป็นโมฆะมาแต่เริ่มแรก ถ้าให้สัตยาบันก็มีผลสมบูรณ์มาแต่ เริ่มแรก, กฎหมายเขียนเป็น โมฆียะกรรม.
  7. โมฆีย-, โมฆียะ : [โมคียะ-] (กฎ) ว. ที่อาจเป็นโมฆะได้เมื่อมีการบอกล้าง หรือมีผลสมบูรณ์เมื่อมี การให้สัตยาบัน. (ป.).
  8. ไม้ ๑ : น. คํารวมเรียกพืชทั่วไป โดยปรกติมีราก ลําต้น กิ่ง ก้าน และใบ, เรียกเนื้อของ ต้นไม้ที่ใช้ทําสิ่งของต่าง ๆ มีลักษณะเป็นท่อน แผ่น หรือดุ้น เป็นต้น, คําประกอบ หน้าสิ่งของบางอย่างที่มีลักษณะยาวซึ่งทําด้วยไม้หรือเดิมทําด้วยไม้ เช่น ไม้กวาด ไม้พาย ไม้เท้า ไม้จิ้มฟัน, คํานําหน้าบอกประเภทต้นไม้ เช่น ไม้ยาง ไม้ดํา ไม้แดง, ท่ารําและท่าตีกระบี่กระบองท่าหนึ่ง ๆ เรียกว่า ไม้หนึ่ง ๆ, โดยปริยายหมายความว่า ท่าที เช่น เขาจะมาไม้ไหน, ลักษณนามเรียกของเช่นปลาย่างที่เสียบไม้เรียงเป็น ตับว่า ปลาไม้หนึ่ง ปลา ๒ ไม้, เรียกผ้าที่ม้วนโดยมีไม้อยู่ข้างในว่า ผ้าไม้หนึ่ง ผ้า ๒ ไม้; เรียกลักษณะของสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมไทยที่ย่อตรงมุมของฐาน แท่น เสา หรือเครื่องยอดเป็นมุมเล็ก ๆ มุมละ ๓ มุม รวม ๔ มุมใหญ่ ได้ ๑๒ มุมเล็ก ว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง แม้ย่อมากกว่ามุมละ ๓ ก็ยังเรียกว่า ย่อไม้สิบสอง หรือ ย่อมุมไม้สิบสอง.
  9. ไม้ ๒ : น. ชื่อเครื่องหมายกํากับตัวอักษร เพื่อบอกระดับเสียง เช่น ? เรียกว่า ไม้จัตวา, เพื่อบอกชนิดสระ เช่น ไ เรียกว่า ไม้มลาย, เพื่อให้อ่านซํ้า คือ ๆ เรียกว่า ไม้ยมก, หรือเพื่อไม่ให้ออกเสียงอ่าน คือ ?เรียกว่า ไม้ทัณฑฆาต.
  10. ไม้จัตวา : น. เครื่องหมายวรรณยุกต์ รูปดังนี้ ? บอกเสียงสูงสุดใน ๕ เสียง.
  11. ยอ ๒ : ก. กล่าวคําเพื่อเชิดชู เช่น ยอพระเกียรติ หรือเพื่อให้ชอบใจ เช่น เด็กชอบ ให้ยอ; ยก เช่น ยอกร, ยกเพื่อกระแทก เช่น ยอด้วยเข่า; บอกให้หยุด (ใช้แก่ วัวควาย); ให้หยุด, หยุด, เช่น ยอทัพ, โดยปริยายหมายความว่า เหนี่ยวรั้ง ไม่ไหว เช่น ยอไม่หยุด.
  12. ยอม : ก. อาการที่แสดงออกบอกให้รู้ว่าเห็นด้วย ไม่ขัด ตกลงปลงใจ เช่น ยอม ตามที่สั่ง ยอมนั่ง ยอมตาย, ผ่อนผันให้ เช่น ยอมให้ทําได้ ยอมให้ไป, ไม่สู้ เช่น เรื่องนี้ผมยอมเขา.
  13. ยังอีก : ใช้ประกอบคำกริยาหรือคำวิเศษณ์ หมายความว่า ที่ยังไม่ได้ทำ ยังมีอยู่ เช่น งานที่ยังไม่ได้ทำ ยังอีกเยอะเลย; คำที่ผู้ใหญ่ใช้ขู่เด็กที่ไม่ทำ ตามสั่ง เช่น เมื่อบอกให้เด็กออกมา เด็กไม่ออกมา ก็จะพูดว่า ยังอีก.
  14. ย่ำ : ก. เหยียบหนัก ๆ ซํ้า ๆ, ถ้าเหยียบในลักษณะเช่นนั้นอยู่กับที่เรียกว่า ยํ่าเท้า, เดินในลักษณะคล้ายคลึงเช่นนั้น; ตีกลองหรือฆ้องถี่ ๆ หลายครั้ง เพื่อบอกเวลาสําหรับเปลี่ยนยาม เรียกว่า ยํ่ากลอง ยํ่าฆ้อง, ยํ่ายาม ก็เรียก, ถ้ากระทําในเวลาเช้า เรียกว่า ยํ่ารุ่ง (ราว ๖ น.), ถ้ากระทําในเวลาคํ่า เรียกว่า ยํ่าคํ่า (ราว ๑๘ น.).
  15. ยี่ห้อ : น. เครื่องหมายสําหรับร้านค้าหรือการค้า, ชื่อร้านค้า; เครื่องหมาย เช่น สินค้ายี่ห้อนี้รับประกันได้; (ปาก) ลักษณะ เช่น เด็กคนนี้หน้าตาบอก ยี่ห้อโกง; ชื่อเสียง เช่น ต้องรักษายี่ห้อให้ดี อย่าทำให้เสียยี่ห้อ. (จ.).
  16. เยอว : คําต้นเสียงสําหรับบอกจังหวะพายเรือ.
  17. โยชนา : [โยชะนา] น. ชื่อคัมภีร์บาลีประเภทหนึ่ง ซึ่งบอกสัมพันธ์ศัพท์บาลีว่า ศัพท์ไหนเข้ากับศัพท์ไหนในต้นฉบับนั้น ๆ เช่น โยชนาฎีกาสังคหะ. (ป.).
  18. ร้องทุกข์ : ก. บอกความทุกข์เพื่อขอให้ช่วยเหลือ.
  19. ร้องโยนยาว : ก. ออกเสียงร้องบอกลาก ๆ ช้า ๆ และยาวอย่างพวกฝีพาย เรือพระที่นั่งบอกจังหวะ.
  20. ร่องรอย : น. เค้าเงื่อนหรือเบาะแสที่ปรากฏเป็นแนวบอกให้รู้.
  21. รายงาน : น. เรื่องราวที่ไปศึกษาค้นคว้าแล้วนํามาเสนอที่ประชุม ครูอาจารย์ หรือผู้บังคับบัญชา เป็นต้น. ก. บอกเรื่องของการงาน เช่น รายงานให้ ผู้บังคับบัญชาทราบ.
  22. รายงานตัว : ก. รายงานต่อผู้บังคับบัญชาตามแบบพิธี โดยบอกชื่อ นามสกุล ยศ ตำแหน่ง หน้าที่ และภารกิจที่ต้องรับผิดชอบ.
  23. รู้เต็มอก : ก. รู้ความเป็นไปอย่างดี แต่ไม่อาจพูดออกมาได้ เช่น รู้เต็มอก ว่าเขาไม่ซื่อสัตย์ แต่ก็บอกใครไม่ได้, รู้อยู่แก่ใจ รู้อยู่เต็มใจ หรือ รู้อยู่ เต็มอก ก็ว่า.
  24. รู้ถึงหู : ก. รู้เพราะมีคนบอก เช่น เรื่องนี้อย่าให้รู้ถึงหูเขานะ.
  25. รู้เนื้อรู้ตัว : ก. รู้ตัว เช่น ก่อนจะเข้าไปพบเขา ต้องบอกให้รู้เนื้อรู้ตัว เสียก่อน ผู้ร้ายเข้ามาโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว.
  26. รูปการณ์ : น. ลักษณะของเรื่องราว, เค้ามูลของเรื่องราว, เช่น คดีนี้ดูรูป การณ์แล้วจะต้องแพ้ รูปการณ์บอกว่าบริษัทนี้จะเจริญต่อไปภายหน้า.
  27. เร่ง : ก. รีบ เช่น เร่งปักผ้าเช็ดหน้าให้ทันงาน เร่งตรวจข้อสอบ, บังคับให้เร็ว, บอกเตือนให้รีบปฏิบัติ, เช่น เร่งคนงานให้ทำงานให้ทันเวลา เร่งลูกให้ แต่งตัวไปโรงเรียน.
  28. ลงสนาม : ก. ลงแข่งขัน, ลงประลองความสามารถ, เช่น ฟุตบอล รอบนี้ไทยลงสนามกับเกาหลี ลงสนามบอกสักวา.
  29. ลหุกาบัติ : [ละหุกาบัด] น. อาบัติเบา ได้แก่ อาบัติที่เมื่อภิกษุต้องแล้ว จะต้อง บอกแก่ภิกษุด้วยกันจึงจะพ้นจากอาบัตินั้น ได้แก่ อาบัติถุลลัจจัย ปาจิตตีย์ ปาฏิเทสนียะ ทุกกฏ และทุพภาษิต. (ป. ลหุกาปตฺติ).
  30. ละเมาะ ๒ : น. ชื่อปลากระบอกขนาดเล็ก. (ดู กระบอก๒).
  31. ลาง ๑ : น. สิ่งหรือปรากฏการณ์ที่เชื่อกันว่าจะบอกเหตุดีหรือเหตุร้าย เช่น ผึ้งทำรังทางทิศตะวันออกของอาคารเชื่อกันว่าเป็นลางดี แมงมุม ตีอกเชื่อกันว่าเป็นลางร้าย.
  32. ลำพู่กัน : น. เรียกสิ่งที่ปรากฏเป็นลําขาวไปในท้องฟ้าเวลาเช้าหรือ เย็นถือว่าเป็นลางบอกเหตุ.
  33. ลิงค์ : น. เครื่องหมายเพศ; ประเภทคําในไวยากรณ์ที่บอกให้รู้ว่าคํานั้น เป็นเพศอะไร เช่น ปุงลิงค์ คือ เพศชาย อิตถีลิงค์ คือ เพศหญิง; ลึงค์ ก็ว่า. (ป., ส.).
  34. ลึงค์ : น. อวัยวะเพศชาย, อวัยวะเพศ; ประเภทคําในไวยากรณ์ที่บอกให้รู้ว่า คํานั้นเป็นเพศอะไร เช่น ปุลลึงค์ คือ เพศชาย สตรีลึงค์ คือ เพศหญิง; ลิงค์ ก็ว่า. (ป., ส. ลิงฺค).
  35. ลูกศร : น. เครื่องหมายที่ใช้ชี้บอกทางเป็นต้น มีลักษณะคล้ายส่วน ปลายของลูกศร รูปดังนี้ ?; ลูกธนู, ลักษณนามว่า ดอก.
  36. เลขลำดับ : น. จํานวนนับที่บอกรหัสหรือตําแหน่งที่ของสิ่งที่จัดเรียง กันอย่างมีระบบ เช่น บ้านเลขที่ ๑๕๐ รถประจําทางสาย ๖๒.
  37. เล่า : ก. พูดหรือบอกเรื่องราวให้ผู้อื่นฟัง เช่น เล่าเรื่อง. ว. คําใช้ประกอบ ข้อความข้างหน้าเพื่อยืนยันให้มีนํ้าหนักขึ้น เช่น มิน่าเล่า กินไหมเล่า ซนอย่างนี้นี่เล่า ถึงได้ถูกตี, ล่ะ ก็ว่า.
  38. แล้วกัน : (ปาก) ว. คำที่เปล่งออกมาแสดงความไม่พอใจหรือผิดหวัง เป็นต้น เช่น แล้วกันกินขนมหมดไม่เหลือไว้ให้เลย แล้วกัน ไป เมื่อไรก็ไม่บอก; คำที่ใช้ลงท้ายข้อความแสดงว่าเป็นอันยุติกัน เช่น ขอโทษเขาเสียหน่อยก็แล้วกัน วันนี้ยังเขียนไม่เสร็จ เอาไว้พรุ่งนี้แล้วกัน.
  39. วงเล็บ : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ ( ) สําหรับใช้กันข้อความ ที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่น และข้อความในระหว่างวงเล็บ นั้นจะอ่านหรือเว้นเสียก็ได้ ไม่ทำให้เนื้อความนอกจากนั้นเสียไป เช่น จึงสรุปได้ว่ามนุษย์หรือขันธ์ ๕ นั้น ได้สร้างโลภะ(ความอยาก ได้) โทสะ(ความโกรธ) และโมหะ (ความหลง) ให้แก่ตัวเองทั้งสิ้น, ใช้กันข้อความซึ่งบอกที่มาของคำหรือข้อความ เช่น สิลา น. หิน, ก้อนหิน. (ป.; ส. ศิลา); ใช้กันนามเต็มหรือบรรดาศักดิ์ที่เขียนใต้ ลายมือชื่อ เช่น ลายมือชื่อ (นายเสริม วินิจฉัยกุล) ลายมือชื่อ (กรมหมื่นนราธิปพงศ์ประพันธ์), ใช้กันตัวอักษรหรือตัวเลขที่เป็น หัวข้อหรือที่เป็นเลขหมายบอกเชิงอรรถ ส่วนตัวอักษรหรือตัวเลข ที่เป็นหัวข้ออาจใช้เพียงเครื่องหมายวงเล็บปิดก็ได้ เช่น วันรุ่งแรม สามค่ำเป็นสำคัญ(๑) อภิวันท์ลาบาทพระชินวร ข้อ (ก) ข้อ ๑), ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์และสูตรทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นตัวเลขหรือ สัญลักษณ์ไว้เป็นกลุ่ม เช่น a2 b2 = (a + b)(a b), Al2(SO4)3, นขลิขิต ก็ว่า.
  40. วงเล็บเหลี่ยม : น. เครื่องหมายวรรคตอนรูปดังนี้ [ ] สำหรับใช้กัน คำหรือข้อความที่ขยายหรืออธิบายจากข้อความอื่นในอีกลักษณะ หนึ่ง เมื่อข้อความนั้นได้มีการใช้เครื่องหมายวงเล็บแบบอื่นด้วย เช่น กตัญญู น. ผู้รู้อุปการคุณที่ท่านทำให้, ผู้รู้คุณท่าน,เป็นคำคู่กันกับ กตเวที. [ป. กต ว่า (อุปการคุณ) ที่ท่านทำแล้ว + ญู ว่า ผู้รู้], ใช้บอก คำอ่านในหนังสือประเภทพจนานุกรม เช่น ขนง [ขะหฺนง] น. คิ้ว, ใช้เป็นราชาศัพท์ว่า, พระขนงใช้กันข้อความในการเขียน บรรณานุกรมและเชิงอรรถในกรณีที่ข้อความนั้นไม่ปรากฏใน หนังสือ แต่ผู้ทำบรรณานุกรมเพิ่มเติมเข้าไปเอง โดยมีหลักฐาน ยืนยัน เช่น [ตรี อมาตยกุล] นำชมหอสมุดดำรงราชานุภาพ. พระนคร : กรมศิลปากร, ๒๔๙๔., ใช้ในวิชาคณิตศาสตร์ เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขกลุ่มสัญลักษณ์ที่มีวงเล็บอื่นอยู่แล้วไว้เป็น กลุ่มเดียวกัน เช่น 11 + 2[x + 4 3{x + 5 4(x + 1)}] = 23, ใช้ ในทางวิทยาศาสตร์เพื่อกั้นกลุ่มตัวเลขหรือกลุ่มสัญลักษณ์เพื่อ แสดงความหมายต่าง ๆ เช่น [Ba2+][F2] = 1.05.106, Na2 [Fe(Cn)5(NO)]2H2O. วงวัง น. การล้อม.
  41. วรรณยุกต์, วรรณยุต : น. ระดับเสียงสูงต่ำของคำในภาษาไทย มี ๕ เสียงคือ เสียงสามัญ เสียงเอก เสียงโท เสียงตรี เสียงจัตวา มีรูปเครื่องหมายบอกระดับของเสียงอยู่เบื้องบนอักษร ๔ รูป คือ ? (ไม้เอก) ? (ไม้โท) ? (ไม้ตรี) ? (ไม้จัตวา).
  42. วะ ๑ : ว. บ๊ะ, คำที่เปล่งออกมาแสดงอารมณ์ผิดคาดหรือผิดหวังเป็นต้น, อุวะ หรือ ว้า ก็ว่า; คำบอกเสียงต่อท้ายประโยคแสดงความคุ้นเคย เป็นกันเองหรือแสดงความไม่สุภาพ เช่น ไปไหนวะ.
  43. วากยสัมพันธ์ : น. ชื่อตําราไวยากรณ์ตอนที่แยกความออกเป็น ประโยค ๆ และบอกความเกี่ยวข้องของคําในประโยค.
  44. วาจก : น. ผู้กล่าว, ผู้บอก, ผู้พูด. (ไว) ก. กริยาของประโยคที่แสดงว่า ประธานทําหน้าที่เป็นผู้ทํา ผู้ใช้ ผู้ถูกทํา หรือผู้ถูกใช้ แบ่งเป็น ๓ ชนิด คือ กรรตุวาจก กรรมวาจกและการิตวาจก. (ป., ส.).
  45. วิญญัตติ : [วินยัดติ] น. การขอร้อง, การบอกกล่าว, การชี้แจง, รายงาน. (ป.; ส. วิชฺ?ปฺติ).
  46. วิภัตติ : [วิพัด] น. การแบ่ง, การจัดเป็นพวก, การจําแนก; (ไว) ประเภทคําใน ภาษาบาลีเป็นต้นที่แปลงท้ายคําแล้วเพื่อบอกการกหรือกาล เช่น ปุริโส (อันว่าบุรุษ) เป็น กรรตุการก ปุริสํ (ซึ่งบุรุษ) เป็น กรรมการก จรติ (ย่อมเที่ยวไป) เป็น ปัจจุบันกาล จริ (เที่ยวไปแล้ว) เป็นอดีตกาล จริสฺสติ (จักเที่ยวไป) เป็น อนาคตกาล. (ป.).
  47. วิเศษณ, วิเศษณ์ : [วิเสสะนะ, วิเสด] (ไว) น. คําจําพวกหนึ่งที่แต่งหรือขยายคํานาม คํากริยา หรือคําวิเศษณ์เพื่อบอกคุณภาพหรือปริมาณเป็นต้น เช่น คนดี นํ้ามาก ทําดี ดีมาก. (ส.).
  48. ศันสนะ : [สันสะ] น. การสรรเสริญ, การบอกเล่า. (ส. ศํสน).
  49. ส่งข่าว : ก. บอกข่าว เช่น จะเดินทางเมื่อไรก็ส่งข่าวด้วยนะ.
  50. สนทิศ : ก. ชี้แจง, สั่ง, บอกกล่าว, ประกาศ. (ส. สํ + ทิศ).
  51. 1-50 | 51-100 | 101-150 | 151-200 | [201-250] | 251-300 | 301-326

(0.0414 sec)