Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปกครอง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปกครอง, 155 found, display 101-150
  1. เมืองขึ้น : น. เมืองที่เป็นข้าขอบขัณฑสีมา, ประเทศที่อยู่ในปกครองของประเทศอื่น.
  2. แม่เจ้าเรือน : น. หญิงผู้ปกครองบ้านเรือน, แม่เรือน หรือ แม่เหย้าแม่เรือน ก็ว่า.
  3. แม่เรือน : น. หญิงผู้ปกครองบ้านเรือน, แม่เจ้าเรือน หรือ แม่เหย้าแม่เรือน ก็ว่า.
  4. แม่เหย้าแม่เรือน : น. หญิงผู้ปกครองบ้านเรือน, แม่เจ้าเรือน หรือ แม่เรือน ก็ว่า.
  5. ระบอบ : น. แบบอย่าง, ธรรมเนียม, เช่น ทำถูกระบอบ; ระเบียบการปกครอง เช่น การปกครองระบอบประชาธิปไตย การปกครองระบอบสมบูรณาญา สิทธิราชย์.
  6. รัฏฐาภิปาลโนบาย : น. วิธีการปกครองบ้านเมือง.
  7. รัฐธรรมนูญ : [รัดถะทํามะนูน, รัดทํามะนูน] น. บทกฎหมายสูงสุดที่ จัดระเบียบการปกครองประเทศ โดยกำหนดรูปแบบของรัฐว่าเป็นรัฐ เดียวหรือรัฐรวม ระบอบการปกครองของรัฐรวมทั้งสถาบันและองค์กร การใช้อำนาจอธิปไตยในการปกครองรัฐ เช่น รัฐธรรมนูญแห่ง ราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐). (อ. constitution).
  8. รัฐบาล : [รัดถะบาน] น. องค์กรปกครองประเทศ, คณะบุคคลที่ใช้อํานาจ บริหารในการปกครองประเทศ.
  9. รัฐประศาสน์ : [รัดถะปฺระสาด] น. การปกครองบ้านเมือง.
  10. รัฐประศาสนนัย, รัฐประศาสโนบาย : [รัดถะปฺระสาสะนะไน, รัดถะปฺระ สาสะโนบาย] น. วิธีการปกครองบ้านเมือง.
  11. รัฐประศาสนศาสตร์ : [รัดถะปฺระสาสะนะสาด] น. วิชาว่าด้วยการบริหาร และการปกครองประเทศเพื่อให้สัมฤทธิผลตามนโยบายของรัฐอย่างมี ประสิทธิภาพและประหยัด.
  12. รัฐ, รัฐ– : น. วิธีการปกครองบ้านเมือง. [รัด, รัดถะ–] น. แคว้น เช่น รัฐปาหัง, บ้านเมือง เช่น กฎหมายสูงสุด ของรัฐ, ประเทศ เช่น รัฐวาติกัน. (ป. รฏฺ?; ส. ราษฺฏฺร).
  13. รัฐศาสตร์ : [รัดถะสาด] น. วิชาว่าด้วยการเมืองและการปกครองประเทศ ตลอดจนความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ.
  14. ราชธรรม : น. จริยวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินพึงประพฤติ, คุณธรรมของ ผู้ปกครองบ้านเมือง, มี ๑๐ ประการ เรียกว่า ทศพิธราชธรรม ได้แก่ ๑. ทาน–การให้ ๒. ศีล–ความประพฤติดีงาม ๓. ปริจจาคะ–การบริจาค, ความเสียสละ ๔. อาชชวะ–ความซื่อตรง ๕. มัททวะ–ความอ่อนโยน ๖. ตปะ–ความเพียรเครื่องเผาผลาญกิเลสตัณหา ๗. อักโกธะ–ความ ไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา–ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ–ความอดทน ๑๐. อวิโรธนะ–ความไม่คลาดธรรม. (ส.).
  15. ราชนีติ : น. หลักการปกครองของพระราชา, หลักการปกครองบ้านเมือง. (ป.; ส.).
  16. ราชาธิปไตย : น. ระบอบการปกครองแบบหนึ่งที่มีพระราชาเป็นใหญ่. (ป. ราช + อธิปเตยฺย). (อ. monarchy).
  17. ฤๅษีเลี้ยงลิง : (สํา) น. ผู้เลี้ยงเด็กซุกซนหรือปกครองคนหมู่มากที่ไม่อยู่ใน ระเบียบวินัยย่อมเดือดร้อนรําคาญ.
  18. ลูกน้อง : (ปาก) น. บริวาร, ผู้อยู่ในปกครองหรือใต้บังคับบัญชา, ผู้ใกล้ชิดเป็นกําลังสําคัญในการงาน.
  19. ลูกบ้าน : น. ชาวบ้านที่อยู่ในปกครองของนายบ้าน ซึ่งในปัจจุบัน ได้แก่ กํานันและผู้ใหญ่บ้านหรือนายอําเภอแล้วแต่กรณี.
  20. เลอภพ : (วรรณ) น. ผู้ปกครองภพ.
  21. วัง ๒ : (โบ; เลิก) น. ตำแหน่งเจ้ากระทรวงปกครองครั้งโบราณ มีหน้าที่ รักษาพระราชวังจัดการพระราชพิธีและมีอำนาจพิจารณาพิพากษา คดีของราษฎร.
  22. ศักดินา : น. (โบ) อํานาจปกครองที่นา คิดเป็นจำนวนไร่ต่างกัน ตามศักดิ์ของแต่ละคน เช่น พระโหราธิบดี เจ้ากรมโหรหน้า มี ศักดินา ๓,๐๐๐ ไร่ ยาจก วรรณิพก ทาษ ลูกทาษ มีศักดินา ๕ ไร่. (สามดวง); (ปาก) คำประชดเรียกชนชั้นสูงหรือผู้ดีมีเงินว่า พวกศักดินา.
  23. ศาล : [สาน] น. (กฎ) องค์กรที่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาอรรถคดีโดย ดำเนินการตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมายและในพระปรมาภิไธย พระมหากษัตริย์ ได้แก่ ศาลรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรม ศาลปกครอง และศาลทหาร; ที่ชำระความ เช่น ศาลแพ่ง ศาลอาญา; ที่สิงสถิต ของเทวดา เทพารักษ์ หรือเจ้าผี เป็นต้น เช่น ศาลเทพารักษ์ศาลเจ้า ศาลเจ้าแม่ทับทิม.
  24. ศาสก : [สาสก] น. ครู, ผู้สอน, ผู้ชี้แจง, ผู้ปกครอง. (ส.).
  25. ศาสนจักร : [สาสะนะจัก, สาดสะนะจัก] น. อํานาจปกครองทาง ศาสนา เช่น ไตรภูมิโลกวินิจฉัยเป็นวรรณกรรมฝ่ายศาสนจักร, ถ้าเป็นฝ่ายพระพุทธศาสนา เรียกว่า พุทธจักร, ถ้าเป็นฝ่าย คริสต์ศาสนา เรียกว่า คริสตจักร, คู่กับ อาณาจักร ซึ่งหมายความ ว่า อํานาจปกครองทางบ้านเมือง.
  26. ศิษฎิ : [สิดสะดิ] น. การสอน. (ส. ศิษฺฏิ ว่า การปกครอง, การลงโทษ).
  27. สภาผู้แทนราษฎร : (กฎ) น. สภานิติบัญญัติสภาหนึ่ง ซึ่งเมื่อรวมกับ วุฒิสภาแล้วประกอบเป็นรัฐสภา ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (พุทธศักราช ๒๕๔๐) สภาผู้แทนราษฎรประกอบด้วยสมาชิกจำนวน ๕๐๐ คน ซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบบัญชีรายชื่อที่พรรคการเมืองจัดทำขึ้น จำนวน ๑๐๐ คน และสมาชิกซึ่งมาจากการเลือกตั้งแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง จำนวน ๔๐๐ คน มีหน้าที่ในทางนิติบัญญัติ และมีอำนาจควบคุมการ บริหารราชการแผ่นดินตามระบบการปกครองแบบรัฐสภา.
  28. สมบูรณาญาสิทธิราชย์ : [สมบูระนายาสิดทิราด] น. ระบอบการปกครองซึ่งพระมหากษัตริย์ มีอํานาจสิทธิ์ขาดในการบริหารประเทศ. (อ. absolute monarchy).
  29. สมพล ๑ : [พน] น. เลกของขุนนางที่ปกครองหัวเมือง; (โบ) แบบวิธีเลขไทย ในการฝึกหัดให้คูณคล่อง.
  30. สมิง : [สะหฺมิง] น. เสือที่เชื่อว่าเดิมเป็นคนที่มีวิชาอาคมแก่กล้าแล้วต่อมา สามารถจำแลงร่างเป็นเสือได้ หรือเสือที่กินคนมาก ๆ เข้า เชื่อกันว่า วิญญาณคนตายเข้าสิง ต่อมาสามารถจำแลงร่างเป็นคนได้ เรียกว่า เสือสมิง; ตําแหน่งขุนนางผู้ใหญ่ฝ่ายมอญ. (ต. สมิง ว่า พระเจ้าแผ่นดิน, เจ้าเมือง, ผู้ปกครอง).
  31. สวราชย์ : น. ความเป็นเอกราช; การปกครองด้วยตนเอง. (ส. สฺวราชฺย).
  32. สังฆมนตรี : (กฎ; เลิก) น. ตําแหน่งพระเถระผู้รับผิดชอบในองค์การ ของคณะสงฆ์ตามพระราชบัญญัติคณะสงฆ์ พุทธศักราช ๒๔๘๔ เช่น สังฆมนตรีว่าการองค์การปกครอง.
  33. สังฆาธิการ : น. พระภิกษุผู้ดํารงตําแหน่งปกครองคณะสงฆ์นับตั้งแต่ ตําแหน่งเจ้าคณะภาคลงมาจนถึงตําแหน่งผู้ช่วยเจ้าอาวาส เรียกว่า พระสังฆาธิการ.
  34. สัญชาติ : [ชาด] น. ความเกิด, การเป็นขึ้น, ความอยู่ในบังคับ คืออยู่ในความ ปกครองของประเทศชาติเดียวกัน เช่น ฝรั่งถือสัญชาติไทย, โดยปริยาย หมายความว่า สันดาน เช่น สัญชาติพาล สัญชาติคางคก ยางหัวไม่ตก ก็ไม่รู้สึก. (ป. สญฺชาติ ว่า ความเกิด, การเป็นขึ้น); (กฎ) สถานะตาม กฎหมายของบุคคลที่แสดงว่าเป็นพลเมืองหรือคนในบังคับของ ประเทศใดประเทศหนึ่ง. (อ. nationality).
  35. หมายเกณฑ์ : (กฎ) น. หนังสือสั่งเกณฑ์ซึ่งเจ้าพนักงานปกครองท้องที่ ออกไปถึงผู้ถูกเกณฑ์แรงงาน หรือเจ้าของหรือผู้ครอบครองทรัพย์สิน ที่ถูกเกณฑ์.
  36. หลักบ้านหลักเมือง : (ปาก) น. ผู้เป็นใหญ่ในการปกครองบ้านเมือง.
  37. อธิบดี : [อะทิบอดี, อะทิบบอดี] น. ผู้เป็นใหญ่, ผู้ปกครอง, หัวหน้า, เช่น อธิบดีสงฆ์ อธิบดีผู้พิพากษา; ตําแหน่งหัวหน้ากรมในราชการ. ว. มีความเจริญสวัสดิมงคล ทางโหราศาสตร์นิยมให้ประกอบ การมงคลต่าง ๆ ในวัน ยาม ฤกษ์ ราศี และดิถีที่เป็นอธิบดี ทั้งนี้ ตลอดปีนั้น ๆ, ตรงข้ามกับโลกาวินาศ. (ป., ส. อธิปติ).
  38. อนุบาล : ก. ตามเลี้ยงดู, ตามระวังรักษา. ว. ที่คอยตามเลี้ยงดู, ที่คอยตามระวัง รักษา, เรียกโรงเรียนที่สอนเด็กที่มีอายุระหว่าง ๓ ขวบครึ่ง ถึง ๗ ขวบ ว่า โรงเรียนอนุบาล, เรียกครูที่สอนโรงเรียนอนุบาลว่า ครูอนุบาล, เรียกนักเรียนโรงเรียนอนุบาลว่า นักเรียนอนุบาล; (กฎ) เรียกผู้ที่ศาลมี คําสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแลคนไร้ความสามารถว่า ผู้อนุบาล. (ป., ส. อนุปาล).
  39. อภิชนาธิปไตย : [ทิปะไต, ทิบปะไต] น. ระบอบการปกครอง แบบหนึ่งที่มีอภิชนเป็นใหญ่. (ป. อภิ + ชน + อธิปเตยฺย). (อ. aristocracy).
  40. อักษรเลข : [อักสอระเลก, อักสอนเลก] น. วิธีเขียนหนังสือลับโบราณ ใช้ตัวเลขแทนสระ; ตําแหน่งในคณะกรมการปกครองท้องที่มีมาแต่ โบราณ, ต่อมาใช้เรียกผู้ทําหน้าที่เลขานุการของผู้ว่าราชการจังหวัด.
  41. อัฐยายซื้อขนมยาย : (สํา) ก. เอาทรัพย์จากผู้ปกครองหญิงที่จะขอ แต่งงานด้วย มอบให้เป็นสินสอดทองหมั้นแก่ผู้ปกครองหญิงนั้น โดยสมรู้กัน, โดยปริยายหมายถึงการกระทําอย่างอื่นในทํานอง เดียวกันนี้ เช่น เอาทรัพย์จากผู้ใดผู้หนึ่งซื้อหรือแลกสิ่งของอื่น ของผู้นั้น.
  42. อัตตาธิปไตย : [ทิปะไต, ทิบปะไต] น. การถือตนเองเป็นใหญ่. (ป. อตฺตาธิปเตยฺย); ระบอบการปกครองที่ผู้นํามีอํานาจเด็ดขาด และไม่จํากัด. (อ. autocracy).
  43. อันเตวาสิก : น. ''ชนผู้อยู่ในภายใน'' หมายถึง ศิษย์ที่อยู่ในปกครอง หรือที่อาศัยอยู่กับอาจารย์ จะเป็นบรรพชิตหรือคฤหัสถ์ก็ได้, คู่กับ อาจารย์. (ป.).
  44. อาณา : น. อํานาจปกครอง เช่น อาณาบริเวณ. (ป.; ส. อาชฺ?า).
  45. อาณาเกษตร, อาณาเขต : น. เขตแดนในอํานาจปกครอง.
  46. อาณาจักร : น. เขตแดนที่อยู่ในอํานาจปกครองของประเทศหนึ่ง ๆ; อํานาจปกครองทางบ้านเมือง, คู่กับ ศาสนจักร ซึ่งหมายความว่า อํานาจปกครองทางศาสนา.
  47. อาณาประชาราษฎร์ : น. พลเมืองที่อยู่ในอํานาจปกครอง.
  48. อำเภอ : (กฎ) น. ท้องที่ที่รวมตําบลหลายตําบลให้อยู่ในความปกครอง อันเดียวกันและได้มีพระราชกฤษฎีกาจัดตั้งเป็นอําเภอ อําเภอ เป็นหน่วยราชการบริหารรองจากจังหวัด มีนายอำเภอเป็น หัวหน้าปกครอง.
  49. อำมาตยาธิปไตย : [อำหฺมาดตะยาทิปะไต, อำหฺมาดตะยาทิบปะไต] น. ระบอบการปกครองที่ขุนนางหรือข้าราชการเป็นใหญ่. (อ. bureaucracy).
  50. อิสรภาพ : น. ความเป็นใหญ่, ความเป็นไทแก่ตัว; การปกครอง ตนเอง.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-155

(0.0161 sec)