Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ปกครอง .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ปกครอง, 155 found, display 51-100
  1. เจ้าอาวาส : น. พระภิกษุซึ่งได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งผู้ปกครองวัด.
  2. ชาติ ๒, ชาติ ๒ : [ชาด, ชาดติ] น. ประเทศ; ประชาชนที่เป็นพลเมือง ของประเทศ, กลุ่มชนที่มีความรู้สึกในเรื่องเชื้อชาติ ศาสนา ภาษา ประวัติศาสตร์ความเป็นมา ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมอย่างเดียวกันหรืออยู่ในปกครองรัฐบาล เดียวกัน, ประชาชาติ ก็ว่า.
  3. ทรราช : น. ผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อํานาจตามอําเภอใจ ทําความ เดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองของตน. (อ. tyrant), เรียกลัทธิเช่นนั้นว่า ทรราชย์ หรือ ระบบทรราชย์. (อ. tyranny).
  4. ทศพล : น. ผู้มีกําลัง ๑๐ เป็นพระนามของพระพุทธเจ้า. ทศพิธราชธรรม น. จริยาวัตรที่พระเจ้าแผ่นดินทรงประพฤติเป็น หลักธรรมประจําพระองค์ หรือคุณธรรมของผู้ปกครองบ้านเมือง มี ๑๐ ประการ ได้แก่ ๑. ทาน - การให้ ๒. ศีล - การรักษากายวาจา ให้เรียบร้อย ๓. บริจาค - ความเสียสละ ๔. อาชชวะ - ความซื่อตรง ๕. มัททวะ - ความอ่อนโยน ๖. ตบะ - การข่มกิเลส ๗. อักโกธะ - ความไม่โกรธ ๘. อวิหิงสา - ความไม่เบียดเบียน ๙. ขันติ - ความ อดทน ๑๐. อวิโรธนะ - ความไม่คลาดจากธรรม.
  5. ท้องถิ่น : น. ท้องที่ใดท้องที่หนึ่งโดยเฉพาะ เช่น เวลาท้องถิ่น ประเพณีท้องถิ่น; (กฎ) พื้นที่ภายในเขตการปกครองของราชการ บริหารส่วนท้องถิ่น เช่น เทศบาล องค์การบริหารส่วนตำบล.
  6. ท้องที่ : น. พื้นที่หรือถิ่นที่แห่งใดแห่งหนึ่ง เช่น ท้องที่จังหวัด ท้องที่อําเภอ ท้องที่ที่เกิดเหตุ ท้องที่ที่มีภูมิลําเนา; (กฎ) พื้นที่ ภายในเขตการปกครองส่วนภูมิภาค ได้แก่ จังหวัด อําเภอ กิ่งอําเภอ ตําบล และหมู่บ้าน; พื้นที่ที่อยู่ในเขตอํานาจของ พนักงานสอบสวนหรือศาล.
  7. ที่ราชพัสดุ : (กฎ) น. อสังหาริมทรัพย์อันเป็นทรัพย์สินของแผ่นดิน ทุกชนิด เว้นแต่สาธารณสมบัติของแผ่นดิน ดังต่อไปนี้ (๑) ที่ดิน รกร้างว่างเปล่า และที่ดินซึ่งมีผู้เวนคืนหรือทอดทิ้งหรือกลับมา เป็นของแผ่นดินโดยประการอื่นตามกฎหมายที่ดิน (๒) อสังหา ริมทรัพย์สำหรับพลเมืองใช้หรือสงวนไว้เพื่อประโยชน์ของ พลเมืองใช้ร่วมกันเป็นต้นว่า ที่ชายตลิ่ง ทางน้ำ ทางหลวง ทะเลสาบ สำหรับอสังหาริมทรัพย์ของรัฐวิสาหกิจที่เป็นนิติ บุคคลขององค์การปกครองท้องถิ่นไม่ถือว่าเป็นที่ราชพัสดุ.
  8. นครบาล : [นะคอนบาน] น. (เลิก) ผู้มีหน้าที่ในการปกครองนครหลวง; ชื่อทบวงการเมืองระดับกระทรวงในสมัยก่อน คือ กระทรวงนครบาล ซึ่งมีหน้าที่ปกครองเขตนครหลวง; เรียกตำรวจที่มีหน้าที่ระวังและระงับ เหตุการณ์ทางอาญาในกรุงเทพมหานครว่า ตำรวจนครบาล.
  9. นครรัฐ : [นะคอนรัด] น. เมืองที่ปกครองตนเองเป็นอิสระ. (อ. city state).
  10. นฤปะ : น. ผู้ปกครอง, พระราชา.
  11. นา ๓ : (โบ; เลิก) น. ตำแหน่งเจ้ากระทรวงปกครองครั้งโบราณ มีหน้าที่ดูแล รักษานาหลวงจัดหาและรักษาเสบียงอาหารสำหรับพระนคร ดูแล ทุกข์สุขของชาวไร่ชาวนา.
  12. นายเวร : ( น. นายตํารวจชั้นสัญญาบัตร มีหน้าที่เป็นเลขานุการของผู้ที่ มีตําแหน่งสูงกว่าตน เช่น นายเวรผู้บังคับการ นายเวรผู้บัญชาการ นายเวรอธิบดี หรือเป็นหัวหน้าปกครองเจ้าหน้าที่เสมียนพนักงาน ในบังคับบัญชาเป็นต้น; เจ้าหน้าที่การทูตชั้นผู้น้อยในสถานกงสุล.
  13. นายอำเภอ : ( (กฎ) น. ตําแหน่งเจ้าพนักงานผู้ปกครองท้องที่ ซึ่งเป็น หัวหน้าปกครองบังคับบัญชาข้าราชการในอําเภอ และรับผิดชอบ ในการบริหารราชการของอําเภอ.
  14. นิติ : [นิติ, นิด] น. นีติ, กฎหมาย, กฎปฏิบัติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบ ธรรมเนียม, ประเพณี, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).
  15. นีติ : (แบบ; เลิก) น. นิติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, กฎหมาย, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบายอันดี. (ป., ส.).
  16. เนติ : [เนติ] (แบบ) น. นิติ, แบบแผน, เยี่ยงอย่าง, ขนบธรรมเนียม, ประเพณี, กฎหมาย, วิธีปกครอง, เครื่องแนะนํา, อุบายอันดี. (ป., ส. นีติ).
  17. บังคับ : น. (โบ) การว่ากล่าวปกครอง, อํานาจศาลสมัยมีสภาพนอกอาณาเขต, เช่น คนในบังคับอังกฤษ; กฎเกณฑ์ของการประพันธ์ที่บัญญัติใช้ใน ฉันทลักษณ์ เช่น บังคับครุลหุ บังคับเอกโท บังคับสัมผัส. ก. ใช้ อํานาจสั่งให้ทําหรือให้ปฏิบัติ; ให้จําต้องทํา เช่น อยู่ในที่บังคับ; ให้เป็นไปตามความประสงค์ เช่น บังคับเครื่องบินให้ขึ้นลง.
  18. บังคับบัญชา : ก. มีอํานาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการให้เป็นไป ตามอํานาจหน้าที่. น. อํานาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการให้เป็น ไปตามอํานาจหน้าที่, เรียกผู้มีอํานาจปกครองควบคุมดูแลและสั่งการ นั้นว่า ผู้บังคับบัญชา, เรียกผู้อยู่ใต้อํานาจปกครองควบคุมดูแลและ สั่งการนั้นว่า ผู้ใต้บังคับบัญชา.
  19. บังเหียน : น. เครื่องบังคับม้าให้ไปในทางที่ต้องการ ทําด้วยเหล็กหรือไม้ใส่ ผ่าปากม้า ที่ปลายมีห่วง ๒ ข้างสําหรับผูกสายบังเหียนโยงไว้ให้ ผู้ขี่ถือ, โดยปริยายหมายความว่า อํานาจบังคับบัญชาให้เป็นไปใน ทางที่ต้องการ เช่น ถือบังเหียนการปกครองบ้านเมือง กุมบังเหียน.
  20. บัญชา : น. คําสั่งของผู้มีอํานาจบังคับในการปกครอง. ก. สั่งการตามอํานาจ หน้าที่.
  21. ปฏิวัติ : น. การหมุนกลับ, การผันแปรเปลี่ยนหลักมูล; การเปลี่ยนแปลง ระบบ เช่น ปฏิวัติอุตสาหกรรม, การเปลี่ยนแปลงระบอบการ บริหารบ้านเมือง เช่น ปฏิวัติการปกครอง. (ป. ปฏิวตฺติ).
  22. ประชาธิปไตย : [ปฺระชาทิปะไต, ปฺระชาทิบปะไต] น. ระบอบการ ปกครองที่ถือมติปวงชนเป็นใหญ่, การถือเสียงข้างมากเป็นใหญ่. (ส. ปฺรชา + ป. อธิปเตยฺย).
  23. ประชาบาล : น. การศึกษาของท้องถิ่น มีราชการบริหารส่วนท้องถิ่น เป็นผู้ดําเนินการ, เรียกโรงเรียนประเภทนี้ว่า โรงเรียนประชาบาล; (เลิก) การปกครองพลเมืองในท้องถิ่น.
  24. ประชาภิบาล : น. ผู้ปกครองพลเมือง; การปกครองชาวเมือง. (ส.).
  25. ประเทศ : น. บ้านเมือง, แว่นแคว้น; คำเพิ่มข้างหลังของคำเดิม เมื่อเพิ่มแล้ว ความหมายคงเดิม เช่น อุรประเทศ หทัยประเทศ. (ส.; ป. ปเทส); (กฎ) ชุมนุมแห่งมนุษย์ซึ่งตั้งมั่นอยู่ในดินแดนอันมีอาณาเขตแน่นอน มีอํานาจอธิปไตยที่จะใช้ได้อย่างอิสระ และมีการปกครองอย่างเป็น ระเบียบเพื่อประโยชน์ของบรรดามนุษย์ที่อยู่ร่วมกันนั้น, รัฐ ก็เรียก.
  26. ประธานาธิบดี : [ปฺระทานาทิบอดี, ปฺระทานาทิบบอดี] น. ประมุขของประเทศ ที่ปกครองโดยระบอบสาธารณรัฐ.
  27. ประศาสน์ : [ปฺระสาด] น. การแนะนํา, การสั่งสอน; การปกครอง, การงําเมือง, การสั่ง. (ส. ปฺรศาสน; ป. ปสาสน).
  28. ปาลี ๑ : น. ผู้ปกครอง, ผู้เลี้ยง, ผู้รักษา. (ป., ส.).
  29. เปรียบเทียบ : ก. พิจารณาเทียบเคียงให้เห็นลักษณะที่เหมือนกันและ ต่างกัน. (กฎ) น. การที่พนักงานสอบสวนหรือพนักงานเจ้าหน้าที่ตาม กฎหมายกําหนดค่าปรับผู้กระทําผิดในคดีอาญา ซึ่งกฎหมายกําหนด ให้เปรียบเทียบปรับได้ เมื่อผู้กระทําผิดยินยอมเสียค่าปรับแล้ว คดีอาญา เป็นอันเลิกกัน; การที่นายอําเภอเรียกผู้ถูกร้องมาไกล่เกลี่ยให้เลิกแล้ว ต่อกันในคดีแพ่งที่มีทุนทรัพย์ที่พิพาทไม่เกิน ๒๐,๐๐๐ บาท ซึ่งมูล คดีเกิดในอําเภอนั้น หรือผู้ถูกร้องมีภูมิลําเนาอยู่ในอําเภอนั้น ตาม กฎหมายว่าด้วยลักษณะปกครองท้องที่.
  30. ผู้ดูแลนักเรียน : น. ข้าราชการที่ทำหน้าที่เป็นผู้ปกครองนักเรียน ในต่างประเทศ.
  31. ผู้บังคับบัญชา : น. ข้าราชการหรือพนักงานรัฐวิสาหกิจที่มีอำนาจ ปกครองดูแลผู้ใต้บังคับบัญชา.
  32. ผู้พิทักษ์ : (กฎ) น. บุคคลซึ่งศาลมีคำสั่งตั้งให้เป็นผู้ปกครองดูแล คนเสมือนไร้ความสามารถ.
  33. ผู้ใหญ่บ้าน : (กฎ) น. ตําแหน่งผู้ปกครองท้องที่ ซึ่งมีอํานาจหน้าที่ ปกครองบรรดาราษฎรที่อยู่ในเขตหมู่บ้าน.
  34. ผู้อนุบาล : (กฎ) น. บุคคลซึ่งศาลมีคําสั่งแต่งตั้งให้เป็นผู้ปกครอง ดูแลคนไร้ความสามารถ.
  35. เผด็จการ : น. การใช้อํานาจบริหารเด็ดขาด, เรียกลัทธิหรือแบบการ ปกครองที่ผู้นำคนเดียวหรือบุคคลกลุ่มเดียวใช้อำนาจอย่างเด็ดขาด ในการบริหารประเทศว่า ลัทธิเผด็จการ, เรียกผู้ใช้อำนาจเช่นนั้นว่า ผู้เผด็จการ.
  36. พรากเด็ก : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานพาเอาเด็กอายุไม่เกิน ๑๕ ปี ไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยปราศจากเหตุอัน สมควร.
  37. พรากผู้เยาว์ : (กฎ) น. ชื่อความผิดอาญาฐานพาเอาผู้เยาว์ที่มีอายุเกิน ๑๕ ปี แต่ยังไม่เกิน ๑๘ ปีไปเสียจากบิดามารดา ผู้ปกครอง หรือผู้ดูแล โดยผู้เยาว์นั้นไม่เต็มใจไปด้วย.
  38. พลำภัง : [พะ] (โบ) น. ชื่อกรมการปกครองในกระทรวงมหาดไทย, เขียน เป็น พลัมภัง พลําภังค์ ก็มี.
  39. พลิกแผ่นดิน : (สํา) ก. เปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในระบบหรือวิธีการ ปกครองแผ่นดิน. ว. อาการที่ตามหาเท่าไร ๆ ก็ไม่พบ เช่น หาจน พลิกแผ่นดิน.
  40. พัศดี : [พัดสะ] น. ผู้บังคับการเรือนจํา, ผู้ปกครองนักโทษ.
  41. พุทธจักร : น. อํานาจปกครองคณะสงฆ์ทางพระพุทธศาสนา, คู่กับ อาณาจักร ซึ่งหมายความว่า อํานาจปกครองทางบ้านเมือง.
  42. ฟ้าเคืองสันหลัง : (สํา) น. เคราะห์กรรมหรือโทษทัณฑ์ร้ายแรงที่ เกิดจากอํานาจเบื้องบนหรือผู้ปกครอง เช่น ต่อฟ้าเคืองสันหลังจึง รําพัน. (ขุนช้างขุนแผน).
  43. ฟ้าไม่กระเทือนสันหลัง : (สํา) น. อํานาจเบื้องบนหรือผู้ปกครองยัง ไม่ลงโทษทัณฑ์ ใช้ในสํานวนว่า ถ้าฟ้าไม่กระเทือนสันหลังก็ยัง ไม่รู้สึก.
  44. ภาค, ภาค– : [พาก, พากคะ–] น. ส่วน เช่น ภาคทฤษฎี ภาคปฏิบัติ, ฝ่าย เช่น ภาครัฐบาล ภาคเอกชน ภาคเหนือ ภาคใต้, บั้น, ตอน, เช่น หนังสือภูมิศาสตร์ ภาคต้น หนังสือประวัติศาสตร์ภาคปลาย พงศาวดารภาค ๑, คราว เช่น การศึกษา ภาคฤดูร้อน, ส่วนของประเทศที่แบ่งออกเป็นส่วนย่อยเพื่อสะดวกในด้าน การปกครอง การศึกษา การทหาร เป็นต้น เช่น เจ้าคณะภาค แม่ทัพภาค. (ป.).
  45. มณฑล : [มนทน] น. วง เช่น สุริยมณฑล คือ วงรอบดวงอาทิตย์ จันทรมณฑล คือ วงรอบดวงจันทร์, บริเวณ เช่น มณฑลพิธี, เขตปกครองที่แบ่ง ออกเป็นส่วนใหญ่ ๆ; พระแท่นที่วงด้ายสายสิญจน์ เรียกว่า พระแท่น มณฑล. (ป., ส.).
  46. มนเทียรบาล : [มนเทียนบาน] น. การปกครองภายในพระราชฐาน, เรียกข้อบัญญัติพิเศษเกี่ยวกับพระราชฐาน พระราชวงศ์ และระเบียบ การปกครองในราชสำนัก ว่า กฎมนเทียรบาล; ผู้มีอํานาจหน้าที่ เกี่ยวกับการปกครองภายในพระราชฐาน, โบราณใช้ว่า มณเฑียรบาล.
  47. มนู : น. ชื่อพระผู้สร้างมนุษยชาติและปกครองโลก มี ๑๔ องค์ เรียงกัน เป็นยุค ๆ ไป, ยุคหนึ่งเรียกว่า มนวันดร นานกว่า ๔,๐๐๐,๐๐๐ ปี องค์แรก คือ พระสวายมภูวะ พระมนูองค์นี้ถือกันว่าเป็นผู้ทรงออก กฎหมายหรือธรรมศาสตร์ซึ่งยังมีอยู่ตราบเท่าทุกวันนี้เรียกว่า มนุสัมหิตา หรือ มนุสมฺฤติ, เพราะฉะนั้น คํา มนู จึงหมายถึงกฎหมาย ก็ได้ เช่น มนูกิจ. (ส. มนุ).
  48. มหาดไทย : น. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายเหนือในสมัยโบราณ มีสมุหนายกเป็นประธาน, ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่เกี่ยวกับการปกครองท้องที่ บําบัดทุกข์บํารุงสุข การพัฒนา ชนบทและชุมชน การส่งเสริมการศึกษาและการประกอบอาชีพ การรักษาความสงบ เรียบร้อยของประชาชน การป้องกันสาธารณภัย การผังเมือง การโยธา และการราชทัณฑ์.
  49. มอบตัว : ก. นำเด็กนักเรียนไปมอบให้อยู่ในความปกครองของ โรงเรียน เช่น มอบตัวนักเรียน, ยอมตัวให้อยู่ในความควบคุมของ เจ้าหน้าที่เพื่อสู้คดี เช่น ผู้ร้ายเข้ามอบตัว.
  50. มัชฌิมชนบท : น. ในสมัยพุทธกาลหมายถึง ดินแดนส่วนกลางของ ประเทศอินเดียอันเป็นที่อยู่ของพวกอริยกะ เป็นถิ่นที่อุดมสมบูรณ์ เป็นที่ตั้งนครใหญ่ ๆ เป็นศูนย์กลางการปกครอง และเป็นที่ประชุม ของนักปราชญ์ คณาจารย์ เจ้าลัทธิต่าง ๆ.
  51. 1-50 | [51-100] | 101-150 | 151-155

(0.0201 sec)