Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ผัสสะ , then ผสส, ผสฺส, ผัสส, ผัสสะ .

Eng-Thai Lexitron Dict : ผัสสะ, not found

Thai-Eng Lexitron Dict : ผัสสะ, not found

Royal Institute Thai-Thai Dict : ผัสสะ, 4 found, display 1-4
  1. ผัสส, ผัสสะ : น. การกระทบ, การถูกต้อง, เช่น ผัสสะทางกาย ผัสสะทางใจ, การที่ตา หู จมูก ลิ้น และกาย กระทบกับรูป เสียง กลิ่น รส และ สิ่งที่รับรู้ได้ทางกาย เช่น ความสุขทางผัสสะ. (ป.).
  2. ผัสสาหาร : ดู ผัสส, ผัสสะ.
  3. ผัสสาหาร : น. อาหารคือผัสสะ หมายเอาการประจวบกันแห่ง อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ เป็นปัจจัยแห่ง เจตสิกอันจะพึงเกิดโดยวิถีมีเวทนาเป็นต้น เป็นประการหนึ่ง ในอาหารทั้ง ๔ (อีก ๓ อย่าง คือ กวลิงการาหาร อาหารคือ คําข้าว ๑ มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตนา ๑ และ วิญญาณาหาร อาหารคือวิญญาณ ๑). (ป.).
  4. คติพจน์ : น. ถ้อยคําที่เป็นแบบอย่าง. คติสุขารมณ์ น. ลัทธิที่ถือว่าความสุขทางผัสสะหรือโลกียสุขในชีวิต ปัจจุบัน เป็นสิ่งสูงสุดหรือเป็นความดีสูงสุดของชีวิต. (อ. hedonism).

Budhism Thai-Thai Dict : ผัสสะ, 10 found, display 1-10
  1. ผัสสะ : การถูกต้อง, การกระทบ; ผัสสะ ๖ ดู สัมผัส
  2. สัมผัส : ความกระทบ, การถูกต้องที่ให้เกิดความรู้สึก, ความประจวบกันแห่งอายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ มี ๖ เริ่มแต่ จักขุสัมผัส สัมผัสทางตา เป็นต้น จนถึง มโนสัมผัส สัมผัสทางใจ (เรียงตามอายตนะภายใน ๖); ผัสสะ ก็เรียก
  3. ไตรวัฏ : วัฏฏะ ๓, วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วนของปฏิจจสมุปบาท หมุนเวียนสืบทอดต่อๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม และวิบาก (เรียกเต็มว่า ๑.กิเลสวัฏ ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ๒.กรรมวัฏ ประกอบด้วย สังขาร ภพ ๓.วิปากวัฏ ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส) คือ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับวิบากคือผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก เช่น เกิดกิเลสอยากได้ของเขา จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบากคือได้ของนั้นมาเสพเสวยเกิดสุข เวทนา ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยากได้รุนแรงและมากยิ่งขึ้นจึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น หรือในทางตรงข้ามถูกขัดขวาง ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิดกิเลส คือโทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรมคือประทุษร้ายเขา เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด
  4. ไตรวัฏฏ์ : วัฏฏะ ๓, วงวน ๓ หรือวงจร ๓ ส่วนของปฏิจจสมุปบาท หมุนเวียนสืบทอดต่อๆ กันไป ทำให้มีการเวียนว่ายตายเกิด หรือวงจรแห่งทุกข์ ได้แก่ กิเลส กรรม และวิบาก (เรียกเต็มว่า ๑.กิเลสวัฏ ประกอบด้วย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน ๒.กรรมวัฏ ประกอบด้วย สังขาร ภพ ๓.วิปากวัฏ ประกอบด้วย วิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ชาติ ชรามรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส) คือ กิเลสเป็นเหตุให้ทำกรรม เมื่อทำกรรมก็ได้รับวิบากคือผลของกรรมนั้น อันเป็นปัจจัยให้เกิดกิเลสแล้วทำกรรมหมุนเวียนต่อไปอีก เช่น เกิดกิเลสอยากได้ของเขา จึงทำกรรมด้วยการไปลักของเขามา ประสบวิบากคือได้ของนั้นมาเสพเสวยเกิดสุข เวทนา ทำให้มีกิเลสเหิมใจอยากได้รุนแรงและมากยิ่งขึ้นจึงยิ่งทำกรรมมากขึ้น หรือในทางตรงข้ามถูกขัดขวาง ได้รับทุกขเวทนาเป็นวิบาก ทำให้เกิดกิเลส คือโทสะแค้นเคือง แล้วพยายามทำกรรมคือประทุษร้ายเขา เมื่อเป็นอยู่อย่างนี้ วงจรจะหมุนเวียนต่อไปไม่มีที่สิ้นสุด
  5. ผลเหตุสนธิ : ต่อผลเข้ากับเหตุ หมายถึง เงื่อนต่อระหว่างผลในปัจจุบัน กับเหตุในปัจจุบัน ในวงจรปฏิจจสมุปบาท คือ ระหว่างวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา ข้างหนึ่ง (ฝ่ายผล) กับ ตัณหา อุปาทาน ภพ อีกข้างหนึ่ง (ฝ่ายเหตุ)
  6. วิปากวัฏฏ์ : วนคือวิบาก, วงจรส่วนวิบาก, หนึ่งในวัฏฏะ ๓ แห่งปฏิจจสมุปบาท ประกอบด้วยวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา, ชาติ ชรา มรณะ ดู ไตรวัฏฏ์
  7. เหตุผลสนธิ : หัวเงื่อนระหว่างเหตุในอดีตกับผลในปัจจุบัน หรือหัวเงื่อนระหว่างเหตุในปัจจุบันกับผลในอนาคต ในวงจรปฏิจจสมุปบาท (เหตุในอดีต คืออวิชชาและสังขาร, ผลในปัจจุบัน คือวิญญาณ นามรูป สฬายตนะ ผัสสะ เวทนา, เหตุในปัจจุบัน คือ ตัณหา อุปาทาน ภพ, ผลในอนาคต คือชาติ ชรา มรณะ)
  8. อัญญสมานาเจตสิก : เจตสิกที่มีเสมอกันแก่จิตพวกอื่น คือ ประกอบเข้าได้รับกับจิตทุกฝ่ายทั้งกุสลและอกุศล มิใช่เข้าได้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายเดียว มี ๑๓ แยกเป็น ก) สัพพจิตตสาธารณเจตสิก (เจตสิกที่เกิดทั่วไปกับจิตทุกดวง) ๗ คือ ผัสสะ (ความกระทบอารมณ์) เวทนา สัญญา เจตนา เอกัคคตา ชีวิตินทรีย์ มนสิการ (ความกระทำอารมณ์ไว้ในใจ, ใส่ใจ) ข) ปกิณณกเจตสิก (เจตสิกที่เรี่ยราย คือ เกิดกับจิตได้ทั้งฝ่ายกุศลและอกุศล แต่ไม่แน่นอนเสมอไปทุกดวง) ๖ คือ วิตก (ความตรึกอารมณ์) วิจาร (ความตรองอารมณ์) อธิโมกข์ (ความปักใจในอารมณ์) วิริยะ ปีติ ฉันทะ (ความพอใจในอารมณ์)
  9. ผัสสาหาร : อาหารคือผัสสะ, ผัสสะเป็นอาหาร คือเป็นปัจจัยอุดหนุนหล่อเลี้ยงให้เกิดเวทนา ได้แก่ อายตนะภายใน อายตนะภายนอก และวิญญาณ กระทบกัน ทำให้เกิดเวทนา คือ สุขบ้าง ทุกข์บ้าง เป็นอุเบกขาบ้าง (ข้อ ๒ ในอาหาร ๔)
  10. อาหาร : ปัจจัยอันนำมาซึ่งผล, เครื่องค้ำจุนชีวิต, เครื่องหล่อเลี้ยงชีวิตมี ๔ คือ ๑) กวฬิงการาหาร อาหารคือคำข้าว ๒) ผัสสาหาร อาหารคือผัสสะ ๓) มโนสัญเจตนาหาร อาหารคือมโนสัญเจตน ๔) วิญญาณหาร อาหารคือวิญญาณ

ETipitaka Pali-Thai Dict : ผัสสะ, 9 found, display 1-9
  1. ผสฺส : (ปุ.) อันกระทบ, อันถูกต้อง, การกระทบ, การถูกต้อง, ความกระทบ, ความถูกต้อง. วิ. ผุสนํ ผสฺโส. ผัสสะ อารมณ์ วิ. ผุสิยเตติ ผสฺโส ผุสิตพฺโตติ วา ผสฺโส. ผุสฺ สมฺผสฺเส, อ, ผสสฺส ผสฺโส (แปลง ผุส เป็น ผสฺส). อภิฯ. รูปฯ ๕๖๑ ลง ณ ปัจ. สัมปยุตตธรรม ประกอบด้วยสิ่งนั้น ชื่อผัสสะแต่ละอย่าง เช่น ตากระทบรูป เป็นต้น.
  2. ผสฺสหาร : ป. ผัสสาหาร, อาหาร คือ ผัสสะ
  3. ผสฺสายตน : นป. ผัสสายตนะ, อายตนะ คือ ผัสสะ
  4. ผสฺสสมฺปนฺน : ค. ถึงพร้อมด้วยสัมผัสที่น่ารัก
  5. ผุสฺส : (ปุ.) ผุสสะ พระนามของพระพุทธเจ้าองค์หนึ่ง.
  6. ทุผสฺส : (ปุ.) ผัสสะหยาบ, อเนกคุณคัน อเนกคุณ ชื่อต้นไม้ชนิดหนึ่ง ใช้ทำยาไทย มีขนและหนามเล็กตามกิ่งก้านและใบ ถูกเข้าจะคัน.
  7. ปฏิจฺจสมุปฺปาท : ป., ปฏิจจสมุปบาท, การที่ธรรมทั้งหลายอาศัยกันและกันเกิดขึ้นร่วมกัน, กฏแห่งธรรมที่ต้องอาศัยกันและกันเกิดขึ้น ซึ่งมีอยู่ ๑๒ ประการ คือ ๑. เพราะอวิชชาเป็นปัจจัย จึงมีสังขาร ๒. เพราะสังขารเป็นปัจจัย จึงมีวิญญาณ ๓. เพราะวิญญาณเป็นปัจจัย จึงมีนามรูป ๔. เพราะนามรูปเป็นปัจจัย จึงมีสฬายตนะ ๕. เพราะสฬายตนะเป็นปัจจัย จึงมีผัสสะ ๖. เพราะผัสสะเป็นปัจจัย จึงมีเวทนา ๗. เพราะเวทนาเป็นปัจจัย จึงมีตัณหา ๘. เพราะตัณหาเป็นปัจจัย จึงมีอุปาทาน ๙. เพราะอุปาทานเป็นปัจจัย จึงมีภพ ๑๐. เพราะภพเป็นปัจจัย จึงมีชาติ ๑๑.- ๑๒. เพราะชาติ จึงมีชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์โทมนัส อุปายาส
  8. ผสฺสาหาร : (ปุ.) อาหารคือผัสสะ.
  9. ผาสุ : (นปุ.) ความอิ่มใจ, ความพอใจ, ความยินดี, ความสำราญ, ความสุข, ความสบาย. ผสฺสฺ สินิเยฺห, ณุ. ลบ สฺ สังโยคทีฆะต้นธาตุ. อภิฯ และฎีกา อภิฯ

Pramaha Prasert Mantasevi's Thai-Pali Dict : ผัสสะ, not found

(0.1324 sec)