Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ยา , then , ยะ, ยา .

Budhism Thai-Thai Dict : ยา, 230 found, display 101-150
  1. โกรัพยะ : พระเจ้าแผ่นดินแคว้นกุรุ
  2. โกเสยยะ : ผ้าทำด้วยใยไหม ได้แก่ ผ้าใหม่ ผ้าแพร
  3. ญายะ : ความถูกต้องชอบธรรม, ความยุติธรรม, สิ่งที่สมเหตุผล, ทางที่ถูกต้อง, ข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง หมายถึง อริยอัฏฐังคิกมรรค, ภาวะอันจะลุถึงได้ด้วยข้อปฏิบัติที่ถูกต้อง ได้แก่ นิพพาน
  4. ติตถิยปริวาส : วิธีอยู่กรรมสำหรับเดียรถีย์ที่ขอบวชในพระพุทธศาสนา กล่าวคือ นักบวชในลัทธิศาสนาอื่น หากปรารถนาจะบวชเป็นภิกษุในพระพุทธศาสนา จะต้องประพฤติปริวาสก่อน ๔ เดือน หรือจนกว่าพระสงฆ์พอใจ จึงจะอุปสมบทได้
  5. ติตถิยปักกันตะ : ผู้ไปเข้ารีตเดียรถีย์ทั้งเป็นภิกษุ อุปสมบทอีกไม่ได้ (เป็นวัตถุวิบัติ)
  6. ติตถิยะ : เดียรถีย์, นักบวชภายนอกพระพุทธศาสนา
  7. ธัมมเทสนามัย : บุญสำเร็จด้วยการแสดงธรรม (ข้อ ๙ ในบุญกิริยาวัตถุ ๑๐)
  8. ธัมมวิจยะ : ความเฟ้นธรรม, ความสอดส่อง สืบค้นธรรม, การวิจัยหรือค้นคว้าธรรม (ข้อ ๒ ในโพชฌงค์ ๗)
  9. นิรันตราย : ปราศจากอันตราย
  10. นิสสัคคิยะ : “ทำให้สละสิ่งของ” เป็นคุณบทแห่งอาบัติปาจิตตีย์ หมวดหนึ่งที่เรียกว่า นิสสัคคิยปาจิตตีย์
  11. เนยยะ : ผู้พอแนะนำได้ คือพอจะฝึกสอนอบรมให้เข้าใจธรรมได้ต่อไป (ข้อ ๓ ในบุคคล ๔ เหล่า)
  12. เนวสัญญานาสัญญายตนะ : ภาวะที่มีสัญญาก็ไม่ใช่ ไม่มีสัญญาก็ไม่ใช่เป็นชื่ออรูปฌาน หรืออรูปภพที่ ๔
  13. ผ้ากาสายะ : ดู กาสาวะ
  14. โพธิปักขิยธรรม : ธรรมอันเป็นฝักฝ่ายแห่งความตรัสรู้, ธรรมที่เกื้อหนุนแก่อริยมรรค มี ๓๗ ประการคือ สติปัฏฐาน ๔ สัมมัปปธาน ๔ อิทธิบาท ๔ อินทรีย์ ๕ พละ ๕ โพชฌงค์ ๗ มรรคมีองค์ ๘
  15. ภัททิยะ : ๑. ชื่อภิกษุรูปหนึ่งในคณะปัญจวัคคีย์ เป็นพระอรหันต์รุ่นแรก ๒. กษัตริย์ศากยวงศ์ โอรสของนางกาฬิโคธา สละราชสมบัติที่มาถึงตามวาระแล้วออกบวชพร้อมกับพระอนุรุทธะ สำเร็จอรหัตตผล ได้รับยกย่องว่าเป็นเอตทัคคะในบรรดาภิกษุผู้มาจากตระกูลสูง และจัดเป็นมหาสาวกองค์หนึ่งในจำนวน ๘๐
  16. ภิกขุนูปัสสยะ : สำนักนางภิกษุณี, เขตที่อยู่อาศัยของภิกษุณีซึ่งเป็นส่วนหนึ่งอยู่ในวัด
  17. โภคอาทิยะ : ประโยชน์ที่ควรถือเอาจากโภคทรัพย์มี ๕ คือ ๑.เลี้ยงตัว มารดาบิดา บุตร ภรรยา บ่าวไพร่ ให้เป็นสุข ๒.เลี้ยงเพื่อนฝูงให้เป็นสุข ๓.บำบัดป้องกันภยันตราย ๔.ทำ พลี ๕ อย่าง ๕.ทำทานในสมณพราหมณ์
  18. โภชนียะ : ของควรบริโภค, ของสำหรับฉัน ได้แก่ ข้าวสุก ขนมสด ขนมแห้ง ปลา เนื้อ
  19. มูลายปฏิกัสสนา : การชักเข้าหาอาบัติเดิม เป็นชื่อวุฏฐานวิธีอย่างหนึ่ง ดู ปฏิกัสสนา
  20. มูลายปฏิกัสสนารหภิกษุ : ภิกษุผู้ควรแก่การชักเข้าหาอาบัติเดิม หมายถึง ภิกษุผู้กำลังอยู่ปริวาส หรือประพฤติมานัตอยู่ ต้องอาบัติสังฆาทิเสสข้อเดียวกันหรืออาบัติสังฆาทิเสสข้ออื่น เข้าอีกก่อนที่สงฆ์จะอัพภาน ต้องตั้งต้นอยู่ปริวาสหรือประพฤติมานัตใหม่
  21. เมฆิยะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เคยเป็นอุปัฏฐากของพระพุทธองค์ คราวหนึ่ง ได้เห็นสวนมะม่วงริมฝั่งแม่น้ำกิมิกาฬา น่ารื่นรมย์ จึงขอลาพระพุทธเจ้าไปบำเพ็ญที่นั่น พระพุทธเจ้าห้ามไม่ฟัง ท่านไปบำเพ็ญเพียร ถูกอกุศลวิตกต่างๆ รบกวนในที่สุดต้องกลับมาเฝ้าพระพุทธเจ้าได้ฟังพระธรรมเทศนาเรื่องธรรม ๕ ประการสำหรับบ่มเจโตวิมุตติ เป็นต้น ที่พระศาสดาทรงแสดงจึงได้สำเร็จพระอรหัต
  22. เมตเตยยะ : ดู ศรีอารยเมตไตรย
  23. ยี่ : ๒ โบราณเขียน ญี่ เดือนยี่ ก็คือเดือนที่ ๒ ต่อจากเดือนอ้ายอันเป็นเดือนที่หนึ่ง
  24. รูปียะ : เงินตรา
  25. เรวต ขทิรวนิยะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่งเป็นบุตรพราหมณ์ชื่อวังคันตะมารดาชื่อนางสารี เป็นน้องชายคนสุดท้องของพระสารีบุตร บวชอยู่ในสำนักของภิกษุพวกอยู่ป่า (อรัญวาสี) บำเพ็ญสมณธรรมอยู่ในป่าไม้ตะเคียนประมาณ ๓ เดือนเศษ ก็ได้สำเร็จพระอรหัต ได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางอยู่ป่า
  26. ลกุณฏก ภัททิยะ : พระมหาสาวกองค์หนึ่ง เป็นบุตรในตระกูลมั่งคั่ง ชาวพระนครสาวัตถี ได้ฟังพระธรรมเทศนาของพระศาสดาที่พระเชตวันมีความเลื่อมใสจึงบวชในพระพุทธศาสนา ท่านมีรูปร่างเตี้ยค่อมจนบางคนเห็นท่านแล้วหัวเราะจนเห็นฟัน ท่านกำหนดฟันนั้นเป็นอารมณ์กรรมฐาน ได้สำเร็จอนาคามิผล ต่อมาท่านได้บรรลุพระอรหัตในสำนักพระสารีบุตร แต่เพราะความที่มีรูปร่างเล็กเตี้ยค่อม ท่านมักถูกเข้าใจผิดเป็นสามเณรบ้าง ถูกพระหนุ่มเณรน้อยล้อเลียนบ้าง ถูกเพื่อนพระดูแคลนบ้าง แต่พระพุทธเจ้ากลับตรัสยกย่องว่าถึงท่านจะร่างเล็ก แต่มีคุณธรรมฤทธานุภาพมาก ท่านได้รับยกย่องเป็นเอตทัคคะในทางมีเสียงไพเราะ
  27. โลกาธิปเตยยะ : ดู โลกาธิปไตย
  28. โลกิยฌาน : ฌานโลกีย์, ฌานอันเป็นวิสัยของโลก, ฌานของผู้มีจิตยังไม่เป็นโลกุตตระ, ฌานที่ปุถุชนได้
  29. โลกิยธรรม : ธรรมอันเป็นวิสัยของโลก, สภาวะเนื่องในโลก ได้แก่ขันธ์ ๕ ที่ยังมีอาสวะทั้งหมด; คู่กับ โลกุตตรธรรม
  30. โลกิยวิมุตติ : วิมุตติที่เป็นโลกีย์ คือความพ้นอย่างโลกๆ ไม่เด็ดขาด ไม่สิ้นเชิง กิเลสและความทุกข์ยังกลับครอบงำได้อีก ได้แก่วิมุตติ ๒ อย่างแรกคือ ตทังควิมุตติ และ วิกขัมภนวิมุตติ ดู วิมุตติ, โลกุตตรวิมุตติ
  31. โลกิยสุข : ความสุขอย่างโลกีย์, ความสุขที่เป็นวิสัยของโลก, ความสุขที่ยังประกอบด้วยอาสวะ เช่น กามสุข มนุษยสุข ทิพยสุข ตลอดถึงฌานสุขและวิปัสสนาสุข
  32. วาชเปยะ : “วาจาดูดดื่มใจ”, “น้ำคำควรดื่ม”, ความรู้จักพูด รู้จักทักทายปราศรัย มีถ้อยคำสุภาพนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผลมีประโยชน์ เป็นทางแห่งสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจอันดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือ (ข้อ ๔ ในราชสังคหวัตถุ ๔)
  33. วาชไปยะ : “วาจาดูดดื่มใจ”, “น้ำคำควรดื่ม”, ความรู้จักพูด รู้จักทักทายปราศรัย มีถ้อยคำสุภาพนุ่มนวล ประกอบด้วยเหตุผลมีประโยชน์ เป็นทางแห่งสามัคคี ทำให้เกิดความเข้าใจอันดี ความเชื่อถือและความนิยมนับถือ (ข้อ ๔ ในราชสังคหวัตถุ ๔)
  34. เวเนยยสัตว์ : ดู เวไนยสัตว์
  35. สภิยะ : พระเถระผู้ใหญ่ชั้นมหาสาวก เคยเป็นปริพพาชกมาก่อน ได้ฟังพระพุทธเจ้าพยากรณ์ปัญหาที่ตนถาม มีความเลื่อมใส ขอบวช หลังจากบวชแล้ว ไม่ช้าก็ได้บรรลุพระอรหัต
  36. สหเสยยสิกขาบท : สิกขาบทเกี่ยวกับการนอนร่วมมี ๒ ข้อ ข้อหนึ่งปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นอนร่วมกับอนุปสัมบันเกิน ๒-๓ คืน อีกข้อหนึ่งปรับอาบัติปาจิตตีย์แก่ภิกษุผู้นอนร่วม (คือนอนในที่มุงที่บังเดียวกัน) กับหญิงแม้ในคืนแรก (ข้อ ๕ และ ๖ ในมุสาวาทวรรค ปาจิตติยกัณฑ์)
  37. สักยราช : กษัตริย์วงศ์ศากยะ, พระราชาวงศ์ศากยะ
  38. สัตตาหกรณียะ : ธุระเป็นเหตุให้ภิกษุออกจากวัดในระหว่างพรรษาได้ ๗ วัน ได้แก่ ๑.ไปเพื่อพยาบาลสหธรรมิกหรือมารดาบิดาผู้เจ็บไข้ ๒.ไปเพื่อระงับสหธรรมิกที่กระสันจะสึก ๓.ไปเพื่อกิจสงฆ์ เช่น ไปหาทัพพสัมภาระมาซ่อมวิหารที่ชำรุดลงในเวลานั้น ๔.ไปเพื่อบำรุงศรัทธาของทายกซึ่งส่งมานิมนต์เพื่อการบำเพ็ญกุศลของเขา และธุระอื่นจากนี้ที่เป็นกิจลักษณะอนุโลมตามนี้ได้
  39. สัปปุริสูปัสสยะ : คบสัตบุรุษ, คบคนดี, ได้คนดีเป็นที่พึ่งอาศัย (ข้อ ๒ ในจักร ๔)
  40. เสขิยวัตร : วัตรที่ภิกษุจะต้องศึกษา, ธรรมเนียมเกี่ยวกับมารยาทที่ภิกษุพึงสำเหนียกหรือพึงฝึกฝนปฏิบัติ มี ๗๕ สิกขาบท จำแนกเป็น สารูป ๒๖ โภชนปฏิสังยุต ๓๐ ธัมมเทสนาปฏิสังยุต ๑๖ และปกิรณะคือเบ็ดเตล็ด ๓, เป็นหมวดที่ ๗ แห่งสิกขาบท ในบรรดาสิกขาบท ๒๒๗ ของพระภิกษุ ท่านให้สามเณรถือปฏิบัติด้วย
  41. อกรณียะ : กิจอันบรรพชิตไม่ควรทำ ๔ อย่าง ทำแล้วขาดจากความเป็นภิกษุ คือ ๑) เสพเมถุน ๒) ลักของเขาตั้งแต่ ๕ มาสกขึ้นไป ๓) ฆ่ามนุษย์ ๔) อวดคุณพิเศษ (อุตริมนุสธรรม) ที่ไม่มีในตน (สำหรับภิกษุณี มี ๘) ดู อนุศาสน์
  42. อธิปเตยยะ : ความเป็นใหญ่ มี ๓ อย่าง คือ ๑) อัตตาธิปไตย ความมีตนเป็นใหญ่ ๒) โลกาธิปไตย ความมีโลกเป็นใหญ่ ๓) ธัมมาธิปไตย ความมีธรรมเป็นใหญ่
  43. อนุศาสนีปาฏิหาริยะ : ดู อนุสาสนีปาฏิหาริย์(ในภาคผนวก)
  44. อัญญภาคิยสิกขาบท : ชื่อสิกขาบทที่ ๙ แห่งสังฆาทิเสส (ภิกษุหาเลสโจทภิกษุอื่นด้วยอาบัติปาราชิก), เรียกอีกชื่อหนึ่งว่า ทุติยทุฏฐโทสสิกขาบท
  45. อัตตาธิปเตยยะ : ดู อัตตาธิปไตย
  46. อุทธัมภาคิยสังโยชน์ : สังโยชน์เบื้องสูง ได้แก่ กิเลสผูกใจสัตว์อย่างละเอียด มี ๕ คือ รูปราคะ อรูปราคะ มานะ อุทธัจจะ อวิชชา พระอรหันตจึงละได้; ดู สังโยชน์
  47. อุทริยะ : อาหารใหม่, อาหารที่รับประทานเข้าไปแล้วอยู่ในท้อง ในลำไส้กำลังผ่านกระบวนการย่อย แต่ยังไม่กลายเป็นอุจจาระ
  48. โอรัมภาคิยสังโยชน์ : สังโยชน์เบื้องต่ำ, กิเลสผูกใจสัตว์อย่างหยาบ มี ๕ อย่าง คือ สักกายทิฏฐิ วิจิกิจฉา สีลัพพตปรามาส กามราคะ ปฏิฆะ; ดู สังโยชน์
  49. ยกน : (ยะกะนะ) ตับ
  50. กล่าวคำอื่น : ในประโยคว่า เป็นปาจิตติยะ ในเพราะความเป็นผู้กล่าวคำอื่น ถูกซักอยู่ในท่ามกลางสงฆ์ ไม่ปรารถนาจะให้การตามตรง เอาเรื่องอื่นมาพูดกลบเกลื่อนเสีย
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-230

(0.0310 sec)