Dictionary : English, Thai, Pali. Link : Lexitron, RoyDict, BudDict, ETipitaka, PpmDict, Longdo.
Search: ล่า , then ล่ะ, ลา, ล่า .

Royal Institute Thai-Thai Dict : ล่า, 226 found, display 101-150
  1. เอลาฬุก : [ลาลุก] น. ฟักทอง, ฟักเหลือง. (ป.).
  2. กฎหมาย : (กฎ) น. กฎที่สถาบันหรือผู้มีอํานาจสูงสุดในรัฐตราขึ้น หรือ ที่เกิดขึ้นจากจารีตประเพณีอันเป็นที่ยอมรับนับถือ เพื่อใช้ใน การบริหารประเทศ เพื่อใช้บังคับบุคคลให้ปฏิบัติตาม หรือ เพื่อกําหนดระเบียบแห่งความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลหรือ ระหว่างบุคคลกับรัฐ. (โบ) ก. จดบันทึกไว้เป็นหลักฐาน เช่น สั่งให้นายอินกฎหมายผู้มีชื่อทั้งนี้ไว้. (พงศ. อยุธยา), ทําหนังสือ เป็นหลักฐาน เช่น อนึ่ง มีผู้ทําหนังสือร้องเรียนกฎหมายว่า.... (พระราชกําหนดเก่า); ออกหมายกําหนด เช่น ให้มหาดไทยกลาโหม กฎหมายบอกแก่ตระลาการ ถ้ากฎหมายมิทั่วจะเอาตัวผู้กฎหมาย ลงโทษ. (พระราชกําหนดเก่า); กฎหมายงานพระบรมศพครั้ง กรุงเก่า; ตราสั่ง เช่น จึ่งกฎหมายให้สามไป เดือนหนึ่งจอมไตร ดํารัสให้เร่งคืนมา. (พากย์); กําหนดขีดขั้น เช่น ให้ปลูกโรงรจนา ใน นอกหน้าศาลชัย ให้ตั้งพิกัดกฎหมาย. (พากย์).
  3. กณิกนันต์ : [กะนิกนัน] (แบบ) ว. ละเอียดยิ่ง เช่น ลวดหลายลายกณิกนันต์. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป. กณิก ว่า น้อย + อนนฺต ว่า ไม่มีที่สุด).
  4. กระ ๔ : ใช้เป็นพยางค์หน้า (๑) ซึ่งเดิมเป็น ก กํา กุ ข ต ส เช่น กบิล - กระบิล, กําแพง - กระแพง, กุฎี - กระฎี, ขจัด - กระจัด, ตวัด - กระหวัด, สะท้อน - กระท้อน. (๒) โบราณใช้แทน ตระ เช่น ตระกูล - กระกูล, ตระลาการ - กระลาการ. (อัยการเบ็ดเสร็จ). (๓) เติมหน้าคําโดยไม่มีความหมายก็มี เช่น ซุ้ม - กระซุ้ม, โดด - กระโดด, พุ่ม - กระพุ่ม, ยาจก - กระยาจก, เติมให้มีความหมายแน่นแฟ้นขึ้นก็มี เช่น ทํา - กระทํา, ทุ้ง - กระทุ้ง, เสือกสน - กระเสือกกระสน. (๔) ย้าหน้าคําอันขึ้นต้นด้วย ก ในบทกลอน คือ กระกรี๊ด กระกรุ่น กระกลับกลอก กระเกริ่น กระเกรียม กระเกรียว กระเกรี้ยว กระเกริก. (๕) นอกนี้เป็น กระ มาแต่เดิม เช่น กระทรวง กระบือ.
  5. กระดาษเพลา : [-เพฺลา] น. กระดาษสาชนิดบาง โบราณใช้ร่างหนังสือด้วยดินสอดำหรือใช้ประโยชน์ อย่างอื่น เช่น ใช้ปิดหุ่นหัวโขนและหุ่นอื่น ๆ.
  6. กระทุ : น. ชื่อไม้พุ่มชนิด Rhodomyrtus tomentosa Wight ในวงศ์ Myrtaceae ขึ้นชุมตามป่าโปร่งทางปักษ์ใต้ ใบหนา สีเขียวแก่ ออกเป็นคู่ ๆ ตามกิ่ง บางทีออกเป็น ๓ ใบจากข้อเดียวกัน ด้านล่างของใบมีขนทึบสั้น ๆ ดอกสีชมพู สัณฐานคล้ายกุหลาบลา ขนาดเล็ก ๆ ออกตามง่ามใบ ดอกเดี่ยวหรือเป็นช่อ ๒-๓ ดอกก็มี ผลกลม เมื่อสุกสีม่วงดํา กินได้ มีรสหอมหวาน, ทุ พรวด พลวดใหญ่ หรือ พลวดกินลูก ก็เรียก.
  7. กระลาศรี : น. ผู้หญิง เช่น รฦกกระลาศรี เสาวภาคย กูเออย. (กำสรวล).
  8. กรุก : [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
  9. กรุงเขมา : หมายถึงกระทรวง ทบวง กรม ที่ข้าราชการใน สังกัดถูกเรียกตัวเข้ามาอยู่ประจำโดยมิได้มี ตำแหน่งหน้าที่ใด ๆ เพื่อเป็นการลงโทษหรือ ก่อนเกษียณอายุราชการ ในความว่า เรียกเก็บเข้ากรุ. [กฺรุ] ก. ปิดกันช่องโหว่หรือที่ว่าง เช่น กรุฝา, รองไว้ข้างล่าง เช่น กรุก้นชะลอม, ปิดกั้น เช่น กรุบ่อ, กรองกรุฉลุกรเม็ด ช่อช้อย. (เพชรมงกุฎ). น. เรียกบ่อซึ่งมีสิ่งรองไว้ที่ก้นว่า บ่อกรุ หรือ กรุ. [กฺรุก] ก. ขลุก, ขลุกขลุ่ย, ง่วนอยู่, เช่น พรรษาหนึ่งสองพรรษาไม่ผาสุก เข้าบ้านกรุกเลยลาสิกขาบท. (นิ. เดือน). ว. เสียงดังกุก เช่น ได้ยินเสียงกรุกลุกขึ้นมอง. (คาวี).
  10. กล่อมเกลา : [-เกฺลา] ก. ทําให้เรียบร้อย, ทําให้ดี, โดยปริยายหมายความว่า อบรมให้มีนิสัยไปในทางดี.
  11. กลา : [กะลา] (แบบ) น. เสี้ยวที่ ๑๖ แห่งดวงเดือน, ดวงเดือน; ระเบียบพิธีของการบูชา เช่น ไปคํานับศาลสุรากลากิจ. (อภัย), ใช้ว่า กระลา ก็มี. (ป., ส.).
  12. กลาโหม : [กะลาโหมฺ] น. ชื่อกรมที่ปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้ในสมัยโบราณ มีสมุหพระกลาโหมเป็นประธาน; ชื่อกระทรวงที่มีอํานาจหน้าที่ เกี่ยวกับการป้องกันและรักษาความมั่นคงของราชอาณาจักรจาก ภัยคุกคามทั้งภายนอกและภายในประเทศ; การชุมนุมพลรบ.
  13. กะลาซอ : (ปาก) ว. คล้ายกะลาที่ทําซอ, เรียกผมที่ตัดแล้ว เป็นรูปอย่างนั้น.
  14. กะลาสี : น. ลูกเรือ. ว. อย่างเครื่องแต่งกายกะลาสีสมัยโบราณหรือ พลทหารเรือปัจจุบัน เช่น หมวกกะลาสี เงื่อนกะลาสี คอเสื้อกะลาสี. (มลายู กะลาสิ จากคำอิหร่าน ขะลาสิ).
  15. กัมลาศ : [กํามะลาด] (แบบ) น. กมลาสน์ คือ พระพรหม เช่น เพียงกัมลาศลงมาดิน. (ม. คําหลวง กุมาร). (ป., ส. กมลาสน).
  16. กามน : [กา-มน] ว. เต็มไปด้วยกาม เช่น ฤๅโฉมพระศรีศริ อภิลาศกามน. (สุธน). (ป., ส.).
  17. กาหลา ๑ : [-หฺลา] ว. เหมือนดอกไม้. (ช.).
  18. กำผลา : [-ผฺลา] น. ง้าว.
  19. กำพร้า ๒ : [-พฺร้า] ว. ไร้บิดาหรือมารดาเลี้ยงดูแต่เด็ก, (โบ) หมายถึง ร้างลูกร้างเมียด้วย เช่น สองจะลีลาสู่ฟ้า ลาแม่เป็นกำพร้า เจ้าแม่เอ้ยปรานี แม่รา. (ลอ), (กลอน) ใช้เป็น ก่ำพร้า ก็มี เช่น เจ้าจะละเรียมไว้ ก่ำพร้าคนเดียว. (ลอ).
  20. กำมลาศน์ : [-มะลาด] (โบ) น. กมลาสน์.
  21. กำมะลอ : น. เรียกของลงรักแบบญี่ปุ่นและจีน เช่นหีบ โอ กระบะ ว่า เครื่องกํามะลอ, เรียกไม้ดัดชนิดหนึ่งที่ดัดให้เหมือน รูปต้นไม้ที่ญี่ปุ่นและจีนเขียนลงในเครื่องกํามะลอว่า ไม้กํามะลอ; เรียกกลดที่ทําด้วยผ้าขาวหรือแพรขาวเขียนลายทอง สําหรับใช้กับ เจ้านายหรือพระพุทธรูปว่า กลดกํามะลอ, เรียกลายที่เขียนที่เครื่อง กํามะลอเป็นลายสี ลายทอง หรือ ลายทองแทรกสี หรือเขียนบนผ้าขาว หรือแพรขาวว่า ลายกํามะลอ; เรียกของทําเทียมหรือของเล็กน้อย ที่ทําหยาบ ๆ ไม่ทนทานว่า ของกํามะลอ. ว. เลวไม่ทนทาน, ไม่ดี, ไม่งาม.
  22. กำลังเทียน : (ฟิสิกส์) น. หน่วยวัดความเข้มของความสว่าง ของแหล่งกําเนิดแสง, แรงเทียน ก็ว่า, ปัจจุบันใช้หน่วยแคนเดลา.
  23. กำเลา : (แบบ) ว. โง่, อ่อน, ไม่รู้เท่าทัน, ไม่มีไหวพริบ, เช่น ดุจตักแตนเต้นเห็นไฟ บมิใฝ่หนีไกล กำเลากำเลาะหวังเขญ. (อนิรุทธ). (ข. กํเลา จาก เขฺลา).
  24. กุมภัณฑ-, กุมภัณฑ์ : [-พันทะ-] น. ยักษ์ เช่น หนึ่งท่าทานพกุมภัณฑ์คันธอสูร โสรจสินธุสมบูรณ์ ณ สระ (สมุทรโฆษ); ฟักเขียว เช่น ป่าเอลาลุอลาพุกุมภัณฑอคร้าวอนันต์. (สมุทรโฆษ).
  25. กุหร่า : [-หฺร่า] น. สีเทาเจือแดง บางทีกระเดียดเหลืองเล็กน้อย เป็นสีชนิดสักหลาด. (เทียบทมิฬ กุลฺลา ว่า หมวก; อิหร่าน กุลา ว่า กะบังหน้า).
  26. เกลา : [เกฺลา] ก. ทําสิ่งที่ยังขรุขระอยู่ให้เกลี้ยงหรือได้รูปทรงดีขึ้น เช่น เกลาไม้ไผ่, ทำให้ดีขึ้นหรือเรียบร้อยขึ้น เช่น เกลาสํานวน หนังสือ เกลานิสัย.
  27. เกาเหลา : [-เหฺลา] น. แกงมีลักษณะอย่างแกงจืด. (จ.).
  28. เกิบ ๒ : (โบ) ก. กําบัง, บัง, เช่น เศวตฉัตรรัตนก้งง เกิบบนบรรจถรณ์. (สรรพสิทธิ์), เฉกฉายกมลาสน์ฉัตรา เกิบก้งงเกศา. (สรรพสิทธิ์).
  29. โกลาหล : [-หน] น. เสียงกึกก้อง. ว. อื้ออึง, เอิกเกริก, วุ่นวาย, (โบ; กลอน) ใช้เป็น โกลา โกลี ก็มี เช่น เสียงโห่โกลาเกรียงไกร. (คําพากย์), พระกุมารโกรธใจเป็นโกลี. (ไชยเชฐ). (ป., ส.).
  30. ขลา : [ขฺลา] น. เสือ. (ข. ขฺลา).
  31. เขลา : [เขฺลา] ว. ขาดไหวพริบ, รู้ไม่ถึง, รู้ไม่เท่าทัน, ไม่เฉียบแหลม, ไม่ฉลาด. (ข.).
  32. คลับคล้าย, คลับคล้ายคลับคลา : [คฺลับคฺล้าย, -คฺลับคฺลา] ก. จำได้แต่ไม่แน่ใจ, จำได้อย่างเลือนลาง, ไม่แน่ใจว่าใช่, เช่น คลับคล้ายว่าเป็นคนคนเดียวกัน, ฉันคลับคล้าย คลับคลาว่าจะเคยพบเขามาก่อน.
  33. คลา : [คฺลา] (กลอน) ก. เดิน, เคลื่อน, เช่น พาชีขี่คล่องคล้อย ควรคลา. (โลกนิติ); คลาด เช่น อายแก่ราชาคลา ยศแท้. (โลกนิติ).
  34. คลำป้อย : ก. อาการที่คลำและลูบแล้ว ๆ เล่า ๆ ตรงที่เจ็บ.
  35. ค่าจ้าง : (กฎ) น. เงินที่นายจ้างและลูกจ้างตกลงกันจ่ายเป็นค่าตอบแทน ในการทำงานตามสัญญาจ้างสำหรับระยะเวลาการทำงานปรกติเป็น รายชั่วโมง รายวัน รายสัปดาห์ รายเดือน หรือ ระยะเวลาอื่น หรือจ่าย ให้โดยคำนวณตามผลงานที่ลูกจ้างทำได้ในเวลาทำงานปรกติของวันทำงาน และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างในวันหยุดและวัน ลาที่ลูกจ้างมิได้ทำงาน แต่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับตามกฎหมาย; เงินทุก ประเภทที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างเป็นค่าตอบแทนการทำงานในวันและ เวลาทำงานปรกติ ไม่ว่าจะคำนวณตามระยะเวลาหรือคำนวณตามผลงานที่ ลูกจ้างทำได้ และหมายความรวมถึงเงินที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างใน วันหยุดและวันลาซึ่งลูกจ้างไม่ได้ทำงานด้วย ทั้งนี้ ไม่ว่าจะกำหนด คำนวณ หรือจ่ายในลักษณะใดหรือโดยวิธีการใด และไม่ว่า จะเรียกชื่ออย่างไร.
  36. ไคล ๒ : [ไคฺล] ก. ไป. ไคลคลา [-คฺลา] ก. เดินไป, เคลื่อนไป, คลาไคล ก็ว่า.
  37. จลนี ๒ : [จะ-] (กลอน) น. ชะนี เช่น จลนีหวนโหนปลายทูม. (ม. คําหลวง ทานกัณฑ์). (ป.). [จะ-] (แบบ) น. ธูป, ของหอม; แสงสว่าง, ฟ้าแลบ, เช่น จลาจเลนทร์. (ม. คําหลวง แปลจากคํา คนฺธมาทโน; ส. จล + อจล + อินฺทฺร). [จะลาจน] น. ความปั่นป่วนวุ่นวายไม่มีระเบียบ. (ป., ส. จล + อจล).
  38. ฉทานศาลา : [ฉ้อทานนะสาลา] น. ศาลาเป็นที่ทําทาน ๖ แห่ง, บางทีเขียนว่า ศาลาฉทาน.
  39. เฉลา : [ฉะเหฺลา] ว. สวย, งาม, เกลี้ยงเกลา, เพราพริ้ง.
  40. ชักหน้า ๒ : น. ชื่อขนมชนิดหนึ่ง ทําด้วยแป้งข้าวเจ้าผสมแป้งมัน ละลายกับนํ้าเชื่อมใส่ถ้วยตะไลนึ่ง เมื่อสุกหน้าจะบุ๋ม, ขนมนํ้าดอกไม้ ก็เรียก.
  41. ชาลา ๑ : น. ความรุ่งเรือง, เปลวไฟ, โคมไฟ, แสงสว่าง. (ส. ชฺวาลา).
  42. ตรลา : [ตะระลา] (แบบ) น. ข้าวต้ม; นํ้าผึ้ง; เหล้า. (ป., ส. ตรล).
  43. ตรีผลสมุตถาน : [-สะหฺมุดถาน] น. ที่เกิดแห่งผล ๓ อย่าง คือ ผลมะตูม ผลยอ ผลผักชีลา.
  44. ตรีผลา : [-ผะลา] น. ชื่อผลไม้ ๓ อย่างประกอบขึ้นใช้ในตํารายาไทย หมายเอา สมอไทย สมอพิเภก มะขามป้อม. (ส. ตฺริผลา).
  45. ตรีสัตกุลา : [-สัดตะ-] น. ตระกูลอันสามารถ ๓ อย่าง คือ เทียนดํา ผักชีลา ขิงสด.
  46. ตัว ๑ : น. รูป, ตน, ตนเอง, คําใช้เรียกแทนคน สัตว์ และสิ่งของบางอย่าง เช่น ตัวละคร ตัวหนังสือ; ลักษณนามใช้เรียกสัตว์และสิ่งของบางอย่าง เช่น ม้า ๕ ตัว ตะปู ๓ ตัว เสื้อ ๒ ตัว; ใช้เรียกผู้ที่ตนพูดด้วยในฐานะคนเสมอกันที่สนิทกัน เช่น ตัวจะไปไหม. ตัวกลั่น น. ผู้ที่เลือกสรรแล้ว. ตัวกลาง (วิทยา) น. สิ่งที่แสงหรือเสียงหรือคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าต้องเคลื่อนที่ผ่าน. ตัวการ น. ผู้ก่อเหตุ; (กฎ) ตามกฎหมายอาญา ตัวการหมายความถึงบุคคล ตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป ซึ่งร่วมกระทำความผิดด้วยกัน; ตามกฎหมายแพ่ง ตัวการหมายความถึงบุคคลซึ่งมอบอำนาจโดยตรงหรือโดยปริยายให้ บุคคลอีกคนหนึ่งทำการแทนตน. ตัวเก็ง น. ผู้ ตัว หรือสิ่งที่คาดหมายไว้อย่างมั่นใจ. ตัวโค น. ชื่อหนึ่งของดาวฤกษ์อารทรา มี ๑ ดวง, ดาวตาสําเภา ดาวอทระ หรือ ดาวอัททา ก็เรียก. ตัวใครตัวมัน ว. ต่างคนต่างเอาตัวรอดแต่ลําพัง. ตัวเงิน น. เงินสด. ตัวเงินตัวทอง (ปาก) น. เหี้ย. ตัวจักรใหญ่ (สํา) น. บุคคลซึ่งเป็นสมองหรือเป็นหัวหน้าในการดําเนินกิจการ. ตัวจำนำ น. ตัวแทนที่ให้อยู่เป็นประกันในความซื่อตรงมั่นคงของผู้เป็น หัวหน้าหรือประมุข. ตัวเชิด น. ผู้ที่ถูกใช้ให้ออกหน้าแทน. ตัวดี น. ตัวสําคัญ, ตัวต้นเหตุ, (มักใช้ในเชิงประชด). ตัวต่อตัว น. หนึ่งต่อหนึ่ง (มักใช้ในการต่อสู้). ตัวตั้ง ๑ (ปาก) น. คําตั้ง. ตัวตั้งตัวตี น. ผู้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงในการทํากิจกรรมต่าง ๆ, ผู้ที่ตั้งตัวเป็น หัวหน้าในการทํางานอย่างออกหน้าออกตา. ตัวตายตัวแทน (สํา) น. ผู้ที่รับช่วงทํางานติดต่อกันไปไม่ขาดตอน. ตัวเต็ง น. ตัวที่มีนํ้าหนักในการคาดหมายว่าจะชนะมากกว่าตัวอื่น ๆ. ตัวถัง น. ส่วนของรถยนต์ที่ใช้รับน้ำหนักบรรทุก มี ๒ ประเภท คือ ตัวถัง แบบมีโครงแชสซีและตัวถังแบบไม่มีโครงแชสซี. ตัวแทน (กฎ) น. บุคคลผู้มีอํานาจทําการแทนบุคคลอื่น; ชื่อสัญญาซึ่งให้ บุคคลคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวแทน มีอํานาจทําการแทนบุคคลอีกคนหนึ่ง เรียกว่า ตัวการ และตัวแทนตกลงจะทําการนั้น. ตัวแทนค้าต่าง (กฎ) น. บุคคลซึ่งในทางค้าขาย ทําการซื้อ หรือขายทรัพย์สิน หรือรับจัดทํากิจการค้าอย่างอื่นในนามของตนเองต่างตัวการ. ตัวแทนช่วง (กฎ) น. บุคคลซึ่งได้รับแต่งตั้งจากตัวแทนอีกต่อหนึ่งให้กระทํา การแทนตัวการ. ตัวแทนเชิด (กฎ) น. ตัวแทนที่ไม่ได้รับแต่งตั้งจากตัวการโดยตรง แต่ถูก ตัวการเชิดให้เป็นตัวแทนของตน หรือตัวการรู้แล้วยอมให้ตัวแทนเชิดตัวเอง ออกแสดงเป็นตัวแทน. ตัวนาง น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบ หญิง, นางเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวนำ (ฟิสิกส์) น. สารที่กระแสไฟฟ้าหรือความร้อนผ่านไปได้ง่าย. ตัวประกอบ ๑ น. ผู้แสดงบทบาทไม่สําคัญในภาพยนตร์ ละคร เป็นต้น เพียง ประกอบบทบาทของตัวเอกเท่านั้น. ตัวประกัน น. บุคคลที่ถูกยึดหน่วงตัวไว้เพื่อใช้ต่อรอง. ตัวปลิง น. เหล็กที่ทำเป็นหมุดแหลมโค้งสำหรับตอกเพลาะกระดานยึดให้ แน่นสนิท, เขี้ยวตะขาบ ตะปลิง หรือ ปลิง ก็เรียก. ตัวเป็นเกลียว (สํา) ว. อาการที่ทำงานอย่างขยันขันแข็งมากจนไม่มีเวลาได้ พักผ่อน; แสดงกิริยาท่าทางด้วยความรู้สึกรุนแรง เช่น ครั้นได้ข่าวผัวตัวเป็น เกลียว. (ไกรทอง). ตัวเปล่า ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น ฉันยังตัวเปล่าอยู่, ตัวเปล่าล่าเปลือย ก็ว่า, ลําพังตัวไม่ได้มีอะไรมาด้วย เช่น มาตัวเปล่า เดินตัวเปล่า. ตัวเปล่าล่าเปลือย ว. ยังไม่มีครอบครัว เช่น เธอไม่ใช่คนตัวเปล่าล่าเปลือยนะ, ตัวเปล่า ก็ว่า, ไร้ญาติขาดมิตร เช่น เขาเป็นคนตัวเปล่าล่าเปลือย. undefined ตัวผู้ น. เพศผู้ (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวผู้; เรียกสิ่งของ บางอย่างที่มีรูปแหลมยาว เช่น เกลือตัวผู้, เรียกสิ่งที่มีเดือยสําหรับสอด เช่น กระเบื้องตัวผู้ นอตตัวผู้, เรียกต้นไม้ที่ไม่มีผลตลอดไป เช่น มะละกอตัวผู้. ตัวพระ น. ผู้แสดงละครรําหรือระบํา เข้าเครื่องละครรํา ใช้ลีลาท่ารําแบบชาย, พระเอกในเรื่องลิเก ละคร. ตัวพิมพ์ น. ตัวอักษรที่หล่อด้วยตะกั่วใช้เรียงพิมพ์ มีหลายชนิด เช่น ตัวโป้ง ตัวฝรั่งเศส; เรียกตัวพิมพ์ใหญ่ในภาษาอังกฤษ. ตัวเมีย น. เพศเมีย (ใช้เฉพาะสัตว์และพืชบางชนิด) เช่น แมวตัวเมีย; เรียก สิ่งของบางอย่างที่มีรูหรือขอรับให้สิ่งอื่นเกาะหรือสอดเข้าได้ เช่น กระเบื้อง ตัวเมีย นอตตัวเมีย. ตัวเมือง น. ย่านใจกลางเมือง มักมีแม่นํ้าหรือกําแพงล้อมรอบ. ตัวไม้ น. ไม้ที่แต่งไว้เพื่อคุมกันเข้าเป็นเรือนเป็นต้น. ตัวยืน น. ผู้ที่ถูกกําหนดให้เป็นตัวหลัก สําหรับให้คนอื่นมาเป็นคู่ชิงตําแหน่ง (ใช้แก่กีฬา); ผู้ที่เป็นหลักในการงานอย่างใดอย่างหนึ่ง, ตัวยืนโรง หรือ ตัวยืนพื้น ก็ว่า. ตัวร้อน น. อาการของร่างกายที่มีอุณหภูมิสูงกว่าปรกติ. ตัวละคร (วรรณ) น. ผู้มีบทบาทในวรรณกรรมประเภทละคร นวนิยาย เรื่องสั้น และเรื่องแต่งประเภทต่าง ๆ. ตัวสะกด น. พยัญชนะท้ายคําหรือพยางค์ที่ทําหน้าที่บังคับเสียงให้เป็นไป ตามมาตราต่าง ๆ เช่น น เป็นตัวสะกดในมาตรากน. ตัวสำคัญ (ปาก) น. ตัวร้าย เช่น เด็กคนนี้แหละตัวสำคัญนัก ชอบรังแกเพื่อน. ตัวหนังสือ น. สัญลักษณ์แทนเสียงหรือคําพูด. ตัวอย่าง น. สิ่งที่นํามาอ้างเพื่อแสดงให้เห็นลักษณะที่เป็นส่วนรวมทั้งหมด เช่น ยกตัวอย่าง. ว. ที่แสดงแบบอย่างหรือคุณภาพเป็นต้นแทนส่วนทั้งหมด ของสิ่งนั้น ๆ เช่น ของตัวอย่าง, ที่ทําให้เห็นเป็นแบบอย่างที่ดี เช่น ครูตัวอย่าง นาตัวอย่าง. ตัวเอ้ น. หัวโจก. ตัวเอก น. ผู้ที่มีบทบาทเด่นในเรื่องลิเก ละคร เป็นต้น.
  47. ถลา : [ถะหฺลา] ก. โผผวา เช่น นกถลาลง เด็กวิ่งถลาเข้าหา, เสียหลัก ซวนไป เช่น เครื่องบินถลาลง.
  48. แถลง : [ถะแหฺลง] ก. บอก เล่า หรือแจ้งให้ทราบเป็นทางการ เช่น แถลงข่าว, กล่าวอธิบาย เช่น จะแถลงให้ทราบ; แสวง เช่น บัดแถลง.
  49. ทั้งที่, ทั้ง ๆ ที่ : ว. ในขณะที่ เช่น เขาออกจากบ้านไปทั้งที่ฝนกำลังตก เขาลาออกทั้ง ๆ ที่หน้าที่การงานกําลังเจริญก้าวหน้า.
  50. ทับสมิงคลา : [ทับสะหฺมิงคฺลา] น. ชื่องูพิษชนิด Bungarus candidus ในวงศ์ Elapidae หัวสีดํา ตัวมีลายเป็นปล้องสีดําสลับขาว เขี้ยวพิษผนึก แน่นกับขากรรไกรบน ขยับหรือพับเขี้ยวไม่ได้ ตัวยาวประมาณ ๑ เมตร, ทับทางขาว ก็เรียก.
  51. 1-50 | 51-100 | [101-150] | 151-200 | 201-226

(0.0409 sec)